Author: ทีมวิชาการธรณีไทย

ธรณีวิทยาคืออะไร?

ธรณีวิทยาคืออะไร?

สื่อการสอนนี้จำเป็นต้องใช้โปรแกรม Adobe® Flash PlayerTM ในการเข้าชม ถ้าหากคุณไม่มีโปรแกรมนี้หรือเวอร์ชั่นที่คุณใช้เป็นเวอร์ชั่นเก่า อาจไม่สามารถเข้าชมเนื้อหาและภาพเคลื่อนไหวได้ คุณสามารถดาวน์โหลดและลงโปรแกรม Flash Player เวอร์ชั่นล่าสุดได้ที่นี่ทันทีhttp://www.adobe.com/products/flashplayer/ ธรณีวิทยาคืออะไร? | โลกของเรา | แผ่นเปลือกโลก | หินและแร่ | การเปลี่ยนลักษณะ | เชื้อเพลิงธรรมชาติ | บทสรุป  

Read more ›
อ่านก่อนเรียน

อ่านก่อนเรียน

สื่อการสอนนี้จำเป็นต้องใช้โปรแกรม Adobe® Flash PlayerTM ในการเข้าชม ถ้าหากคุณไม่มีโปรแกรมนี้หรือเวอร์ชั่นที่คุณใช้เป็นเวอร์ชั่นเก่า อาจไม่สามารถเข้าชมเนื้อหาและภาพเคลื่อนไหวได้   คุณสามารถดาวน์โหลดและลงโปรแกรม Flash Player เวอร์ชั่นล่าสุดได้ที่นี่ทันที http://www.adobe.com/products/flashplayer/ ธรณีวิทยาคืออะไร? | โลกของเรา | แผ่นเปลือกโลก | หินและแร่ | การเปลี่ยนลักษณะ | เชื้อเพลิงธรรมชาติ | บทสรุป

Read more ›
แผ่นดินไหวเสฉวน ประเทศจีน

แผ่นดินไหวเสฉวน ประเทศจีน

เมื่อวันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.28 น. เกิดแผ่นดินไหว 7.9 ริกเตอร์ (สถาบันธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา)   ทางตะวันออกของมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ศูนย์กลางอยู่ที่ความลึก 19 กิโลเมตรจากผิวดิน และมี Aftershock 5.0-6.0 ริกเตอร์ ตามมาอีก 16 ครั้ง จนถึงวันอังคารที่ 13 พฤษภาคม 2551 เวลา 06.54 น. มีผู้เสียชีวิตประมาณเกือบ 20,000 คน

Read more ›
ไขปริศนาอายุด้วย Carbon-14

ไขปริศนาอายุด้วย Carbon-14

หลายคนอาจจะเคยเห็นหรือได้อ่านข่าวเกี่ยวกับการพบวัตถุโบราณมามากมาย คงเกิดความสงสัยว่านักโบราณคดีหรือแม้กระทั่งนักธรณีวิทยาสามารถบ่งบอกอายุของสิ่งที่เขาขุดค้นพบได้อย่างไร ดังเช่น การขุดค้นพบซากมัมมี่ในเทือกเขาแอนดีส ที่ระบุว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เขาเอาตัวเลขนี้มาจากไหน บทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้ในการหาอายุของวัตถุ นั้นก็คือ การหาอายุโดยคาร์บอน-14

Read more ›
เซียนต้อย..คน(ไม่)เอาถ่าน

เซียนต้อย..คน(ไม่)เอาถ่าน

  นับแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา ไม่ว่าจะนับไปข้างหน้าหรือถอยหลังไป 10 ปี ไม่มีใครไม่รู้จักหนุ่มนักประดิษฐ์จากบ้านบางระกำ นักเรียนทุนจากเมืองสองแคว ผู้ย่างเท้าเข้ามาเรียนธรณีวิทยาอย่างมุ่งมั่นและภาคภูมิ นามว่า (พี่, อา, ลุง) ต้อย หรือ สมชาย พุ่มอิ่ม หนึ่งในนักเล่นแร่แปรธาตุตัวฉกาจแห่งวงการธรณีวิทยาประเทศไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ที่ฝังตัวอย่างเหนียวแน่นอยู่ในกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ แต่เอ๊ะ! ไปๆมาๆฉันใดไหงมีฉายาว่า “ต้อย คน(ไม่)เอาถ่าน” ไปได้ อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเข้าสู่วงการธรณี และฝ่าฟันมรสุมด้วยความมุ่งมั่นมาได้จนบัดนี้ มาขุดคุ้ยและรับฟังเรื่องราวของชีวิต พร้อมทั้งแง่คิดดีๆ จากนักธรณีผู้นี้ได้ ณ บัดเดี๋ยวนี้….. เมื่อวันที่ 4 เมษายนปีที่แล้ว เวลา 4 โมงเย็นโดยประมาณ ณ ร้านที่นี่เมืองไทย แต่เบียร์เยอรมัน บรรยากาศฝรั่ง ริมคลองรังสิต วันนั้น พายุโหมกระหน่ำ หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด ส่งผลให้ไฟดับไปทั้งสาย  พี่เรศ (นเรศ สัตยารักษ์) “ไม่น่าไปเชื่อมันเลย ฉันอยู่คลองสิบห้าลำลูกกา บอกให้เราเข้าคลองสิบห้ามารังสิตนครนายก มาเจอถนนลูกรัง ฝนก็ตก แถมยังเจอกองผ้าป่า วนไปวนมา 30 นาทีแล้ว ยังอยู่คลองสิบห้าอยู่เลย….(ว่าแล้วก็ซดเบียร์ไปหนึ่งอึก)” และแล้ว […]

