ศัพท์ธรณีวิทยา — June 13, 2012 at 3:11 AM

ศัพท์ธรณีวิทยาทั่วไป อักษร M – R

by

maceration การแช่ยุ่ย, มาเซอเรชัน : กระบวนการแยกสลายหินชั้น เช่น ถ่านหิน หินดินดาน โดยใช้วิธีทางเคมีแยกแร่และส่วนประกอบของสารอินทรีย์หรือมาเซอรัลออกจากกัน เพื่อสกัดและทำให้ได้ปริมาณซากดึกดำบรรพ์ที่ไม่ละลายในกรดเพิ่มขึ้น กระบวนการนี้มักใช้ในการศึกษาละอองเรณู ดู maceral ประกอบ 

macroevolution วิวัฒนาการมหภาค : ๑. วิวัฒนาการหรือกำเนิดของสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในการจำแนกหมวดหมู่ลำดับต้น ๆ ของอนุกรมวิธาน โดยเฉพาะในขั้นอันดับ (order) หรือชั้น (class) ซึ่งจะตรงข้ามกับวิวัฒนาการในขั้นชนิด (species) ซึ่งเรียกว่า วิวัฒนาการจุลภาค (microevolution) ๒. วิวัฒนาการซึ่งได้เกิดขึ้นในวงกว้างและซับซ้อน เช่น การพัฒนาของสิ่งมีชีวิตชนิด (species) หนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่ง ดู microevolution ประกอบ 

macrofacies; facies tract ช่วงชุดลักษณ์ : ระบบของชุดลักษณ์หินตะกอนที่มีกำเนิดต่อเนื่องกัน มีอายุเดียวกัน เช่น สิ่งทับถมบริเวณลาดส่วนนอกของอะทอลล์ปะการัง ระบบนี้รวมถึงพื้นที่ที่กร่อนไปซึ่งเป็นต้นกำเนิดของตะกอนชุดลักษณ์นี้ ดังนั้นช่วงการกร่อนจึงเป็นส่วนหนึ่งของช่วงชุดลักษณ์นี้

macrofossil; megafossil มหชีวินดึกดำบรรพ์ : ซากดึกดำบรรพ์ที่มีขนาดใหญ่พอที่จะศึกษาได้โดยไม่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ หรือพอที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดู microfossil ประกอบ 

macroscopic : ดู megascopic

mafic; femic –สีแก่ : คำที่ใช้กับหินอัคนีที่ประกอบด้วยแร่สีเข้ม หรือแร่จำพวกเหล็ก แมกนีเซียมและแคลเซียมอยู่มาก เช่น ไพรอกซีน แอมฟิโบล โอลิวีน คำทั้งสองนี้มาจากคำว่า ferric + magnesium

magmatic segregation การแยกตัวจากหินหนืด : กระบวนการตกผลึกและแข็งตัวจากหินหนืดที่มีแร่จำพวกหนึ่งแยกตัวจากมวลหินหนืด และรวมตัวจนมีปริมาณสูงขึ้นในที่หนึ่ง ๆ หรือบริเวณหนึ่ง ๆ กระบวนการแบบนี้ให้แหล่งสินแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจได้ มีความหมายเหมือนกับ segregation ความหมายที่ ๑ 

magmatic ore deposit แหล่งสินแร่หินหนืด : สินแร่ที่กำเนิดจากกระบวนการตกผลึกแยกตัวจากมวลหินหนืดจำพวกหินอัคนีสีเข้มจนมีลักษณะเป็นชั้นของผลึกแร่โลหะออกไซด์หรือผลึกแร่ซัลไฟด์ ดูภาพประกอบ 

magmatism ๑. กระบวนการหินหนืด : กระบวนการที่หินหนืดกำเนิด เคลื่อนที่ พัฒนา ตกผลึก และแข็งตัวกลายเป็นหินอัคนี ๒. ทฤษฎีหินหนืด : ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเกิดหินแกรนิตจากการตกผลึกของหินหนืดมากกว่าการแปรสภาพ

magnafacies ชุดลักษณ์ใหญ่ : แนวชั้นหินที่มีลักษณะเนื้อหินและลักษณะทางบรรพชีวินแบบเดียวกันซึ่งครอบคลุมระนาบเวลาหลายช่วงหรือหน่วยลำดับชั้นหินหลายหน่วย แนวชั้นหินลักษณะเช่นนี้แสดงถึงสภาวะแวดล้อมของการตกตะกอนค่อนข้างคงที่ซึ่งได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางตามเวลาที่ผ่านไป มีความหมายคล้ายกับ lithosome ดู parvafaciesประกอบ 

magnetic field strength; magnetic field intensity ความเข้มสนามแม่เหล็ก : แรงที่กระทำต่อ ๑ หน่วยขั้วแม่เหล็ก ณ จุดใดจุดหนึ่งที่ต้องการวัด หน่วยของความเข้มสนามแม่เหล็กเป็นหน่วยแสดงให้ทราบถึงจำนวนเส้นแรงแม่เหล็กต่อ ๑ หน่วยพื้นที่ (flux density) ในระบบเซนติเมตร-กรัม-วินาที (cgs system) มีหน่วยเป็นไดน์ต่อ ๑ หน่วยขั้ว หรือ ๑ เออร์สเตด (oersted) เดิมใช้เกาส์ (guass) ในระบบเมตร-กิโลกรัม-วินาที (mks system) มีหน่วยเป็นเทสลา (tesla) ซึ่งมีค่าเท่ากับ ๑๐๔ เออร์สเตด ในทางปฏิบัติด้านการสำรวจทางแม่เหล็กใช้หน่วยเป็นแกมมา (gamma) ซึ่ง ๑ แกมมามีค่าเท่ากับ ๑๐-๕ เออร์สเตด ๓

magnetic force แรงแม่เหล็ก : แรงดึงดูดหรือแรงผลักที่เกิดระหว่างขั้วแม่เหล็ก ๒ ขั้ว แรงนี้สามารถเหนี่ยวนำทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กหรือเปลี่ยนแปลงความเป็นแม่เหล็กได้ แรงแม่เหล็กมีหน่วยเป็นไดน์ (dyne) ซึ่ง ๑ ไดน์ เท่ากับแรงที่เกิดขึ้นเมื่อนำขั้วแม่เหล็ก ๒ ขั้ว ที่มีความแรงหนึ่งหน่วยขั้ว (unit pole) วางไว้ห่างกัน ๑ เซนติเมตร ในตัวกลางที่ไม่มีอำนาจแม่เหล็ก เช่น ในบริเวณที่เป็นสุญญากาศ

magnetic moment โมเมนต์แม่เหล็ก : แรงที่กระทำในทิศทางจากขั้วลบไปหาขั้วบวกในแท่งแม่เหล็ก ซึ่งมีขนาดเท่ากับผลคูณของความแรงขั้ว (strength of pole) กับระยะห่างระหว่างขั้วบวกและขั้วลบ ขั้วแม่เหล็กที่แต่ละขั้วมีความแรง ๑ หน่วยขั้วอยู่ห่างกัน ๑ เซนติเมตรจะมีค่าโมเมนต์แม่เหล็กเท่ากับ ๑ หน่วยในระบบเซนติเมตร-กรัม-วินาที (cgs system)

magnetic reversal; geomagnetic reversal การกลับขั้วสนามแม่เหล็กโลก : ดู geomagnetic reversal; magnetic reversal 

magnetic survey การสำรวจวัดสนามแม่เหล็ก : การสำรวจธรณีฟิสิกส์โดยการวัดสนามแม่เหล็กองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น องค์ประกอบสนามแม่เหล็กแนวตั้ง แนวราบ และแนวรวม ในบริเวณพื้นที่ที่น่าสนใจว่าจะพบแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบตำแหน่งของบริเวณที่มีแร่เหล็กหรือแร่แม่เหล็กสะสมตัวอยู่ และเพื่อคำนวณหาค่าความลึก ณ จุดต่าง ๆ

magnetometer แมกนิโทมิเตอร์ : เครื่องมือวัดค่าความเข้มสนามแม่เหล็ก ในการสำรวจทางภาคพื้นดินใช้วัดค่าความเข้มสนามแม่เหล็กแนวตั้ง บางครั้งใช้วัดความเข้มสนามแม่เหล็กแนวราบหรือแนวรวม แต่ในการสำรวจทางอากาศส่วนใหญ่ใช้วัดสนามแม่เหล็กแนวรวม

magration การอพยพ, การเคลื่อนย้าย : ๑. การเคลื่อนที่ของปิโตรเลียมจากหินต้นกำเนิดผ่านชั้นหินเนื้อฟ่ามเข้าไปในชั้นหินกักเก็บ ๒. กระบวนการประมวลผลข้อมูล การวัดความไหวสะเทือนเพื่อปรับให้ชั้นสะท้อนต่าง ๆ อยู่ในความลึกที่ถูกต้อง ๓. การเคลื่อนที่ของสันปันน้ำจากสายน้ำบนที่ลาดเอียงสูงเข้าไปหาสายน้ำบนที่ลาดเอียงต่ำ ๔

๔. การเคลื่อนที่ของแม่น้ำโค้งตวัดอย่างช้า ๆ เพื่อขยายส่วนทโค้งและความกว้างของแนวทางน้ำโค้งตวัด ๕. การเคลื่อนที่ของเนินทรายไปตามทิศทางของลม ๖. การอพยพเคลื่อนย้ายของพืชและสัตว์จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ

malachite มาลาไคต์ : แร่ทองแดงชนิดหนึ่ง สีเขียวสด มีสูตรเคมี Cu2CO3(OH)2 ผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง ความแข็ง ๓.๐-๔.๐ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๙-๔.๐๓ มักเกิดเป็นแร่ทุติยภูมิร่วมกับแร่อะซูไรต์ในตอนบนของสายแร่ทองแดงช่วงที่เกิดออกซิเดชัน ใช้ทำเครื่องประดับ

Malthusian principle หลักการมัลทูเชียน : แนวคิดของโทมัส โรเบิร์ต มัลทัส ที่ว่าสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งมนุษย์ดำรงชีพอยู่ได้เนื่องจากมีปริมาณอาหารสำรองหรืออาหารเป็นปัจจัยแรกที่เป็นตัวกำหนดจำนวนประชากร จากแนวคิดนี้การเติบโตของจำนวนประชากรโดยไม่มีการควบคุมจะนำไปสู่การขาดแคลนอาหารและการลดจำนวนของประชากรลงในที่สุด

mammal สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม : สัตว์มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในชั้นแมมมาเลีย (Class Mammalia) เป็นสัตว์เลือดอุ่น ผิวหนังมีขนปกคลุม ตัวเมียมีต่อมน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกอ่อน มีช่วงอายุตั้งแต่ยุคจูแรสซิกจนถึงปัจจุบัน เช่น วาฬ โลมา แมวน้ำ ค้างคาว

mammoth แมมมอท : ช้างดึกดำบรรพ์ที่มีอายุอยู่ในสมัยไพลสโตซีน จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับช้างเอเซีย ซึ่งเป็นช้างปัจจุบัน ฟัน ๑ ซี่ ประกอบขึ้นด้วยแผ่นสารเคลือบฟันที่ห่อหุ้มเนื้อฟันอยู่ภายในจำนวนหลายแผ่นเรียงอัดกันแน่น มองเห็นเป็นสันขวางบนผิวหน้าของฟัน สันเหล่านี้ทำหน้าที่บดอาหาร ฟันของช้างแมมมอธแตกต่างจากฟันของช้างปัจจุบันตรงสันหรือแผ่นสารเคลือบฟันมีจำนวนที่ไม่แน่นอน บางชนิดมีจำนวน ๑๐-๑๒ แผ่น แต่บางชนิด เช่น แมมมอทขนยาว มี ๒๗-๓๐ แผ่น

marcasite มาร์คาไซต์ : แร่ซัลไฟด์ สีเหลืองอ่อนถึงสีเทา มีสูตรเคมี FeS2 ผลึกอยู่ในระบบสามแกนต่าง เป็นทวิสัณฐานกับแร่ไพไรต์ มักพบเป็นก้อนกลมหรือมวลเม็ดในหิน ใช้ทำเครื่องประดับ เกิดร่วมกับสินแร่ตะกั่วและสังกะสีในแร่ซัลไฟด์ หรือเกิดแบบแทนที่ในหินปูน หรือเป็นก้อนแทรกในชั้นดินเหนียว ดินมาร์ล และหินดินดาน ๕

marine reptile สัตว์เลื้อยคลานทะเล : สัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในทะเลแห่งมหายุคมีโซโซอิก แบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ อิชทีโอซอร์ และเพลสิโอซอร์ ดู ichthyosaus และ plesiosaur ประกอบ 

marine-cut terrace ตะพักคลื่นเซาะ : ดูคำอธิบายใน wave-cut bench 

marine swamp บึงริมทะเล : หนองบึงหรือพื้นที่ชุ่มน้ำริมชายฝั่งทะเลที่มีพืชขึ้นอยู่ในน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยซึ่งมักเกิดเป็นชั้นถ่านหิน

marine terrace ตะพักทะเล : 

๑. พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีลักษณะคล้ายขั้นบันได เกิดจากการลดระดับของน้ำทะเลหรือเกิดจากการยกตัวของแผ่นดิน

๒. พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีลักษณะคล้ายขั้นบันได ทั้งที่เกิดจากการกัดเซาะและสะสมตะกอนจากน้ำทะเล

Marshall line เส้นมาร์แชลล์ : คำนี้ได้ชื่อมาจากนักธรณีวิทยาชาวนิวซีแลนด์ ชื่อ P. Marshall ดู andesite line 

marsupial -มีถุงหน้าท้อง : คำที่ใช้กับสัตว์ในอันดับหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีลักษณะเฉพาะคือ ไม่มีรก ตัวอ่อนที่คลอดออกมายังอยู่ในสภาพไม่เต็มวัยแต่มาพัฒนาด้วยต่อมน้ำนมในถุงหน้าท้องของแม่ เช่น จิงโจ้ โอพอสซัม ดู placental ประกอบ 

massive sulfide deposit แหล่งมวลแร่ซัลไฟด์ : แหล่งแร่ใด ๆ ที่มีปริมาณแร่โลหะซัลไฟด์จำนวนมาก เช่น แหล่งแร่คุโรโกะ (แก้ที่ kuroko ให้สอดคล้องกันด้วย)

mast ………….. : ดูคำอธิบายใน derrick 

mastodon มาสโตดอน : กลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีรูปร่างคล้ายช้าง สัตว์กลุ่มนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วซีกโลกเหนือในสมัยโอลิโกซีนและไพลสโตซีน แตกต่างจากช้างแมมมอท และช้างปัจจุบัน คือ ตัวฟัน (crown) มีลักษณะเตี้ย หน้าฟันมีปุ่มกลมเรียงกันเป็นคู่ ๆ รากฟันชิดกัน

material balance ความสมดุลของสาร : การคำนวณปริมาณสำรองวิธีหนึ่งโดยใช้หลักการที่ของไหลที่ผลิตได้และที่ยังเหลืออยู่ในชั้นกักเก็บต้องมีปริมาณเท่ากับปริมาณที่มีอยู่เดิม สมการของการคำนวณประกอบด้วย ปริมาณสำรองเริ่มต้นของปิโตรเลียม ณ ที่ ๖

นั้น แรงขับที่จะทำให้น้ำเข้ามาแทนที่ การประมาณอัตราการผลิตในเวลาหนึ่ง ๆ และการประมาณการผลิตที่จะนำขึ้นมาใช้ได้

matrix เนื้อพื้น : ๑. ในหินตะกอน หมายถึง วัสดุหรือเม็ดแร่ขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ที่ล้อมรอบวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยที่ขนาดของวัสดุมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน สำหรับในหินอัคนีเนื้อดอก เม็ดแร่ขนาดเล็กที่ล้อมรอบแร่ดอก นิยมเรียกว่า groundmass ๒. วัสดุธรรมชาติที่ภายในมีโลหะ ซากดึกดำบรรพ์ กรวด ผลึกแร่หรือรัตนชาติ ฝังตัวอยู่

maturation ความสมบูรณ์ : กระบวนการที่สารอินทรีย์ในตะกอนอยู่ภายใต้ความร้อน ระยะเวลาและความลึกที่จะสามารถให้ปิโตรเลียมได้

mature . ภาวะสมบูรณ์ : ๑. ภาวะที่สารอินทรีย์ในตะกอนหรือหินชั้นอยู่ภายใต้ความร้อนในระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำมันได้ ดู immature และ over mature ประกอบ ๒. ภาวะที่ตะกอนเนื้อประสมถูกกระทำโดยกระบวนการต่าง ๆ อย่างเข้มข้นเป็นเวลายาวนานจนเหลือแต่แร่ที่เสถียร . ภาวะกร่อนสมบูรณ์ : ใช้กับวัฏจักรของการกร่อนที่แสดงถึงขั้นตอนที่แผ่นดินถูกกัดกร่อนจนมีลักษณะเกือบเป็นพื้นราบ ดู maturity ประกอบ 

maturity ขั้นสมบูรณ์ : ๑. ขั้นที่สองของวัฏจักรการกร่อนในการพัฒนาลักษณะภูมิประเทศโดยอยู่ระหว่างขั้นปฐมวัยกับขั้นปัจฉิมวัย ขั้นนี้รวมถึงช่วงที่ภูมิประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสูงสุด ซึ่งระหว่างนี้การเกลี่ยผิวแผ่นดินที่เกิดขึ้นเกือบจะสิ้นสุดลงแล้ว มีความหมายเหมือนกับ topographic maturity ๒. ขั้นตอนที่สายน้ำพัฒนาไปถึงจุดที่มีพลังสูงสุด นั่นคือมีหน้าตัดข้างสมดุล และมีความเร็วของกระแสน้ำเพียงพอที่จะนำพาตะกอนที่ทางน้ำสาขาปล่อยลงมาไปได้ ดู mature stream ประกอบ 

MD (measured depth) เอ็มดี (ความลึกตามหลุมเจาะ) : ดู measured depth (MD)

meander lobe พูธารน้ำโค้งตวัด : พื้นที่สูงหรือเนินรูปร่างคล้ายลิ้นที่ถูกล้อมด้วยธารน้ำโค้งตวัด มีความหมายเหมือนกับ lobe ๓ ….

measured depth (MD) ความลึกตามหลุมเจาะ (เอ็มดี) : ความลึกรวมของหลุมเจาะที่วัดตามแนวเจาะ เช่น หลุมเจาะเอียง หลุมเจาะแนวราบ หลุมเจาะแนวนอน ซึ่งต่างจากความลึกตามแนวดิ่ง มีความหมายเหมือนกับ total depth (TD) 

mechanical analysis การวิเคราะห์เชิงกล : การวิเคราะห์หาการกระจายอนุภาคขนาดต่าง ๆ ในดิน ตะกอน และในหิน ด้วยการร่อนผ่านตะแกรง หรือด้วยกระบวนการเชิงกลอื่น ๆ ปรกติแสดงค่าเป็นร้อยละโดยน้ำหนักของอนุภาคแต่ละช่วงขนาด

medium bands แถบชั้นปานกลาง : ในถ่านหินแสดงชั้นจะมีความหนาของชั้นวิเทรนหรือชั้นที่มีความวาวสูง ชั้นเหล่านี้ยังมีความหนาจาก ๒-๕ มิลลิเมตร ดู thin bands, thick bands และ very thick bands ประกอบ 

megabreccia หินกรวดเหลี่ยมใหญ่ : ๑. หินซึ่งเกิดจากการหักพังเนื่องจากการละลายของเกลือ ประกอบด้วยบล็อกขนาดตั้งแต่ ๑ เมตร ถึงมากกว่า ๑๐๐ เมตร วางตัวอย่างไม่มีทิศทางและเอียงเป็นมุมตั้งแต่ ๖-๒๕ องศา

๒. หินกรวดเหลี่ยมซึ่งประกอบด้วยบล็อกขนาดความยาวถึง ๔๐๐ เมตร ซึ่งเกิดจากการเลื่อนไถลลงมาตามแรงโน้มถ่วงบนแนวลาดชันอันเกิดจากรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ ขนาดใหญ่ และเนื่องจากการเลื่อนไถลทำให้เกิดการหมุนซึ่งเป็นเหตุให้บล็อกแตกเป็นเสี่ยงๆ หินกรวดเหลี่ยมใหญ่จึงเป็นผลส่วนหนึ่งจากการแปรสัณฐาน และส่วนหนึ่งจากการตกตะกอน ดู chaos ประกอบ 

Megaclast ________ :

megacryst เม็ดดอกใหญ่ : ผลึกขนาดใหญ่หรือเศษหินอื่นที่อยู่ในเนื้อพื้นของหินอัคนีหรือหินแปร เช่น เศษหินที่แตกหักของหินการ์เนตเพริโดไทต์ หรือหินเอโคลไจต์ ในหินคิมเบอร์ไลต์ เศษหินเลอร์โซไลต์ที่พบในหินบะซอลต์ซึ่งให้คอรันดัม เม็ดดอกใหญ่อาจเป็นแร่ดอกแปร หินแปลกปลอม หรือเม็ดแปลกปลอม (xenoclast) ก็ได้

megacyclothem วัฏจักรชั้นตะกอนมหภาค : วัฏจักรชั้นตะกอนที่รวมวัฏจักรหลาย ๆ วัฏจักรซึ่งมีความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน หรือรอบใหญ่รอบหนึ่งของวัฏจักรชั้นตะกอน เช่นที่พบใน ๘

ชั้นหินยุคเพนซิลเวเนียนที่มลรัฐแคนซัส รวมถึงวัฏจักรชั้นตะกอนขนาดใหญ่ที่ประกอบขึ้นด้วยวัฏจักรชั้นตะกอนย่อย ๆ หลายวัฏจักร

megafauna มหพรรณสัตว์ : สัตว์หรือซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นหรือศึกษาได้ด้วยตาเปล่า

megaflora มหพรรณพืช : พืชหรือซากพืชดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นหรือศึกษาได้ด้วยตาเปล่า

megafossil; macrofossil มหชีวินดึกดำบรรพ์ : ดู macrofossil; megafossil 

megaripple รอยริ้วคลื่นใหญ่ : รอยริ้วคลื่นขนาดใหญ่บนผืนทราย มีความยาวช่วงคลื่นมากกว่า ๑ เมตร หรือมีความสูงช่วงคลื่นมากกว่า ๑๐ เซนติเมตร เกิดในสภาวะแวดล้อมใต้น้ำ

megascopic : คำที่ใช้กับวัตถุ ปรากฏการณ์ หรือลักษณะที่สามารถดูด้วยตาเปล่าหรือแว่นขยายได้ มีความหมายเหมือนกับ macroscopic 

mélange ๑. หินคละ : มวลหินที่พบเป็นบริเวณกว้างจนสามารถกำหนดขอบเขตบนแผนที่มาตราส่วนโดยประมาณ ๑ ต่อ ๒๕,๐๐๐ ประกอบด้วยเศษหินและบล็อกขนาดต่าง ๆ ซึ่งเป็นหินที่อยู่ในพื้นที่และหินจากต่างถิ่นปะปนรวมอยู่ด้วยกันในเนื้อพื้น ที่ถูกแรงเฉือนกระทำและบิดย้วย เกิดได้ทั้งจากการตกตะกอนและการแปรสัณฐาน หากเกิดจากการตกตะกอนอาจจัดเป็นหินชั้นเลื่อนไถล ดู olistostrome ประกอบ 

๒. เพชรคละ : เพชรที่มีขนาดต่าง ๆ ผสมคละกันไป โดยมากมีน้ำหนักตั้งแต่ ๑/๔ กะรัต

melanocratic –หินสีเข้ม : คำที่ใช้กับหินอัคนีที่ประกอบด้วยแร่สีเข้มมากกว่าร้อยละ ๖๐ แต่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ โดยปริมาตร หรือมีดรรชนีสีมากกว่า ๖๐ แต่น้อยกว่า ๙๐ เช่น หินบะซอลต์ หินแกบโบร ดู basic rock ประกอบ 

membrane polarization การเกิดขั้วแบบเยื่อ : การเกิดขั้วไฟฟ้าใต้ดินบริเวณชั้นแร่ดินในรูพรุนของหิน เนื่องจากชั้นแร่ดินบาง ๆ หรือเคลย์ที่มีประจุไฟฟ้าลบกระจายอยู่ตามขอบดึงดูดประจุไฟฟ้าบวกของสารละลายในรูพรุนเข้ามาเกาะเป็นคู่เกิดเป็นชั้นคู่ (double layer) ของประจุไฟฟ้าลบและบวกอยู่ (ดังรูป) เมื่อมีประจุไฟฟ้าบวกมาสะสมอยู่มากจนกินบริเวณลึกเข้าไปในรูเล็กจะเกิดเป็นแผ่นประจุที่ขวางกั้นไม่ให้ประจุไฟฟ้าบวกผ่านไปได้ เรียกว่า การเกิดขั้วแบบเยื่อ ๙

