รอยผิดวิสัยโมโหโรวิสิกคืออะไร รอยผิดวิสัยโมโหโรวิสิก (Mohorovičić Discontinuity) หรือ รอยผิดวิสัยโมโห คือรอยต่อระหว่างเปลือกโลก (crust) กับชั้นแมนเทิล (mantle) ในทางธรณีวิทยาคำว่า “รอยผิดวิสัย (discontinuity)” คือบริเวณพื้นผิวที่คลื่นไหวสะเทือนมีการเปลี่ยนแปลงความเร็ว ซึ่งหนึ่งในนั้นพบปรากฏอยู่ที่ความลึกเฉลี่ย 8 กิโลเมตรใต้เปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร และที่ความลึกเฉลี่ยประมาณ 32 กิโลเมตรใต้เปลือกโลกภาคพื้นทวีป บริเวณดังกล่าวคลื่นไหวสะเทือนจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น และเป็นที่รู้จักกันดี เรียกว่า “รอยผิดวิสัยโมโหโรวิสิก (Mohorovičić Discontinuity)” หรือมักจะเรียกง่ายๆ ว่า “โมโห (Moho)” รอยผิดวิสัยโมโหถูกค้นพบได้อย่างไร? รอยผิดวิสัยโมโหถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ.1909 โดยนักคลื่นไหวสะเทือน (seismologist) ชื่อว่า Andrija Mohorovičić ซึ่งนาย Mohorovičić รู้ดีว่าความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของวัตถุที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน เขาได้ทำการแปลความหมายถึงการเพิ่มขึ้นของความเร็วคลื่นไหวสะเทือนที่ส่งผ่านใต้ผิวโลกว่ามีการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบใต้โลก ซึ่งการเพิ่มความเร็วนั้นเนื่องมาจากวัสดุมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นตามความลึกที่เพิ่มขึ้น วัสดุความหนาแน่นต่ำใต้ผิวโลกมักอ้างถึงชั้นเปลือกโลก (Earth’s crust) ส่วนชั้นที่มีความหนาแน่นมากกว่าที่อยู่ข้างใต้ก็คือชั้นแมนเทิล (Earth’s mantle) จากการวิเคราะห์ค่าความหนาแน่นอย่างละเอียดพบว่ามีวัสดุที่มีค่าความหนาแน่นคล้ายหินที่มีแร่ประกอบโอลิวีนมาก เช่น เพอริโดไทต์ (peridotite) วางตัวอยู่ใต้แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรบะซอลต์ (basaltic oceanic crust) และแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปแกรนิต (granitic continental […]
Read more ›