Read more ›
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ออนไลน์ของไทย

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ออนไลน์ของไทย

เชิญเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เสมือน (National Science Museum Virtual Tour) และ E-exhibition (นิทรรศการอิเล็กทรอนิกส์) ที่จะทำให้คุณได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างง่ายดาย รวมถึงนิทรรศการความรู้ทางธรณีวิทยา ไม่ว่าจะเป็น วิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต แผ่นดินไหว ภาวะโลกร้อน ดวงดาวและอวกาศ คลื่นยักษ์ซึนามิ เป็นต้น ด้วยการนำเสนอที่ง่ายต่อการเข้าใจ และครบถ้วยด้วยเนื้อหา หากใครไม่ได้มีโอกาสได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งชาติหรือพิพิธภัณฑ์ลูกเต๋าก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะเขาได้ยกพิพิธภัณฑ์มาไว้ในเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว รับรองว่าคุ้มแน่นอน ที่สำคัญ..ฟรีตลอดงาน! 

Read more ›
ท่องโลกธรณีผ่าน Google Earth

ท่องโลกธรณีผ่าน Google Earth

การเรียนรู้ธรณีวิทยาก็เปรียบเสมือนการศึกษาโลก หากใครได้เห็นโลกมากก็จะเกิดความรู้มาก เนื่องจากลักษณะทางธรณีวิทยานั้นมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ที่จะไปเยี่ยมชมได้หมด อย่างไรก็ตามด้วยความสามารถของแผนที่ดิจิตอลจาก Google EarthTM จะเป็นตัวช่วยพาให้เราชาวธรณีเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ นั้นได้ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก ซึ่งจะช่วยให้เราได้เรียนรู้และเห็นลักษณะทางธรณีวิทยาได้จากที่บ้านอย่างง่ายดาย พร้อมกับรูปภาพประกอบและคำอธิบายสั้นๆ เสมือนกับว่าเราได้ไปเยือนสถานที่แห่งนั้นจริงๆ หากพร้อมแล้วก็ออกเดินทางกันเลย

Read more ›
ไพรเมตสกุลใหม่ของโลกและพ.ร.บ.ซากดึกดำบรรพ์ฉบับใหม่

ไพรเมตสกุลใหม่ของโลกและพ.ร.บ.ซากดึกดำบรรพ์ฉบับใหม่

นักธรณีวิทยาไทยพบซากฟอสซิลไพรเมตจมูกเปียกวงศ์ศิวะอะเดปิดขนาดเล็กที่สุดในโลกที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะ มีน้ำหนักเพียง 5 ขีด สร้างสถิติพบครั้งแรกในไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โยงความสัมพันธ์เป็นบรรพบุรุษของลิงลมในเกาะมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา และการค้นพบไพรเมตรชนิดนี้ ส่งผลให้เกิดความคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์และแหล่งซากดึกดำบรรพ์จนเกิดเป็น “พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551” ที่จะมีผลบังคับใช้ในต้นเดือนสิงหาคมนี้

Read more ›
คุณสมบัติทางกายภาพของแร่

คุณสมบัติทางกายภาพของแร่

คุณสมบัติทางกายภาพของแร่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจำแนกแร่ออกเป็นชนิดต่างๆ นักธรณีวิทยาทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆ ของแร่เป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญของการศึกษาทางธรณีวิทยา นอกจากความรู้ความเข้าใจแล้ว นักธรณีวิทยายังต้องมีทักษะที่สามารถนำคุณสมบัติเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย คุณสมบัติเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในการทำงานภาคสนามที่ต้องทำการระบุชนิดหิน แร่ เพื่อทำแผนที่ธรณีวิทยา ก่อนการตรวจสอบในขั้นละเอียดต่อไป

Read more ›
ธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (Plate Tectonics)

ธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (Plate Tectonics)

เมื่อกว่าหลายทศวรรษที่ผ่านมา นักทำแผนที่ได้สังเกตเห็นว่าแผ่นทวีปต่างๆ บนโลกนั้นสามารถนำมาต่อกันได้ราวกับว่าครั้งหนึ่งแผ่นทวีปเหล่านี้เคยเป็นแผ่นเดียวกันมาก่อน จากการสังเกตครั้งนั้นร่วมกับการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ชนิดเดียวกันบนชายฝั่งอเมริกาเหนือและแอฟริกาในเวลาต่อมา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบได้เสนอความคิดว่าแผ่นทวีปต่างๆ ที่เคยคิดว่าอยู่นิ่งนั้น แท้จริงแล้วได้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามในขณะนั้นยังไม่มีใครสามารถอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้

Read more ›