Menapian ช่วงมีนาเปียน : ดู GÜnz 

Mercalli scale มาตราเมอร์คัลลิ : มาตราวัดแบบใช้คำบรรยายที่บอกให้ทราบถึงความรุนแรงของความไหวสะเทือนที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยสังเกตความรุนแรงของความเสียหายหรือความรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเกิดแผ่นดินไหว มาตราเมอร์คัลลิเดิมกำหนดขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๕ แบ่งระดับความเข้มเป็น ๑๐ ระดับ โดยจูเซปเป แมร์คัลลี (Giuseppe Mercalli) นักธรณีวิทยาชาวอิตาลี เป็นผู้คิดค้นและเผยแพร่ มาตรานี้ได้ปรับปรุงใหม่แบ่งความเข้มเป็น ๑๒ ระดับ

meroplankton แพลงก์ตอนไม่ถาวร : ดูคำอธิบายใน holoplankton 

merostome เมอโรสโตม : สัตว์ขาปล้องพวกหนึ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำ จัดอยู่ในชั้นเมอโรสโตมาตา (Class Merostomata) มีลักษณะเฉพาะคือ มีระยางค์เหนือปาก ๑ คู่ ระยางค์มีลักษณะเป็น ข้อ ๆ จำนวน ๓-๔ ข้อ ได้แก่ แมงดาทะเล ดู eurypterid ประกอบ 

merocrystalline; hypocrystalline -เนื้อแก้วผลึก : ดู hypocrystalline; merocrystalline 

merohedral เมโรฮีดรัล : ชั้นผลึกในระบบผลึกหนึ่ง ซึ่งแบบรูปผลึกทั่วไปคือ มีหน้าผลึกเพียงครึ่งหนึ่ง หนึ่งในสี่ หรือหนึ่งในแปดของจำนวนหน้าผลึกที่เหมือนกันของแบบรูปผลึกที่มีลักษณะเดียวกับโฮโลฮีดรัลในระบบผลึกเดียวกัน มีความหมายเหมือนกับ merosymmetric ดู tetartohedral และ hemihedral ประกอบ 

merosymmetric เมโรซิมเมตริก : ดู merohedral 

mesh texture เนื้อตาข่าย : ลักษณะเนื้อหินที่เห็นเป็นรูปตาข่ายเนื่องจากผลึกแร่แปรเปลี่ยนไปบางส่วน เกิดเป็นแร่ทุติยภูมิล้อมส่วนของแร่เดิมที่ยังเหลืออยู่เหมือนรูปตาข่าย เช่น ลักษณะเนื้อตาข่ายของหินเซอร์เพนทิไนต์ที่เกิดจากแร่โอลิวีนบางส่วนเปลี่ยนไปเป็นแร่เซอร์เพนทีนตามแนวแตกเรียบของแร่โอลิวีน ดู reticulate ประกอบ 

mesh เมช : จำนวนช่องเปิดของตะแกรงคัดขนาดที่มีอยู่ในความยาว ๑ นิ้ว เช่น ตะแกรงขนาด ๑๐ เมช หมายถึงในระยะความยาว ๑ นิ้วของตะแกรง จะมีช่องเปิด ๑๐ ช่อง เมื่อจำนวนเมชของตะแกรงมีค่ามากขึ้น แสดงว่าตะแกรงมีความถี่มากขึ้น เช่น น้อยกว่า ๑๐ เมช มีขนาดกรวด ๑๐–๒๓๐ เมช มีขนาดทราย มากกว่า ๒๓๐ เมช มีขนาดโคลน ทั้งนี้ตัวเลขของเมชไม่ได้บอกขนาดที่แท้จริงของวัตถุที่ลอดผ่านรูตะแกรง เพราะตัวเลขของเมชเป็นค่าที่ได้จากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นลวดที่นำมาสานบวกกับขนาดช่องเปิดของตะแกรง แล้วนำไปหาร ๑ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นลวดเท่ากับ ๐.๐๐๑๐ นิ้ว และ ๑๐

ขนาดช่องเปิดของตะแกรงเท่ากับ ๐.๐๐๑๕ นิ้ว บวกกันได้ ๐.๐๐๒๕ นิ้ว เมื่อนำไปหาร ๑ จะได้ ๔๐๐ เป็นค่าของเมชที่ต้องการ

mesocratic –หินสีกลาง : คำที่ใช้กับหินอัคนีที่ประกอบด้วยแร่สีเข้มมากกว่าร้อยละ ๓๐ แต่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ โดยปริมาตร หรือมีดรรชนีสีมากกว่า ๓๐ แต่น้อยกว่า ๖๐ เช่น หินแอนดีไซต์ หินไดออไรต์ ดู intermediate ประกอบ 

mesolimnion; clinolimnion; metalimnion ชั้นน้ำส่วนกลาง : ดูคำอธิบายใน epilimnion 

Mesolithic; Middle Stone Age ยุคหินกลาง : ยุคหินช่วงกลางระหว่างยุคหินเก่าและยุคหินใหม่ เกิดขึ้นหลังยุคน้ำแข็งช่วงสุดท้าย ตั้งแต่สมัยโฮโลซีนตอนต้นถึงตอนกลาง ดู Paleolithic; Old Stone Age และ Neolithic; New Stone Age ประกอบ 

mesothermal -อุณหภูมิปานกลาง : คำที่ใช้กับแหล่งแร่แบบน้ำร้อนที่กำเนิด ณ อณหภูมิ ๒๐๐-๓๐๐ องศาเซลเซียส และที่ความลึกปานกลาง คำนี้ยังใช้ในความหมายด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ดู epithermal, hypothermal และ telethermal ประกอบ 

mesozone เขตแปรสภาพระดับกลาง : บริเวณความลึกตอนกลางของการแปรสภาพของหิน เกิดในสภาพแวดล้อมที่มีความดันและอุณหภูมิปานกลาง มีแรงเค้นหรือแรงเฉือนปานกลาง ที่ความลึก ๕–๑๕ กิโลเมตรจากผิวโลก ความดัน ๐.๑๕-๐.๕ จิกะพาสคัล (GPa) อุณหภูมิ ๓๐๐–๕๐๐ องศาเซลเซียส หินข้างเคียงในบริเวณนี้เป็นหินแปรขั้นปานกลางถึงขั้นต่ำ เช่น หินไมกาชีสต์ หินการ์เนต-สตอโรไลต์ชีสต์ หินควอร์ตไซต์ ซึ่งถูกเปลี่ยนลักษณะ อันเป็นผลมาจากการแทรกของมวลหินพลูตอน แนวการแปรสภาพสัมผัสกับหินข้างเคียงชัดเจนหรือไม่ก็ได้ มวลหินพลูตอนประกอบด้วยหินอัคนีมวลไพศาลและลำหินอัคนีที่เกิดจากการแทรกซอนหลายครั้ง การแทรกนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการแปรสัณฐานหรือเกิดภายหลัง

metabentonite เบนทอไนต์แปรสภาพ : เบนทอไนต์ที่ถูกทับหรือถูกแปรสภาพจะแข็งตัวทำให้สูญเสียสมบัติเดิมไป ดูดซับน้ำได้น้อยลง เป็นผลให้การพองตัวและสมบัติคอลลอยด์ต่ำลง ดู bentonite ประกอบ 

metacryst เม็ดดอกแปร : ผลึกแร่ดอกขนาดใหญ่ที่เกิดในหินแปรโดยกระบวนการเกิดผลึกใหม่ เช่น แร่การ์เนต สตอโรไลต์ ในหินไมกาชีสต์ มีความหมายเหมือนกับ porphyroblast ๑๑

metal โลหะ :

metalimnion; clinolimnion; mesolimnion ชั้นน้ำส่วนกลาง : ดูคำอธิบายใน epilimnion 

metallic โลหะ : ๑. คำที่ใช้เกี่ยวกับโลหะ ๒. คำที่ใช้เกี่ยวกับความวาวแบบโลหะ ดู nonmetallic และ submetallic luster ประกอบ 

metalliferous -มีโลหะ : คำที่ใช้กับแหล่งแร่ซึ่งสามารถถลุงได้โลหะ ๑ ชนิดหรือหลายชนิด

metallogenetic province; metallogenic province แดนแร่ : ดู metallogenic province; metallogenetic province 

metallogenic epoch สมัยแร่ : หน่วยของอายุทางธรณีวิทยาที่เหมาะสำหรับการสะสมตัวของแร่ หรือลักษณะบ่งชี้ของกลุ่มแหล่งแร่ บริเวณหนึ่ง ๆ หรือแดนแร่หนึ่ง ๆ อาจมีได้หลายสมัยแร่

metallogenic province; metallogenetic province แดนแร่ : บริเวณที่มีลักษณะเฉพาะของกลุ่มการเกิดแหล่งแร่แบบหนึ่งหรือหลายแบบในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งหรือหลายช่วงเวลาก็ได้ เช่น แดนแร่ดีบุกจากประเทศจีน ไทย มาเลเซีย ถึงอินโดนีเซีย

metallogeny การกำเนิดแหล่งแร่ : การศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิดของแหล่งแร่หนึ่ง ๆ ที่เน้นถึงความสัมพันธ์ของพื้นที่และช่วงเวลา กับรูปลักษณ์ของหินบริเวณไพศาล และการแปรสัณฐานของเปลือกโลก (ศัพท์บัญญัติยังไม่ยุติ)

metallurgy โลหวิทยา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับโลหะที่ครอบคลุมการสกัดและ/หรือการถลุงโลหะจากสินแร่ การผลิตโลหะและโลหะเจือ

metamict mineral แร่แปลง : แร่ที่ประกอบด้วยธาตุกัมมันตรังสีที่โครงสร้างผลึกถูกทำลาย เนื่องจากการแผ่รังสีของธาตุกัมมันตรังสีที่อยู่ภายใน ทำให้เป็นอสัณฐาน แร่แปลงส่วนใหญ่ยังคงแสดงรูปผลึกภายนอกเหมือนเดิม ไม่พบแนวแตกเรียบ แต่มีรอยแตกแบบก้นหอย เช่น ที่เกิดกับแร่เซอร์คอน (มาลาคอน) ทอไรต์ ซามาร์สไกต์

metamorphic differentiation การแยกตัวช่วงแปรสภาพ : กระบวนการที่แร่แยกตัวออกมาจากหินเดิมที่มีเนื้อสม่ำเสมอเป็นแร่โดด ๆ หรือกลุ่มแร่ระหว่างการแปรสภาพ

Metazoa เมทาซัว : กลุ่มของสัตว์หลายเซลล์ ซึ่งในระยะที่เป็นตัวอ่อน เซลล์จะจัดเรียงตัวเป็นสองชั้น ๑๒

meteor crater; meteorite crater หุบอุกกาบาต

meteorite crater ; meteor crater หุบอุกกาบาต

methane แก๊สมีเทน : แก๊สไฮโดรคาร์บอนที่ติดไฟได้ ไม่มีสีและกลิ่น อยู่ในกลุ่มพาราฟิน ไฮโดรคาร์บอน มีสูตร CH4 เป็นแก๊สที่เป็นส่วนประกอบหลักในแก๊สธรรมชาติ มักพบเกิดร่วมอยู่กับน้ำมันดิบหรือในชั้นถ่านหิน

mica ไมกา : กลุ่มแร่ซิลิเกตชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนกัน จึงเรียกว่า แร่กลีบหิน มีผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง เช่น ไบโอไทต์ เลพิโดไลต์ มัสโคไวต์

microcline ไมโครไคลน์ : แร่แอลคาไลเฟลด์สปาร์ มีสูตรเคมี KAlSi3O8 เป็นแร่ทวิสัณฐานกับแร่ออร์โทเคลส ระบบผลึกสามแกนเอียง ความแข็ง ๖ ความถ่วงจำเพาะ ๒.๕๔-๒.๕๗ วาวแบบแก้ว สีขาวถึงเหลืองอ่อน บางทีพบสีแดงและเขียว สีเขียวเรียก แอมะซอไนต์ โปร่งใสถึงโปร่งแสง เป็นแร่ประกอบหินที่สำคัญในหินแกรนิต ไซอีไนต์ เพกมาไทต์ ดู amazonite ประกอบ 

microcoquina กะส้าหอยเนื้อทราย : ดู คำอธิบายใน coquina 

microevolution วิวัฒนาการจุลภาค : ๑. วิวัฒนาการหรือกำเนิดของสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในการจำแนกหมวดหมู่ในอนุกรมวิธานขั้นลำดับของชนิด (species) ซึ่งจะตรงข้ามกับวิวัฒนาการในลำดับต้น ๆ ที่เรียกว่า วิวัฒนาการมหภาค (macroevolution) ๒. วิวัฒนาการที่ได้เกิดขึ้นภายในกลุ่มประชากรเดียวกันกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งไม่มีผลให้เกิดการพัฒนาเป็นสายพันธุ์ใหม่หรือวิวัฒนาการที่ได้เกิดขึ้นจากการเลือกตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงย่อย ๆ ซึ่งจะมีผลทำให้วิวัฒนาการเหล่านั้นแตกต่างกัน ดู macroevolution ประกอบ 

microfauna จุลพรรณสัตว์ : สัตว์หรือซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดู microflora และ megafauna ประกอบ 

microflora จุลพรรณพืช : พืชหรือซากพืชดึกดำบรรพ์ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คำนี้มักใช้ผิด ๆ กับคำว่า จุลชีวินดึกดำบรรพ์ของพืชชั้นสูง ดู microfauna และ megaflora ประกอบ 

microfossil จุลชีวินดึกดำบรรพ์ : ซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กจนต้องศึกษาจากกล้องจุลทรรศน์ เช่น สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกฟอแรมินิเฟอรา หรือออสตราคอต จุลชีวินดึกดำบรรพ์อาจ ๑๓

เป็นซากชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ก็ได้ ดู macrofossil; megafossil และ nannofossil ประกอบ 

micropaleontology จุลบรรพชีวินวิทยา : วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์หรือชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่มีขนาดเล็กมากจนต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ดู paleontology ประกอบ 

microplankton จุลแพลงก์ตอน : แพลงตอนหรือสิ่งมีชีวิตที่ล่องลอยตามน้ำ มีขนาดตั้งแต่ ๖๐ ไมครอน (๐.๐๖ มิลลิเมตร) ถึง ๑ มิลลิเมตร ส่วนใหญ่จุลแพลงก์ตอนประกอบด้วยแพลงก์ตอนพืช

microscopic : 

Middle Stone Age; Mesolithic ยุคหินกลาง : ดู Mesolithic; Middle Stone Age 

middling แร่คละ : ส่วนของแร่ที่แยกออกจากมลทินหรือแร่อื่นที่ยังไม่สมบูรณ์ในกระบวนการแต่งแร่ ต้องนำไปแต่งแร่โดยวิธีอื่นต่อไป

mid-oceanic ridge; oceanic ridge; submarine ridge เทือกสันเขาใต้สมุทร : ดู oceanic ridge; mid-oceanic ridge; submarine ridge 

migration . การอพยพ, การย้ายถิ่น : การเคลื่อนย้ายของพืชและสัตว์จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ . การย้ายที่ : ๒. ๑ การเคลื่อนที่ของปิโตรเลียมจากหินต้นกำเนิดผ่านชั้นหินเนื้อฟ่ามเข้าไปในชั้นหินกักเก็บ ๒.๒ กระบวนการประมวลผลข้อมูล การวัดความไหวสะเทือนเพื่อปรับให้ชั้นสะท้อนต่าง ๆ อยู่ในความลึกที่ถูกต้อง ๒.๓ การเคลื่อนที่ของสันปันน้ำจากสายน้ำบนที่ลาดเอียงสูงเข้าไปหาสายน้ำบนที่ลาดเอียงต่ำ ๒.๔ การเคลื่อนที่ของทางน้ำโค้งตวัดอย่างช้า ๆ เพื่อขยายส่วนโค้งและความกว้างของแนวทางน้ำโค้งตวัด ๒.๕ การเคลื่อนที่ของเนินทรายไปตามทิศทางของลม

milky quartz ควอตซ์สีน้ำนม : ควอตซ์ชนิดหนึ่ง มีสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม มักมีแก๊สและของเหลวเป็นสารฝังใน โปร่งแสงถึงทึบแสง เนื้อสมานแน่น บางครั้งมีความวาวคล้ายขี้ผึ้ง ๑๔

milligal มิลลิแกล : หน่วยวัดค่าความโน้มถ่วงตามปรกติในการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ มีค่าเท่ากับ ๑๐แกล ซึ่ง ๑ แกล มีค่าเท่ากับอัตราเร่งที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก ๑ เซนติเมตรต่อวินาทีกำลังสอง คำว่า แกล ไม่ใช่คำย่อ แต่นำคำนี้มาใช้เพื่อเป็นเกียรติแก่กาลิเลโอ (Galileo) ผู้พบความโน้มถ่วงของโลก

mimetene มิเมทีน : ดู mimetite 

mimetesite มิเมทิไซต์ : ดู mimetite 

mimetic ๑. -เลียนแบบ : คำที่ใช้กับสิ่งมีชีวิตซึ่งปรับตัวให้คล้ายกับสภาพแวดล้อม เช่น ปรับสี ปรับแต่งร่างกาย ทั้งนี้เพื่อการหลบซ่อนตัวหรือป้องกันตัว ๒. -ผิดรูป : ๒.๑ คำที่ใช้กับผลึกแฝดหรือผลึกผิดรูป (ผลึกที่มีรูปผลึกผิดจากรูปจริง) ซึ่งดูเหมือนกับมีสมมาตรผลึกในอันดับที่สูงกว่าความเป็นจริง ๒.๒ คำที่ใช้กับหินเทกโทไนต์ซึ่งมีลักษณะเนื้อหินผิดรูป เกิดจากการตกผลึกผิดแบบซึ่งสะท้อนถึงโครงสร้างเดิมและมีผลจากโครงสร้างเดิมที่มีโครงสร้างแตกต่างกันในทิศทางที่ต่างกัน

mimetite มิเมไทต์ : แร่ในกลุ่มแร่อะพาไทต์ มีสูตรเคมี Pb5(AsO4)3Cl รูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนราบ มักเกิดเป็นมวลรวมของผลึกรูปแท่งยาวหรือรูปเข็ม ส่วนใหญ่มีสีเหลืองน้ำผึ้ง ความวาวแบบขี้ผึ้งจนถึงแบบเพชร ความถ่วงจำเพาะ ๗.๑๙-๗.๒๕ ความแข็ง ๓.๕ เป็นแร่รองของสินแร่ตะกั่ว พบในเขตออกซิไดส์ของแหล่งแร่โลหะพื้นฐาน (base metal) ร่วมกับแองกลีไซต์ แคลไซต์ เซรัสไซต์ เป็นต้น มีความหมายเหมือนกับ mimetene และ mimetesite ดู apatite ประกอบ 

Mindel ช่วงมินเดล : ช่วงอายุของธารน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ระหว่างเวลา ๐.๔๘-๐.๓๔ ล้านปี ถือเป็นช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งที่สองของสมัยไพลสโตซีน เทียบได้กับช่วงแคนซันในทวีปอเมริกาเหนือ มีความหมายเหมือนกับ Elsterian ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

mineral charcoal ถ่านแร่ : สารเนื้อละเอียดและด้านที่ซึ่งไม่ได้เกิดจากพืช มีปริมาณคาร์บอนสูง แต่มีไฮโดรเจนและออกซิเจนต่ำ เกิดเป็นชั้นบาง ๆ ในถ่านหินบิทูมินัส

mineral coal ถ่านหินแร่ : ถ่านหินที่เกิดตามธรรมชาติ เป็นคำที่ใช้เรียกเพื่อให้แตกต่างจากถ่านไม้ หรือถ่าน ๑๕

mineral oil น้ำมันแร่ : น้ำมันที่ได้มาจากทรัพยากรที่เกี่ยวกับแร่ รวมทั้งปิโตรเลียม ถ่านหิน และหินน้ำมัน

mineral resources ทรัพยากรแร่ : ดู resources 

mineral spring น้ำพุแร่ : น้ำพุที่มีแร่ธาตุเพียงพอ ทำให้มีรสเฉพาะ เป็นน้ำที่เหมาะในทางอายุรเวท

mineral tar น้ำมันดินแร่ : ๑. ปิโตรเลียม ชนิดข้นและเหนียว ๒. น้ำมันดินที่ได้จากถ่านหิน หินน้ำมัน พีต และอื่น ๆ

mineral wax ไขแร่ : บิทูเมนธรรมชาติ สีน้ำตาลถึงดำเกิดเป็นสาย ละลายได้ง่ายในตัวทำละลายอินทรีย์ มีจุดหลอมตัวต่ำประมาณ ๓๐-๙๐ องศาเซลเซียส มีหลายชนิด เช่น โอโซเคอไรต์ (ozokerite หรือ osocerite) ยินทาไฮต์ (uintahite) เชียเรอไรต์ (scheererite) มีความหมายเหมือนกับ fossil wax และ native paraffin 

mineralizer สารทำให้เกิดแร่ : ๑. แก๊สหรือของไหลที่ละลายในหินหนืดอันเป็นผลมาจากการลำดับส่วน การนำพา และการตกตะกอนแร่มีค่าในหินหนืด นอกจากนั้นยังใช้กับสารที่ทำให้เกิดแร่ซึ่งมีน้ำเป็นองค์ประกอบ พร้อมด้วยแก๊สที่ละลายได้มาก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ไอออนเชิงเดี่ยว เช่น ไฮโดรเจนไอออน ไฮโดรเจนไบซัลไฟด์ คลอไรด์ โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม ไอออนเชิงซ้อน เช่น คลอไรด์เชิงซ้อน รวมทั้งเบสที่ละลายได้ และโลหะสูงค่า ๒. แก๊สที่ละลายในหินหนืด เป็นตัวช่วยทำให้เกิดการรวมตัว การนำพา และการตกตะกอนของแร่บางชนิด ช่วยให้เนื้อหินและแร่เกิดการพัฒนาขณะที่ถูกปลดปล่อยจากหินหนืด โดยการลดอุณหภูมิ และ/หรือความดัน

mineralogical phase rule กฎวัฏภาคแร่ : ดู Goldschmidts phase rule 

mineraloid สารคล้ายแร่ : สารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นสารอสัณฐาน ดังนั้นจึงไม่ได้รับการพิจารณาจัดให้เป็นแร่ แต่จัดเป็นเจลแร่ (mineral gel)

mining geophysics ธรณีฟิสิกส์แหล่งแร่ : การประยุกต์วิธีการต่าง ๆ ทางธรณีฟิสิกส์ในการค้นหาแหล่งแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจเพื่อการทำเหมืองต่อไป โดยอาศัยสมบัติทาง ๑๖

ฟิสิกส์ที่แตกต่างกันระหว่างหินข้างเคียงและมวลแร่เป็นหลักในการค้นหา เช่น แร่โลหะ คาลโคไพไรต์ พิร์โรไทต์ กาลีนา และสฟาเลอไรต์ จะมีสภาพนำไฟฟ้า สภาพต้านทานไฟฟ้า ความต่างศักย์ และความหนาแน่นมากกว่าหินข้างเคียง สามารถตรวจหาได้ด้วยวิธีไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า และความโน้มถ่วง แร่เหล็กและแร่แม่เหล็กมีอำนาจแม่เหล็กมากกว่าหินข้างเคียงสามารถตรวจหาได้ด้วยวิธีวัดความเข้มสนามแม่เหล็ก เป็นต้น

miscibility สภาพผสมกันได้ : การที่สารจำนวน ๒ เฟสหรือมากกว่า สามารถรวมตัวเกิดเป็นเฟสเดียวกันได้ เช่น การเกิดผลึกผสมเนื้อเดียวของกลุ่มแร่เฟลด์สปาร์ชนิดแพลจิโอเคลส ตรงข้ามกับ immiscibility 

miscible drive แรงขับผสม : แรงผลักดันที่เกิดจากการอัดฉีดสารละลายเข้าไปในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม เพื่อทำให้ปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบที่ตกค้างอยู่ไหลเข้าสู่หลุมผลิต ซึ่งเป็นเทคนิคของการผลิตปิโตรเลียมขั้นทุติยภูมิ

Mississippi Valley-type deposit แหล่งแร่แบบหุบมิสซิสซิปปี : แหล่งแร่ strata-bound ของแร่ตะกั่วและ/หรือสังกะสีในหินคาร์บอเนตที่เกิดร่วมกันกับแร่ฟลูออไรต์และแบไรต์ แหล่งแร่แบบนี้มีลักษณะทางวิทยาแร่ง่าย ๆ เกิดเป็นสายแร่และโดยการแทนที่ที่ระดับตื้นถึงลึกปานกลาง ส่วนมากแหล่งแร่แบบนี้จะเปลี่ยนลักษณะเล็กน้อยภายหลังการเกิดสินแร่ พบตรงชายขอบของแอ่งหินตะกอน และปราศจากต้นตอของการเกิดแร่ที่แจ่มชัด โดยปรกติมักพบในแอ่งหินฐานธรณี โดยมากมักเรียกย่อ ๆ ว่า MVT

