Abandoned Well : การสละทิ้งหลุมเจาะ เนื่องจากเป็นหลุมแห้งไม่พบปิโตรเลียม
An Abandoned Oil หรือ Gas Well : การสละทิ้งหลุมที่เจาะพบน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ เนื่องจากเป็นหลุมที่ไม่มีสมรรถนะในเชิงพาณิชย์
Acidizing หรือ Acidization หรือ Acid treatment : เป็นวิธีการกระตุ้นการผลิต (stimulation) โดยเติมกรดเข้าไปละลายองค์ประกอบบางส่วนของหินปูน โดโลไมต์ หรือหินทราย เพื่อเพิ่มความสามารถการซึมผ่านหรือความพรุนของหินเหล่านั้น ใช้วิธีปั๊มกรดไฮโดรคลอริคลงไปในหลุมเจาะ เพื่อขยายช่องว่างของหินให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้น้ำมันไหลได้ดีขึ้น จุดประสงค์หลักคือ เพื่อเพิ่มผลการผลิต
Air Drilling : คือการเจาะอัดอากาศ เป็นการเจาะแบบหมุน (rotary drill) ที่อัดอากาศเข้าไปช่วยในการเจาะแทนการใช้น้ำโคลน (mud) การเจาะโดยวิธีนี้จะมีอัตราการเจาะเร็วกว่าการใช้น้ำโคลน เศษหินที่เกิดจากการเจาะแบบ air drilling จะมีลักษณะเป็นฝุ่นละเอียด แต่ชั้นหินที่จะใช้วิธีการเจาะแบบ air drilling ได้จะต้องไม่มีความดันสูงและไม่มีน้ำอยู่มาก เพราะน้ำจะไปผสมกับผงฝุ่นที่เกิดจากการเจาะ ทำให้เกิดเป็นโคลนอุดตันอยู่ในหลุมเจาะและทำให้ก้านเจาะติดค้าง ในกรณีของแก็สธรรมชาติจะทำให้เกิดการระเบิดได้
Air Gun : เครื่องกำเนิดคลื่นที่ใช้หลักการของการอัดอากาศในการสำรวจวัดความไหวสะเทือนของคลื่นในชั้นหิน โดยเฉพาะการสำรวจความไหวสะเทือนทางทะเล
Air Shooting : การจุดระเบิดด้วยวัตถุระเบิดในอากาศเหนือผิวดิน เพื่อสร้างคลื่นสั่นสะเทือนในพื้นที่ที่ทำการสำรวจวัดความไหวสะเทือน
Annulus : เป็นช่องว่างระหว่างก้านเจาะและผนังหลุมเจาะ
API Gravity : หน่วยวัดค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมันดิบ เป็นองศา (°) กำหนดขึ้นโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา (American Petroleum Institute) เป็นค่าที่แสดงความหนักเบาของน้ำมัน โดยปรกติน้ำมันดิบจะมีค่าความถ่วง API อยู่ระหว่าง 20° – 45° และสามารถแบ่งน้ำมันดิบออกเป็น 3 ชนิด คือ น้ำมันดิบชนิดเบา มีค่าความถ่วง API > 34° น้ำมันดิบชนิดกลาง มีค่าความถ่วง API อยู่ระหว่าง 34° – 20° และน้ำมันดิบชนิดหนัก มีค่าความถ่วง API < 20° กล่าวคือ น้ำมันดิบที่มีความถ่วงจำเพาะต่ำจะมีค่าความถ่วงจำเพาะเอพีไอสูงกว่าน้ำมันดิบที่มีความถ่วงจำเพาะที่สูงกว่า
Appraisal Well : หลุมประเมินผล เป็นหลุมที่เจาะในพื้นที่ที่ได้มีการเจาะหลุมสำรวจ พบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติแล้ว และเจาะหลุมประเภทนี้เพื่อหาขนาด ขอบเขต และประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจของแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาตินั้น
