Category: บทความแนะนำ

รวมความหมายของธรณีวิทยาสาขาต่างๆ

รวมความหมายของธรณีวิทยาสาขาต่างๆ

The American Geological Institute (AGI) ได้ให้คำจำกัดความของสายงานต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายของธรณีศาสตร์ รวมถึงอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของนักธรณีวิทยาในสายวิชาชีพต่างๆ ด้วย และยังได้จัดกลุ่มนักธรณีวิทยาออกเป็นสามกลุ่ม คือ geoscientists, geoengineers และ geomanagers ซึ่งทั้งหมดอยู่ในภาคผนวก ของรายงานเรื่อง Status of the Geoscience Workforce 2009 

Read more ›
204 ปีชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรณีบูรณาการ

204 ปีชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรณีบูรณาการ

หลังจากที่ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้อ่านหนังสือหลักการธรณีวิทยา (Principles of Geology) ของชาร์ลส์ ไลแอล ระหว่างการเดินทางรอบโลกไปกับเรือหลวงบีเกิลในฐานะนักธรรมชาติวิทยา ทำให้เขาเข้าถึงหลักกระบวนการคิดในเชิงธรณีวิทยาอย่างแท้จริง และนั่นทำให้เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาธรรมชาติระดับแนวหน้า

Read more ›
เรียนรู้โลกกว้าง Winter Carnival

เรียนรู้โลกกว้าง Winter Carnival

  มีหลายคนบอกว่า มีสองสิ่งบนโลกนี้ที่เงินซื้อไม่ได้ หนึ่งคือ “ความรัก” และสองคือ “เวลา” กว่า 6 เดือน ที่ข้ามน้ำ ข้ามทะเล และมหาสมุทร ดั้นด้นเดินทางไกลมา (ทำอะไร ก็ยังงงตัวเองอยู่ ) ยังต่างแดน ต่างทวีป ต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ได้พบปะผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งมะกัน จีน อินเดีย, อินเดีย จีน มะกัน (สรุปแล้วคนสามกลุ่มหลักของที่นี่มีแค่สามชาตินี้แหละ)ได้เรียนรู้ ได้เห็นสิิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างจากพี่ไทยเราโดยสิ้นเชิง ได้ชิมอาหารรสชาติอเมริกันแท้ๆ ซึ่งไม่คาดคิดบ้านเราจะนำไปทำให้มันอร่อยขึ้นได้อย่างมาก และขายให้เราในราคาแพงได้ (นับถือๆ)

Read more ›
ความตั้งใจที่ต้องทำสำเร็จในปีใหม่นี้

ความตั้งใจที่ต้องทำสำเร็จในปีใหม่นี้

ขึ้นปีใหม่แล้ว ช่างถือเป็นฤกษ์งามยามเหมาะสำหรับกำหนดความตั้งใจที่จะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ จริงๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นวันเกิด วันแรกของการไปโรงเรียน หรือวันอื่นๆ ก็ล้วนเป็นวันดี เพื่อเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ ได้ทั้งนั้น หากการเริ่มต้นส่ิงใหม่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ ลองถือซะว่าวันนี้ของเราเป็นเหมือนจุดเชื่อมระหว่างอดีตและอนาคต ซึ่งเราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นได้เสมอ เอาล่ะ มาดูกันดีกว่าว่าสิ่งที่นักสำรวจโลกอย่างเราไม่ควรพลาดที่จะทำในปีใหม่นี้มีอะไรบ้าง

Read more ›

พิพิธภัณฑ์สิริธร

เมื่อมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ในหลาย ๆ ที่ในภูมิภาคยุโรป เห็นมุมมองใหม่ ๆ ที่แตกต่างและหลากหลาย  ทำให้กลับไปนึกถึงบ้านเรา ว่า เอ้..เมืองไทยมีที่ไหนให้เราได้ไปเยี่ยมชมซากดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นพระเอกตลอดกาลของเด็ก ๆ บ้าง เมื่อตอนเป็นเด็ก ก็เคยได้ยิน ได้ฟังมาบ้าง บางแห่งก็เคยไปมาแล้ว…ว่าแต่ ผ่านมาหลายปีมันเปลี่ยนแปลงอะไรไปบ้างรึเปล่า  แล้วหน่วยงานของไทยมีการโปรโมท กันมากน้อยเพียงใด ก็เลยท่องเน็ทไปเรื่อย ๆ ถามเพื่อนบ้าง เลยไปเจอเวบไซท์ของพิพิธภัณฑ์สิรินธร ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ เดิมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ก็คือพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ที่เราเคยรู้จักในอดีต แต่ได้มีการปรับปรุงและสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งห้องจัดแสดงนิทรรศการที่อลังการกว่าเดิมหลายเท่า ได้ข่าวว่าจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคมนี้ ใครต้องการไปเยี่ยมชม (ค่าเข้าฟรี) เข้าไปดูรายละเอียด ติดต่อสอบถามถามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ  https://www.facebook.com/sirindhorn.museum นอกจากข่าวสารในเวบไซต์ของกรมทรัพยากรธรณีฯ แล้วยังมีอีกเวบไซต์นึงที่น่าสนใจ เกี่ยวกับทางด้านบรรพชีวินวิทยาทั้งไทยและเทศ เป็นเวบไซต์ของศูนย์วิจัยทางบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คลิกได้ที่นี่เลยค่ะ     http://www.prc.msu.ac.th/new_prc/ งานทางด้านบรรพชิวินวิทยา คนอาจจะไม่เห็นความสำคัญ เนื่องจากคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่เกี่ยวกับความเสียหายของบ้านเรือน หรือทรัพย์สิน และแม้ซากสัตว์ที่ตายมาเมื่อหลายล้านปีก่อนไม่ใช่ทรัพยากรที่สามารถลงทุนและได้ผลกำไรราคาแพงเช่นปิโตรเลียม  อย่างไรก็ตาม บรรพชิวินวิทยาก็เป็นธรณีวิทยาแขนงหนึ่งที่น่าสนใจ ซากดึกดำบรรพ์เป็นทรัพยากรสำคัญทำให้พวกเราได้เรียนรู้ถึงความเป็นมาของสิ่งมีชิวิตและวิวัฒนาการ และทำให้เรารู้ว่าโลกในอดีตมันต่างจากดาวเคราะห์สีฟ้าที่เราดำรงชีวิตอยู่ทุกวันนี้อยากสิ้นเชิง  