Mississippian มิสซิสซิปเปียน : ช่วงเวลาแบ่งย่อยของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่หลังจากยุคดีโวเนียนและก่อนยุคเพนซิลเวเนียน มีช่วงเวลาระหว่าง ๓๕๙ ล้านปี ถึง ๓๑๘ ล้านปีมาแล้ว หินที่สะสมตัวในช่วงเวลานี้เรียกว่า หินยุคมิสซิสซิปเปียน ซึ่งได้ชื่อจากแหล่งกำเนิดที่หุบเขาแม่น้ำมิสซิสซิปปี มีช่วงเวลาเท่ากับยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนต้นของทวีปยุโรป

mixed layer ชั้นน้ำผสม : ดูคำอธิบายใน epilimnion 

mixed-based crude น้ำมันดิบฐานผสม : น้ำมันดิบที่ประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนชนิดพาราฟินและแนฟทา ในสัดส่วนเกือบเท่า ๆ กัน ดู paraffinic-base crude และ asphalt-base crude ประกอบ ๑๗

mixed-layer mineral แร่แบบชั้นผสม : แร่ที่มีโครงสร้างประกอบด้วยการสลับชั้นของแร่และ/หรือแร่ไมกา เช่น แร่คลอไรต์ เกิดขึ้นจากการสลับชั้นของแผ่นแร่ไบโอไทต์และบรูไซต์

modulus of rigidity; rigidity modulus มอดุลัสความแข็งเกร็ง : ดู rigidity modulus; modulus of rigidity 

moissanite มอยส์ซอไนต์ : แร่พวกซิลิกอนคาร์ไบด์หรือคาร์บอนซิลิไซด์ มีสูตรเคมี SiC หรือ CSi รูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนราบ มีสีเขียวถึงดำ วาวแบบโลหะ ความแข็ง ๙.๕ โดยแข็งรองจากเพชร และมีความถ่วงจำเพาะ ๓.๒ เกิดร่วมกับแร่เพชรเม็ดเล็ก ๆ ในอุกกาบาตเหล็กที่หุบผาชันดีอาโบล (Canyon Diablo) มลรัฐแอริโซนา ปัจจุบันมีการสังเคราะห์แร่มอยส์ซอไนต์เพื่อใช้เป็นวัตถุขัดสี เช่น คาร์โบรันดัม และอัญมณีเทียมแต่ยังไม่เป็นที่นิยม ใน พ.ศ. ๒๕๔๑ มอยส์ซอไนต์สังเคราะห์ที่เข้าสู่ตลาดอัญมณีในชื่อเพชรเทียม มีสีขาวไร้สีไปจนถึงสีเหลืองและเขียว มีความสวยงามและสมบัติเกือบเทียบเท่าเพชร ประเทศไทยนิยมเรียกว่า เพชรโมอีส (mois) ดู carborundum ประกอบ 

mollusk; mollusc สัตว์พวกหอย : กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) มีลักษณะพิเศษคือ ร่างกายไม่มีข้อหรือปล้อง มีสมมาตรด้านข้าง หรือสมมาตรแบบรัศมี หรือรัศมี ๒ ซีก แบ่งออกเป็นพวกหอยกาบเดี่ยว หอยกาบคู่ และหอยเซฟาโลพอด ซึ่งรวมพวกหมึกด้วย

monazite โมนาไซต์ : แร่ฟอสเฟตที่ประกอบด้วยธาตุหายาก มีสูตรเคมี (Ce, La, Y, Th)PO4 ผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง เป็นสินแร่ของทอเรียมและแร่หายาก มีสีเหลืองหรือน้ำตาล หรือเหลืองอมเขียว ความแข็ง ๕.๕-๖ ความถ่วงจำเพาะ ๔.๖-๕.๔ ส่วนใหญ่มักเป็นผลึกเล็ก ๆ เป็นแร่รองในหินแกรนิตไนส์และเพกมาไทต์ และเกิดร่วมกับแร่หนักในลานแร่

monoclinic system ระบบหนึ่งแกนเอียง : ระบบผลึกระบบหนึ่งซึ่งแกนผลึกทั้ง ๓ แกนยาวไม่เท่ากัน สองแกนราบตั้งฉากซึ่งกันและกัน ส่วนแกนดิ่งเอียงทำมุมกับสองแกนแรก ผลึกระบบนี้อาจมีหนึ่งระนาบสมมาตรหรือหนึ่งแกนทวิสมมาตรหรือทั้งสองอย่าง ดู crystal sytem ประกอบ ๑๘

monothem ชั้นตะกอนไร้วัฏจักร : ชั้นหินที่ถูกกำหนดให้เป็นหน่วยลำดับชั้นหินตามอายุกาลหน่วยหนึ่ง อาจเป็นหมวดหินหรือหมู่หินที่สามารถกำหนดได้โดยลักษณะเด่นทางธรณีวิทยา ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นวัฏจักร ดู cyclothem ประกอบ 

monotypic -แบบเดี่ยว : คำที่ใช้กับขั้นอนุกรมวิธานที่รวมขั้นอนุกรมวิธานในลำดับต่ำกว่าที่ถัดไปเพียงอย่างเดียว เช่น สกุลของสิ่งมีชีวิตที่จำแนกได้เพียงชนิดเดียว

montmorillonite มอนต์มอริลโลไนต์ : แร่ดินในกลุ่มสเมกไทต์ มีสูตรเคมี [Al, Mg, Fe3+]4 [Si, Al]8O20[OH]4.nH2O เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเบนทอไนต์หรือ ฟูลเลอร์เอิร์ท เดิมเคยใช้เป็นชื่อกลุ่มแร่สเมกไทต์ โซเดียมมอนต์มอริลโลไนต์ มีความเหนียวและมีสภาพพลาสติกสูง ระยะห่างระหว่างชั้นหน่วยของโซเดียมมอนต์มอริลโลไนต์สามารถขยายมากกว่าเดิมประมาณ ๓ เท่า ไม่ยอมให้น้ำไหลผ่าน ใช้ทำโคลนเจาะ บุผนังคันกั้นน้ำ บุท้องแอ่งน้ำกันน้ำซึมผ่าน เป็นต้น ส่วนแคลเซียมมอนต์มอริล-โลไนต์ขยายตัวได้น้อยมาก มีลักษณะเป็นเม็ด ยอมให้น้ำไหลผ่าน ใช้ปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร หรือนำไปทำดินกัมมันต์ ใช้ฟอกสีน้ำมันพืช เป็นต้น ดู bentonite ประกอบ 

moonstone มูนสโตน, มุกดาหาร : แร่เฟลด์สปาร์ ที่แสดงการเหลือบเคลื่อนที่ได้เมื่อเปลี่ยนตำแหน่ง สีเหลืองนวลคล้ายแสงจันทร์ มีความวาวแบบมุก โปร่งใสถึงโปร่งแสง เป็นรัตนชาติชนิดหนึ่งเรียกว่า มุกดา หรือจันทรกานต์ ก็ได้ เช่น อะดูลาเรีย ซานิดีน อะนอร์โทเคลส แลบราโดไลต์ ดู sunstone ประกอบ 

morion มอเรียน : ควอตซ์สีควันไฟชนิดหนึ่ง สีเข้ม ดำ เกือบทึบแสง ดู smoke quartz ประกอบ 

morphologic species ชนิดร่วมสัณฐาน : สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ๆ ซึ่งได้รับการจัดกลุ่มขึ้นจากลักษณะเฉพาะทางด้านรูปแบบและโครงสร้างเท่านั้น

mortar structure โครงสร้างหินบด : โครงสร้างที่เกิดจากการเปลี่ยนลักษณะที่เกิดการแตกหักบดอัดหรือการแปรสภาพพลวัต มักพบในหินแกรนิต หินไนส์ ที่มีผลึกเล็ก ๆ ของควอตซ์เฟลด์สปาร์ อยู่ระหว่างผลึกใหญ่ ประกอบด้วยเศษหินที่เกิดจากการบดอัด ดู crush conglomerate; tectonic conglomerate ประกอบ 

mosaic texture เนื้อรูปต่อ, เนื้อโมเสก ๑. เนื้อหินแปรสภาพพลวัต ที่มีเม็ดแร่ขนาดเกือบเท่ากันและรอยต่อของเม็ดแร่จะเป็นแนวตรงหรืออาจโค้งเล็กน้อย แต่ไม่จับตัวกันแน่นหรือต่อเป็นแบบหยัก (sutured ๑๙

boundary) ๒. เนื้อหินที่พบในหินตะกอนเนื้อผลึก ที่มีรอยต่อของเม็ดแร่สม่ำเสมอ เช่น ในหินโดโลไมต์ ที่ประกอบด้วยเม็ดแร่โดโลไมต์เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนขนาดเกือบเท่ากัน

mosaic รูปต่อ, โมเสก : ๑. ดาดกรวดทะเลทราย (desest pavement) ที่เกิดจากการที่ลมพัดพาเอาทรายออกไปจากทรายปนกรวดในทะเลทราย จนเหลือแต่กรวดเรียงรายกันอยู่ และช่วยกันทรายข้างใต้ไม่ให้ถูกลมพัดไปได้อีก ผิวดินจึงเป็นดาดกรวด ๒. (ศิลาวิทยา) เนื้อหินชนิดหนึ่งที่เม็ดแร่มีขนาดเกือบเท่ากัน ๓. (โบราณชีววิทยา) รูปแบบที่เกิดขึ้นภายในฝาหอยของพวกแบรคิโอพอด ๔. (ธรณีวิทยาภาพถ่ายและการรับรู้ระยะไกล) ชุดของรูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียมที่นำมาเรียงตามลำดับให้ได้ภาพที่ต่อเนื่องกัน เพื่อแสดงรายละเอียดของพื้นผิวโลกบริเวณนั้น

moss agate มอสส์อะเกต, โมรามอสส์ : คำทั่วไปที่ใช้เรียกแร่คาลซิโดนีเนื้อโปร่งแสง ซึ่งมีสารฝังในที่ดูคล้ายต้นไม้ เฟิร์น มอสส์ และพรรณไม้ที่คล้ายกัน ในความหมายเฉพาะหมายถึง อะเกตชนิดที่มีตำหนิภายในดูคล้ายมอสส์สีน้ำตาล ดำ หรือเขียว อันเนื่องมาจากสารฝังในจำพวกออกไซด์ของแมงกานีสและเหล็ก

moss animal สัตว์มอสส์, สัตว์พวกตะแกรงหิน : ดู bryozoan 

mother lode สายแร่แม่ : ๑. สายแร่หลักที่อาจไม่มีค่าเชิงพาณิชย์ แต่มีความสัมพันธ์กับสายแร่ย่อย ๆ ที่สามารถพัฒนาได้ ๒. แหล่งสินแร่ที่เป็นต้นกำเนิดของแหล่งลานแร่

mottled limestone หินปูนลายประ : หินปูนที่มีมวลแร่โดโลไมต์ซึ่งมีลักษณะเป็นกิ่งก้านกลวง อันอาจมีต้นกำเนิดแบบอินทรีย์หรือแบบอนินทรีย์ เมื่อมองดูผิวหน้าของหินปูนนี้จะเห็นเป็นลายประ

mound . มูนดิน : ๑.๑ เนินดินเตี้ย ๆ รูปทรงกลมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดู knoll ๑ ประกอบ ๑.๒ เนินเขาเล็ก ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยการทับถมหรือฝังกลบของซากปรัก หักพัง ๒๐

. มูนซาก : โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตที่สร้างขึ้นจากซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่กันเป็นอาณานิคม เช่น ไครนอยด์

moveout time; moveout การเคลื่อนออก : ดู moveout; moveout time 

moveout; moveout time การเคลื่อนออก : ความแตกต่างของเวลาอันเนื่องจากการที่คลื่นเสียงเดินทางจากต้นกำเนิดคลื่นที่ผิวดินลงไปตกกระทบชั้นสะท้อนที่วางตัวในแนวระดับใต้ผิวดิน แล้วสะท้อนกลับมายังตัวรับคลื่นที่ผิวดิน ๒ ตำแหน่งที่อยู่ถัดไปและห่างจากต้นกำเนิดคลื่นเป็นระยะทางไม่เท่ากัน ดู dip moveout และ normal moveout (NMO) ประกอบ 

M/R Interglacial ช่วงคั่นมินเดล/ริสส์ : ดู Holsteinian 

muck มัก : ๑. วัสดุดินอินทรีย์ที่มีการสลายตัวสูงจนไม่สามารถบ่งบอกสภาพเดิมได้ว่ามาจากส่วนไหนของพืช ปรกติมีปริมาณอนินทรียวัตถุมากกว่าอินทรียวัตถุ มีสีคล้ำหรือเข้ม กว่าพีต ๒. ในการทำเหมืองแร่ หมายถึงหินที่ไม่มีสินแร่

mucro หนาม : ส่วนของพืชหรือสัตว์ที่มีขนาดสั้นๆ และปลายแหลมคม

mucronate -เป็นติ่งหนาม : มีลักษณะเป็นหนามยื่นออกมา

mud engineer วิศวกรโคลนเจาะ : ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้ศึกษาและกำหนดเงื่อนไขการใช้วัสดุ เคมีภัณฑ์ และสารเติมแต่ง เพื่อจัดทำและควบคุมสมบัติของโคลนเจาะที่ใช้ในการเจาะแบบ หมุน เช่น การเจาะสำรวจปิโตรเลียมหรือน้ำบาดาล

mud flow line ท่อระบายโคลนเจาะ : ท่อเหล็กสำหรับหมุนเวียนน้ำโคลนที่ออกจากหลุมเจาะกลับเข้าสู่ถังโคลนเจาะ

mud hose; kelly hose; rotary hose สายโคลนเจาะ : ท่ออ่อนที่ทนแรงดันสูงใช้เชื่อมต่อหัวหมุนและก้านเจาะนำกับท่อโคลนเจาะแนวตั้ง (ดูรูปที่ swivel หมายเลข ๑๕) 

mud log ผลบันทึกโคลนเจาะ : ดู interpretive log 

mud mound มูนโคลน : โคลนจำพวกคาร์บอเนตที่ทับถมอยู่บนไหล่ทวีป โดยการกระทำทางอุทกพลศาสตร์ ซึ่งอาจมีเศษชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตปนอยู่ด้วย เช่น สาหร่าย ฟองน้ำ ปะการัง ๒๑

mud pump; slush pump เครื่องสูบโคลนเจาะ : เครื่องสูบหรือปั๊มชนิดลูกสูบที่ใช้สำหรับสูบอัดโคลนเจาะเข้าไปในระบบหมุนเวียนของการเจาะแบบหมุน

mullion structure ๑. โครงสร้างลอนลูกฟูก : โครงสร้างบนพื้นผิวรอยเลื่อนที่มีลักษณะคล้ายลอนลูกฟูกซึ่งขนานกับทิศทางการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน ๒. โครงสร้างรูปแท่ง : ดู rodding structure 

mullite มุลไลต์ : แร่หายาก ผลึกอยู่ในระบบสามแกนต่าง มีสูตรเคมี Al6Si3O13 ความแข็ง ๖-๗ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๒๓ แร่นี้มีสมบัติทนทานต่อความร้อนและการกร่อนสลายตัว จึงมีการผลิตมุลไลต์สังเคราะห์เพื่อใช้เป็นวัสดุทนไฟ มีความหมายเหมือนกับ porcellanite 

multiple; multiple reflection คลื่นสะท้อนซ้ำ : คลื่นเสียงที่เดินทางออกจากต้นกำเนิดคลื่นลงไปกระทบชั้นด้านล่างแล้วสะท้อนกลับขึ้นไป และสะท้อนกลับลงมาที่ชั้นสะท้อนด้านล่างกลับไปกลับมาก่อนเดินทางเข้าสู่เครื่องรับ คลื่นสะท้อนซ้ำมี ๒ แบบ แบบหนึ่งคือ คลื่นสะท้อนซ้ำที่มีระยะการเดินทางของคลื่นใกล้เคียงกับคลื่นสะท้อนปฐมภูมิ (ก) และเดินทางถึงเครื่องรับคลื่นในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งจะปรากฏในภาพตัดขวางคลื่นไหวสะเทือนให้เห็นเพียงเป็นหางต่อจากรูปคลื่นสะท้อน คือ (ข) โกสต์ (ค) คลื่นสะท้อนซ้ำใกล้ผิว และ (ง) คลื่นสะท้อนซ้ำเพกเลก อีกแบบหนึ่งคือ คลื่นสะท้อนซ้ำที่มีระยะการเดินทางมากกว่าคลื่นสะท้อนปฐมภูมิ ซึ่งจะก่อตัวเป็นแนวคลื่นสะท้อนแนวหนึ่งในภาพตัดขวางคลื่นไหวสะเทือน แสดงไว้ในรูปคือ (จ) คลื่นสะท้อนซ้ำธรรมดา (ฉ) และ (ช) คลื่นสะท้อนซ้ำระหว่างชั้น

muneraeize เกิดเป็นแร่ : เปลี่ยนเป็นแร่ แทนที่ หรือแทรกประด้วยแร่ คำนี้ยังประยุกต์ใช้กับกระบวนการเกิดแร่และสินแร่ และการกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์

muscovite มัสโคไวต์ : แร่ไมกาชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี KAl2(AlSi3O10)(OH)2 แร่นี้ปรกติมีสีขาว แต่อาจมีสีเขียวอ่อน สีน้ำตาลอ่อน หรือไม่มีสี รูปผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนกัน จึงเรียกว่า แร่กลีบหินขาว ใช้เป็นฉนวนความร้อนและไฟฟ้า และใช้ใน อุตสาหกรรมกระดาษ ยาง สีทนไฟ เป็นต้น ๒๒

muskeg พรุเขตหนาว : ที่ลุ่มสนุ่นหรือพรุในเขตหนาวเย็นซึ่งปกคลุมด้วยมอสส์หรือตะไคร่น้ำและมีน้ำขังตลอดปี มีการระบายน้ำเลว และมีสภาพแช่แข็ง ภูมิประเทศลักษณะนี้ชาวอินเดียนแดงพื้นเมืองในแคนาดาเรียกว่า มัสเค็ก (muskeg)

mutant สายพันธุ์กลาย : ลูกหลานที่เกิดการกลายพันธุ์ไปแล้ว ดู mutation ประกอบ 

mutation การกลายพันธุ์ : การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานทางพันธุกรรมที่ได้เกิดขึ้นเองโดยบังเอิญ เป็นผลให้ลูกหลานที่เกิดใหม่แตกต่างไปจากสายพันธุ์ของพ่อแม่ อันเป็นการเลือกสรรของธรรมชาติ ซึ่งจะมีผลให้เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ ขึ้น สายพันธุ์กลายนี้ ในปัจจุบันคิดว่าเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดีเอ็นเอ ในโครโมโซม การเปลี่ยนแปลงนี้บางครั้งมองเห็นได้แต่ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็น หลายครั้งเป็นการเสื่อมสภาพ การกลายพันธุ์เป็นหลักฐานของวิวัฒนาการ ดู mutant ประกอบ 

mutualism ภาวะพึ่งพากัน : ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิด ที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยสิ่งมีชีวิตทั้ง ๒ ชนิดนั้นต่างก็ได้ประโยชน์จากกันและกัน เช่น โปรโตซัวชนิดหนึ่งที่อาศัยในลำไส้ของปลวก ปลวกกินไม้เป็นอาหารส่วนโปรโตซัวผลิตเอนไซม์ย่อยเซลลูโลสเป็นสารอาหาร โดยปลวกย่อยไม้ไม่ได้และโปรโตซัวกินไม้ไม่ได้ ดู commensalism และ symbiosis ประกอบ 

myriapod ไมเรียพอด : สัตว์ขาปล้องพวกหนึ่งที่อาศัยอยู่บนบก มีขาจำนวนมาก จัดอยู่ในชั้นใหญ่ไมเรียโพดา (superclass Myriapoda) ซึ่งรวมถึงตะขาบและกิ้งกือ ไมเรียพอดมีช่วงอายุตั้งแต่ยุคไซลูเรียนตอนปลายจนถึงปัจจุบัน และไม่ค่อยพบเป็นซากดึกดำบรรพ์

myrmekitic texture เนื้อตัวหนอน : ลักษณะเนื้อหินที่มีควอตซ์เม็ดเล็ก ๆ คล้ายหนอน เกิดในแร่เฟลด์สปาร์ โดยทั่วไปเป็นแพลจิโอเคลส มักเกิดในช่วงหลังของการแข็งตัวของหินอัคนี หรือช่วงเกิดการแทรกดันของหินอัคนีแทรกซอน

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

nannofossil ซากดึกดำบรรพ์แนนโน : ๑. ชื่อที่ใช้กับซากดึกดำบรรพ์ดิสโคอาร์สเตอร์ (discoarster) และคอโคลิต (cocolith) ซึ่งเป็นจุลชีวินดึกดำบรรพ์เนื้อปูน มีขนาดเล็กมากจนใช้กล้องจุลทรรศน์ทางแสงทั่ว ๆ ไปไม่ได้ผลดี จึงต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ๒. คำที่บางครั้งใช้ในความหมายทั่ว ๆ ไปสำหรับซากพืชดึกดำบรรพ์พวกสาหร่ายน้ำเค็มที่มีขนาดเล็กกว่าจุลชีวินดึกดำบรรพ์

มีความหมายเหมือนกับ nanofossil 

nanofossil ซากดึกดำบรรพ์นาโน : ดู nannofossil ๒๓

native water; formation water น้ำเดิมในชั้นหิน : ดู formation water; native water 

natural drive energy พลังขับธรรมชาติ : ดู drive mechanism; reservoir drive; reservoir drive mechanism 

natural law; law of nature กฎธรรมชาติ : ดู law of nature; natural law 

natural selection การคัดเลือกโดยธรรมชาติ : กระบวนการที่สิ่งมีชีวิตตัวใดตัวหนึ่งไม่สามารถปรับตัวได้หรือปรับตัวได้น้อยที่สุด ถูกขจัดออกไปจากกลุ่มของประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ จนทำให้ประชากรมีจำนวนลดลงเหลือแต่กลุ่มที่มีคุณภาพสืบเชื้อสายต่อไป

nautilicone นอติลอยด์ม้วนเหลื่อม : นอติลอยด์ที่มีเปลือกม้วนงอหรือม้วนขดเป็นแบบม้วนเหลื่อม ดู involute ประกอบ 

nautiloid นอติลอยด์ : สัตว์พวกหอยในกลุ่มของเซฟาโลพอด จัดอยู่ในชั้นย่อยนอติลอยเดีย (subclass Nautiloidea) มีลักษณะเฉพาะ คือมีไซฟังเคิล (siphuncle) เปลือกมีลักษณะตรง โค้งหรือม้วนขด ภายในมีผนังแบ่งช่องว่างออกเป็นห้อง ๆ รอยเชื่อมต่อระหว่างผนังแบ่งห้องกับผนังเปลือกไม่หยักซับซ้อนเหมือนของแอมโมไนต์ ปัจจุบันเหลือเพียงสกุลเดียว คือ หอยนอติลุส (Nautilus) นอติลอยด์เคยมีแพร่หลายมากที่สุดในยุคออร์โดวิเชียนและไซลูเรียน โดยเริ่มพบในยุคแคมเบรียน ดู goniatite ประกอบ 

neanic -นีแอนิก : คำที่ใช้กับสิ่งมีชีวิตในช่วงที่การเจริญเติบโตยังอยู่ในขั้นไม่เต็มวัย หรือยังอยู่ในขั้นวัยเด็ก ขั้นนี้อยู่ระหว่างขั้นเนฟิโอนิกกับขั้นเต็มวัย ดู nephionic ประกอบ 

neap tide น้ำตาย : ช่วงกระแสน้ำขึ้น-น้ำลงซึ่งเกิดในวันขึ้น ๘ ค่ำ และแรม ๘ ค่ำ เป็นช่วงเวลาที่แรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ ในช่วงเวลานี้จะทำให้ระดับของกระแสน้ำขึ้น-น้ำลงต่างกันน้อยมาก ประมาณร้อยละ ๑๐–๓๐ ของระดับเฉลี่ย ดู spring tide ประกอบ 

near-surface multiple คลื่นสะท้อนซ้ำใกล้ผิว : ดูคำอธิบายใน multiple; multiple reflection 

Nebraskan ช่วงเนแบรสกัน : ช่วงอายุของธารน้ำแข็งลำดับแรกของสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือ ตามด้วยช่วงคั่นแอฟโตเนียน เทียบได้กับช่วงกึนซ์และช่วงมีนาเปียนในทวีปยุโรป ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

neck ๑. คอคอด : ๑.๑ ดู isthmus ๒๔

๑.๒ คอภูเขาไฟ . ส่วนคอด : ๒.๑ ส่วนแคบของทางน้ำโค้งตวัด ๒.๒ ท่อเก็บตัวอย่าง ดู pipe ประกอบ ๒.๓ แถบแคบ ๆ ของกระแสน้ำ ดู rip current ประกอบ ๒.๔ สายแร่เป็นลำจากปล่องภูเขาไฟ

nektonic เนกโทนิก : ดูคำอธิบายใน nekton 

neo-Darwinism บัญญัติดาร์วินใหม่ : บทบัญญัติของดาร์วินสมัยใหม่ซึ่งมีการขยายเพิ่มเติมตามข้อมูลด้านพันธุกรรม