Aquifer : คือชั้นหินอุ้มน้ำหรือชั้นน้ำ เป็นชั้นหินใต้ผิวดินที่มีคุณสมบัติยอมให้น้ำซึมเข้าได้โดยง่าย ในทางปิโตรเลียม aquifer จะต้องประกอบด้วยชั้นหินที่ยอมให้น้ำมันดิบหรือแก๊สไหลซึมผ่านได้อยู่ด้านล่าง และชั้นหินที่ไม่ยอมให้น้ำมันหรือแก๊สซึมผ่านได้อยู่ด้านบน (หรือที่เรียกว่าหินปิดกั้น) และจะต้องมีช่องว่างสำหรับกักเก็บน้ำมันหรือแก๊สได้
Artificial Lift : การช่วยการผลิตจากหลุม ถ้าทำโดยใช้วิธีอัดแก๊สลงไปในหลุมเพื่อช่วยให้น้ำมันไหล เรียก gas lift หรือใช้ปั๊มแบบต่าง ๆ ปั๊มน้ำมันขึ้นมา เรียก pumping ซึ่งการช่วยการผลิตจากหลุมนี้จะช่วยทำให้ผลิตน้ำมันขึ้นมาได้มากกว่าการที่จะปล่อยให้ไหลขึ้นมาเอง นอกจากนี้แหล่งกักเก็บบางแหล่งมีความดันต่ำ ไม่สามารถดันน้ำมันขึ้นมาถึงปากหลุมได้ จำเป็นต้องใช้การช่วยการผลิตจากหลุมตั้งแต่เริ่มการผลิต
Asphalt หรือ Bitumen : ยางมะตอย
Associated Gas : แก๊สธรรมชาติที่พบร่วมกับน้ำมันในแหล่ง มีทั้งละลายอยู่ในน้ำมันหรือปิดอยู่บนชั้นน้ำมัน
Barge : เป็นแท่นเจาะในทะเลที่มีลักษณะเป็นเรือท้องแบน อุปกรณ์การเจาะติดตั้งอยู่บนตัวเรือ เดิมพัฒนาเพื่อใช้ในการเจาะบริเวณชายฝั่ง น้ำตื้น หรือบริเวณทะเลสาป
Barrel (bbl) : เป็นหน่วยวัดปริมาตรของเหลวในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ที่ใช้วัดปริมาตรน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดย 1 บาร์เรล (barrel) มีค่าเท่ากับ 158.76 ลิตร หรือ 42 U.S. Gallons หรือ 34.97 Imperial Gallons
Barrel per Day (bpd) : ในเทอมการผลิต หมายถึง อัตราการผลิตน้ำมันที่ผลิตได้ต่อวัน ในเทอมการกลั่น หมายถึง ปริมาณน้ำมันที่กลั่นออกมาได้ในรอบปี หารด้วยจำนวนวันที่ปฏิบัติงานจริง (ไม่นับวันที่หยุดและซ่อมแซมอุปกรณ์)
BCF (bcf) : มาจากคำว่า billion cubic feet มีค่าเท่ากับ พันล้านลูกบาศก์ฟุต
BHA : มาจากคำว่า Bottom Hole Assembly คือ อุปกรณ์ก้นหลุม เป็นอุปกรณ์การเจาะที่อยู่ตรงปลายของระบบก้านเจาะ
Biogas : แก๊สชีวภาพ คือแก๊สที่เกิดจากการย่อยสลายของอินทรีย์สารในสภาพที่ขาดออกซิเจน เรียกขบวนการที่เกิดขึ้นนี้ว่า การย่อยสลายไร้อากาศ ตามธรรมชาติโดยทั่วไปกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะ ก้นทะเลสาปและในที่ลึกลงไปใต้ผิวดิน หรืออาจเกิดจากมนุษย์ เช่น ในบ่อน้ำเสียปศุสัตว์ และในหลุมขยะกลบฝัง เป็นต้น แก๊สชีวภาพประกอบด้วยแก๊สมีเทน (methane) 60-80% คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (carbondioxide) 20-40% โดยประมาณ นอกจากนี้อาจมีไนโตรเจน ไฮโดรเจน และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปนอยู่บ้างในปริมาณเล็กน้อย
