แนะแนวการศึกษา — December 17, 2012 at 11:20 AM

ทำไมเราต้องรู้ธรณีวิทยา?

by
ทำไมต้องธรณี?
ทำไมต้องธรณี?

ธรณีวิทยา คือองค์ความรู้เกี่ยวกับโลก หินเพียงหนึ่งก้อนสามารถให้ข้อสมมติฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นบนโลกตลอดช่วงเวลาหลายล้านปีได้ ความรู้จากหินหลายๆ ก้อนจะถูกนำมารวบรวมอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงกระบวนการทางธรรมชาติที่เราเห็นในปัจจุบัน การเรียนธรณีเป็นเรื่องที่สำคัญ และเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนต้องรู้ ตราบเท่าที่เรายังต้องอาศัยอยู่บนโลกแห่งนี้ เราจะอยู่กันอย่างไรหากไม่มีใครรู้เรื่องธรณีวิทยาเลย

ทำไมเราทุกคนต้องรู้ธรณีวิทยา?

เกือบทุกกิจกรรมที่เราทำในทุกวันนั้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับโลกของเราทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นบนพื้นดิน มหาสมุทร ชั้นบรรยากาศ หรือแม้กระทั่งพืช และสัตว์ อาหารที่เรารับประทาน น้ำที่เราดื่ม บ้านหรือโรงเรียนที่เราอยู่ เสื้อผ้าที่เราใส่ พลังงานที่เราใช้ และอากาศที่เราหายใจ ต่างก็ได้เกิดขึ้น และอยู่ล้อมรอบโลกใบนี้

ในอีก 20 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีประชากรประมาณ 8 พันล้านคนอาศัยอยู่บนโลก ถ้าเรายังคงต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะเพิ่มคุณภาพชีวิต เราทุกคนหรือทุกชุมชนจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโลกของเราให้มากขึ้น ในแง่ของกระบวนการทางธรรมชาติต่างๆ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ความรู้เหล่านี้มีเพียงทางธรณีเท่านั้นที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและตระหนักถึงโลกอันซับซ้อนใบนี้ได้

วิชาธรณีมีประโยชน์ต่อทุกคน

ความเป็นอยู่ที่ดีและความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนเรานั้นขึ้นอยู่กับว่าเราเข้าใจและจัดการกับทรัพยากรในพื้นที่ที่เราอยู่ได้ดีแค่ไหน กระบวนการธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ส่งผลกระทบต่อเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีอิทธิพลต่อการอุโภคบริโภคทรัพยากรน้ำและความรุนแรงของไฟป่า แผ่นดินไหว การะเบิดของภูเขาไฟ พายุเฮอริเคน และน้ำท่วมก็สามารถคร่าชีวิตคนจำนวนมากและสร้างความเสียหายมูลค่าหลายล้านหรือหลายพันล้านบาทได้

ไม่ใช่แค่เหตุการณ์ทางธรรมชาติเท่านั้นที่ส่งผลกระทบต่อเรา กิจกรรมของเราแต่ละคน แต่ละสังคม หรือระดับประเทศ ก็ส่งผลต่อโลกเช่นกัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรได้เพิ่มความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น เมื่อเรานำทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้ในวันนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อโลกในปัจจุบันแล้วยังส่งผลกระทบต่อคนรุ่นหลังต่อไปได้ในอนาคต เพื่อการควบคุมดูแลกับสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เราต้องดำเนินการโดยตระหนักถึงอนาคตด้วยเริ่มจากการเข้าใจเกี่ยวกับระบบต่างๆ ของโลกให้มากขึ้น

วิชาธรณีช่วยให้เราได้คิดถึงส่วนรวมและท้องถิ่น ด้วยการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเราและชุมชน คนที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานต่างๆ ของโลก สามารถให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้เกี่ยวกับสถานที่ปลอดภัยที่จะซื้อหรือสร้างบ้าน พวกเขาสามารถอภิปรายและแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย การวางและพัฒนาผังเมือง ความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน รวมถึงการใช้และการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

ในสังคมที่ีให้ความสำคัญต่อการศึกษา จะมีการปลูกฝังจิตสำนึกคนในชุมชนถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อโลก ให้การระลึกถึงและตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทางธรณีในทุกระดับ ตั้งแต่ประถมจนถึงมหาวิทยาลัย เมื่อไหร่ที่เราให้ความสำคัญกับวิชาธรณี เมื่อนั้นทุกคนก็จะได้ประโยชน์ด้วยกัน