Neolithic; New Stone Age ยุคหินใหม่ : ช่วงเวลาสุดท้ายของยุคหินในการแบ่งเวลาทางโบราณคดี ช่วงเวลานี้มีลักษณะเฉพาะคือ มนุษย์มีการพัฒนาเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ ดู Paleolithic; Old Stone Age 

neomagma หินหนืดใหม่ : หินหนืดที่เกิดจากการหลอมเหลวเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของหินที่มีอยู่เดิมภายใต้การแปรสภาพระดับลึกซึ่งมีอุณหภูมิและความดันสูง ดู anatexis และ palingenesis ประกอบ 

neomorphism กระบวนการแปรรูปใหม่ : กระบวนการแปรเปลี่ยนแร่เดิมที่มีอยู่ในหินให้เป็นแร่ชนิดใหม่ โดยการเพิ่มอุณหภูมิและความดันต่อหินที่ประกอบด้วยแร่ต่าง ๆ หรือแร่ที่มีส่วนประกอบซับซ้อน ซึ่งจะทำให้การยึดเหนี่ยวหรือพันธะของธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในแร่แตกออก แล้วจับตัวกันเป็นแร่ใหม่ กระบวนการนี้สามารถทำให้ส่วนประกอบและเนื้อของหินเดิมเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างแร่ที่เกิดโดยกระบวนการนี้ เช่น อะราโกไนต์ แคลไซต์ การ์เนต คลอไรต์ ทัวร์มาลีน เซอร์เพนทีน มัสโคไวต์ ทัลก์ ดู recrystallization และ metasomatism ประกอบ 

neontology นวชีวินวิทยา : การศึกษาสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน ตรงข้ามกับบรรพชีวินวิทยา (paleontology) ซึ่งศึกษาสิ่งมีชีวิตในอดีตกาล

neotype ต้นแบบใหม่ : ตัวอย่างเดี่ยวตัวหนึ่งของสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งถูกกำหนดให้ใช้แทนที่ตัวอย่างต้นแบบของชื่อทางวิทยาศาสตร์ในขั้นชนิดที่ได้ตีพิมพ์ไว้เป็นครั้งแรก เมื่อตัวอย่างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ต้นแบบแรก (holotype) ต้นแบบเพิ่ม (lectotype) ตัวอย่างเสมือนต้นแบบ (paratype) หรือต้นแบบพ้อง (syntype) สูญสิ้นไปแล้ว ๒๕

nereite เนรีไอต์ : รอยซากดึกดำบรรพ์ซึ่งอาจเป็นรอยเคลื่อนตัวของพวกหนอนหรือของพวกหอยกาบเดี่ยว

nephionic -เนฟิโอนิก : คำที่ใช้กับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ช่วงการเจริญเติบโตอยู่ในขั้นวัยเด็กเล็ก เปลือกที่สร้างขึ้นจึงยังไม่แสดงลักษณะเด่นพิเศษออกมาให้เห็น ขั้นนี้อยู่ระหว่างขั้นตัวอ่อน (embryonic) กับขั้นนีแอนิก ดู neanic ประกอบ 

nephrite เนไฟรต์ : แร่ในกลุ่มแอมฟิโบล มีสูตรเคมี Ca2(Fe, Mg)5 Si8O22(OH)2 ผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง มีหลายสี แต่ส่วนใหญ่มีสีเขียวอมน้ำเงินเนื่องจากมีเหล็กปน ความแข็ง ๕-๖ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๐-๓.๓ เนื้อแน่นเหนียว องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นพวกเทรโมไลต์-แอกทิโนไลต์ จัดเป็นหยกชนิดหนึ่งแต่มีสมบัติทางฟิสิกส์ด้อยกว่าหยกชนิดเจไดต์และมีคุณค่าน้อยกว่า คำว่า nephrite มาจากภาษากรีกว่า nephos ซึ่งแปลว่าไต ในสมัยโบราณใช้รักษาโรคเกี่ยวกับไต ดู jadeite ประกอบ 

nepturian dike พนังเนปทูเรียน : พนังหินตะกอนชนิดหนึ่ง เกิดจากการเติมเต็มของตะกอนซึ่งโดยทั่วไปเป็นตะกอนทราย ลงไปในรอยแตกหรือช่องใต้พื้นทะเล ดู injection dike ประกอบ 

nesosilicate นีโซซิลิเกต : กลุ่มแร่ซิลิเกตที่ประกอบด้วย SiO4 ทรงสี่หน้าชุดเดี่ยว อัตราส่วน Si : O = ๑ : ๔ ตัวอย่างเช่นโอลิวีน โกเมน เซอร์คอน โทแพซ แอนดาลูไซต์

net pay ชั้นปิโตรเลียมหนาสุทธิ : ความหนาของชั้นปิโตรเลียมทุก ๆ ชั้นรวมกันในแหล่งหนึ่ง ๆ หรือในหลุมเจาะหนึ่ง ๆ

neutron-activation log ผลบันทึกการกระตุ้นด้วยนิวตรอน : ผลบันทึกกัมมันตรังสีชนิดบันทึกรังสีแกมมาเกิดในธรรมชาติด้วยแถบพลังงานเป็นช่วงหรือบันทึกนิวตรอน ใช้งานในหลุมเจาะที่ลงท่อกรุโดยการส่งนิวตรอนพลังงานสูงซึ่งมีพลังงานประมาณ ๑๔ ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ผ่านเข้าไปในชั้นหินรอบหลุมเจาะ ทำให้ธาตุในธรรมชาติเปลี่ยนเป็นไอโซโทปที่ให้รังสีแกมมาระดับพลังงานต่าง ๆ จากพลังงานของรังสีแกมมาสามารถแยกให้เห็นได้ว่าบริเวณใดเป็นแคลเซียม บริเวณใดเป็นซิลิกอน ช่วยให้บอกชนิดของหินหรือบอกความแตกต่างกันระหว่างบริเวณที่มีคาร์บอนกับออกซิเจน ทำให้สามารถแบ่งแยกบริเวณที่มีน้ำมันออกจากบริเวณที่เป็นน้ำได้ ๒๖

neutron log ผลบันทึกนิวตรอน : ผลบันทึกความเข้มกัมมันตรังสีของรังสีแกมมาหรือนิวตรอนที่เกิดขึ้นโดยการผ่านนิวตรอนจากเครื่องส่งเข้าไปในหินรอบหลุมเจาะเพื่อบอกลักษณะความพรุนของหิน ทำให้ทราบว่ามีของไหลแทรกอยู่ในหิน เมื่อใช้ประกอบกับผลบันทึกแกมมาและผลบันทึกความต้านทาน จะทำให้ทราบว่าของไหลในรูพรุนเป็นน้ำหรือน้ำมัน ดู gamma log และ resitivity log ประกอบ 

New Stone Age; Neolithic ยุคหินใหม่ : ดู Neolithic; New Stone Age 

Nicol prism ปริซึมนิโคล : อุปกรณ์ที่ใช้ในกล้องจุลทรรศน์ชนิดโพลาไรส์ เป็นตัวจำกัดคลื่นแสงให้อยู่ในระนาบเดียว ตั้งชื่อตามผู้ประดิษฐ์คนแรก คือ นายวิลเลียม นิโคล (Mr. William Nicol) ปริซึมนิโคลตัวล่างเรียกว่า โพลาไรเซอร์ (polariser) อยู่ใต้แป้นหมุน ปริซึมนิโคลตัวบนเรียกว่า แอนาไลเซอร์ (analyser) อยู่เหนือเลนส์วัตถุ ปริซึมนิโคลทำจากแร่แคลไซต์ใส ปัจจุบันนิยมใช้แผ่นโพลารอยด์หรือวัสดุอื่นแทนปริซึมนิโคล เรียกแผ่นโพลารอยด์ว่า โพลาไรเซอร์

NMO (normal moveout) เอ็นเอ็มโอ (การเคลื่อนออกปรกติ) : ดู normal moveout (NMO) 

noble metal โลหะมีสกุล : โลหะหรือโลหะผสมที่มีค่าสูง หรือมีสมบัติสำคัญเฉพาะอย่างที่เหนือกว่าเมื่อเทียบเคียงกับโลหะอื่น ๆ เช่น ทองคำ เงิน แพลทินัม (ทองคำขาว) ทองขาว

node ปุ่ม : 

๑. ร่างกายของสัตว์ส่วนที่มีลักษณะนูนหนาหรือเป็นปุ่มปม

๒. มอบ รศ. ดร.ปัญญา จารุศิริ เขียนคำอธิบาย

๓. มอบ รศ. ดร.ปัญญา จารุศิริ เขียนคำอธิบาย

nodular -เป็นก้อนกลม : 

๑. ประกอบด้วยมวลก้อนทรงมน เช่น หินปูนก้อนทรงมน

๒. มีรูปร่างเป็นก้อนทรงมน ดู nodule ประกอบ 

noise สัญญาณรบกวน : สัญญาณที่ไม่ต้องการหรือสัญญาณที่ได้รับแบบไม่มีทิศทาง

nomenclature การตั้งชื่อ : แนวทางปฏิบัติในการตั้งชื่อกลุ่มพืชและสัตว์ในระดับขั้นต่าง ๆ หรือขั้นอนุกรมวิธานต่าง ๆ ตามระบบการเรียงลำดับชั้นที่ได้ยอมรับและกำหนดไว้ให้ใช้อย่างเป็นทางการแล้ว เช่น The International Code of Botanical Nomenclature และ the International Code of Zoological Nomenclature ๒๗

nonmetal อโลหะ : ๑. สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยทั่วไปมีความวาวน้อย สภาพนำ และความทึบแสงต่ำ รวมทั้งดึงเป็นเส้นได้ยาก ซึ่งสมบัติเหล่านี้แตกต่างจากโลหะ ดู metal ประกอบ ๒. (เศรษฐธรณีวิทยา) หินหรือแร่ใดที่มีการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่เพื่อคุณค่าด้านอโลหะ เช่น หิน กำมะถัน เกลือ

nonmetallic -อโลหะ : ๑. คำที่ใช้เกี่ยวกับอโลหะ ๒. คำที่ใช้เกี่ยวกับความวาวแบบอโลหะ เช่น วาวแบบแก้ว วาวแบบมุก วาวแบบใยไหม

normal cycle วัฏจักรปรกติ : ดู fluvial cycle of erosion 

normal moveout (NMO) การเคลื่อนออกปรกติ (เอ็นเอ็มโอ) : ความแตกต่างของเวลาอันเนื่องจากการที่คลื่นเสียงเดินทางจากต้นกำเนิดคลื่นที่ผิวดินลงไปตกกระทบชั้นสะท้อนที่วางตัวในแนวระดับใต้ผิวดิน แล้วสะท้อนกลับมายังตัวรับคลื่นที่ผิวดิน ๒ ตำแหน่ง โดยตัวรับคลื่นตัวหนึ่งอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกันกับต้นกำเนิดคลื่น อีกตัวหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ห่างถัดออกไป ดู dip moveout และ moveout; moveout time ประกอบ 

normal polarity สภาพขั้วปรกติ : ๑. สภาพที่แนวเส้นแรงแม่เหล็กตกค้างทางธรรมชาติวางตัวเกือบขนานทิศทางการวางตัวของแนวเส้นแรงสนามแม่เหล็กโลกปัจจุบัน ๒. รูปแบบการวางตัวของเส้นแรงสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งทำให้เกิดขั้วลบแม่เหล็กโลกอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับขั้วโลกเหนือทางภูมิศาสตร์

normal stress ความเค้นตั้งฉาก : แรงต่อ ๑ หน่วยพื้นที่ที่กระทำตั้งฉากต่อด้านใดด้านหนึ่งของวัตถุ อาจเป็นความเค้นแรงดึงหรือความเค้นแรงอัดก็ได้ ดู stress ประกอบ 

nuclear log ผลบันทึกทางนิวเคลียร์ : ดู radioactivity log 

nummulite นัมมูไลต์ : สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกฟอแรมินิเฟอรา จัดอยู่ในวงศ์ Nummulitidae มีลักษณะเฉพาะคือมีเปลือกเป็นรูปเลนส์หรือม้วนเป็นรูปกลมแบน มีช่วงอายุตั้งแต่ยุคครีเทเชียสตอนปลายถึงปัจจุบัน

nummulitic limestone หินปูนนัมมูไลต์ : หินชั้นซึ่งประกอบไปด้วยเปลือกของนัมมูไลต์ โดยเฉพาะหมายถึงชั้นของหินปูนนัมมูไลต์หรือหมวดหินปูนนัมมูไลต์ (Nummulite ๒๘

Limestone) สมัยอีโอซีน ซึ่งเป็นชั้นหนาเด่นชัดมากและแพร่กระจายกว้างขวาง ทอดยาวจากเทือกเขาแอลป์และทวีปแอฟริกาเหนือสู่ประเทศจีน เอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ประกอบไปด้วยเปลือกของฟอแรมินิเฟอรา สกุล Nummulites 

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

ocean trench; oceanic trench; sea-floor trench; submarine trench ร่องลึกใต้สมุทร : ดู oceanic trench; ocean trench; sea-floor trench; submarine trench 

oceanic ridge; mid-oceanic ridge; submarine ridge เทือกสันเขาใต้สมุทร : สันเขาเป็นแนวยาวอยู่ที่พื้นของมหาสมุทร สันนิษฐานว่าเกิดจากแผ่นธรณีภาคที่เป็นมหาสมุทรเคลื่อนตัวออกจากกัน ทำให้หินหนืดไหลแทรกขึ้นมาเย็นตัวลงและแข็งตัวตามรอยแยกนั้น เกิดเป็นสันเขานูนสูงขึ้นมาที่พื้นมหาสมุทร

oceanic rise เนินเขาท้องสมุทร : ดู rise ๒ 

oceanic trench; ocean trench; sea-floor trench; submarine trench ร่องลึกใต้สมุทร : ร่องลึกที่พื้นของมหาสมุทร มีลักษณะแคบยาวและขอบสูงชัน เกิดจากแผ่นธรณีภาคที่เป็นมหาสมุทรเคลื่อนตัวเข้ามาชนกัน โดยขอบของแผ่นหนึ่งมุดลงไปใต้ขอบของอีกแผ่นหนึ่ง ทำให้เกิดร่องลึกตรงแนวที่แผ่นธรณีภาคมุดจมลง ส่วนบริเวณขอบของแผ่นธรณีภาคซึ่งถูกเกยให้สูงขึ้นมักกลายเป็นแนวของหมู่เกาะภูเขาไฟ ร่องลึกก้นสมุทรที่มีความลึกมากที่สุด คือ ร่องลึกก้นสุมทรมารีแอนา (Mariana Trench) อยู่ทางตะวันออกของหมู่เกาะมารีแอนา ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีความลึกถึง ๑๐,๙๒๔ เมตร

ocher โอเคอร์ : เหล็กออกไซด์เนื้อเหมือนผงดิน มีสีเหลือง น้ำตาล แดง โอเคอร์สีเหลืองน้ำตาล คือไลมอไนต์ สีแดงคือฮีมาไทต์ ใช้ทำรงควัตถุ รูปภาพโบราณบนผนังหินหรือบนภาชนะดินเผามักใช้โอเคอร์เขียน

odd arm star array แถวลำดับรูปดาวคี่ : การจัดวางกลุ่มจีโอโฟนหรือกลุ่มต้นกำเนิดคลื่นแบบรูปดาว มีจำนวนแฉกแยกออกไปเป็นเลขคี่ เช่น ๓, ๕, ๗…

offlap ถอยทับ : ๑. การตกตะกอนซ้อนทับกันโดยชั้นบนจะปิดทับชั้นล่างที่ยื่นเลยเข้าไปหาแผ่นดิน ลักษณะของชั้นตะกอนประกอบด้วยตะกอนขนาดใหญ่กว่าอยู่ด้านบน และ ๒๙

ซ้อนทับชั้นตะกอนที่มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ การตกตะกอนเกิดขึ้นในขณะที่น้ำทะเลถอยกลับ ๒. การถดถอยของน้ำทะเลออกจากแผ่นดินที่ยกตัวขึ้น ดู regression ประกอบ 

offlap; regressive overlap ______: ขอบของหินที่มีการเอียงเทของของชุดลำดับของหิน ซึ่งพบว่า แต่ละชุดลำดับจะมีชุดที่แก่กว่าอยู่ด้านบน มักพบบริเวณที่มีการถอยของทะเลไปนอกฝั่ง

offset well หลุมเจาะเยื้อง : หลุมเจาะปิโตรเลียมที่เจาะในบริเวณใกล้ ๆ กับหลุมเจาะเดิมเพื่อขยายผลลักษณะหรือสมบัติของหินกักเก็บ หรือเป็นหลุมที่ผลิตปิโตรเลียมในบริเวณที่มีเขตสัมปทานติดกัน เพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผลิตปิโตรเลียมแต่ฝ่ายเดียว แล้วให้ปิโตรเลียมของอีกฝ่ายหนึ่งไหลเข้าสู่หลุมผลิตที่มีอยู่เดิม

offset การเหลื่อม : ๑. ระยะทางระหว่างต้นกำเนิดคลื่นกับจุดกึ่งกลางของกลุ่มตัวรับสัญญาณ มี ๒ แบบ คือ แบบตั้งฉากและแบบตามแนวสำรวจ ในกรณีที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นการเหลื่อมที่เกิดจากกลุ่มตัวรับสัญญาณกลุ่มไหน ให้หมายถึงการเหลื่อมที่เกิดจากระยะทางถึงกลุ่มตัวรับสัญญาณที่อยู่ใกล้ต้นกำเนิดคลื่นมากที่สุด ๒. ในการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนในทะเล คือระยะระหว่างเสารับสัญญาณกำหนดตำแหน่งเรือกับจุดกึ่งกลางของระยะครอบคลุมใต้ดิน มีความหมายเหมือนกับ stepback ๓. ในการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบหักเห หมายถึงระยะห่างจากแนวดิ่งของตัวรับสัญญาณกับจุดหักเหของคลื่นกลับสู่ตัวรับสัญญาณ ๔. ในการประมวลผลข้อมูลการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน หมายถึงระยะห่างของชั้นสะท้อนเดิมที่ปรากฏในภาคตัดขวางคลื่นไหวสะเทือนกับตำแหน่งที่ถูกต้อง ๕. ดู heave; horizontal throw 

oil sand ทรายน้ำมัน : หินเนื้อฟ่ามที่มีปิโตรเลียมสะสมอยู่ โดยเฉพาะหินทรายหรือชั้นตะกอนทราย และอาจหมายความถึงหินชนิดอื่น ๆ ที่กักเก็บน้ำมันก็ได้ เช่น หินปูน

oil trap แหล่งกักเก็บน้ำมัน : ดูคำอธิบายใน petroleum trap ๓๐

oil window; petroleum window ช่วงเกิดน้ำมัน : สภาวะที่เหมาะสมของอุณหภูมิ ความดัน และเวลาซึ่งถึงกำหนดทำให้เกิดน้ำมันและแก๊สได้

oil-base mud โคลนฐานน้ำมัน : โคลนเจาะที่ผสมน้ำมันเป็นเนื้อเดียวกัน มีน้ำผสมอยู่น้อยกว่าร้อยละ ๕ และน้ำจะเป็นหยดเล็ก ๆ กระจายอยู่ในน้ำมัน โคลนเจาะชนิดนี้ใช้ในการเจาะชั้นหินที่เจาะยากหรือสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก

oil-water contact (OWC) รอยต่อน้ำมัน–น้ำ (โอดับเบิลยูซี) : ผิวสัมผัสระหว่างชั้นน้ำมันดิบซึ่งอยู่ด้านบนกับน้ำซึ่งอยู่ด้านล่างในชั้นกักเก็บ มีความหมายเหมือนกับ oil-water interface 

oil-water interface ผิวสัมผัสน้ำมันกับน้ำ : โคลนเจาะที่ผสมกับน้ำมันเป็นหลัก โดยมีน้ำปนอยู่น้อยกว่าร้อยละ ๒-๕ ซึ่งน้ำจะกระจายเป็นหยดเล็ก ๆ ในน้ำมัน

Old Red Sandstone โอลด์เรดแซนด์สโตน : ลำดับของชั้นหินสีแดงชั้นหนาที่เกิดขึ้นจากการสะสมของตะกอนบนภาคพื้นทวีป ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นหินทราย หินกรวดมน และหินดินดาน จัดเป็นหน่วยหินตัวแทนของหินยุคดีโวเนียน (Devonian System) ในสหราชอาณาจักรและทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ

Old Stone Age; Paleolithicยุคหินเก่า : ดู Paleolithic; Old Stone Age 

olistostrome หินชั้นเลื่อนไถล : หินตะกอนที่ประกอบด้วยมวลหินบล็อกผสมที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน เช่น บล็อกและโคลน เกิดจากการสะสมตัวของชั้นตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว และเลื่อนไถลด้วยแรงโน้มถ่วงลงตามทางลาดชันในท้องทะเล หินชนิดนี้ไม่มีการวางชั้นชัดเจน มีลักษณะเป็นรูปเลนส์แทรกอยู่ในลำดับชั้นหินที่วางตัวตามปรกติ มีขนาดใหญ่จนสามารถกำหนดขอบเขตบนแผนที่มาตราส่วนโดยประมาณ ๑ ต่อ ๒๕,๐๐๐ ดังเช่นที่พบในแอ่งเทอร์เชียรีบนเกาะซิชิลีตอนกลาง ดู chaos และ mélange ประกอบ 

olivine โอลิวีน : กลุ่มแร่กลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วยซิลิเกตของแมกนีเซียมและเหล็ก มีรูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนต่าง มีสีเขียว เป็นแร่ประกอบหินที่สำคัญมากของหินสีเข้ม และหินอัลตราเมฟิก แร่นี้ถ้ามีเนื้อใสนับเป็นรัตนชาติชนิดหนึ่ง เรียกว่า พลอยเพริดอต มีความหมายเหมือนกับ peridot 

oncolite เม็ดแบบลูกเทนนิส : เม็ดกลมขนาดลูกเทนนิสในหินชั้น มีลักษณะคล้ายกับเม็ดแบบไข่ปลา แต่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร เกิดจากสารเนื้อปูนที่สาหร่ายสีเขียว ๓๑

แกมน้ำเงินผลิตขึ้นในลักษณะเป็นแผ่นเจลพอกหุ้มเป็นชั้น ๆ มีขนาดเล็กกว่าสโตรมา-โทไลต์ซึ่งเกิดจากการพอกทับของสาหร่ายเช่นเดียวกัน

one dimension seismic data; 1 D seismic data ข้อมูลความไหวสะเทือนมิติเดียว : ข้อมูลที่ได้จากการวัดคลื่นไหวสะเทือนเพียงรอยคลื่นเดียวในหลุมเจาะ เพื่อปรับแก้ค่าการหยั่งธรณีโดยคลื่นเสียง ด้วยวิธีการสังเคราะห์รอยคลื่นที่ได้จากการปรับค่าแอมพลิจูดกับเวลาที่คลื่นเดินทาง

onlap เกยทับ : ๑. ลักษณะการซ้อนทับของชั้นหินซึ่งตกตะกอนต่อเนื่องกันไป โดยที่ส่วนปลายของชั้นหินด้านบนขึ้นไปจะสอบและล้ำชั้นหินด้านล่างเข้าหาขอบแอ่งตะกอนเป็นลำดับ หรือเกิดจากการตกตะกอนแบบถดถอย โดยส่วนปลายของชั้นตะกอนด้านล่างถูกกัดกร่อนไปเมื่อน้ำทะเลถอยกลับ ชั้นตะกอนที่เกิดใหม่ซ้อนทับข้างบนจึงมีส่วนปลายล้ำไปทางขอบแอ่งมากกว่า ชุดชั้นตะกอนจะประกอบด้วยตะกอนหยาบอยู่ด้านล่างและซ้อนทับด้วยชั้นตะกอนขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ การตกตะกอนเกิดขึ้นในขณะที่น้ำทะเลรุกล้ำเข้าหาแผ่นดิน ๒. การรุกล้ำของน้ำทะเลเข้าหาแผ่นดินที่ทรุดตัว ดู transgression ประกอบ 

ontogenic stage ขั้นการเจริญเฉพาะตัว : ขั้นตอนของการเติบโต ซึ่งสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวได้พัฒนาขึ้น ดู ontogeny ประกอบ 

ontogeny การเจริญเฉพาะตัว : การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดได้มีการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนต่าง ๆ นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนผ่านขั้นเต็มวัย มีความหมายเหมือนกับ life cycle 

oölite หินเนื้อเม็ดแบบไข่ปลา : หินชั้นที่ประกอบด้วยเม็ดตะกอนกลมเล็ก ๆ แบบไข่ปลาเกาะประสานกัน ปรกติลักษณะเนื้อแบบนี้จะพบในหินปูน แต่บางครั้งอาจพบในหินโดโลไมต์หรือหินเนื้อซิลิกา ดู olith ประกอบ 

oÖmicrite หินโอเออมิไครต์ : หินปูนที่ประกอบด้วยมวลรวมคาร์บอเนตจำพวกเม็ดแบบไข่ปลามากกว่าร้อยละ ๒๕ มีอินทราคลาสต์น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ และมีเนื้อพื้นพวกมิไครต์มากกว่าวัตถุประสานพวกสปาไรต์ ดู allochem, micrite, oÖlith, oÖsparite และ sparite ประกอบ 

oÖsparite หินโอเออสปาไรต์ : หินปูนที่ประกอบด้วยมวลรวมคาร์บอเนตจำพวกเม็ดแบบไข่ปลามากกว่าร้อยละ ๒๕ มีอินทราคลาสต์น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ และมีวัตถุประสานพวกสปา ๓๒