Biomass : ชีวมวล เป็นชื่อรวมสำหรับวัสดุซากและสารที่ย่อยสลายมาจากพืช เช่น ต้นไม้และส่วนที่เหลือจากพืชผล ของเสียจากสัตว์ และอินทรีย์สาร ชีวมวลสามารถใช้เป็นแหล่งที่ให้พลังงานความร้อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า หรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตแก๊สหรือเชื้อเพลิงเหลว
Bitumen : สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดปะปนกัน เกิดตามธรรมชาติในรูปของของแข็งหรือของเหลว สามารถละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ (organic solvents) และสารละลายคาร์บอนไดซัลไฟด์ (carbondisulphide) และหลอมตัวได้ ตัวอย่างเช่น ปิโตรเลียม น้ำมันดิน (tar) ยางมะตอย ยางมะตอยแข็ง ไขแร่ (mineral wax)
Black Gold : หมายถึงน้ำมันดิบ (crude oil)
Block : พื้นที่ที่แบ่งเป็นแปลงสัมปทานทั้งบนบกและในทะเล สำหรับให้บริษัทน้ำมันมายื่นขอสัมปทานปิโตรเลียม โดยทั่วไปการแบ่งแปลงจะแบ่งตามแนวเส้นรุ้งและเส้นแวง
Blowout : การพลุ่งออกมาของน้ำมัน แก๊ส น้ำ หรือ ของเหลวอื่น ๆ เช่นโคลนเจาะ จากหลุมเจาะน้ำมันในระหว่างการเจาะ โดยไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องมาจากแรงดันภายในแหล่งกักเก็บมีมากกว่าน้ำหนักของโคลนเจาะ
BOE : มาจากคำว่า Barrel Oil Equivalent หมายถึง การปรับเทียบพลังงานชนิดต่างๆ เช่น แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน ให้เทียบเท่าน้ำมันดิบ ตัวอย่างเช่น แก๊สธรรมชาติ 1 ล้านลูกบาศก์ฟุต เทียบเท่าน้ำมันดิบ 174.4 บาร์เรล หรือ แก๊สธรรมชาติเหลว 1 บาร์เรล เทียบเท่าน้ำมันดิบ 0.9096 บาร์เรล หรือ ถ่านหินลิกไนท์ 1 เมตริกตัน เทียบเท่าน้ำมันดิบ 2.053 บาร์เรล
BOP : มาจากคำว่า Blow Out Preventor คืออุปกรณ์ป้องกันการระเบิดพลุ่งของของเหลวหรือแก๊สจากภายในหลุมเจาะสู่ภายนอก ในการเจาะหลุมหากของไหลจากชั้นหินไหลทะลักเข้าสู่หลุมเจาะจนไม่สามารถควบคุมความดันภายในหลุมเจาะ ให้อยู่ในสภาพสมดุลย์ได้ก็จะทำให้เกิดการระเบิดพลุ่ง BOP จะป้องกันและลดระดับความดันของไหลก่อนปลดปล่อยออกสู่ภายนอกหลุมเจาะ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับหลุมเจาะหรือเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
Bottled Gas : คือแก๊สโปรเพน (C3) มีแก๊สบิวเทนเป็นส่วนน้อย หรือเป็นส่วนผสมระหว่างโปรเพนและบิว เทน ถูกอัดให้อยู่ในสภาพของเหลว bottled gas จะใช้เป็นเชื้อเพลิงในชนบทสำหรับทำความอบอุ่นในบ้านเรือน การหุงต้ม การเกษตรกรรม กล่าวอีกนัยหนึ่ง bottled gas ก็คือแก๊ส LPG
