Category: หินแร่

น้ำบาดาลและการพัฒนาที่ยั่งยืน

น้ำบาดาลและการพัฒนาที่ยั่งยืน

น้ำบาดาลเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันเพื่อการอุปโภค บริโภค การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ซึ่งการพัฒนานำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้นี้ หากทำในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้ระดับน้ำบาดาลลดลงอย่างมาก และเป็นการลดลงที่ไม่สัมพันธ์กับการเพิ่มเติมของน้ำบาดาลตามธรรมชาติ

Read more ›
ไขปริศนาอายุด้วย Carbon-14

ไขปริศนาอายุด้วย Carbon-14

หลายคนอาจจะเคยเห็นหรือได้อ่านข่าวเกี่ยวกับการพบวัตถุโบราณมามากมาย คงเกิดความสงสัยว่านักโบราณคดีหรือแม้กระทั่งนักธรณีวิทยาสามารถบ่งบอกอายุของสิ่งที่เขาขุดค้นพบได้อย่างไร ดังเช่น การขุดค้นพบซากมัมมี่ในเทือกเขาแอนดีส ที่ระบุว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เขาเอาตัวเลขนี้มาจากไหน บทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้ในการหาอายุของวัตถุ นั้นก็คือ การหาอายุโดยคาร์บอน-14

Read more ›
คุณสมบัติทางกายภาพของแร่

คุณสมบัติทางกายภาพของแร่

คุณสมบัติทางกายภาพของแร่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจำแนกแร่ออกเป็นชนิดต่างๆ นักธรณีวิทยาทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆ ของแร่เป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญของการศึกษาทางธรณีวิทยา นอกจากความรู้ความเข้าใจแล้ว นักธรณีวิทยายังต้องมีทักษะที่สามารถนำคุณสมบัติเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย คุณสมบัติเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในการทำงานภาคสนามที่ต้องทำการระบุชนิดหิน แร่ เพื่อทำแผนที่ธรณีวิทยา ก่อนการตรวจสอบในขั้นละเอียดต่อไป

Read more ›
รู้จักอุกกาบาต วัตถุจากนอกโลก

รู้จักอุกกาบาต วัตถุจากนอกโลก

ช่วงสองสามปีมานี้ เรามักจะได้ยินข่าวการพบวัตถุประหลาดในบ้านเราจากสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนมากแล้วจะคิดว่าเป็น อุกกาบาต จนบางครั้งก็แอบขำกับการให้ข้อมูลของสื่อที่มักจะรายงานตามกระแสข่าวมากกว่าการให้สาระเท็จจริง การด่วนสรุปโดยปราศจากการวินิจฉัยจากผู้เชียวชาญ และการเชื่ออย่างง่ายเกินไป มันบ่งบอกอะไร ในฐานะของผู้ยึดหลักวิทยาศาสตร์แล้ว เราชาวนักธรณีวิทยาก็มีหน้าที่ช่วยตรวจสอบและอธิบายความเข้าใจให้แก่พวกเขาเหล่านั้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม ก่อนที่เราจะสรุปว่าวัตถุประหลาดนั้นคืออุกกาบาต อยากจะให้ลองอ่านข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอุกกาบาตต่อไปนี้ที่เขียนโดยนักล่าอุกกาบาตผู้เชี่ยวชาญดูก่อน แล้วจะรู้จักอุกกาบาตมากขึ้น

Read more ›
สังกะสีมาจากไหน?

สังกะสีมาจากไหน?

   กะลาเคลือบสังกะสี มีใครบ้างไหม ที่ไม่รู้จัก “สังกะสี” เชื่อแน่ว่าน้อยคนนักที่ไม่รู้จัก เพราะอย่างน้อย หลังคาสังกะสี ก็เป็นสิ่งที่คุ้นตาและสามารถหาได้โดยทั่วไป แต่เคยนึกสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า เจ้าหลังคาสังกะสีที่เงาวาวตอนซื้อมาใหม่ๆ ทำไมมันถึงได้แปรเปลี่ยนเป็นสีแดงสนิม เมื่อเวลามันล่วงผ่านไป แล้วสังกะสีมันคืออะไร ทำไมมันถึงเปลี่ยนสีได้ และที่สำคัญต้นกำเนิดของมันอยู่ที่ไหน พี่ต่อและน้องแป๋ว พิธีกรกบน้องใหม่ จึงอาสาออกติดตามหาคำตอบถึงที่มาของเหตุผลดังกล่าว โดยเริ่มจากร้านค้าวัสดุก่อสร้างทั่วไปซึ่งมักจะมีสังกะสีขาย ทั้งแผ่นเรียบและเป็นลอนลูกฟูกสำหรับมุงหลังคา ซึ่งผู้คนยังนิยมใช้สังกะสีมุงหลังคาบ้านนั้นก็เพราะว่า สังกะสีมีน้ำหนักเบาทำให้ลดต้นทุนด้านโครงสร้างลงนั่นเอง จากนั้นทั้งสองก็ออกติดตาม ต้นทางของแหล่งผลิตหลังคาสังกะสี เมื่อเฝ้าดูกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ปรากฏว่ามีความรู้ใหม่ที่เข้ามาลบล้างความเชื่อเดิมๆออกไปจนหมดสิ้น เพราะสังกะสีที่เราเห็นเป็นแผ่นๆนั้น แท้จริงแล้วมันคือเหล็กแผ่นที่เคลือบด้วยสังกะสีนั่นเอง เนื่องจากคุณสมบัติของแร่สังกะสีที่เป็นสนิมช้ากว่าแร่เหล็กและแร่เหล็กก็มีความแข็งแรงกว่า ถูกกว่า จึงนำสองอย่างมาใช้งานร่วมกันนั่นเอง ส่วนสังกะสีจริงๆที่นำมาเคลือบนั้น มีรูปร่างเป็นก้อนๆขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ก้อนใหญ่สุดมีน้ำหนักถึง 1 ตัน และก็ได้รับคำตอบว่า สั่งซื้อมาจาก บ. ผาแดงอินดัสทรี ซึ่งมีทั้งเหมืองและโรงถลุงอยู่ที่ จ.ตาก เหมืองสังกะสี ตั้งอยู่ที่ ต.ผาแดง อ.แม่สอด ติดชายแดนพม่าเลยทีเดียว ลักษณะการทำเหมืองเป็นแบบขั้นบันไดขุดตามสายแร่ลงไปทีละชั้น ซึ่งมีความปลอดภัยกว่าการทำเหมืองแบบขุดอุโมงค์ พี่เขาาเล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยสงครามโลก ทหารญี่ปุ่นได้สำรวจเส้นทางเข้าพม่า และได้มาพบต้นไม้ชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายต้นสับปะรด เจ้าต้นไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นบนแร่สังกะสี จึงเป็นเหมือนตัวนำทางที่สามารถบอกได้ว่าอาจมีแร่สังกะสีในบริเวณนี้ (ก็เลยตั้งชื่อว่าต้นสังกะสี) สมัยต่อมา บ.ญี่ปุ่นได้เข้ามาสำรวจจริงจังก็พบแร่สังกะสีมากมายบริเวณผาแดงแห่งนี้ และในราวปี […]

Read more ›