ไรต์มากกว่าเนื้อพื้นพวกมิไครต์ ดู allochem, micrite, oÖlith, oÖmicrite และ sparite ประกอบ 

ooze . เลนพื้นท้องทะเล : ตะกอนละเอียดที่ทับถมกันอยู่บนพื้นท้องทะเลและมหาสมุทร ประกอบด้วยซากสัตว์ขนาดเล็กที่มีเปลือกเป็นเนื้อปูนผสมหรือซิลิกา ประมาณร้อยละ ๓๐ หรือมากกว่า นอกนั้นเป็นพวกโคลนเหลว อัตราการสะสมและทับถมของเลนชนิดนี้เป็นไปอย่างช้ามาก ในพื้นท้องมหาสมุทรแปซิฟิกพบว่า การสะสมจนมีชั้นเลนหนา ๑ เซนติเมตร จะกินเวลานานประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปี และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามสิ่งที่มีอยู่มากในเลนนั้น ๆ เช่น เลนไดอะตอม เลนโกลบิเจอไรนา ดู diatom ooze ประกอบ . เลน : โคลนหรือโคลนเหลวที่ทับถมอยู่บนพื้นท้องทะเลสาบหรือพื้นท้องปากแม่น้ำ

opal โอพอล, โอปอ : แร่ตระกูลควอตซ์ เนื้อจุรณผลึก มีสูตรเคมี SiO2•nH2O ในเนื้อแร่มีน้ำอยู่ประมาณร้อยละ ๓-๑๐ ความถ่วงจำเพาะ ๑.๙-๒.๒ มีรอยแตกแบบก้นหอย ค่าความแข็ง ๕.๕-๖.๕ ความวาวคล้ายแก้ว ที่พบส่วนมากมีลักษณะโปร่งแสง ชนิดที่เป็นรัตนชาติจะมีการเหลือบสี

opalescence การเหลือบสีแบบโอปอล : ปรากฏการณ์การเหลือบสีที่พบในโอปอลซึ่งเป็นรัตนชาติ เมื่อหมุนไปมาหรือเปลี่ยนแนวแสงตกกระทบ เกิดจากการหักเหของแสงกระจายเป็นสีต่าง ๆ และการเรียงตัวเป็นชั้น ๆ จากทรงกลมขนาดเล็กมากภายในโอปอล มักพบในโอปอลและมูนสโตน

open hole หลุมเปล่า : ๑. หลุมเจาะที่ไม่ลงท่อกรุ ๒. หลุมเจาะที่ไม่มีก้านเจาะหรืออุปกรณ์ใด ๆ อยู่ในหลุม ๓. ส่วนของหลุมเจาะที่ไม่ได้ลงท่อกรุไว้

operculum ฝาปิด : แผ่นเยื่อหรือแผ่นเปลือกซึ่งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น หอยกาบเดี่ยว ไบร- โอซัวและหนอนชั้นสูง สร้างขึ้นเพื่อใช้ปิดเปิดช่องที่เป็นที่อยู่ของตัวสัตว์ เช่น ฝาปิดเปลือกหอยขมหรือหอยทาก

ophiolite หินโอฟิโอไลต์ : กลุ่มหินอัคนีสีเข้มถึงสีเข้มจัด ตั้งแต่หินบะซอลต์และหินแกบโบรจนถึงหินเพริโดไทต์ และหินแปรที่ประกอบด้วยแร่เซอร์เพนทีน คลอไรต์ เอพิโดต และแอลไบต์ ซึ่งแปรเปลี่ยนมาจากหินอัคนีสีเข้มถึงสีเข้มจัด โดยกระบวนการแปรสภาพหิน แต่ ๓๓

เดิมเชื่อว่ากลุ่มหินนี้เกิดในตอนต้นของการพัฒนาแอ่งเปลือกโลก ปัจจุบันถือว่าเป็นส่วนที่เกิดสัมพันธ์กับการพัฒนาแผ่นเปลือกโลกส่วนมหาสมุทร

ophiolitic โอฟิโอลิติก : คำที่ใช้กับเนื้อหินอัคนีโดยเฉพาะหินไดอะเบสซึ่งมีแร่แพลจิโอเคลสผลึกสมบูรณ์เป็นชิ้น ๆ อยู่ภายในผลึกแร่ไพรอกซีน เช่น ออไจต์ และใช้กับหินที่แสดงลักษณะเนื้อหินดังกล่าว

optical-pump magnetometer ออปทิคัลพัมป์แมกนิโทมิเตอร์ : เครื่องมือวัดความเข้มสนามแม่เหล็กรวม โดยการวัดความถี่ลาร์มอร์ (Larmor precession frequency) ของอิเล็กตรอน ซึ่งเป็นปฏิภาคกับความเข้มของสนามแม่เหล็กรวม ความถี่ลาร์มอร์เกิดจากการให้ลำแสงโพลาไรส์ทำมุม ๔๕ องศากับแนวสนามแม่เหล็กรวมผ่านเข้าไปกระทบไอของซีเซียมหรือรูบิเดียม จนทำให้อิเล็กตรอนในอะตอมเพิ่มระดับพลังงานสูงขึ้น แล้วหมุนแกว่งแบบลูกข่าง (pacession) รอบแนว การวางตัวของสนามแม่เหล็กรวมด้วยความถี่ลาร์มอร์ การวัดความถี่ของการแกว่งทำให้สามารถหาค่าความเข้มสนามแม่เหล็กรวมได้ เครื่องมือนี้วัดได้ละเอียดถึง ๐.๐๑ แกมมา

orbicule มวลวงซ้อน : มวลรูปร่างค่อนข้างกลม ขนาดเล็กมากต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จนถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหลายเซนติเมตร บางครั้งอาจถึง ๓ เมตรหรือมากกว่า เนื้อภายในประกอบด้วยชั้นบาง ๆ เรียงเป็นวงซ้อนกัน การเกิดมวลวงซ้อนมักเกิดในระยะต้นของการแข็งตัวเป็นหิน ดู spherulite ประกอบ 

order ๑. อันดับ : ลำดับหนึ่งของการจัดจำแนกหมวดหมู่ของพืชและสัตว์ตามระบบอนุกรมวิธานอยู่ระหว่างลำดับของชั้นและวงศ์

๒. ลำดับ 

๒.๑ หน่วยพื้นฐานของชั้นในการจำแนกหินอัคนีโดย CIPW

๒.๒ ดู basin order 

๒.๓ ดู stream order 

order of crystallization ลำดับการตกผลึก : ลำดับขั้นการตกผลึกของแร่ชนิดต่าง ๆ ตามกาลเวลา ซึ่งสังเกตได้จากลักษณะเนื้อหิน เช่น ผลึกที่ล้อมรอบผลึกอื่นจะเกิดหลังผลึกที่ถูกล้อมเป็นลำดับ ผลึกที่ตกก่อนจะมีหน้าผลึกสมบูรณ์มากกว่าผลึกที่ตกที่หลัง หรือถ้าผลึกแร่ชนิดเดียวกันผลึกขนาดใหญ่จะเกิดก่อนผลึกขนาดเล็ก หรือถ้าเป็นโพรง ผลึกภายในโพรงที่อยู่ชั้นในสุดจะเกิดหลังสุด ๓๔

ordinary light; natural light; white light แสงปรกติ : แสงที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดคลื่นทรง กลม มีความถี่ระหว่าง ๔.๔ × ๑๐๑๔ – ๗.๕ × ๑๐๑๔ รอบต่อวินาที อยู่รวมกันทุกความถี่ในสัดส่วนที่เท่ากัน

ore control ตัวควบคุมสินแร่ : ปัจจัยที่ควบคุมการเกิดแหล่งแร่ ซึ่งได้แก่ การแปรสัณฐาน ลักษณะหินหรือสภาพธรณีเคมีที่มีอิทธิพลต่อการเกิด และตำแหน่งของสินแร่

ore dressing การแต่งสินแร่ : ดู beneficiation 

ore magma หินหนืดให้สินแร่ : หินหนืดที่ตกผลึกให้สินแร่ เช่น ชุดลักษณ์ซัลไฟด์ ออกไซด์ หรือโลหะอื่น ๆ ที่ตกผลึกในหินหนืดนั้น

ore mineral แร่สินแร่ : ส่วนของสินแร่ซึ่งเป็นแร่ที่มีความต้องการในเชิงพาณิชย์ ตรงกันข้ามกับแร่กาก โดยปรกติหมายถึงแร่โลหะ

ore shoot หน่อสินแร่ : มวลสินแร่ที่มีลักษณะคล้ายท่อ แถบ หรือปล่อง อยู่ภายในแหล่งแร่ ซึ่งโดยปรกติเป็นสายแร่และเป็นส่วนที่มีค่าของแหล่งแร่

ore shoot สินแร่รูปแท่ง : สินแร่ในแหล่งแร่ที่มีลักษณะเป็นแท่งเป็นลำ เป็นส่วนที่มีมูลค่ามากกว่าส่วนอื่น

organic -อินทรีย์ : คำที่ใช้เกี่ยวข้องกับสารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนเป็นส่วนประกอบหลัก สารประกอบอินทรีย์ตามปรกติจะมีอะตอมของไฮโดรเจนยึดเหนี่ยวกับอะตอมของคาร์บอน

organic built up ___________: มอบนายสมชาย พุ่มอิ่ม เขียนคำอธิบาย

organism สิ่งมีชีวิต : สิ่งมีชีวิตใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์

oriented specimen ตัวอย่างระบุตำแหน่ง : 

๑. ชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่ใช้กำหนดตำแหน่งตามโครงสร้างเดิม เช่น ส่วนท้อง ส่วนหลัง แนวแกนการหมุน เช่น เวียนซ้ายหรือเวียนขวา เพื่อใช้บรรยายลักษณะให้ตรงกัน

๒. ชิ้นส่วนที่เป็นตัวแทนของหินซึ่งได้ทำเครื่องหมายเพื่อแสดงตำแหน่งเดิมไว้

original dip; inital dip; primary dip มุมเทเดิม : ดู initial dip; original dip; primary dip ๓๕

orogenic belt แนวเทือกเขา : แผ่นดินที่ต่อเนื่องกันที่ถูกทำให้เกิดการโค้งงอและเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างระหว่างวัฏจักรการเกิดเทือกเขา แดนเทือกเขาเป็นเทือกเขาที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอระหว่างขั้นตอนการเกิดและเกือบทั้งหมดในภายหลังจะกลายเป็นแนวภูเขา มีความหมายเหมือนกับ fold belt 

orpiment ออร์พิเมนต์ : แร่ชนิดหนึ่งประกอบด้วยสารหนูและกำมะถัน มีสูตรเคมี As2S3 รูปผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง ลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด เป็นแผ่นอัดแน่น เป็นมวลรวมที่แท่งผลึกแผ่แบบรัศมี หรือเป็นผงอ่อนนุ่ม สีเหลืองเป็นมัน จึงเรียกว่า หรดาลกลีบทอง มีค่าความแข็ง ๑–๒ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๔๙ ใช้ประโยชน์เป็นสารให้สีเหลือง ใช้เขียนลายรดน้ำ สมุดดำ เป็นต้น

orthodolomite หินออร์โทโดโลไมต์ : หินโดโลไมต์ปฐมภูมิที่เกิดจากกระบวนการเกิดหินตะกอน

orthogneiss หินออร์โทไนส์ : หินไนส์ที่แปรสภาพมาจากหินอัคนี ในประเทศไทยพบหินออร์โทไนส์มากบริเวณดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอำเภอปราณบุร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมากพบอยู่ด้วยกันกับหินพาราไนส์ ดู paragneiss ประกอบ 

orthorhombic system ระบบสามแกนต่าง : ระบบผลึกระบบหนึ่งซึ่งมีแกนผลึก ๓ แกนตั้งฉากซึ่งกันและกัน แต่ยาวไม่เท่ากัน ผลึกในระบบนี้มีแกนทวิสมมาตร ๓ แกน ดู crystal system ประกอบ 

orthoscopy ออร์โทสโกปี : การศึกษาสมบัติทางแสงของเม็ดแร่เพื่อให้ได้ภาพขยายของวัตถุโดยตรงในแสงโพลาไรส์ โดยปราศจากอุปกรณ์เลนส์เบอร์ทรันด์ ดู conoscopy ประกอบ 

Osteichthyes ปลากระดูกแข็ง : กลุ่มของปลากระดูกแข็งจัดอยู่ในชั้นออสทิอิกทีส (class Osteichthyes) ซึ่งรวมปลาครีบมีก้าง (ray-finned) ปลาครีบมีเนื้อ (fleshy-finned) ปลา มีปอด และปลาครอสซอปเทอริกซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสัตว์บก มีช่วงอายุตั้งแต่ยุค ดีโวเนียนจนถึงปัจจุบัน

Ostracod; ostracode ออสตราคอด : สัตว์น้ำจำพวกกุ้งกั้งปู จัดอยู่ในชั้นย่อยออสตราโคดา (subclass Ostracoda) มีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นสัตว์สองฝา เปลือกเป็นเนื้อปูน มีหับเผยตามขอบของส่วนหลัง ออสตราคอดส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ยาว ๐.๔-๑.๕ มิลลิเมตร แต่ ๓๖

ออสตราคอดน้ำจืดบางชนิดมีขนาดความยาว ๕ มิลลิเมตร และพวกน้ำเค็มบางชนิดมีความยาวถึง ๓๐ มิลลิเมตร มีช่วงอายุตั้งแต่ยุคแคมเบรียนตอนต้นจนถึงปัจจุบัน

out gassing การปล่อยแก๊ส : การไล่แก๊สและไอน้ำออกจากหินหลอมเหลวในโลกโดยความร้อน การปลดปล่อยแก๊สและไอน้ำดังกล่าวทำให้เกิดชั้นบรรยากาศและมหาสมุทรในยุคแรก ๆ ของโลก

outcrop หินโผล่ : หินดานที่โผล่พ้นดินหรือผิวดินขึ้นมา บางแห่งถูกปกคลุมด้วยตะกอนพื้นผิว เช่น ตะกอนน้ำพา ดู float; loose block ประกอบ 

outlet glacier แขนงธารน้ำแข็ง : ธารน้ำแข็งที่ไหลออกจากพืดน้ำแข็งผ่านทางช่องแคบ ภูเขาหรือหุบเขา ดู glacial lobe ประกอบ 

outlier หินแก่ล้อม : พื้นที่หรือกลุ่มหินที่โผล่ให้เห็นโดยมีหินอายุแก่กว่าล้อมอยู่โดยรอบ เช่น เขาโดดหรือเนินยอดป้าน ดู inlier ประกอบ 

outpost well หลุมขยายผล : หลุมเจาะปิโตรเลียมที่เจาะขยายขอบเขตของแหล่งกักเก็บ หรือแหล่งปิโตรเลียมที่ทำการผลิตอยู่แล้วบางส่วน

overburden ชั้นปิดทับ : วัสดุทางธรรมชาติอันได้แก่ ดิน ตะกอน และหิน ที่อาจจะจับตัวแข็งหรือไม่ก็ได้ ซึ่งปกคลุมชั้นแร่หรือชั้นถ่านหิน ในการทำเหมืองชนิดที่ขุดจากผิวหน้าดินลงไป ต้องเอาวัสดุเหล่านี้ออกไปเสียก่อนจนถึงชั้นแร่หรือชั้นถ่านหิน จึงสามารถขุดเอาแร่หรือถ่านหินออกมาได้ ทางวิศวกรรมเหมืองแร่ เรียกว่า ชั้นเปลือกดิน (ดูรูปที่ interburden) 

overburdened stream; overloaded stream ธารน้ำตะกอนเกินพอ : ดูคำอธิบายใน loaded stream 

overburden pressure ความดันชั้นปิดทับ : ความดันที่เกิดจากน้ำหนักของชั้นหินที่กดทับอยู่ด้านบน

over loaded stream; over burdened stream ธารน้ำตะกอนเกินพอ : ดู คำอธิบายใน loaded streamรอพิจารณา

over mature ภาวะเกินสมบูรณ์ : ภาวะที่สารอินทรีย์ในตะกอนหรือหินชั้นอยู่ภายใต้ความร้อนในระยะเวลาที่นานเกินไปจนทำให้สารอินทรีย์เปลี่ยนสภาพ ๓๗

overloaded stream; overburdened stream ธารน้ำตะกอนเกินพอ : ดูคำอธิบายใน loaded stream 

overstep ซ้อนเกย : ลักษณะที่ชุดชั้นหินตะกอนเกยทับอยู่บนรอยชั้นไม่ต่อเนื่อง หรือลักษณะที่ชั้นหินด้านล่างถูกตัดขาดหรือถูกกัดเซาะออกไป ดู on lap ประกอบ 

OWC (oil-water contact) โอดับเบิลยูซี (รอยต่อน้ำมัน–น้ำ) : ดู oil-water contact (OWC) 

oxidate ออกซิเดต : ตะกอนที่ประกอบด้วยออกไซด์และไฮดรอกไซด์ของเหล็กและของแมงกานีส ที่เกิดจากการตกผลึกหรือตกตะกอนจากสารละลายที่มีน้ำ

oxidation ออกซิเดชัน : กระบวนการรวมตัวกับออกซิเจน เช่น ออกซิเดชันของสังกะสี (Zn) ได้สังกะสีออกไซด์ (ZnO) หรือ การเพิ่มเวเลนซีบวกหรือการลดเวเลนซีลบ เช่น Cu+ ถูกออกซิไดส์เป็น Cu2+ และ S2- ถูกออกซิไดส์เป็น S หรือ สภาวะที่อะตอมหรือไอออนสูญเสียอิเล็กตรอน ดู reduction ประกอบ 

oxide ออกไซด์ : สารประกอบหรือแร่ที่เกิดจากการจับตัวระหว่างออกซิเจนกับธาตุหนึ่งหรือหลายธาตุ เช่น แร่คิวไพรต์ (Cu2O) รูไทล์ (TiO2) หรือ สปิเนล (MgAl2O4)

oxidized zone เขตออกซิไดส์ : ส่วนของแหล่งแร่ที่เปลี่ยนไปเนื่องจากการกระทำของน้ำผิวดิน เช่น ส่วนที่เป็นแร่ซัลไฟด์ถูกแปรเปลี่ยนเป็นออกไซด์หรือคาร์บอเนต

ozocerite; osocerite โอโซเซอไรต์ : ไขพาราฟินสีน้ำตาลถึงดำเป็นมันวาว เกิดเป็นสาย รูปร่างไม่แน่นอน ละลายได้ในโครโรฟอร์ม มีหลายชนิด จุดหลอมเหลวต่าง ๆ กัน มีความหมายเหมือนกับ fossil wax และ native paraffin 

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

Pacific-type coastline แนวชายฝั่งแบบแปซิฟิก : แนวชายฝั่งกว้างที่ขนานกับโครงสร้างของแผ่นดิน เช่นเทือกเขา ตัวอย่างเช่น แนวชายฝั่งบริติชโคลัมเบีย ดู Atlantic-type coastline ประกอบ 

packer ตัวกั้น : อุปกรณ์ในหลุมเจาะที่สามารถขยายออกทางด้านข้างและหดตัวกลับได้ซึ่งใช้เป็นตัวปิดกั้นหลุมเปลือยหรือหลุมที่ลงท่อกรุ

packing การจับแน่น : รูปแบบระยะห่างหรือความหนาแน่นของเม็ดแร่ในหิน ดู fabric ประกอบ ๓๘

packstone หินแพคสโตน : หินคาร์บอเนตซึ่งเม็ดตะกอนมีการจัดโครงร่างเรียงตัวกันแน่น และยังมีเนื้อพื้นจำพวกปูนอยู่บ้าง ดู mudstone, grainstone และ wackestone ประกอบ 

paired terraces ตะพักคู่ : ตะพักลำน้ำคนละฝั่งที่มีระดับความสูงอยู่ในระดับเดียวกัน เป็นที่ราบน้ำท่วมถึงเก่าอันเดียวกันที่เหลืออยู่ของลำน้ำในหุบเขา ดู unpaired terrace ประกอบ 

palaeoclimatology; paleoclimatology วิทยาภูมิอากาศบรรพกาล : วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาภูมิอากาศของโลกในช่วงเวลาต่าง ๆ ในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลจากการละลายตัวของแหล่งสะสมจากธารน้ำแข็ง ธรรมชาติของซากดึกดำบรรพ์ของพืชและสัตว์ ภูมิประเทศและภูมิอากาศของสมัยก่อน ๆ และคุณลักษณะของหินชั้นชนิดต่าง

palaeoeology; paleoecology บรรพกาลนิเวศวิทยา : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในอดีตที่สิ่งมีชีวิตนั้นดำรงอยู่ สาเหตุการตายของสิ่งมีชีวิต การถูกกลบฝังและประวัติของการกลบฝัง ซึ่งศึกษาได้จากซากดึกดำบรรพ์ กับตำแหน่งในลำดับชั้นหิน ทั้งนี้ ประกอบด้วยแขนงวิชาประวัติซากชีวภาพ (biostratonomy) ประวัติซากดึกดำบรรพ์ (Fossildiagenese) และวิชาซากดึกดำบรรพ์ (taphonomy) เป็นต้น ดู ecology ประกอบ 

palaeoenvironment; paleoenvironment สภาพแวดล้อมบรรพกาล : สภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้นในอดีตทางธรณีกาล

palaeogeography; paleogeography ภูมิศาสตร์บรรพกาล : การศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ทางกายภาพของส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกในอดีตทางธรณีกาล โดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ ชนิดของหิน และโครงสร้างทางธรณีวิทยาเพื่ออธิบายสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศในอดีต

palaeogeographic map; paleogeographic map แผนที่ภูมิศาสตร์บรรพกาล : แผนที่ที่แสดงถึงสภาพภูมิศาสตร์ทางกายภาพของผิวโลกในอดีต ณ เวลาใดเวลาหนึ่งทางธรณีกาล โดยเฉพาะการกระจายตัวของแผ่นดินและมหาสมุทร ความลึกของทะเล ธรณีสัณฐานวิทยาของแผ่นดิน ทิศทางการไหลของกระแสน้ำและอากาศ และการกระจายตัวของตะกอนพื้นทะเล

palaeogeologic map; paleogeologic map แผนที่ธรณีวิทยาบรรพกาล : แผนที่ที่แสดงถึงธรณีวิทยาของพื้นผิวดินในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งทางธรณีกาล โดยเฉพาะแผนที่ที่แสดงถึงพื้นผิวที่อยู่ใต้รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง ซึ่งแสดงถึงสภาพธรณีวิทยาทั้งหมดก่อนที่จะเกิดพื้นผิวของความไม่ต่อเนื่อง ๓๙

palaeontology; paleontology บรรพชีวินวิทยา : วิชาที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตในอดีต โดยอาศัยซากหรือร่องรอยของพืชและสัตว์ดึกดำบรรพ์ รวมทั้งสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในอดีตกับปัจจุบัน สิ่งมีชีวิตในอดีตกับสภาพแวดล้อม และการเทียบสัมพันธ์เพื่อกำหนดลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในประวัติความเป็นมาของโลก

palaeoseismology; paleoseismology วิทยาคลื่นไหวสะเทือนโบราณ : วิทยาการแขนงหนึ่งของธรณีวิทยาที่เน้นศึกษาเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต ว่าเกิดมาจากกระบวนการอะไร มีขนาดกี่ริกเตอร์ในอดีต มีอัตราการเคลื่อนที่เท่าใด และแบบใด

ยังไม่ยุติ รอข้อมูลจาก รศ. ดร.ปัญญา จารุศิริ

palagonite พาลาโกไนต์ : สารคล้ายแร่ สีเหลืองถึงส้ม เกิดจากการแปรเปลี่ยนโดยกระบวนการไฮเดรชัน และเกิดจากการเปลี่ยนสภาพแก้วเป็นผลึกของแก้วภูเขาไฟชนิดบะซอลต์

paleobiology บรรพชีววิทยา : บรรพชีวินวิทยาสาขาหนึ่งว่าด้วยการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต โดยมุ่งเน้นเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตมากกว่าการนำสิ่งมีชีวิตไปใช้ในการเทียบสัมพันธ์เพื่อเชื่อมโยงกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับโลกในอดีต

paleobotany บรรพพฤกษศาสตร์ : การศึกษาเกี่ยวกับชีวิตของพืชในช่วงเวลาทางธรณีกาล

paleoclimatology; palaeoclimatology วิทยาภูมิอากาศบรรพกาล: ดู palaeoclimatology; paleoclimatology 

Paleocurrent กระแสน้ำบรรพกาล : กระแสน้ำหรือลม โดยทั่วไปหมายถึงกระแสน้ำซึ่งเกิดขึ้นในอดีตกาล ทิศทางของกระแสน้ำบรรพกาลระบุได้จากโครงสร้างหินชั้นและเนื้อของหิน ที่ได้เกิดขึ้นจากการกระทำของกระแสน้ำในช่วงเวลานั้น ๆ

paleoecology ; palaeoeology บรรพกาลนิเวศวิทยา : ดู palaeoeology; paleoecology 

paleoecology นิเวศวิทยาโบราณ : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในอดีตกับสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตในช่วงเวลานั้น ดู ecology ประกอบ 

paleoenvironment; palaeoenvironment สภาพแวดล้อมบรรพกาล : ดู palaeoenvironment; paleoenvironment ๔๐

paleogeography; palaeogeography ภูมิศาสตร์บรรพกาล : ดู palaeogeography; paleogeography 

paleogeographic map; palaeogeographic map แผนที่ภูมิศาสตร์บรรพกาล : ดู palaeogeographic map; paleogeographic map 

paleogeologic map; palaeogeologic map แผนที่ธรณีวิทยาบรรพกาล : ดู palaeogeologic map; paleogeologic map 