Bring in a Well : การเตรียมหลุมให้พร้อมสำหรับการผลิต
Butane : คือแก็สชนิดหนึ่งที่ติดไฟได้ จัดอยู่ในกลุ่มพาราฟินไฮโดรคาร์บอน ที่ประกอบด้วยคาร์บอน 4 อะตอม และไฮโดรเจน 10 อะตอม (สูตรเคมี C4H10) เมื่อเผาไหม้จะให้น้ำและแก๊สตาร์บอนไดออกไซด์และคายความร้อนออกมา ปรกติอยู่ในสภาพแก๊ส แต่ทำให้เหลวได้ง่ายเพื่อการขนส่งและจัดเก็บ ใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน รถยนต์ และอุตสาหกรรมบางประเภท
Cap Rock : ชั้นหินที่ไม่ยอมให้ของเหลวหรือแก๊สไหลผ่าน ปิดทับอยู่ด้านบนของชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม และปิดกั้นไม่ให้ไฮโดรคาร์บอนหนีออกมาถึงพื้นผิวดินได้
Casing : ท่อกรุ เป็นท่อโลหะที่ใส่ลงไปในหลุมเจาะหรือบ่อเจาะในระหว่างการเจาะหรือหลังการเจาะแล้วอัดซีเมนต์เข้าไปเพื่อให้อยู่กับที่ เพื่อป้องกันการพังทลายของผนังหลุมเจาะ ป้องกันการสูญเสียน้ำโคลนเจาะ หรือป้องกันไม่ให้ของไหลที่ไม่ต้องการเข้ามาในหลุม และเพื่อช่วยควบคุมความดันของหลุมเจาะ และไว้สำหรับขั้นตอนการผลิตแก๊สและน้ำมัน
Cement : การอัดซีเมนต์เข้าไปในหลุมเจาะเพื่อยึดท่อกรุ (casing) ให้ติดกับผนังหลุมเจาะและเพื่อป้องกันการรั่วซึมระหว่างชั้นหินที่ถูกเจาะผ่าน
Central Processing Platform (CPP) : แท่นผลิตกลาง เป็นที่รวบรวมแก๊สและแก๊สธรรมชาติเหลว โดยแก๊สจะถูกส่งเข้าท่อส่งแก๊ส และแก๊สธรรมชาติเหลว ส่งไปกักเก็บไว้ที่เรือกักเก็บแก๊สธรรมชาติเหลว
Christmas Tree : เป็นท่อและวาล์วติดตั้งอยู่ที่ปากหลุม (wellhead) ควบคุมการไหลของน้ำมันและแก๊สไม่ให้เกิดการ blowout
Compression Platform (CP) : แท่นอุปกรณ์เพิ่มแรงดัน เป็นแท่นที่ใช้อัดแก๊สธรรมชาติให้มีแรงดันเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแก๊สที่ผ่านขบวนการผลิตมาแล้วยังมีแรงดันไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีแท่นเพื่ออัดแก๊สโดยเฉพาะ
Compressor Station : เป็นสถานีเพิ่มความดันแก๊สธรรมชาติ คือ แก๊สเมื่อไหลตามท่อส่งที่มีความยาวมากๆ จะสูญเสียความดัน เพื่อให้แก๊สไหลได้สม่ำเสมอ ต้องทำการเพิ่มความดันโดยตั้งสถานีเพิ่มความดันแก๊สทุกๆระยะทาง 60 ถึง 80 km
Concession : สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่รัฐอนุญาตให้เอกชนสามารถดำเนินการได้ภายใต้สัญญาสัมปทาน