Read more ›

The Geoblogosphere – รวม Geoblog สำหรับชาวธรณี

The following list of 102 geoblogs is certainly not complete. If you find a new blog or possible mistakes in the list, please post a comment. General About Geology by Andrew Alden – diverse geoscientific news and information Earth Learning Idea – every week a new geodidactic idea The Accretionary Wedge – Blog collecting the results of geoblog carnivals EffJot by Florian Jenn (partly in German) […]

Read more ›
แท่นอาทิตย์ เจาะชีวิต ติดก๊าซ

แท่นอาทิตย์ เจาะชีวิต ติดก๊าซ

ในภาวะน้ำมันแพง ผู้คนในสังคมหันมาสนใจพลังงานที่ทดแทนน้ำมัน “ ก๊าซ ” เป็นทางเลือก อันดับแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึง ก๊าซธรรมชาตินั้น เป็นเรื่องใกล้ตัวและใกล้ครัวคนไทยมาเนิ่นนานและกำลังเป็นเรื่องร้อนๆ เพราะตอนนี้ใครๆ ก็สนใจเรื่องก๊าซ ก๊าซธรรมชาติ เป็นทรัพยากรที่ถูกค้นพบบนผืนแผ่นดินไทยเป็นเวลากว่า 10 ปี ติดตามเรื่องราวของแท่นอาทิตย์ เจาะชีวิต ติดก๊าซ ได้ในรายการกบนอกกะลาย้อนหลัง ที่นี่

Read more ›
ภูเขาที่สูงที่สุดในโลก: คู่แข่งของเอเวอร์เรสต์!

ภูเขาที่สูงที่สุดในโลก: คู่แข่งของเอเวอร์เรสต์!

          ใครที่คิดว่าเทือกเขาเอเวอร์เรสต์สูงที่สุดในโลกแล้วละก็ ลองคิดใหม่ได้ เพราะตอนนี้เอเวอร์เรสต์มีคู่แข่งที่สูงกว่าซะแล้ว ว่าแต่..ภูเขาอื่นจะสูงกว่าได้อย่างไร แฮะๆ ชักสงสัยแล้วใช่มั้ยครับ วันนี้ผมจะแนะนำคู่แข่งอันน่ากลัวของเอเวอร์ให้ได้รู้จักกัน ไปดูกันได้เลย เอเวอร์เรสต์: สูงเหนือระดับน้ำทะเลมากที่สุด คนส่วนใหญ่ทราบกันดีว่ายอดเขาเอเวอร์เรสต์นั้นคือภูเขาที่สูงที่สุดในโลก ซึ่งดึงดูดให้นักปีนเขาจากทั่วโลกให้เดินทางมายังที่แห่งนี้ เพื่อที่จะพิชิตส่วนที่สูงที่สุดในโลกนี้ให้ได้ ยอดเขาเอเวอร์เรสต์นั้นมีความสูง 8,848 เมตร (29,028 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งความสูงระดับนี้เองที่ทำให้เอเวอร์เรสต์มีความสูงมากกว่ายอดเขาอื่นๆ ในโลก (the Highest altitude) ยอดเขาเอเวอร์เรสต์   ด้วยความสูงเหนือระดับน้ำทะเลนี้ทำให้เอเวอร์เรสต์เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลก Mauna Kea: ภูเขาที่มีความสูงมากที่สุด Mauna Kea มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 4,205 เมตร (13,796  ฟุต) ซึ่งต่ำกว่าเอเวอร์เรสต์มาก แต่อย่างไรก็ตามด้วยความที่ภูเขา Mauna Kea เป็นเกาะกลางมหาสมุทร ในหมู่เกาะฮาวาย ดังนั้นถ้าวัดระยะจากฐานบริเวณใกล้กับพื้นมหาสมุทรถึงยอดเขาแล้ว จะพบว่าภูเขา Mauna Kea นั้นมีความสูงมากกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์ Mauna Kea มีความสูงมากกว่า 10,000 เมตร เมื่อเทียบกับเอเวอร์เรสต์ที่มีความสูงเพียง 8,848 เมตร ทำให้ Mauna Kea […]

Read more ›
ตำแหน่งที่ลึกที่สุดในมหาสมุทร

ตำแหน่งที่ลึกที่สุดในมหาสมุทร

ตำแหน่งที่ลึกที่สุดในมหาสมุทรคือ ตำแหน่งลึกชาเลนเจอร์ (Challenger Deep) ในร่องลึกมาเรียนา โดยตำแหน่งนี้อยู่ลึกต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 10,924 เมตร ถ้าเอาเทือกเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลกไปวางไว้ในบริเวณนั้นก็จะถูกน้ำท่วมยอดเขาถึง 2 กิโลเมตรเลยทีเดียว

Read more ›