Paleolithic; Old Stone Ageยุคหินเก่า : ช่วงเวลาเริ่มแรกของยุคหินในการแบ่งเวลาทางโบราณคดี เป็นช่วงเวลาที่มีมนุษย์และเครื่องมือหินซึ่งมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นปรากฏอยู่บนโลก ช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับช่วงเวลาของสมัยไพลสโตซีน ดู Neolithic; New Stone Age ประกอบ 

paleontologic species ชนิดบรรพชีวิน : การศึกษาเพื่อจัดกลุ่มของซากดึกดำบรรพ์ โดยใช้ลักษณะรูปร่างจากตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ที่ศึกษามากำหนดให้เป็นชนิดใดชนิดหนึ่ง กลุ่มที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นนั้นอาจรวมเอาสัตว์ต่างชนิดกันมาเป็นชนิดเดียวกันโดยไม่ตั้งใจได้ ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะที่แตกต่างกันในขณะที่สัตว์นั้นๆ ยังมีชีวิตอยู่ได้หายไปเมื่อกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์

paleopalenology เรณูวิทยาโบราณ : วิชาเรณูวิทยาสาขาหนึ่งว่าด้วยการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของเรณูและสปอร์

paleosol ดินบรรพกาล : ดินที่เกิดอยู่ในภูมิประเทศของอดีตกาล มีลักษณะสัณฐานเฉพาะตัวที่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมของการเกิดดินในอดีตที่ไม่ปรากฏในบริเวณนั้นแล้ว กระบวนการเกิดดินในอดีตอาจมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกหรือการหยุดชะงักของกระบวนการเกิดดินโดยการฝังกลบ ดินบรรพกาลอาจถูกจัดเป็นส่วนที่เหลือ (relic) ดังปรากฏให้เห็นบนพื้นดินและไม่มีการแปรเปลี่ยนอย่างรุนแรงของลักษณะสัณฐานโดยกระบวนการเกิดดิน ดินบรรพกาลที่ปรากฏให้เห็นบนพื้นผิวเป็นดินที่เคยถูกทับถมและโผล่ขึ้นจากการกร่อน

paleozoology สัตววิทยาบรรพกาล, สัตวบรรพกาลวิทยา : สาขาหนึ่งของบรรพชีวินวิทยา ว่าด้วยการศึกษากลุ่มของสัตว์ ทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ๔๑

palingenesis การเกิดซ้ำรอย : ๑. กระบวนการเกิดหินหนืดใหม่จากการหลอมเหลวของหินอัคนีเดิมหรือหินท้องที่ ณ ที่เดิม ดู anatexis และ neomagma ประกอบ 

๒. วิวัฒนาการซ้ำรอยบรรพบุรุษโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับสิ่งมี ชีวิตวัยหนุ่ม นั้นเป็นลักษณะเฉพาะของบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ

palynology เรณูวิทยา : การศึกษาละอองเรณูและสปอร์ของพืช การแพร่กระจาย รวมทั้งการนำมาประยุกต์ใช้ในการลำดับชั้นหินและนิเวศบรรพกาล

pan ๑. เลียง : ภาชนะคล้ายกระทะทำด้วยวัสดุ เช่น ไม้ โลหะ ใช้ร่อนในน้ำเพื่อแยกวัสดุหนักออกจากดิน หิน ทราย ดู panning ประกอบ . แอ่งตื้น : แอ่งตื้นบนพื้นผิวดิน ถ้ามีน้ำขังเรียกว่า ทะเลสาบ หนอง บึง สระ . ชั้นดาน, ดาน : ๓.๑ ชั้นที่ส่วนใหญ่เกิดตามธรรมชาติ ลักษณะแน่นแข็ง มีสมบัติทางกายภาพแตกต่างจากชั้นที่อยู่ข้างบนและข้างล่าง เช่น ชั้นดานแข็ง (hardpan) ชั้นดานเกลือ (salt pan) ชั้นดานน้ำแข็ง (ice pan) นอกจากนี้ ยังมีชั้นดานที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์โดยการใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนัก เช่น รถแทรกเตอร์ไถดิน เพื่อทำการเกษตรเป็นประจำ จึงทำให้เกิดชั้นดานไถพรวน (plowpan) ๓.๒ [ปฐพีวิทยา] ชั้นที่เกิดตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากมีสารเชื่อมอนุภาคดินจนจับตัวกันแน่น ทำให้มีความหนาแน่นรวม (bulk density) สูง ปริมาณช่องว่างในดินมีน้อย ความสามารถให้น้ำซึมผ่านช้าถึงช้ามาก ชั้นนี้มีสมบัติทางกายภาพและเคมีแตกต่างจากชั้นที่อยู่ข้างบนและข้างล่าง เช่น ชั้นดานดินเหนียว (claypan) ชั้นดานซิลิกา (duripan) ชั้นดานเปราะ (fragipan) ชั้นดานอินทรีย์ (spodic horizon)

panning การเลียงแร่, การร่อนแร่ : วิธีการแยกแร่โดยใช้เลียง โดยทั่วไปใช้สำหรับร่อนหาแร่หนัก เช่น ทองคำ ดีบุก ทำโดยใช้เลียงร่อนเพื่อล้างกรวด หิน ดิน ทราย ที่มีแร่หรือวัสดุที่บดจากสายแร่ ส่วนที่เบาจะถูกล้างออกเหลือแต่แร่หนักอยู่ที่ก้นเลียง

panplain; panplane ที่ราบเชื่อมต่อ : ที่ราบซึ่งเกิดจากการเชื่อมต่อกันของที่ราบน้ำท่วมถึงหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียงกัน เนื่องจากการกร่อนทางข้างเป็นระยะเวลายาวนานของธารน้ำโค้งตวัดหลายสายที่ไหลอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของวัฏจักรการกร่อน ตัวอย่างเช่น ที่ราบน้ำท่วมถึง ๔๒

บริเวณที่ราบภาคกลางตอนล่างที่เกิดจากการรวมตัวกันของที่ราบน้ำท่วมถึงของแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง ดู peneplain ประกอบ 

parabolic dune เนินทรายรูปพาราโบลา : เนินทรายที่มีรูปพาราโบลาหรือรูปโค้งคล้ายเคียว มีด้านโค้งเว้าเข้าหาทิศทางลม ด้านปลายแหลมอยู่ในทิศทางต้านลม มักเกิดในบริเวณที่มีความเร็วลมค่อนข้างสูง เช่น เนินทรายตามบริเวณชายหาดหรือทะเลทราย ดู barchan; crescentic dune ประกอบ 

para-ecology; taphonomy วิชาซากดึกดำบรรพ์ : ดู taphonomy; para-ecology 

paraffin hydrocarbon พาราฟินไฮโดรคาร์บอน : สารไฮโดรคาร์บอนใด ๆ ในชุดพาราฟิน ดู paraffin series ประกอบ 

paraffin oil น้ำมันพาราฟิน : น้ำมันดิบที่มีพาราฟินสูง

paraffin series ชุดพาราฟิน : ชุดไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวที่มีโครงสร้างแบบลูกโซ่เปิด มีสูตรทั่วไปคือ Cn H(2n+2) สารประกอบไฮโดรคาร์บอนแรกในชุดนี้คือ มีเทน (CH4)

paraffin wax ไขพาราฟิน : ของแข็งคล้ายขี้ผึ้งซึ่งประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบในช่วงอุณหภูมิต่ำ มีโครงสร้างกึ่งผลึกขนาดใหญ่ มีรสและกลิ่นเล็กน้อย

paragenesis การเกิดเทียบเคียง : การเกิดของแร่ที่มีกำเนิดร่วมกันตามลำดับเวลาในแหล่งสินแร่

paragenetic sequence ลำดับการเกิดแร่ : ลำดับการเกิดของแร่แต่ละชนิดในแหล่งสินแร่

paragneiss หินพาราไนส์ : หินไนส์ที่แปรสภาพมาจากหินตะกอน ในประเทศไทยพบหินพาราไนส์มากบริเวณเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดู orthogneiss ประกอบ 

paralectotype ตัวอย่างเสมือนต้นแบบเพิ่ม : ดู คำอธิบายใน lectotype ความหมายที่ ๒ 

parallel dipole-dipole array แถวลำดับสองขั้วคู่แนวขนาน :รูปแบบการจัดวางขั้วไฟฟ้า โดยมีขั้วกระแสไฟฟ้าอยู่บนแนวหนึ่ง ขั้วศักย์ไฟฟ้าอยู่ห่างออกไปทางด้านข้างใน ๔๓

แนวขนานกับแนวของขั้วกระแสไฟฟ้า เส้นลากต่อจากจุดกึ่งกลางของแนวขั้วศักย์ไฟฟ้าทำมุม  กับแนวเส้นลากต่อระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้าตรงจุดกึ่งกลาง จุดกึ่งกลางของแนวเส้นทั้งสองห่างกันเป็นระยะทาง r ดังรูป

parallel evolution วิวัฒนาการคู่ขนาน : พัฒนาการที่มีรูปแบบเหมือนกัน เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต ซึ่งอดีตเคยมีบรรพบุรุษร่วมกัน แต่ได้แยกสายวิวัฒนาการชาติพันธุ์จนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันแล้ว ดู parallelism และ convergent evolution ประกอบ 

parallelism ภาวะคู่ขนาน : การที่สิ่งมีชีวิต ๒ ชนิดหรือมากกว่า ได้พัฒนาลักษณะเฉพาะเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่คล้ายกัน ออกมาได้เหมือน ๆ กัน ทั้งนี้ เพราะพันธุกรรมซึ่งได้รับมาจากบรรพบุรุษเดียวกันตั้งแต่ดั้งเดิมก่อนที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ จะมีวิวัฒนาการแยกสายพันธุ์ออกจากกันจนกลายเป็นต่างชนิด เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานั้น ๆ ดู parallel evolution ประกอบ 

paramorph สัณฐานเดิม : สัณฐานเทียมที่มีองค์ประกอบทางเคมีเดียวกับผลึกเริ่มแรก เช่น แคลไซต์ (CaCO3) ซึ่งเป็นแร่ที่มีรูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนราบแต่กลับมีรูปผลึกเป็นระบบสามแกนต่าง เนื่องจากการแปรเปลี่ยนมาจากแร่อะราโกไนต์ ดู dimorph ประกอบ 

parasitism ภาวะปรสิต : ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน ๒ ชนิดซึ่งอาศัยอยู่ด้วยกัน โดยสิ่งมีชีวิตชนิดแรกหาประโยชน์และให้โทษแก่สิ่งมีชีวิตชนิดที่สอง เช่น ต้นกาฝากที่ดูดอาหารจากต้นไม้ที่เกาะอาศัย หรือพยาธิที่อาศัยดูดอาหารจากลำไส้ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หรือ เห็บ เหา ไร ปลิง ที่เป็นปรสิตภายนอก ดู symbiosis ประกอบ 

parastratotype ชั้นหินเสมือนแบบฉบับแรก : ดูคำอธิบายใน holostrtotype 

parataxon ขั้นอนุกรมวิธานชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ : ขั้นหนึ่งในอนุกรมวิธาน ใช้กับซากดึกดำบรรพ์ที่พบเพียงชิ้นส่วนของร่างกายสัตว์และไม่พบอยู่ร่วมกับส่วนอื่น ๆ ของตัวสัตว์ เช่น โคโนดอนต์ นอกจากนี้ยังใช้กับร่องรอยซากดึกดำบรรพ์ และซากดึกดำบรรพ์ค็อกโคลิตซึ่งสาหร่ายเซลล์เดียวกลุ่มค็อกโคลิโทฟอร์ได้ผลิตขึ้น ดู form genus, ichnotaxon และ taxon ประกอบ 

paratype ตัวอย่างเสมือนต้นแบบ : ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันและอยู่ร่วมกันกับตัวอย่างต้นแบบ แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวอย่างต้นแบบ ดู holotype ประกอบ ๔๔

parent material วัตถุต้นกำเนิด : วัตถุอนินทรีย์หรืออินทรีย์ที่มีการผุพังสลายตัวและไม่จับตัวกันแน่น ซึ่งเป็นวัตถุที่ทำให้เกิดการพัฒนากลายเป็นชั้นดินหรือโซลัมโดยกระบวนการเกิดดิน ดู solum ประกอบ 

particle :

particle shape; grain shape รูปร่างอนุภาค : รูปทรงทางเรขาคณิตของอนุภาคในตะกอนหรือหิน สมบัติพื้นฐานของอนุภาคสามารถตรวจหาวิเคราะห์ได้จากความสัมพันธ์ระหว่างมวลกับพื้นที่ผิว ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปร่างของอนุภาคว่าทรงกลมหรือมน

particle size; grain size ขนาดอนุภาค : เส้นผ่านศูนย์กลางโดยทั่ว ๆ ไปของอนุภาคในตะกอนหรือหินหรือโดยเฉพาะของเม็ดแร่ที่ประกอบขึ้นเป็นตะกอนหรือหิน เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยหรือปริมาตร โดยอาศัยความรู้พื้นฐานของหลักการที่ว่าอนุภาคจะต้องเป็นทรงกลมหรือสามารถตรวจวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของทรงกลมสมมูลได้ โดยทั่ว ๆ ไปสามารถวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้โดยการร่อนผ่านตะแกรง หรือโดยวิธีคำนวณจากความเร็วของการตกตะกอน หรือโดยตรวจหาได้จากพื้นที่ของภาพในกล้องจุลทรรศน์

particle size distribution การกระจายขนาดอนุภาค : ปริมาณร้อยละของน้ำหนักตะกอนที่ยังไม่จับตัวกันในแต่ละช่วงขนาด ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของดิน ตะกอนร่วนหรือหิน เช่น ปริมาณของทรายที่ค้างบนตะแกรงมาตรฐานช่วงหนึ่ง ๆ ดู screen analysis; sieve analysis ประกอบ 

particle velocity ความเร็วอนุภาค : ความเร็วในการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารในตัวกลาง ซึ่งเกิดการเคลื่อนไหวเมื่อมีพลังงานคลื่นเสียงเดินทางผ่านตัวกลาง มีขนาดความเร็วเป็นหนึ่งในล้านเมตรต่อวินาที ตัวกลางอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส การเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารในตัวกลางอยู่ในทิศทางเดียวกัน หรือในแนวขวางตั้งฉากทั้งทางระนาบตั้งแลระนาบราบกับแนวการเดินทางของคลื่นเสียง หรือหมุนสวนทางเป็นวงรีบนระนาบตั้งตามแนวการเดินทางของคลื่นเสียง

parvafacies ชุดลักษณ์เล็ก : ส่วนของชุดลักษณ์ใหญ่ซึ่งอยู่ระหว่างระนาบลำดับชั้นหินตามเวลาที่กำหนด หรืออยู่ระหว่างชั้นหินหลักของชุดลักษณ์ใหญ่นั้น ซึ่งชุดลักษณ์เล็กนี้ได้แพร่กระจายไปตามขวางตลอดแนวชุดลักษณ์ใหญ่ ดู magnafacies ประกอบ 

patch reef พืดหินหย่อม : ๑. พืดหินที่มีลักษณะเป็นเนินหรือมียอดราบ โดยปรกติมีความกว้างน้อยกว่า ๑ ๔๕

กิโลเมตร และเกิดเป็นส่วนหนึ่งของพืดหินซับซ้อน ๒. หินปูนหรือโดไลไมต์รูปเลนส์ขนาดเล็กและหนา ไม่แสดงชั้น มักเกิดอยู่เดี่ยว ๆ หรือล้อมรอบด้วยหินที่มีชุดลักษณ์ต่างกัน

patina ๑. ไคลหิน : ชั้นสีบาง ๆ ที่เคลือบอยู่บนพื้นผิวของหิน ซึ่งเกิดจากการผุพังทางเคมี หรือการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีโดยเชื้อรา เช่น คราบที่เกิดบนผิวหินปูน หรือหินอ่อน จะเป็นแร่ฮีเวลไลต์ (Ca C2 H4. H2O) ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์แคลเซียมอ็อกซาเลต ๒. คราบกรุ : คราบสนิมบาง ๆ บนผิวโลหะ เช่น ทองแดง สัมฤทธิ์ หลังจากปล่อยให้อยู่ในความชื้นหรือถูกฝังอยู่เป็นเวลานาน มีสีต่าง ๆ เช่น เขียว แดง น้ำตาล ดำ น้ำเงิน เทา และมีลักษณะเป็นผิวเรียบ มันวาว หรือเป็นเหมือนเปลือกหุ้ม ซึ่งแสดงถึงความเก่าของวัตถุนั้น ๆ

pay streak สายแร่คุ้มค่า : ส่วนของสายแร่ที่มีสินแร่เชิงพาณิชย์

pay zone ๑. เขตคุ้มค่า : ช่วงของหน้าตัดลำดับชั้นหินในแนวดิ่งในแหล่งน้ำมันหรือแก๊สที่ให้ปริมาณน้ำมันหรือแก๊สในเชิงพาณิชย์ ๒. เขตชั้นปิโตรเลียม : ช่วงชั้นที่ชั้นหินสะสมปิโตรเลียมมีอยู่มากกว่าหนึ่งชั้นขึ้นไปและแต่ละชั้นอยู่ในระยะไม่ห่างมากเกินไป

pay ๑. คุ้มค่า(เชิงพาณิชย์) : คำขยายเกี่ยวกับโครงสร้างหรือชั้นที่มีแหล่งแร่หรือปิโตรเลียมที่มีสมรรถนะเชิงพาณิชย์ เช่น ชั้นกรวดคุ้มค่า สายแร่คุ้มค่า และชั้นทรายคุ้มค่า หากกล่าวถึงแหล่งแร่ หมายถึงส่วนของแหล่งแร่ที่ให้กำไร เช่น ชั้นสินแร่คุ้มค่า และมักเรียกชั้นสินแร่คุ้มค่าที่เกิดในลานแร่ว่า กะสะ (kaksa หรือ pay dirt) ๒. ชั้นปิโตรเลียม : ความหนาในแนวดิ่งของชั้นหินที่มีปิโตรเลียมสะสมอยู่ติดต่อกันในชั้นเดียว

peacock copper ทองแดงสีนกยูง : ดู peacock ore 

peacock ore สินแร่สีนกยูง : ชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกแร่ทองแดงที่มีสีเหลือบเหมือนสีรุ้ง เกิดจากแร่ที่มีพื้นผิวหมอง (tarnish) จึงปรากฏความวาวหลากสีเหมือนสีขนนกยูง เช่น แร่คาลโคไพไรต์ โดยเฉพาะแร่บอร์ไนต์ มีความหมายเหมือนกับ peacock copper 

peak zone เขตสูงสุด : ดู acme zone 

pebble dike พนังกรวดใหญ่ : ๑. พนังเศษหินชนิดที่ประกอบด้วยกรวดใหญ่เป็นหลัก ๔๖

๒. พนังรูปแบนหนาประกอบด้วยเศษหินตะกอนที่ฝังประในเนื้อพื้นของหินอัคนี ตัวอย่างเช่น เศษหินเหล่านี้แตกหักมาจากหินชั้นล่างโดยหินหนืดและแทรกดันเข้าไปในหินท้องที่ เศษหินเหล่านี้มีลักษณะมนเนื่องจากการบดหรือการกร่อนสลายตัว (corrosion) โดยของไหลเนื่องจากน้ำร้อน

pebble phosphate กรวดฟอสเฟต : หินฟอสฟอไรต์ทุติยภูมิซึ่งไม่ว่าจะเกิดอยู่กับที่หรือถูกพามา ประกอบด้วยสารฟอสเฟต เม็ดกลมเล็ก (pellet) กรวดใหญ่ (pebble) ก้อนทรงมน (nodule) ปนทรายและเคลย์ เช่น แหล่งในมลรัฐฟลอริดา ดู land- pebble phosphate และ river- pebble phosphat e ประกอบ 

pedestal rock เสาหินแป้น ๑. มวลหินส่วนที่เหลือจากการกร่อนโดยธรรมชาติ มีลักษณะเหมือนแป้นหินวางอยู่บนแท่งหินหรือฐานหินที่คอดกิ่ว เพราะส่วนของหินที่เป็นฐานสึกกร่อนได้ง่ายและรวดเร็วกว่าส่วนของหินที่อยู่ข้างบน ตัวอย่างเช่น ป่าหินงาม อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ อุทยานประวัติศาสตร์ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เสาเฉลียงที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ๒. ก้อนหินมนใหญ่ไหล่เขา ดู perched boulder;perchde block 

pedicle valve ฝาใหญ่ : เปลือกหรือฝาด้านหนึ่งของแบรคิโอพอด มีขนาดใหญ่กว่าอีกฝาหนึ่ง บริเวณแนวหับเผยมักมีรูเปิดสำหรับให้กล้ามเนื้อซึ่งทำหน้าที่ยึดเกาะยื่นออกมาเกาะติดกับวัสดุท้องน้ำหรือพื้นท้องน้ำ ดู brachial valve ประกอบ 

pedion _______ : หน้าหนึ่งของรูปทรง

peg-leg multiple คลื่นสะท้อนซ้ำเพกเลก : ดูคำอธิบายใน multiple; multiple reflection 

pelmatozoan เพลมาโตโซแอน : สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมเอไคโนเดอมาตา ซึ่งมีหรือไม่มีส่วนที่พยุงตัวคล้ายลำต้นพืชสำหรับเกาะติดอยู่กับพื้นท้องน้ำ ดู echinoderm ประกอบ 

pelmicrite หินเพลมิไครต์ : หินปูนที่ประกอบด้วยมวลรวมคาร์บอเนตจำพวกเม็ดกลมเล็กและซาก ดึกดำบรรพ์ในอัตราส่วนมากกว่า ๓ ต่อ ๑ มีอินทราคลาสต์น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ มีเม็ดแบบไข่ปลาน้อยกว่าร้อยละ ๒๕ และมีเนื้อพื้นพวกมิไครต์มากกว่าวัตถุประสานพวก สปาไรต์ ดู allochem, pellet, micrite,sparite และ pelsparite ประกอบ 

pelsparite หินเพลสปาไรต์ : หินปูนที่ประกอบด้วยมวลรวมคาร์บอเนตจำพวกเม็ดกลมเล็กและซากดึกดำบรรพ์ในอัตราส่วนมากกว่า ๓ ต่อ ๑ มีอินทราคลาสต์น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ มีเม็ด ๔๗

แบบไข่ปลาน้อยกว่าร้อยละ ๒๕ และมีวัตถุประสานพวกสปาไรต์มากกว่าเนื้อพื้นพวก มิไครต์ ดู allochem, pellet, micrite, sparite และ pelsparite ประกอบ 

penesaline ความเค็มระดับปานกลาง : สภาวะแวดล้อมระหว่างระดับความเค็มปรกติกับระดับความเค็มที่สูงกว่าปรกติของน้ำทะเล สังเกตได้จากชั้นปูนในหินเกลือระเหยจะมีทั้งชั้น ยิปซัมและชั้นเฮไลด์แทรกสลับอยู่

peninsular คาบสมุทร : ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบเกือบหมด หรือส่วนของแผ่นดินใหญ่เป็นคอคอดหรือยื่นยาวออกไปในทะเล บางครั้งเรียก แหลม ซึ่งมีลักษณะเล็กกว่าคาบสมุทร เช่น แหลมตะลุมพุก

Pennsylvanian เพนซิลเวเนียน : ช่วงเวลาแบ่งย่อยของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่หลังจากยุคมิสซิสซิปเปียนและก่อนยุคเพอร์เมียน มีช่วงเวลาระหว่าง ๓๑๘ ล้านปี ถึง ๒๙๙ ล้านปีมาแล้ว หินที่สะสมตัวในช่วงเวลานี้เรียกว่า หินยุคเพนซิลเวเนียน ชื่อยุคได้จากชื่อของมลรัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งพบหินยุคนี้กระจายตัวอยู่อย่างกว้างขวาง ยุคเพนซิลเวเนียนมีช่วงเวลาเท่ากับยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนปลายของทวีปยุโรป

pensaline 

pentane เพนเทน : ไฮโดรคาร์บอนชนิดพาราฟินในปิโตรเลียมที่มีส่วนประกอบ C5H12 

pentlandite เพนต์แลนไดต์ : แร่ซัลไฟด์ มีสูตรเคมี (Fe, Ni)9S8 สีบรอนซ์อ่อน ผลึกอยู่ในระบบสามแกนเท่า วาวแบบโลหะ ความแข็ง ๓.๕-๔.๐ ความถ่วงจำเพาะ ๔.๖-๕.๐ เปราะรอยแตกคล้ายก้นหอย เป็นสินแร่นิกเกิล มักพบเกิดร่วมกับแร่พิร์โรไทต์

perched block; perched boulder ก้อนหินมนใหญ่ไหล่เขา : ดู perched boulder; perchde block 

perched boulder; perchde block ก้อนหินมนใหญ่ไหล่เขา : ก้อนหินมนใหญ่ที่วางตัวอย่างไม่มั่นคงบนไหล่เขาโดยปรกติแล้วถูกนำพามาโดยธารน้ำแข็งหรือเลื่อนตัวลงมาตามไหล่เขาโดยอิทธิพลของความโน้มถ่วงหรือเกิดจากการผุพังอยู่กับที่ เช่น เสาหินแป้น หรือเขาหินซ้อน (tor) ในประเทศไทยพบลักษณะก้อนหินมนใหญ่ไหล่เขาบริเวณเทือกเขา เช่น เทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช เทือกเขาขุนตาน มีความหมายเหมือนกับ pedestal rock และดู erratic; glacial erratic ประกอบ ๔๘

percussion mark รอยกระแทก : รอยรูปโค้งเว้าที่เกิดบนผิวของกรวดที่แข็งและเนื้อแน่น เช่น หินเชิร์ต หินควอร์ตไซต์ เนื่องจากถูกกระแทกอย่างรุนแรง บ่งชี้ว่ามีการพัดพาด้วยความเร็วสูง

peridot เพริดอต : ดู olivine 

period . ยุค

๑.๑ หน่วยเวลาทางธรณีวิทยา หรือช่วงเวลาทางธรณีกาล เป็นหน่วยย่อยของมหายุค (era) และแบ่งย่อยเป็นสมัย (epoch) จัดเป็นหน่วยหลักในมาตราธรณีกาล หินที่สะสมตัวในช่วงเวลาดังกล่าวจัดเป็นหน่วยของหินยุค (system)