Condensate : แก๊สธรรมชาติเหลว เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดเบา ที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เนื่องจากมีปริมาณคาร์บอนอะตอมในโครงสร้างโมเลกุลมากกว่าแก๊สธรรมชาติซึ่งมีจำนวนคาร์บอนอะตอมน้อยกว่า 5 ส่วนมากจะมีโปรเพนและบิวเทนปนอยู่ด้วย จะต่างกับน้ำมันดิบตรงที่มีไฮโดรคาร์บอนชนิดหนักซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำมันเตาปนอยู่เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย มีค่าถ่วงจำเพาะเอพีไอสูงกว่า 60°
Coning : การที่ระดับน้ำสูงขึ้นมาเป็นรูปกรวย (cone) ในชั้นน้ำมันดิบ ตรงส่วนที่เป็นรอยต่อระหว่างชั้นน้ำกับน้ำมัน (oil/water contact) การเกิด coning เนื่องมาจากทำการผลิตเร็วเกินไป
Connate Water : น้ำในเนื้อหิน คือน้ำที่ถูกกักขังอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดแร่ในหิน และมีมาตั้งแต่ช่วงก่อกำเนิดของหินนั้น ๆ
Conventional Drilling Rig : เป็นแท่นเจาะบนบกขนาดใหญ่ สามารถเจาะได้ลึกมาก อาจถึง 35,000 ft
Cracking : เป็นกระบวนการที่ทำให้โมเลกุลขนาดใหญ่ของสารไฮโดรคาร์บอนชนิดหนัก แตกตัวเป็นโมเลกุลที่เล็กลง นั่นคือเป็นการทำให้น้ำมันหนักแตกตัวให้เป็นน้ำมันเบาที่มีมูลค่าสูงขึ้น ถ้าทำให้โมเลกุลแตกตัวด้วยความร้อน เรียกว่า thermal cracking ถ้าแตกตัวโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา เรียกว่า catalytic (cat) cracking และถ้ากระบวนการ cat cracking เกิดขึ้นในบรรยากาศแก๊สไฮโดรเจน เรียกว่า hydrocracking
Crude Oil : หมายถึงน้ำมันดิบที่ผลิตขึ้นมาจากแหล่ง หลังจากที่แยกเอาแก๊สที่ปนอยู่ออกแล้ว และส่งเข้ากระบวนการกลั่นต่อไป
Cubic foot, cubic feet (cf), cubic metre : หน่วยวัดปริมาตรแก๊ส เป็นลูกบาศก์ฟุต ลูกบาศก์เมตร
Cuttings : หินใต้ดินที่ถูกหัวเจาะตัดเป็นเศษหินเล็ก ๆ และถูกพาขึ้นมาจากหลุมเจาะ ซึ่งจะปนเปื้อนด้วยน้ำมันที่ใช้เป็นตัวหล่อลื่นการเจาะ
Dehydration หรือ Degasing Tank : ถังพักน้ำมันดิบชั่วคราว เพื่อแยกน้ำออกจากน้ำมัน โดยการเติมสารเคมี (demulsifier) ลงไป สารเคมีจะช่วยให้น้ำแยกออกจากน้ำมันและจมลงสู่ก้นถัง และถูกถ่ายเทไปยังถังเก็บน้ำโดยเฉพาะ ส่วนน้ำมันที่ลอยอยู่ส่วนบนจะไหลไปยังถังเก็บน้ำมัน (storage tank) สำหรับแก๊สที่ปนขึ้นมากับน้ำมันด้วย ในตอนแรกจะถูกปล่อยสู่บรรยากาศทางท่อเล็กๆ ด้านบนของ tank
Delineation Well : หลุมสำรวจขอบเขต หมายถึงหลุมประเมินผล (appraisal well) ที่เจาะโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาขอบเขตของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม
Derrickman : เป็นพนักงานบนแท่นเจาะซึ่งปฏิบัติงานอยู่ที่ monkeyboard มีหน้าที่คอยจับส่วนบนสุดของก้านเจาะเมื่อเวลาดึงก้านเจาะขึ้นจากหลุมหรือเวลาหย่อนก้านเจาะลงหลุม และยังรับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลปั๊มหรืออุปกรณ์สำหรับการไหลเวียนของของเหลวที่ใช้ระหว่างการเจาะ (drilling fluid)
Development Well : หลุมพัฒนา หมายถึงหลุมที่เจาะเพื่อต้องการผลิตน้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ หลังจากที่ได้ทำการเจาะหลุมประเมินผล เพื่อพิสูจน์ว่ามีปริมาณสำรองมากเพียงพอที่จะพัฒนาขึ้นมาได้
Deviation Well : เป็นหลุมเจาะเอียงไปจากแนวตรง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำมันหรือแก๊สมากที่สุด หรือเพื่อหลีกเลี่ยงอุปกรณ์การเจาะที่ติดค้างอยู่ในหลุมเดิม
Directional หรือ Deviated Drilling : เป็นเทคนิคการเจาะหลุมผลิตในทะเล โดยเจาะเป็นมุมเอียงหรือทแยงไปจากแนวดิ่ง ซึ่งจะทำให้เจาะหลุมพัฒนา (development well) หลาย ๆ หลุมได้จากแท่น (platform) เดียวกัน
Disposal Well : หลุมอัดน้ำ หรือ หลุมกำจัดน้ำทิ้ง
Dissolved Gas : แก๊สธรรมชาติที่ละลายปนอยู่ในน้ำมันในแหล่งกักเก็บใต้ดิน เมื่อมีการผลิตน้ำมันขึ้นมายังผิวดิน ที่ความดันบรรยากาศแก๊สก็จะแตกตัวออกมา
Drill Bit : หัวเจาะ
Drill Collar : เป็นท่อเหล็กยาวที่มีผนังหนาและหนัก อยู่ส่วนล่างของก้านเจาะและติดกับหัวเจาะเพื่อเพิ่มน้ำหนักกดทับลงบนหัวเจาะให้สามารถเจาะผ่านชั้นหินได้
Drill Pipe : ก้านเจาะ มีลักษณะเป็นท่อยาวและหนัก ใช้สำหรับหมุนหัวเจาะและให้น้ำโคลน ไหลเวียน แต่ละช่วงมีความยาวประมาณ 30 ft
Drillship : เป็นเรือเจาะที่มีอุปกรณ์ทุกอย่างอยู่บนเรือ สามารถเคลื่อนที่ได้เอง การยึดตัวเรือให้อยู่กับที่เดิมใช้สมอเรือ แต่ปัจจุบันได้ประยุกต์ใช้ใบพัดปรับระดับควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ในการปรับตำแหน่ง ข้อเด่นของ drillship คือ สามารถเจาะได้ในบริเวณที่น้ำทะเลลึก (อาจลึก > 1,000 m)
Drill String : อุปกรณ์ก้านเจาะทั้งชุด ประกอบด้วย drill pipe, drill collar และ drill bit
Drilling Mud : น้ำโคลนสำหรับการเจาะ เป็นส่วนผสมของโคลน น้ำ และสารเคมีใช้ในขบวนการเจาะเพื่อหล่อลื่นหัวเจาะและช่วยไม่ให้หัวเจาะร้อน นำของเสียจากการเจาะขึ้นมาผิวดิน ป้องกันผนังหลุมเจาะไม่ให้พัง และควบคุมการไหลขึ้นมาของน้ำมัน หรือแก๊ส น้ำโคลนจะไหลเวียนระหว่างก้านเจาะกับผนังหลุมเจาะ จากปากหลุมลงไปก้นหลุมอยู่ตลอดเวลา
Dry Gas หรือ Lean Gas : คือแก๊สธรรมชาติที่ประกอบด้วยมีเทน (CH4) เกือบทั้งหมด มีอีเทน (C2H6) โปรเพน (C3H8) และบิวเทน (C4H10) น้อยมากหรือเกือบไม่มี และไม่มี C5+ เช่น แก๊สธรรมชาติจากแหล่งน้ำพอง