การศึกษาธรณีวิทยาในภาคสนาม
การศึกษาธรณีวิทยาในภาคสนาม – GeoThai.net

วิชาธรณีสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ถ้าเราปรารถนาที่จะอาศัยอยู่ร่วมกับโลกใบนี้ เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงพฤติกรรมของโลก และเข้าใจในปฎิสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลก วิชาธรณีได้ให้วิธีการคิดแบบบูรณาการความรู้จากหลายๆ สาขา บวกกับจินตนาการ เพื่อให้เข้าถึงการเข้าใจโลกของเราอย่างแท้จริง วิชาธรณีประกอบด้วยการประยุกต์ความรู้จากชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ นิเวศวิทยา และคณิตศาสตร์ เพื่ออธิบายความซับซ้อนของโลกใบนี้ การศึกษาทางธรณียังช่วยเสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์อีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นภาพในอดีตและเพิ่มความสามารถในการทำนายเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การเข้าใจกระบวนการทางธรรมชาติต่างๆ ที่ส่งผลต่อเราในปัจจุบันและในอนาคต นักธรณีวิทยาจะมองหาหลักฐานหรือร่องรอยของกระบวนการนั้นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ซึ่งจะเป็นตัวเชื่อมเราไปสู่อดีตและท้าทายให้เราได้คิดถึงความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นอนาคต

การเรียนธรณีได้ก่อให้เกิดคำถามอันน่าสนใจไว้มากมาย ทำไมจึงเกิดแผ่นดินไหว? ทำไมถึงมีการกัดเซาะชายฝั่ง แล้วเราควรจะจัดการอย่างไร? ทำไม่บริเวณที่ราบน้ำท่วมถึงไม่เหมาะแก่การสร้างบ้าน? บริเวณไหนที่เราจะนำพลังงานเชื้อเพลิงมาใช้ได้ในอนาคต? บริเวณไหนที่เราจะพบน้ำดื่มที่มีคุณภาพดี? เราจะช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร? ประเด็นและปัญหาต่างๆ เหล่านี้ อยู่บนพื้นฐานความรู้ทางทั้งสิ้น

ความรู้ทางธรณีสร้างงานเพื่อชีวิต

การศึกษาทางธรณีมีบทบาทอย่างมากในสังคมที่มีความต้องการใช้ทรัพยากร และจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง การเรียนธรณีได้พัฒนาทักษะหลายๆ ด้านที่ช่วยให้ผู้ที่ศึกษากลายเป็นนักแก้ปัญหาที่ดี รวมถึงการคิดวิเคราะห์ในหลายมิติ อีกทั้งมีความเข้าใจในแง่การย้อนอดีตและมาตรธรณีกาล (Geologic time scale) นักธรณีวิทยาจะใช้ทักษะเหล่านี้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ การสำรวจน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน การทำแผนที่ทรัพยากร การติดตามสภาพภูมิอากาศ และการค้นหาวัสดุที่เหมาะสมต่อการสร้างบ้านและถนน หรือการเสาะหาพื้นที่เพาะปลูกที่มีแร่ธาตุและโภชนาการที่เราต้องการ เป็นต้น

นักธรณีวิทยาทำงานได้อย่างกว้างขวางในหลายองค์กร รวมถึง บริษัทปิโตรเลียม บริษัทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม บริษัทเหมืองแร่ และบริษัทก่อสร้าง เป็นต้น นักธรณีวิทยาทำงานได้ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จนถึงองค์กรระดับชาติ อีกทั้งการสอนการวิจัยในโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย นอกจากนี้นักธรณีวิทยายังสามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้อีกด้วย อาทิ วิศวกรรม การเกษตร การผังเมือง หรืออวกาศ ซึ่งจะช่วยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งบนโลกที่ซึ่งมีผลกระทบต่อกิจการของหน่วยงานนั้นๆ ได้ด้วย

ในประเทศไทยมีหลักสูตรการเรียนการสอนธรณีศาสตร์ (ครอบคลุมทุกศาสตร์ที่สัมพันธ์กับโลก) ธรณีวิทยา ธรณีวิศวกรรม ธรณีฟิสิกส์ ระดับปริญญาตรีในหลายมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ เป็นต้น บางแห่งเปิดหลักสูตรธรณีจนถึงระดับปริญญาโท และปริญญาเอก

การเรียนธรณีได้สร้างรากฐานความรู้ที่สำคัญให้แก่หลายสายงาน และค่อยๆ ซึมซาบความเข้าใจให้ด้วยว่าระบบต่างๆ ของโลกนั้นมีอิทธิพลต่อกิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์อย่างไร อย่างไรก็ตามนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลายคนยังไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาขาวิชานี้ว่ามีประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร และมองไม่เห็นถึงทักษะการแก้ปัญหาที่ได้จากการเรียนสาขานี้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาทางธรณี ถ้าเรายังจะต้องพบกับความต้องการใช้ทรัพยากรที่มากขึ้นในอนาคต