.๒ คำใช้เรียกช่วงเวลาทางธรณีวิทยาที่ไม่จัดเป็นทางการ เช่น ยุคธารน้ำแข็ง ๒. คาบ : ช่วงเวลาที่มีการเคลื่อนที่ครบรอบ หรือช่วงที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นแบบเดียวกัน เช่น ช่วงเวลาระหว่างกระแสน้ำขึ้น-น้ำลงที่ต่อเนื่องกันครบ ๑ รอบ

perlite หินเพอร์ไลต์ : หินภูเขาไฟเนื้อแก้วที่มีองค์ประกอบเป็นหินจำพวกไรโอไรต์ มีเนื้อเนียนละเอียดคล้ายออบซิเดียนแต่ในองค์ประกอบมีน้ำมากกว่า หรือเนื้อดอก ลักษณะเนื้อหินมีรอยแตกเป็นวงซ้อน ซึ่งเป็นลักษณะของแก้วภูเขาไฟที่กำลังจะเปลี่ยนเแปลงเป็นควอตซ์และเฟลด์สปาร์ ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดลพบุรีและเพชรบูรณ์ ส่วนใหญ่มีสีเทาอมเขียวถึงเทาดำ ในเชิงพาณิชย์หินเพอร์ไลต์เมื่อให้ความร้อนจะขยายตัวได้มากและมีน้ำหนักเบา จึงใช้ทำวัสดุมวลเบาในงานก่อสร้างอาคาร ในการเกษตรนำมาใช้ผสมกับดินเพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ทำให้ดินโปร่งและร่วนซุยขึ้น

perlitic texture เนื้อวงซ้อน : ลักษณะเนื้อหินรูปวงกลมซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในหินอัคนีเนื้อแก้วชนิดกรด มีรอยแตกเป็นรูปโค้ง เกิดจากการหดตัวขณะหินหนืดเย็นตัว การเปลี่ยนสภาพแก้วเป็นผลึก และกระบวนการไฮเดรชันในชั้นบาง ๆ ที่ผิวนอกของแก้วภูเขาไฟ หรือการที่ชั้นน้ำบาง ๆ ทำปฏิกิริยากับหินแก้วภูเขาไฟซึ่งทำให้เกิดการขยายตัวและเกิดรอยแตกพร้อมกัน เมื่อเกิดการไฮเดรชันซ้ำ ๆ รอยแตกก็จะเกิดเพิ่มเข้าสู่ด้านในเนื้อหิน

permineralizaton การเติมแร่ : กระบวนการที่เกิดจากแร่ในสารละลายเข้าไปตกตะกอนสะสมอยู่ในรูพรุนของส่วนแข็งของสัตว์ เช่น กระดูก เปลือกหอย มีผลทำให้กระดูกหรือเปลือกหอยมีความแน่นแข็งขึ้นหรือแกร่งขึ้น แร่นั้นอาจมีส่วนประกอบเหมือนหรือต่างกับเนื้อของซากนั้นก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบที่ต่างกัน คำนี้แตกต่างจากการกลายเป็นหิน โดยที่กระบวนการเติมแร่นั้นเกิดขึ้นเฉพาะช่องว่างภายในเซลล์และระหว่างเซลล์ แต่ ๔๙

ไม่มีการแทนที่ผนังเซลล์ มีความหมายคล้ายกับ petrification; petrifaction ดู fossil, replacement, mineralization ประกอบ 

Permo-Triassic เพอร์โม-ไทรแอสซิก : คำใช้เกี่ยวกับหน่วยเวลาหรือหน่วยหินซึ่งไม่สามารถแยกออกได้ว่าเป็นยุคเพอร์เมียนหรือยุคไทรแอสซิก เช่น หน่วยหินภูเขาไฟที่วางตัวใต้กลุ่มหินโคราชซึ่งไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเป็นยุคเพอร์เมียนหรือยุคไทรแอสซิก จึงจัดเป็นหน่วยหินเพอร์โม-ไทรแอสซิก

perpendicular array แถวลำดับแบบตั้งฉาก : การจัดวางกลุ่มจีโอโฟนหรือกลุ่มต้นกำเนิดคลื่นในแนวตั้งฉากกับแนวเส้นสำรวจ

perpendicular dipole-dipole array แถวลำดับสองขั้วคู่แนวตั้งฉาก : รูปแบบการจัดวางขั้วไฟฟ้า โดยมีขั้วกระแสไฟฟ้าอยู่บนแนวหนึ่ง ขั้วศักย์ไฟฟ้าอยู่ห่างออกไปทางด้านข้าง เส้นลากต่อระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้าอยู่ในแนวตั้งฉากกับเส้นลากต่อระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้า เส้นลากต่อจุดกึ่งกลางแนวขั้วศักย์ไฟฟ้าทำมุม  กับแนวลากต่อขั้วกระแสไฟฟ้าตรงจุดกึ่งกลาง จุดกึ่งกลางแนวเส้นทั้งสองห่างกันเป็นระยะทาง r

petrification; petrifaction การกลายเป็นหิน : กระบวนการกลายเป็นหินโดยการเปลี่ยนสารอินทรีย์เป็นหิน เกิดจากการแทรกซึมของน้ำที่มีสารละลายแร่พวกแคลเซียมคาร์บอเนต หรือซิลิกาปนอยู่ แล้วตกตะกอนตามรูพรุนหรือช่องว่าง และแทนที่อนุภาคต่ออนุภาคของสิ่งมีชีวิต เช่น เปลือกหอย กระดูก ไม้ ทำให้มีความแข็งมากขึ้นจนกลายเป็นหิน กระบวนการนี้บางครั้งรักษาสภาพโครงสร้างดั้งเดิมของสิ่งมีชีวิตไว้ได้ เช่น ไม้กลายเป็นหิน มีความหมายคล้ายกับ permineralization ดู fossil, replacement, mineralization ประกอบ 

petrification; petrifaction การกลายเป็นหิน : ดู petrifaction; petrification 

petroglyph ภาพขูดบนหิน : ภาพหรือลายเส้นที่เกิดจากการขูดบนพื้นผิวไคลหินซึ่งมีสีเข้มกว่าเนื้อหินเดิม โดยมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์

petroleum geologist นักธรณีวิทยาปิโตรเลียม : นักธรณีวิทยาที่ปฏิบัติงานในการสำรวจหรือเพื่อการผลิตน้ำมันและแก๊ส ดู petroleum geology ประกอบ 

petroleum geology ธรณีวิทยาปิโตรเลียม : วิชาธรณีวิทยาสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการเกิด การเคลื่อนย้าย และการสะสมตัวของน้ำมันและแก๊ส และการสำรวจหาแหล่งที่มีคุณค่าทาง ๕๐

เศรษฐกิจ การปฏิบัติงานต้องประยุกต์ใช้วิชาสาขาอื่น ๆ ด้วย เช่น ธรณีเคมี ธรณีฟิสิกส์ โบราณชีววิทยา ธรณีวิทยาโครงสร้าง วิชาลำดับชั้นหิน เพื่อใช้ในการค้นหาปิโตรเลียมหรือไฮโดรคาร์บอน ดู petroleum geologist ประกอบ 

petroleum geophysics ธรณีฟิสิกส์แหล่งปิโตรเลียม : การประยุกต์ใช้วิธีการต่าง ๆ ทางธรณีฟิสิกส์เพื่อค้นหาแหล่งปิโตรเลียม โดยอาศัยสมบัติทางฟิสิกส์ที่แตกต่างกันของหินชนิดต่าง ๆ เป็นหลักในการค้นหา เช่น วิธีแม่เหล็ก วิธีความโน้มถ่วง วิธีคลื่นไหวสะเทือน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการค้นหาโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เหมาะสมกับจะเป็นแหล่งเก็บปิโตรเลียม ได้แก่ โครงสร้างรูปประทุน รอยเลื่อน รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง เป็นต้น

petroleum rock หินปิโตรเลียม : หินทราย หินปูน หินโดโลไมต์ หินดินดานที่มีรอยแตก และหินชนิดอื่น ๆ ที่มีความพรุน ซึ่งสามารถกักเก็บน้ำมันและแก๊สไว้ได้

petroleum trap แหล่งกักเก็บปิโตรเลียม : บริเวณหรือตำแหน่งที่น้ำมันหรือแก๊สสะสมอยู่ในชั้นหินที่มีชั้นหินปิดทับเพื่อไม่ให้น้ำมันหรือแก๊สไหลหนีออกไป แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมอันเป็นแหล่งกักเก็บน้ำมัน (oil trap) และแหล่งกักเก็บแก๊ส (gas trap) ประกอบด้วย ชั้นหินกักเก็บ และชั้นปิดกั้นที่ไม่มีความซึมได้ปิดอยู่ข้างบน โดยผิวสัมผัสของ ๒ ชั้นนี้จะวางตัวโค้งลง ดู stratigraphic trap และ structural trap ประกอบ 

petroleum window;oil window ช่วงเกิดน้ำมัน : ดู oil window; petroleum window *25/47

petroliferous -ให้ปิโตรเลียม : มีลักษณะเป็นหินที่มีหรือให้ปิโตรเลียม

pH พีเอช : ค่าที่แสดงความเป็นกรดและเบสของสารละลาย โดยวัดจากความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนที่มีในสารละลายเป็นโมลต่อลิตรมีค่าอยู่ระหว่าง ๑-๑๔ โดยคำนวณจากแอนติลอการิทึมฐาน ๑๐ ของปริมาณไฮโดรเจนไอออน (pH = -log H+) ถ้าพีเอชมีค่า ๗ ถือว่าเป็นกลาง ถ้าต่ำกว่า ๗ จะเป็นกรด ถ้าสูงกว่า ๗ จะเป็นเบส

Phanerozoic Eon บรมยุคฟาเนอโรโซอิก : บรมยุคสุดท้ายของการแบ่งมาตราธรณีกาลนับตั้งแต่ ๕๗๐ ล้านปีมาจนถึงปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น ๓ มหายุค คือ มหายุคพาลีโอโซอิก มหายุคมีโซโซอิก และมหายุคซีโนโซอิก หินที่เกิดในบรมยุคนี้เรียกว่า หินบรมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic Eonothem) ดู geologic time scale ประกอบ คำนี้ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ๕๑

Phanerozoic ฟาเนอโรโซอิก : เวลาทางธรณีวิทยาในช่วงที่หินซึ่งสะสมตัวในช่วงเวลาดังกล่าว มีหลักฐานของสิ่งมีชีวิตมากมายซึ่งสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ มีรูปแบบซับซ้อนและมีการพัฒนาเป็นลักษณะขั้นสูง ดู Cryptozoic ประกอบ 

phase equilibria เฟสสมดุล : ในวิชาเคมีกายภาพ ศึกษาเกี่ยวกับเฟสต่าง ๆ ในระบบที่ดำรงอยู่เฉพาะในสภาวะสมดุล

phase rule กฎเฟส : กฎหนึ่งในวิชาเคมีกายภาพซึ่งกล่าวว่า ในระบบสมดุลใด ๆ จำนวนระดับขั้นความเสรี [F] จะเท่ากับผลต่างระหว่างจำนวนส่วนประกอบ [C] กับจำนวนเฟส [P] บวกด้วยสอง ซึ่งเขียนสัญลักษณ์ได้ดังนี้ F = [C – P] + 2 เช่น ในระบบที่มีน้ำแข็ง น้ำ และไอน้ำ ซึ่งมีส่วนประกอบชนิดเดียวเป็นน้ำ และมีสามเฟส (ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส) เมื่อนำจำนวนส่วนประกอบและจำนวนเฟสไปแทนค่าในสูตรจะได้ศูนย์ ดังนั้นระบบนี้มีระดับขั้นความเสรีเป็นศูนย์

phase เฟส : สมบัติทางกายภาพของสารแต่ละส่วนหรือแต่ละสถานะของระบบจะมีเนื้อเหมือนกันแต่จะแตกต่างกับส่วนอื่น ๆ ของระบบโดยมีขอบเขตแบ่งกันอย่างชัดเจน

phenoclast ___________ : 

phenocryst; phanerocryst ผลึกดอก : ผลึกแร่ขนาดใหญ่ที่กระจายอยู่ในเนื้อพื้นของหินอัคนี ดู porphyritic texture ประกอบ 

phenotype ฟีโนไทป์, แบบฉบับปรากฏ : ลักษณะที่ปรากฏของสิ่งมีชีวิตซึ่งสะท้อนถึงอันตรกิริยา (interaction) ของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

phi unit หน่วยฟี : หน่วยวัดที่บ่งบอกถึงขนาดของเม็ดวัสดุเชิงลอการิทึมฐานสอง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับเส้นผ่านศูนย์กลางของเม็ดวัสดุ (d) มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร โดย = -log2d

phyla ไฟลา : ดูคำอธิบายใน phylum 

phyllosilicate ฟิลโลซิลิเกต : กลุ่มแร่ซิลิเกตที่ประกอบด้วย SiO4ทรงสี่หน้า เกาะตัวกันแบบตาข่ายหกเหลี่ยม โดยใช้ออกซิเจนสามในสี่ของ SiO4 ทรงสี่หน้าข้างเคียงร่วมกัน จึงทำให้แร่กลุ่มนี้มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นเกล็ด อัตราส่วน Si : O = ๒ : ๕ ตัวอย่างเช่นไมกา ไบโอไทต์ มัสโคไวต์ คลอไรต์ เคโอลิไนต์ เซอร์เพนทีน ทัลก์ มีความหมายเหมือนกับ sheet mineral ๕๒

phylogeny วิวัฒนาการชาติพันธุ์ : ๑. สายการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ต่อเนื่องจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน ตรงข้ามกับพัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัว ดู ontogeny ประกอบ ๒. การศึกษาประวัติความเป็นมาของสิ่งมีชีวิตกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

phylum ไฟลัม : ขั้นหนึ่งของการจัดจำแนกหมวดหมู่ของสัตว์ เป็นขั้นที่อยู่ระหว่างอาณาจักร (kingdom) ซึ่งเป็นขั้นที่สูงกว่า และชั้น (class) ซึ่งเป็นขั้นที่ต่ำกว่า ส่วนการจำแนกหมวดหมู่ของพืชในขั้นนี้ใช้ว่า หมวด (division) คำพหูพจน์ของ phylum คือ phyla

physiomorphology; geomorphology ธรณีสัณฐานวิทยา : ดู geomorphology; physiomorphology 

phytoplankton แพลงก์ตอนพืช : แพลงก์ตอนหรือสิ่งมีชีวิตที่ล่องลอยตามน้ำที่จัดเป็นพวกพืช เช่น ไดอะตอม ดู zooplankton ประกอบ 

pinacoid ________ : สองหน้าที่ขนานกันของรูปทรง

pinnacle reef ๑. เสาหิน : ดู pinnacle ความหมายที่ ๒ ๒. พืดเสาหิน : คำที่ใช้เรียกเนินสโตรมาโทพอรอยด์ในแอ่งมิชิแกน ซึ่งพบจากการเจาะสำรวจน้ำมัน เกิดจากการก่อตัวเป็นหย่อม ๆ ของสาหร่ายสโตรมาโทพอรอยด์ยุค ไซลูเรียนตอนกลาง แต่ละหย่อมมีความสูง ๕๐๐ ฟุต และเอียงเทไม่เกิน ๑๕ องศาครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๕๐๐ เอเคอร์ (๑,๒๖๕ ไร่) จึงมีลักษณะเป็นเนินมากกว่าเป็นแท่งหรือเป็นเสา เนินเหล่านี้ปัจจุบันเป็นหินโดโลไมต์ และหลายแหล่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมัน

pinnacle เสาหิน : ๑. แท่งหินสูงเรียวหรือยอดสูงเด่น ๒. แท่งหินหรือปะการังที่อยู่ใต้น้ำหรืออยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งไม่อาจตรวจพบได้ด้วยเครื่องหยั่งน้ำด้วยเสียงสะท้อน จึงอาจเป็นอันตรายต่อการเดินเรือได้ มีความหมายเหมือนกับ pinnacle reef ๑ และ ดู reef ประกอบ 

pipe clay; pipeclay ไพป์เคลย์ : พลาสติกเคลย์ที่มีความเหนียวมาก สีขาวถึงขาวแกมเทา ปลอดจากสารเหล็ก สมัยก่อนใช้ทำกล้องยาสูบ โดยมากเผาแล้วจะให้สีขาว ดู ball clay ประกอบ ๕๓

pipe ________ : 

pisolite หินเนื้อเม็ดแบบเมล็ดถั่ว : ๑. หินชั้นที่ประกอบด้วยเม็ดตะกอนกลม ๆ ขนาดเมล็ดถั่วเขียวหรือถั่วลันเตา เกาะประสานกัน ลักษณะเนื้อแบบนี้มักพบในหินปูน ๒. มูลภูเขาไฟที่เกิดโดยการพอกพูนเป็นวงชั้น ดู pisolith และ olith ประกอบ 

pisolith เม็ดแบบเมล็ดถั่ว : เม็ดกลมเล็ก ๆ ในหินชั้นหรือหินตะกอน รูปร่างลักษณะเม็ดคล้ายเมล็ดถั่วเขียวหรือถั่วลันเตาหรือเม็ดไข่ปลาขนาดใหญ่ มีขนาด ๒–๑๐ มิลลิเมตร เม็ดตะกอนมักเกิดจากแคลเซียมคาร์บอเนตหรืออาจเกิดจากการพอกจับเป็นวงชั้นรอบนิวเคลียส โดยกระบวนการทางชีวเคมีของสาหร่าย ลักษณะเนื้อแบบเมล็ดถั่วจะมีขนาดใหญ่ แต่รูปร่างไม่ค่อยสม่ำเสมอเหมือนเนื้อเม็ดแบบไข่ปลา ถึงแม้ว่าจะมีโครงสร้างเป็นวงกลมซ้อนกันหลายวง และมีเส้นใยเป็นรัศมีแบบเดียวกัน คำนี้บางครั้งก็ใช้หมายถึงหินที่มีเนื้อแบบเมล็ดถั่ว ดู olith ประกอบ 

pitch พิตช์ : ดู rake 

pivotal fault; rotary fault; rotational fault รอยเลื่อนแบบหมุน : ดู rotational fault; pivotal fault; rotary fault 

placental – มีรก : คำที่ใช้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมซึ่งจัดอยู่ในชั้นย่อยยูทีเรีย (subclass Eutheria) มีลักษณะเฉพาะคือ มีรกสำหรับยึดเกาะกับผนังมดลูกของแม่และนำอาหารให้ตัวอ่อน ดังนั้นลูกอ่อนที่คลอดออกมาจึงมีสภาพที่ได้พัฒนาไปมาก มีช่วงอายุตั้งแต่ยุค ครีเทเชียสจนถึงปัจจุบัน ดู marsupial ประกอบ 

placer deposit แหล่งแร่แบบลานแร่ : ดู placer 

placer ลานแร่ : แหล่งแร่บนพื้นผิวที่เกิดจากการสะสมของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุพังและพัดพาของหิน ได้แก่ ลานแร่ชายหาด และลานแร่ตะกอนน้ำพา แร่ที่สะสมมักเป็นพวกแร่หนัก เช่น ทองคำ ดีบุก รูไทล์ เพชร มีความหมายเหมือนกับ placer deposit 

placoderm พลาโคเดิร์ม : สัตว์มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในชั้นพลาโคเดอร์มิ (class Placodermi) ซึ่งเป็นพวกปลามีขากรรไกร มีลักษณะเฉพาะคือ มีการพัฒนาแผ่นเกราะขึ้นห่อหุ้มร่างกาย โดยเฉพาะส่วนหัวและส่วนลำตัว พบในช่วงยุคดีโวเนียน ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว ชื่อพ ๕๔

ลาโคเดิร์ม แปลว่าแผ่นกระดูก แผ่นที่ปกคลุมรอบหัว เรียกว่าเกราะหัว (head shield) ส่วนแผ่นที่ปกคลุมลำตัว เรียกว่าเกราะลำตัว (trunk shield)

plane polarised light; polarised light แสงโพลาไรส์ : ดู plane polarised light; polarised light 

plankton แพลงก์ตอน : สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปมาอยู่ในน้ำทะเลและน้ำจืดตามการเคลื่อนไหลของน้ำ โดยมากมีขนาดเล็ก เช่น ไดอะตอม สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว โปรโตซัว ตัวอ่อนของสัตว์ต่าง ๆ และอาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่ด้วย เช่น แมงกะพรุน ซึ่งมีกำลังในการเคลื่อนไหวต่ำ แพลงก์ตอนเป็นอาหารสำคัญของสัตว์น้ำ เช่น วาฬ กุ้ง หอย ปู ปลา ดู phytoplankton และ zooplankton ประกอบ 

plant liquid แก๊สเหลวโรงแยก : ปริมาณแก๊สธรรมชาติเหลวที่ได้จากกระบวนการแยกที่โรงแยกแก๊ส ไม่ใช่แก๊สธรรมชาติเหลวที่ได้จากการแยก ณ แหล่งผลิต ดู separator gas ประกอบ 

plasticity สภาพพลาสติก : สมบัติของการเปลี่ยนรูปร่างของวัสดุจากรูปร่างเดิมไปเป็นรูปร่างใหม่อย่างถาวรเมื่อมีแรงมากระทำ โดยไม่ปรากฏรอยแตกหรือแยกออกจากกัน

plate boundary รอยต่อแผ่นธรณีภาค : แนวเขตของขอบแผ่นธรณีภาคที่เรียงต่อกันคล้ายภาพต่อปริศนา (jigsaw puzzle) ซึ่งปัจจุบันเป็นแนวเขตไหวสะเทือนและแนวภูเขาไฟ ตลอดจนแนวธรณีแปรสัณฐานของเปลือกโลก เชื่อว่าการเคลื่อนตัวของแผ่นธรณีภาคต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กัน

plate tectonics ธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค : ทฤษฎีซึ่งอธิบายถึงการเปลี่ยนลักษณะของแผ่นธรณีภาคอันเนื่องจากแรงที่มากระทำ มีลักษณะเป็นแผ่นธรณีภาคขนาดใหญ่หลายแผ่นและแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนหนึ่งเรียงต่อกัน แต่ละแผ่นมีความหนาประมาณ ๑๕–๗๐ กิโลเมตร สุดแล้วแต่ว่าเป็นแผ่นของธรณีภาคที่เป็นทวีปหรือเป็นมหาสมุทร ถ้าเป็นทวีปจะมีความหนามาก แผ่นธรรีภาคนี้เคลื่อนไปมาอย่างช้า ๆ ประมาณ ๒–๑๐ เซนติเมตรต่อปี โดยมีการเคลื่อนตัวในแนวารบเข้าหาหรือออกจากรอยต่อของแผ่นธรณีภาค ถ้าแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ออกจากกันจะทำให้หินหนืดเคลื่อนตัวขึ้นมาจนเกิดเป็นสันเขาใต้สมุทร ถ้าเคลื่อนที่เข้าหากันหรือชนกัน อาจทำให้แผ่นหนึ่งมุดลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่ง และมีปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้น หรือเป็นร่องลึกก้นสมุทรที่พื้นของมหาสมุทร (plate = แผ่นหรือจาน, tectonics มาจากภาษากรีกว่า tekton แปลว่า ช่างไม้ (carpenter) หรือช่างแปรรูปไม้) ๕๕

platform reef ลานพืดหิน : พืดหินใต้น้ำที่เกิดอยู่ห่างจากฝั่งมาก ส่วนบนมีลักษณะราบ มีทะเลสาบขนาดเล็กและตื้นอยู่ภายใน

play of color; schiller การเหลือบสี : ปรากฏการณ์การแทรกสอดของแสงเมื่อเปลี่ยนแปลงแนวตกกระทบที่ผิวหรือภายในของแร่ หรือเมื่อหมุนแร่ไปมา ทำให้เกิดการเหลือบสีต่าง ๆ เช่น การเหลือบสีแบบโอพอล การเหลือบแสง ดู opalescence และ chatoyancy ประกอบ 

play; play type ลักษณะแหล่งปิโตรเลียม : สภาพทางภูมิศาสตร์และสภาวะทางธรณีวิทยาที่เหมาะสมจะเป็นแหล่งปิโตรเลียม ทั้งนี้ต้องประกอบด้วย ชั้นหินกักเก็บ ลักษณะกักเก็บ ภาวะสมบูรณ์ของหินต้นกำเนิด และการเคลื่อนย้าย รวมทั้งลักษณะกักเก็บที่เกิดขึ้นก่อนที่ปิโตรเลียมจะเคลื่อนย้ายเข้าไปกักเก็บ หรือแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบแล้วและยังไม่ถูกค้นพบที่มีลักษณะแหล่งเหมือนกัน ต้องมีลักษณะเฉพาะของแหล่งที่ประกอบด้วยสภาวะทางธรณีวิทยาที่เหมือนกันและสามารถแยกแยะออกจากแหล่งอื่น ๆ ได้

plesiosaur เพลสิโอซอร์ : สัตว์เลื้อยคลานทะเลพวกหนึ่งแห่งมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งได้พัฒนารูปร่างให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยในท้องทะเล คือมีคอยาวมาก หัวเล็ก และส่วนหางสั้น ไล่ล่ากินปลาเป็นอาหาร ว่ายน้ำโดยใช้ขาที่มีลักษณะเหมือนใบพายโบกขึ้น ๆ ลง ๆ เหมือนการว่ายน้ำของนกเพนกวินและเต่า

plication สันจีบ : 

