Category: โลกของเรา

การเกิดปิโตรเลียม

การเกิดปิโตรเลียม

ปิโตรเลียม (petroleum จากภาษากรีก petra – หิน และ elaion – น้ำมัน หรือภาษาละติน oleum – น้ำมัน ) หรือที่เราเรียกกันว่า น้ำมัน เป็นทรัพยากรธรรรมชาติที่สามารถพบได้ในชั้นหินในบางพื้นที่บนเปลือกโลก หรือใต้พื้นดิน ปิโตรเลียมประกอบไปด้วยสารประกอบโครงสร้างซับซ้อนของไฮโดรคาร์บอน ซึ่งอาจมีความข้นหนืดและดำเหมือนน้ำมันดิน หรือบางครั้งอาจเหลวเหมือนน้ำก็ได้

Read more ›
เพชรสีเลือดแห่งความขัดแย้ง

เพชรสีเลือดแห่งความขัดแย้ง

หากใครเคยดูหนังเรื่อง Blood Diamond ที่มีลีโอนาโดสุดหล่อแสดงนำ คงยังจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของสงครามกลางเมืองในทศวรรษ 1990 ได้ เพชรสีชมพูเข้มเม็ดใหญ่(มาก)ถูกพบใน ”เซียร์รา เลโอน” (Sierra Leone) โดยชาวประมงที่ต้องใช้แรงงานเยี่ยงทาสในเหมืองของพวกกบฎ อัญมณีสูงค่านี้ได้เปลี่ยนแปลงและแม้กระทั่งจบชีวิตของตัวละครหลายคนในเรื่อง ถือเป็นหนังที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว

Read more ›

เรียนวัฏจักรของหินผ่านโฆษณา

เรียนรู้กระบวนการผุพัง (weathering) และการกร่อน (erosion) จากภาพยนต์โฆษณาของโทรศัพท์มือถือโมโตโรล่า รุ่น PEBL คลิปวิดีโอสั้นนี้แสดงเรื่องราวของอุกกาบาตที่ตกสู่โลกแล้วผ่านกระบวนการผุพังและการกร่อนโดยธรรมชาติ จนกระทั่งกลายเป็นก้อนกรวดผิวเรียบ “pebble” อาจจะเป็นอิทธิพลทำให้กลายเป็นชื่อรุ่นของมือถือนี้ก็ได้ แต่คงไม่ใช่ หลังจากชมภาพยนต์โฆษณานี้แล้วทำให้เห็นภาพของกระบวนการทางธรณีวิทยามากขึ้น กระบวนการทั้งสองนี้แตกต่างกันตรงที่การผุพังนั้นเป็นการทำให้หินแตกเป็นชิ้นเล็กๆ (ช่วงแรกของคลิป) ในขณะที่การกร่อนนั้นเกิดจากการถูกพัดพาโดยตัวกลาง เช่น แม่น้ำลำธาร ทำให้ได้หินกลายเป็นกรวดมนๆ ซึ่งเป็นผลจากการขัดสีและกระทบกันของก้อนหินระหว่างการเดินทาง ความกลมมนของก้อนหินนี้เองที่ถูกนำมาใช้สื่อถึงความกลมมนของตัวสินค้า ดังที่จะเห็นการเปรียบเทียบโทรศัพท์มือถือกับก้อนหินในคลิปที่สอง ดูเผินๆ อาจจะแยกกันไม่ออกเลย

Read more ›
204 ปีชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรณีบูรณาการ

204 ปีชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรณีบูรณาการ

หลังจากที่ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้อ่านหนังสือหลักการธรณีวิทยา (Principles of Geology) ของชาร์ลส์ ไลแอล ระหว่างการเดินทางรอบโลกไปกับเรือหลวงบีเกิลในฐานะนักธรรมชาติวิทยา ทำให้เขาเข้าถึงหลักกระบวนการคิดในเชิงธรณีวิทยาอย่างแท้จริง และนั่นทำให้เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาธรรมชาติระดับแนวหน้า

Read more ›
แผนที่ธรณีแปรสัณฐาน

แผนที่ธรณีแปรสัณฐาน

แผนที่ธรณีแปรสัณฐาน (This Dynamic Planet: World Map of Volcanoes, Earthquake, Impact Craters, and Plate Tectonics) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับภูเขาไฟ แผ่นดินไหว หลุมอุกกาบาต แผ่นเปลือกโลก เป็นอย่างดีและเข้าใจได้ง่าย (ภาษาอังกฤษ) พร้อมภาพประกอบสวยงาม จัดทำโดย USGS สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี มีสองขนาดทั้งแบบโปสเตอร์ขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก (.pdf) เหมาะสำหรับการเรียนการสอนของคุณครู และนักเรียนที่สนใจ ดังนั้นใครที่กำลังมองหาแผนที่ดีๆ แบบนี้ ไม่ควรพลาดเด็ดขาด รายละเอียดการดาวน์โหลดด้านใน!