Earth-Evolution

เน้นความรู้ธรณีกันมากขึ้น

วิชาธรณีเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ ที่สอนมาแล้วหลายสิบปี ทุกโรงเรียนในประเทศไทย ซึ่งหลายคนยังคงคิดว่าชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ เท่านั้นที่เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ แต่ในปัจจุบันความคิดเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป

ภายหลังจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2547 ที่คร่าชีวิตผู้คนตามแนวชายฝั่งอันดามันหลายแสนคน และสร้างความเสียหายหลายล้านบาท ความรู้ทางธรณีเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาวิชาธรณี และได้ส่งเสริมการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิชาธรณีในโรงเรียนมากขึ้น รวมถึงการจัดค่ายอบรมครูผู้สอนและนักเรียนตามมหาวิทยาลัยต่างๆ

ปัจจุบันมีนักเรียนหลายคนได้ให้ความสนใจที่จะเรียนต่อทางธรณีศาสตร์ ธรณีวิทยา ธรณีวิศวกรรม เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อาชีพนักธรณีวิทยาได้กลายเป็นอาชีพต้นๆ ที่ทุกคนใฝ่ฝัน และเป็นความต้องการอย่างมากในอนาคต

ต่อจากนี้ ทำไมต้องธรณี? คงจะกลายเป็นคำถามที่ไม่อยากตอบ ที่ทุกคนควรจะรู้คำตอบกันอยู่แล้วในใจ ยังนึกภาพไม่ออกเลยว่า ถ้าในอดีตทุกคนไม่มีความรู้ทางธรณีแล้วล่ะก็..โลกของเราจะยังเป็นเหมือนในปัจจุบันนี้เหรอไม่ ต้องขอบคุณที่มีวิชาธรณีและนักธรณีวิทยาทุกๆ คน ที่ทำให้เราได้อยู่บนโลกนี้อย่างมีความสุขสบาย

————

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ส.ค. 2551

70-410
70-461
70-462
200-120
70-488
MB2-703
70-411
MB5-705
C_TADM51_731
70-346
70-486
70-347
70-480
70-483
70-412
70-463
MB2-700
70-417
C_TAW12_731
400-101
MB2-702
70-487
70-243
VCP-550
70-414
70-466
100-101
JN0-102
VCP550
640-554
70-331
EX300
1Z0-060
MB2-701
70-467
EX200
350-001
700-505
640-911
M70-301
70-489
220-802
700-501
050-SEPROAUTH-02
M70-101
70-458
CCD-410
70-341
70-464
70-680
74-335
350-018
C_TFIN52_66
HP0-J73
70-687
ICBB
70-457
N10-005
1Z0-061
220-801
70-465
C4090-958
MB6-700
OG0-093
646-206
EX0-001
70-413
M70-201
117-101
810-420
C2180-276
C4040-221
1Z0-599
350-029
820-421
C_THR12_66
117-102
70-342
70-460
74-338
MB6-871
200-101
70-484
C2090-303
MB6-886
1Z0-481
1Z0-899
400-051
70-246
70-496
74-343
C2180-278
MB7-702
1Z0-051
1Z0-144
312-50v8
70-685
C_A1FIN_10
C4040-108
PMI-001
1Z0-478
98-349
70-460
74-338
MB6-871
200-101
70-484
C2090-303
MB6-886
1Z0-481
1Z0-899
400-051
70-246
70-496
74-343
C2180-278
MB7-702
1Z0-051
1Z0-144
312-50v8
70-685
C_A1FIN_10
C4040-108
PMI-001
1Z0-478
98-349
C_TSCM52_66
CISSP
300-209
70-247
70-332
E10-001
NS0-156
NS0-504
VCP5-DCV
300-206
640-461
642-813
C_HANASUP_1
FCNSP.v5
HP2-E59
PEGACLSA_6.2V2
70-336
A00-240
C2020-612
PEGACSSA_v6.2
1Z0-062
300-207
70-459
98-365
C_TBW45_70
CBAP
MB6-869
MB7-701
PRINCE2 Practitioner
1Z0-803
98-364
C_GRCAC_10
PRINCE2
MB2-702 dump
70-487 dump
70-243 dump
70-414 dump
70-466 dump
70-331 dump
EX300 dump
1Z0-060 dump
MB2-701 dump
70-467 dump
EX200 dump
M70-301 dump
70-489 dump
220-802 dump
050-SEPROAUTH-02 dump
M70-101 dump
70-458 dump
CCD-410 dump
70-341 dump
70-410 test
70-461 test
70-462 test
200-120 test
70-488 test
MB2-703 test
70-411 test
MB5-705 test
70-346 test
70-486 test
70-347 test
70-480 test
70-483 test
70-412 test
70-463 test
MB2-700 test
70-417 test