DST : มาจากคำว่า Drill Stem Test เป็นการทดสอบหลุมสำรวจหลังจากเจาะได้ถึงความลึกที่ต้องการแล้ว เพื่อทดสอบว่าชั้นหินนั้นมีน้ำมันหรือแก๊สหรือไม่ หาอัตราการไหลของของไหลในชั้นหินว่ามีลักษณะการไหลอย่างไร ไหลได้มากน้อยขนาดไหน หาความดันดั้งเดิมของชั้นหิน หาคุณสมบัติของชั้นหินที่มีต่อการไหล
EOR : มาจากคำว่า Enhanced Oil Recovery หมายถึงวิธีการที่ช่วยในการผลิตน้ำมันขึ้นมาจากหลุมหลังจากที่ได้มีการผลิตตามธรรมชาติแล้ว ได้แก่ การผลิตขั้นทุติยภูมิ (Secondary Recovery) และ การผลิตขั้นตติยภูมิ (Tertiary Recovery)
Exploratory Well : หลุมสำรวจ โดยทั่วไปเราใช้คำกว้าง ๆ สำหรับหลุมเจาะเพื่อที่จะสำรวจค้นหาปิโตรเลียมว่า exploratory well คำนี้จะครอบคลุมหลุมชนิดต่าง ๆ ที่อยู่ในขั้นสำรวจทั้งหมด ซึ่งหมายถึงหลุมที่เจาะเพื่อสำรวจปิโตรเลียมในบริเวณที่ยังไม่มีการพิสูจน์หรือพิสูจน์แล้วแต่ยังไม่แน่ชัดว่ามีปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ ซึ่งหลุมสำรวจนี้มีการแบ่งย่อยออกเป็นหลุมชนิดต่าง ๆ คือ wildcat well (หลุมแรกสำรวจ) appraisal well (หลุมประเมินผล) และ delineation well (หลุมสำรวจขอบเขต)
Fish/Fishing : อุปกรณ์การเจาะ เช่น ก้านเจาะ ที่หลุดและติดค้างอยู่ในหลุมเจาะซึ่งจะต้องกู้และนำออกจากหลุมเจาะก่อนที่จะทำการเจาะต่อไปได้
Floater : แท่นเจาะในทะเลแบบลอยน้ำ ไม่มีขายึดติดกับท้องทะเล
Formation Pore Pressure หรือ Formation Pressure : ความดันของไหลในชั้นหิน ของไหลที่แทรกตัวอยู่ในช่องว่างของชั้นหิน ซึ่งอาจเป็นแก๊ส น้ำมัน หรือ น้ำ จะมีความดันภายในตัวเองที่เกิดจากน้ำหนักตัวของไหลเองและแรงบีบอัดอันเกิดจาก น้ำหนักหินกดทับลงมา แล้วทำให้ช่องว่างในหินลดขนาดลง (compaction) ของไหลที่อยู่ในช่องว่างของหินก็จะออกแรงดันต้านกลายเป็นความดันของไหลในชั้นหิน (formation pore pressure) ในบางครั้งจะเรียกความดันที่เกิดจากของไหลในชั้นหินว่า ความดันชั้นหิน (formation pressure) ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการควบคุมหลุมเจาะ
FPSO : มาจากคำว่า Floating Production Storage and Offloading หมายถึง เรือผลิตและกักเก็บปิโตรเลียม
FSU : มาจากคำว่า Floating Storage Unit เป็นถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งใช้เก็บน้ำมันที่ผลิตได้จากแท่นผลิตในทะเล ก่อนที่จะส่งไปยังเรือบรรทุกน้ำมัน (tanker)
Fuel Oil : น้ำมันเตา เป็นน้ำมันส่วนก้นหอกลั่น เป็นน้ำมันหนักและมีจุดเดือดสูง ใช้ประโยขน์มากในงานอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง และการผลิตกระแสไฟฟ้า