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 11 – ขุมทรัพย์ใต้พิภพ

  รอบรู้ธรณีไทย 11 – ขุมทรัพย์ใต้พิภพ Underworld Treasure  แร่ เป็นสารอนินทรีย์ที่เกิดเองตามธรรมชาติ มีสมบัติหลากหลายตามชนิด และส่วนใหญ่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งทางตรง และทางอ้อม ในธรรมชาติแร่ชนิดหนึ่งอยู่ปะปนกับแร่อื่น จึงต้องแยกเสียก่อน มวลธรณีที่พบแร่เศรษฐกิจมากและยังไม่ได้แย ก เรียกว่า สินแร่ (เช่น ฮีมาไทต์ คือสินแร่เหล็ก ถลุงแล้วได้ เหล็ก) ประเภทของแร่ แบ่งใหญ่ตามสมบัติ ได้แก่ แร่โลหะ และแร่อโลหะ แร่โลหะที่พบในประเทศไทย เช่น เหล็ก ดีบุก สังกะสี ตะกั่ว เงิน ทอง ฯลฯ และแร่อโลหะ เช่น ยิปซัม ทัลก์ แคลไซต์ แร่ใยหิน ฯลฯ หรือแบ่งตามประโยชน์ เช่น แร่รัตนชาติ หรือแร่เชื้อเพลิง แร่รัตนชาติ แบ่งกลุ่มเป็น เพชร และพลอย (พลอยยังแบ่งย่อยอีกหลายกลุ่ม เช่น ทับทิม ไพลิน พลอยเขียว บุษราคัม นิล ฯลฯ) […]

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 9 – ตามรอยไดโนเสาร์ไทย

  รอบรู้ธรณีไทย 9 – ตามรอยไดโนเสาร์ไทย Thai Dinosaurs  ฟอสซิล (ซากดึกดำบรรพ์) เกิดจากการเกิดชั้นหินตะกอนทับถมปกคลุมซาก สิ่งมีชีวิต ไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทยมีทั้งกลุ่ม ซอโรพอด (ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่) เช่น ภูเวียงโกซอรัสสิรินธรเน เป็นกระดูกจำนวนมากค่อนข้างสมบูรณ์ กลุ่ม เทอโรซอร์ (ไดโนเสาร์กินเนื้อสองขา) เช่น สยามโมไทรันนัสอิสานเอนซิส ต้นตระกูลของทีเร็กซ์ เป็นกระดูกครึ่งตัว กลุ่ม ซิตตาโกซอร์ (ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว) เป็นกระดูกขากรรไกร กลุ่ม คาร์โนซอร์ (ไดโนเสาร์ล่าเนื้อขนาดเล็ก) เป็นรอยเท้าจำนวนมาก   ต้นฉบับ: รอบรู้ธรณีไทย  ผลิต: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (Thailand’s Department of Mineral Resources) http://www.dmr.go.th

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 8 – ฟอสซิลไทย

  รอบรู้ธรณีไทย 8 – ฟอสซิลไทย Fossil in Thailand  แหล่งซากดึกดำบรรพ์ทำให้รู้ความเป็นมาของส ิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์เกิดขึ้นเมื่อ 5 ล้านปี หรือเป็นหลักฐานว่า เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงทำให้แผ่นดินจมลงกลาย เป็นทะเล หรือทะเลยกตัวขึ้นกลายเป็นแผ่นดิน ฟอสซิลพบเฉพาะในหินตะกอน และมักพบโดยบังเอิญ ในประเทศไทยพบทั้งฟอสซิลของ หอยโบราณ หอยกาบยักษ์ ปลาน้ำจืดโบราณ เฟิร์น พืชน้ำ หนอนโบราณ ช้างโบราณ จระเข้ วัว เอป (ลิงโบราณบรรพบุรุษของลิงไร้หางและมนุษย์)   ต้นฉบับ: รอบรู้ธรณีไทย  ผลิต: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (Thailand’s Department of Mineral Resources) http://www.dmr.go.th

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 7 – ภูมิลักษณ์ประเทศไทย

  รอบรู้ธรณีไทย 7 – ภูมิลักษณ์ประเทศไทย Geological Strange Place of Thailand  การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกทำให้เกิดภูมิป ระเทศแปลกๆ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว  1.จากการกัดเซาะผุพัง เช่น แพะเมืองผี ละลุ เสาดิน ออบหลวง ผาวิ่งชู้ เสาเฉลียง ป่าหินงาม ภูผาเทิด ลานหินปุ่ม เขาตะปู ซุ้มหินชายฝั่ง  2.จากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก เช่น ภูชี้ฟ้าและผาตั้ง เขาช่องกระจก เขาพิงกัน หมู่เกาะอ่างทอง  3.แหล่งภูเขาไฟเก่า เช่น ผาคอกหินฟู ผาจำปาแดด ภูพระอังคาร  4.แหล่งน้ำพุร้อน เช่น สระมรกต   ต้นฉบับ: รอบรู้ธรณีไทย  ผลิต: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (Thailand’s Department of Mineral Resources) http://www.dmr.go.th

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 6 – สายลมและกระแสน้ำ

  รอบรู้ธรณีไทย 6 – สายลมและกระแสน้ำ Erosion by Tides & Winds  กระแสน้ำกระแสลมผุกร่อนเปลือกโลกทำให้เกิด ภูมิประเทศต่างๆ ถ้าและหินงอกหินย้อยเกิดจากฝนซึ่งเป็นสารล ะลายหินปูนซึมเป็นลำธารใต้ดินและกัดกร่อนภ ูเขาหินปูน ช่วงหลังยุคน้ำหลังใหม่ๆ แผ่นดินต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 10 เมตร รวมถึงกรุงเทพฯ เคยจมใต้ทะเล

Read more ›