๑. รอยคดโค้งขนาดเล็กในชั้นหิน มีลักษณะเป็นสันถี่ ๆ ดู crenulation ๑ ประกอบ ๒. รอยย่นหนาเป็นสันตรง ซึ่งมีขนาดยาวหลาย ๆ สัน วางตัวเรียงกันโดยปลายข้างหนึ่งชิดกันแต่ปลายตรงข้ามห่างกัน ดูคล้ายรัศมี พบบนผิวเปลือกของสัตว์จำพวกหอยและพวกแบรคิโอพอด เช่น สันและร่องบนเปลือกหอยแครง

plug trap ลักษณะกักเก็บแบบแท่งปิด : ลักษณะกักเก็บปิโตรเลียมที่หินอัคนีแทรกดันตัดผ่านชั้นหินตะกอนจนทำให้ชั้นหินตะกอนเกิดการโค้งงอและเกิดรอยเลื่อนขึ้น ดู diapir associated trap ประกอบ 

plume; hot spot จุดร้อน : ดู hot spot; plume ๕๖

pneumatogenic; pneumatolytic แปรเปลี่ยนโดยไอร้อน : ๑. คำที่ใช้อธิบายบริเวณที่เกิดการแปรเปลี่ยนโดยไอร้อน เมื่อหินหนืดระเบิดสู่พื้นผิวโลก ไอหรือแก๊สจำนวนมากถูกปล่อยสู่บรรยากาศ จะพบแร่ที่เกิดจากไอร้อน เช่น กำมะถัน แอมโมเนียมคลอไรด์ บอเรต บริเวณผนังของปากปล่องภูเขาไฟหรือหินรอบข้าง และในช่องว่างของหินหนืดที่เย็น ๒. เป็นผลจากการแปรสภาพสัมผัสบริเวณโดยรอบหินอัคนีแทรกซอนในระดับลึกที่อยู่ใกล้เคียงที่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดเนื่องจากสถานะแก๊สหรือสถานะของเหลว ๓. เป็นการลำดับส่วนหินหนืดระหว่างขั้นการเกิดเพกมาไทต์ (pegmatitic stage) กับขั้นน้ำร้อน (hydrothermal stage) ซึ่งแสดงภาวะที่สมดุลระหว่างผลึกแร่กับแก๊ส ๔. แหล่งแร่ที่ประกอบด้วยแร่หรือธาตุไอร้อน เช่น ทัวร์มาลีน โทแพซ เลพิโดไลต์ (ลิเทียมไมกา) เบริล ฟลูออไรต์ ในประเทศไทยพบมากในแหล่งแร่ดีบุกและวุลแฟรม เช่น ที่หาดส้มแป้น จังหวัดระนอง ที่ผาปกค้างคาว อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

pneumotectic นิวโมเทกติก : ว่าด้วยกระบวนการและผลิตผลจากการแข็งตัวของหินหนืดที่ถูกกระทบบางส่วนจากส่วนประกอบที่เป็นไอร้อนของหินหนืด

pocket กระเปาะ : ๑. มวลสินแร่ขนาดเล็กรูปนูน กลม หรือรี ในหินท้องที่ เช่น ที่พบตามรอยแตกของหินที่มีแร่ หรือเฉพาะส่วนที่มีแร่สมบูรณ์ของแหล่งสินแร่ ๒. บริเวณที่ถูกล้อมรอบหรือที่กำบังตามชายฝั่งทะเล ๓. ตาน้ำหรือโพรงน้ำในท้องธารน้ำไหลไม่ตลอดปี ๔. หุบเขายาวแคบ ๆ ในบริเวณเทือกเขา ๕. แหล่งน้ำบาดาลขนาดเล็ก

pod สินแร่รูปเรียว : มวลสินแร่รูปร่างยาวเรียว รูปเลนส์ หรือรูปคล้ายซิการ์

poikilocrystallic; poikilotopic -เนื้อผลึกใหญ่หุ้มผลึกเล็ก : ดู poikilotopic; poikilocrystallic 

poikilotope ผลึกใหญ่หุ้มผลึกเล็ก : ผลึกขนาดใหญ่ที่หุ้มผลึกแร่ชนิดอื่นที่มีขนาดเล็กกว่าในหินตะกอนที่แสดงโครงเนื้อแบบผลึกใหญ่หุ้มผลึกเล็ก ตัวอย่างเช่น ผลึกแคลไซต์ขนาดใหญ่ล้อมรอบผลึกโดโลไมต์ขนาดเล็กกว่าในหินปูนโดโลไมต์ หรือผลึกยิปซัมขนาดใหญ่ล้อมรอบเม็ดแร่ควอตซ์ และ/หรือเฟลด์สปาร์ ๕๗

poikilotopic; poikilocrystallic -เนื้อผลึกใหญ่หุ้มผลึกเล็ก : คำที่หมายถึงโครงเนื้อของหินตะกอนเนื้อผลึกหรือหินคาร์บอเนตที่เกิดผลึกใหม่ ซึ่งประกอบด้วยผลึกหลายขนาด โดยมีผลึกขนาดใหญ่หุ้มผลึกแร่ชนิดอื่นที่มีขนาดเล็กกว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้หินมีความพรุนลดลง เช่น การตกผลึกของแคลไซต์ในช่องว่างของหินปูน

points of emergence แกนแสงผุด : จุดยอดของเส้นโค้งรูปจันทร์เสี้ยวในรูปแทรกสอด ซึ่งบอกตำแหน่งที่แกนแสงปรากฏขึ้น ดูรูปที่ interference figure 

polarised light; plane polarised light แสงโพลาไรส์ : แสงที่มีการสั่นในระนาบเดียวเมื่อผ่านปริซึมนิโคล หรือโพลาไรเซอร์ แสงชนิดนี้ใช้ในกล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์ เพื่อการตรวจสอบสมบัติทางแสงของแร่หรือหินจากแผ่นตัดบาง ดู ordinary light; natural light; white light ประกอบ 

polariser โพลาไรเซอร์ : ตัวกลางที่ใช้ในกล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์ สำหรับทำแสงโพลาไรส์ อาจทำจากแร่แคลไซต์ใสหรือแผ่นโพลารอยด์หรือวัสดุอื่น อยู่ใต้แป้นหมุน (เป็นปริซึมนิโคลตัวล่าง) มักจัดให้มีระนาบการสั่นอยู่ในแนวเหนือใต้หรือแนวตะวันออก-ตะวันตกของกล้องจุลทรรศน์ ดู Nicol prism และ analyser ประกอบ 

polarising microscope กล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์ : กล้องจุลทรรศน์ชนิดที่ใช้แสงโพลาไรส์เพื่อตรวจสอบแผ่นตัดบาง ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ต่างจากกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา คือ มีโพลาไรเซอร์ แอนาไลเซอร์ เลนส์เบอร์ทรันด์ แป้นหมุน และอุปกรณ์เสริม เช่น แผ่นไมกา แผ่นยิปซัม แผ่นลิ่มควอตซ์ เพื่อการวิเคราะห์แร่ทางแสง กล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์มี ๒ ชนิด คือ ชนิดสะท้อนแสง ใช้ศึกษาวัสดุทึบแสง และชนิดแสงผ่าน ใช้ศึกษาวัสดุ แร่โปร่งใสหรือโปร่งแสง นักธรณีวิทยานิยมใช้กล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์เพื่อศึกษาชนิดแร่ ลักษณะเนื้อของแร่และหิน ผลึกและวัสดุต่าง ๆ โดยอาศัยลักษณะทางกายภาพและสมบัติทางแสงของผลึกและวัสดุ บางครั้งเรียกกล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์ว่า กล้องจุลทรรศน์ศิลาวรรณนา (petrographic microscope)

polarity สภาพขั้ว : 

๑. การแสดงภาวะเป็นปลายบวกหรือลบที่บริเวณส่วนปลายของหน่วยให้กำลังไฟฟ้า ถ้านำตัวนำไฟฟ้าต่อเข้าที่ปลายทั้งสองซึ่งมีภาวะตรงข้ามกัน อิเล็กตรอนจะวิ่งในตัวนำจากปลายลบไปหาปลายบวก

๒. สภาพของแท่งแม่เหล็กที่แสดงสมบัติเป็นบวก (เหนือ) หรือลบ (ใต้) ๕๘

๓. (ผลิกศาสตร์) สภาพขั้วของระบบผลึก

๔. สภาพแม่เหล็กโลกที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ซึ่งมีลักษณะสภาพเป็นลบที่ขั้วโลกเหนือ และมีลักษณะสภาพเป็นบวกที่ขั้วโลกใต้

polarity-chronologic unit หน่วยลำดับเวลาตามสภาพขั้ว : การแบ่งช่วงเวลาตามความเด่นของสภาพขั้วแม่เหล็กโลกที่บันทึกอยู่ในหน่วยลำดับชั้นหิน แบ่งออกได้เป็น 3 ลำดับ คือ ยุคสภาพขั้ว (polarity period) ซึ่งมีช่วงเวลาที่ยาวที่สุด สมัยสภาพขั้ว (polarity epoch) ซึ่งเป็นช่วงกลาง และเหตุการณ์สภาพขั้ว (polarity event) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นที่สุด

polarity-chronostratigraphic unit หน่วยลำดับชั้นหินตามเวลาสภาพขั้ว : หน่วยย่อยของลำดับชั้นหิน ได้จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพขั้วแม่เหล็กโลกที่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาทางธรณีกาล ซึ่งผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพขั้วแม่เหล็กดังกล่าวจะปรากฎอยู่ในเนื้อหินที่สะสมตัวในเฉพาะช่วงเวลานั้น

polarity epoch สมัยสภาพขั้ว : ช่วงเวลาที่สภาพสนามแม่เหล็กโลกส่วนใหญ่เกิดมีสภาพขั้วแบบเดียวหรือเกือบแบบเดียว โดยหมายถึงช่วงเวลาที่ชุดหินนั้นเกิดขึ้นหรือสะสมตัวในช่วงที่สภาพสนามแม่เหล็กโลกมีสภาพขั้วเป็นอย่างเดียวกันหรือเกือบอย่างเดียวกัน สมัยสภาพขั้วอาจมีช่วงเวลาเป็นแสนหรือล้านปี จัดเป็นหน่วยลำดับเวลาตามสภาพขั้วขั้นกลาง ตั้งตามชื่อผู้ค้นพบครั้งแรก ดู polarity interval ประกอบ 

polarity event เหตุการณ์สภาพขั้ว : หน่วยลำดับเวลาตามสภาพขั้วซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นที่สุด อาจมีช่วงเวลาเป็นหมื่นถึงแสนปี ตั้งชื่อตามสถานที่ที่ค้นพบครั้งแรก

polarity interval ช่วงสภาพขั้ว : หน่วยพื้นฐานของการจำแนกหน่วยลำดับชั้นหินตามเวลาสภาพขั้ว ที่ใช้กันทั่วโลก คำนี้ใช้กับหน่วยหิน ไม่ใช้กับหน่วยเวลา

polarity period ยุคสภาพขั้ว : หน่วยลำดับเวลาตามสภาพขั้วซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาวที่สุด

polarization ๑. การเกิดขั้ว : ปรากฏการณ์ที่ทำให้แร่หรือวัสดุไดอิเล็กทริกที่ไม่ใช่ตัวนำไฟฟ้า เกิดขั้วไฟฟ้าบวกและลบโดยให้ผ่านสนามไฟฟ้า หรือปรากฏการณ์ที่สารแม่เหล็กถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขั้วแม่เหล็กโดยสนามแม่เหล็กโลก ดู intensity of magnetisation ประกอบ ๒. โพลาไรเซชัน : การที่คลื่นเดินทางอยู่ในระนาบเดียวหรือทิศทางเดียว เช่น คลื่นแสงถูกบังคับให้เดินทางอยู่ในระนาบเดียว หรือคลื่นเสียงที่เดินทางอยู่ในระนาบเดียว ๕๙

pole-dipole array แถวลำดับอนุกรมขั้วคู่ : รูปแบบการจัดวางขั้วไฟฟ้าในการสำรวจวัดความ ต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ โดยวางขั้วไฟฟ้าตามแนวเส้นตรงเรียงตามกัน และให้มีระยะ ระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้าห่างกันมาก จากรูป ขั้วศักย์ไฟฟ้าคู่หนึ่งมีระยะห่างกันเท่ากับ X ระยะระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้ากับขั้วกระแสไฟฟ้าที่อยู่ใกล้กันห่างกันเป็นระยะ nX เมื่อ n = 1, 2, 3, …

pole-pole array แถวลำดับอนุกรมขั้วเดียว : รูปแบบการจัดวางขั้วไฟฟ้าในการสำรวจความต้านทาน ไฟฟ้าจำเพาะและการเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำ โดยวางขั้วไฟฟ้าในแนวเส้นตรงเรียงตาม กัน มีระยะระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้าและระยะระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้าห่างกันมากกว่า ๑๐ เท่าของระยะระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้ากับขั้วศักย์ไฟฟ้าที่อยู่ใกล้กัน

polish section แผ่นตัดขัดมัน : แผ่นแร่หรือหินหรือวัสดุอื่นที่ขัดมันจนเรียบเป็นเงา ใช้ในการศึกษา แร่ทึบแสงโดยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง

pollen analysis; pollen statistics การวิเคราะห์เรณู : [บรรพชีวินวิทยา] สาขาหนึ่งของวิชาเรณูวิทยาว่าด้วยการศึกษาตะกอนซึ่งสะสมตัวในสมัยไพลสโตซีนตอนปลายและตะกอนหลังยุคน้ำแข็ง โดยการจัดทำแผนภูมิและแผนที่แสดงชนิดและปริมาณเรณูต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น การจำแนกชนิดและการนับจำนวนละอองเรณูของพันธุ์พืชที่พบในป่าพรุโบราณและชั้นหินที่สะสมตัวในทะเลสาบ เป็นวิธีหนึ่งในการกำหนดอายุของซากดึกดำบรรพ์

pollen analysis; pollen statistics การวิเคราะห์เรณู : ดู pollen analysis; pollen statistics 

polymorphism ภาวะพหุสัณฐาน : ๑. (ผลิกศาสตร์) การที่แร่ตกผลึกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้มากกว่า ๑ รูปแบบขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้อนและแรงกดดัน เช่น คาร์บอนที่เกิดเป็นเพชรจะมีรูปผลึกในระบบสามแกนเท่า ถ้าเกิดเป็นแกรไฟต์จะมีรูปผลึกในระบบสามแกนราบ ๒.(วิวัฒนาการ) การที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ๆ สามารถแปรสภาพได้หลายรูปแบบโดยไม่นับความแตกต่างกันทางเพศ เช่น ผเสื้อมีวิวัฒนาการจากตัวหนอนเป็นแมลง

polyp โพลิป : ตัวซีเลนเทอเรต มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกกลวง ปลายด้านบนเปิดออกเป็นช่อง เรียกว่า ปาก รอบปากมีหนวดล้อม ปลายด้านล่างปิดและยึดติดกับพื้น โพลิปอาจอยู่เดี่ยว ๖๐

ๆ เช่น ไฮดรา หรือเชื่อมต่อเนื่องกันเป็นกลุ่มเช่นเดียวกับปะการังส่วนใหญ่ ดูรูปประกอบ 

polyzoan โพลีโซแอน : ดู bryozoan 

pool แหล่งปิโตรเลียม : แหล่งกักเก็บหรือกลุ่มของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม เป็นคำที่ใช้ผิดความหมาย เพราะปิโตรเลียมไม่ไดักักเก็บเหมือนในอ่างเก็บน้ำ แต่จะแทรกอยู่ในช่องว่างหรือรอยแตกของหิน

population ประชากร : 

๑. กลุ่มสิ่งมีชีวิตซึ่งแต่ละตัวจัดเป็นชนิดเดียวกันหรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน

๒. กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งหรือสิ่งแวดล้อมหนึ่งเป็นกลุ่มแรก

๓. [สถิติ] กลุ่มทางทฤษฎีของหัวข้อเรื่องหรือตัวอย่างใด ๆ ซึ่งทุกตัวสามารถนำไปใช้วัดหรือจัดทำผลทางสถิติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือมากกว่าได้

pore รู 

๑. ช่องเล็ก ๆ หรือท่อเล็ก ๆ ที่พบในดินหรือหิน

๒. รูเปิดเล็ก ๆ ในผนังหรือเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น รูทะลุที่พบในแผ่นเปลือกของพวกเอไคโนเดิร์ม

pore space ________: รอเขียนคำอธิบาย

poriferan สัตว์(ใน)พวกฟองน้ำ : ดู sponge 

porosity; total porosity ความพรุนรวม : อัตราส่วนระหว่างปริมาตรของช่องว่างในหินหรือดินเทียบกับปริมาตรของหินหรือดินนั้น ๆ

porphyroblast แร่ดอกแปร : ๑. ดู metacryst ๒. ผลึกแร่ขนาดใหญ่ที่เป็นดอกอยู่ในเนื้อหินแปร ซึ่งแปรสภาพมาจากหิน อัคนีเนื้อดอก

porphyroblastic (ในหนังสือรอทบทวน) 

porphyry copper deposit แหล่งแร่ทองแดงเนื้อดอก : มวลขนาดใหญ่ของหินอัคนีเนื้อดอกที่ประกอบด้วยแร่ทองแดงซึ่งมักเป็นแร่คาลโคไพไรต์ และแร่ซัลไฟด์อื่น ๆ เกิดประหรือ ๖๑

เป็นสายแร่ขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป เกิดจากการตกผลึกของหินหนืดอย่างรวดเร็ว และยังเคลื่อนที่จากหินชั้นรอบ ๆ หินอัคนีโดยน้ำหรือไอน้ำมาสะสมตัวตามรอยแยกของหินอัคนีหรือหินข้างเคียง ในประเทศไทยพบที่ภูหินเหล็กไฟและภูทองแดง จังหวัดเลย แหล่งแร่แบบนี้มักเป็นแหล่งแร่ทองแดงที่มีการทำเหมืองขนาดใหญ่แบบเหมืองเปิดหรือเหมืองหาบ ผลิตทองแดงเป็นหลัก อาจได้โมลิบดีนัมหรือทองคำเป็นผลพลอยได้ ในการสำรวจนิยมใช้วิธีธรณีฟิสิกส์แบบการเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำ ดู induced polarization (IP) ประกอบ 

porphyry copper __________ : 

portland cement ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ : ปูนซีเมนต์ที่สามารถแข็งตัวได้ในน้ำ เป็นสารผสมที่มีสัดส่วนพอเหมาะของสารประกอบปูน ซิลิกา และอะลูมินา วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่เป็นสารผสมของหินปูนและหินดินดาน โดยมีกระบวนการผลิตคือ นำวัตถุดิบที่บดละเอียดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปเผาที่อุณหภูมิประมาณ ๑,๒๐๐-๑,๔๐๐ องศาเซลเซียส จนได้ปูนซีเมนต์เม็ด นำปูนซีเมนต์เม็ดบดละเอียดรวมกับแร่ยิปซัมจนมีขนาดประมาณ -๒๐๐ เมช จะได้ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ นายโจเซฟ แอสป์ดิน เป็นผู้พัฒนาปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ใน ค.ศ. ๑๘๒๔ โดยให้ชื่อว่า ซีเมนต์พอร์ตแลนด์ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับหินพอร์ตแลนด์ซึ่งเป็นหินก่อสร้างที่นิยมในประเทศอังกฤษ ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มพัฒนาปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ใน ค.ศ. ๑๘๗๕ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตซีเมนต์พอร์ตแลนด์ในประเทศไทยประกอบด้วย หินปูนร้อยละ ๗๘-๘๑ หินดินดานร้อยละ ๑๕-๑๘ แร่เหล็กหรือดินลูกรังร้อยละ ๑-๒ ยิปซัมร้อยละ ๔-๕ ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์มาตรฐานมีอยู่ ๕ ประเภทด้วยกันคือ ประเภท ๑ ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ธรรมดา (ordinary portland cement) สำหรับใช้ในงานคอนกรีตที่ไม่ต้องการคุณภาพพิเศษ และใช้ในการก่อสร้างตามปรกติทั่วไปที่อยู่ในภาวะอากาศไม่รุนแรงหรือที่ไม่มีอันตรายจากซัลเฟตเป็นพิเศษ หรือเมื่อเกิดการรวมตัวกับน้ำจะไม่ทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้นจนเป็นอันตรายกับโครงสร้าง ประเภท ๒ ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ดัดแปลง (modified portland cement) สำหรับใช้ในคอนกรีตที่เกิดความร้อนและทนซัลเฟตได้ปานกลาง ประเภท ๓ ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์แข็งเร็ว (high-early strength portland cement) มีประโยชน์สำหรับทำคอนกรีตที่ต้องการจะใช้งานเร็วหรือรื้อแบบเร็ว เช่น งานคอนกรีต ๖๒

อัดแรง การใช้ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ประเภท ๓ นี้ ควรระวังเรื่องอุณหภูมิของคอนกรีตซึ่งต้องไม่ให้สูงเกิน มิฉะนั้นจะทำให้คอนกรีตเกิดรอยร้าวได้ง่าย ประเภท ๔ ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ (low-heat portland cement) ปูนซีเมนต์ชนิดนี้ใช้มากในงานก่อสร้างพวกคอนกรีตหลา (mass concrete) เนื่องจากเกิดความร้อนของคอนกรีตต่ำกว่าประเภทอื่นขณะแข็งตัว ประเภท ๕ ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ทนซัลเฟตได้สูง (sulfate-resistant portand cement) เหมาะสำหรับใช้กับโครงสร้างที่อยู่ในที่ที่มีการกระทำของซัลเฟตรุนแรง เช่น น้ำเค็ม น้ำหรือดินที่เป็นด่างสูง

positive ore; proved ore สินแร่พิสูจน์แล้ว : มวลสินแร่ที่ได้รับการขุดเปิดและพัฒนารอบด้าน ได้แก่ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านบน และด้านล่าง ทำให้สามารถประเมินปริมาณและคุณภาพของสินแร่นั้นได้ชัดเจน

possible ore; future ore สินแร่อาจทำเหมืองได้ : แหล่งแร่หรือสินแร่ที่คาดคะเนหรือประมาณค่าจากพื้นฐานของประสบการณ์ทางธรณีวิทยาและการทำเหมืองแร่ที่ผ่านมาว่ามีโอกาสจะทำเหมืองได้ ดู inferred ore, indicated ore และ potential ore ประกอบ 

possible reserves ปริมาณสำรองคาดหมาย : ปริมาณสำรองคงเหลือที่ประมาณได้จากข้อมูลทางธรณีวิทยาและวิศวกรรม ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งมีความเชื่อมั่นและความเป็นไปได้ในการผลิตน้อยกว่าปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว คือมีความเชื่อมั่นเพียงร้อยละ ๑๐-๔๐

postmineral เกิดหลังการเกิดแร่ : โครงสร้างหรือลักษณะอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการเกิดแร่

pot clay ดินปั้นหม้อ : ๑. ดินทนไฟที่มีความเหมาะสมที่ใช้ทำเบ้าหลอมแก้ว ๒. ชั้นเคลย์ที่เกิดร่วมกับชุดยุคถ่านหิน ๓. ดินเคโอลินที่เกิดแบบตกค้างสะสมตัวอยู่กับที่

potash feldspar โพแทชเฟลด์สปาร์ : ๑. ชื่อที่ใช้เรียกโพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ ๒. ชื่อเชิงพาณิชย์ของเฟลด์สปาร์ที่มี K2O อย่างน้อยร้อยละ ๑๐ แต่สำหรับประเทศไทยต้องมีส่วนผสม K2O อย่างน้อยร้อยละ ๘ บางครั้งเรียกโพแทชสปาร์ (potash spar)

potash spar โพแทชสปาร์ : ดูคำอธิบายใน potash feldspar ๖๓

potassium bentonite โพแทสเซียมเบนทอไนต์ : ดู metabentonite 

potassium feldspar โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ : กลุ่มแร่เฟลด์สปาร์ที่ประกอบด้วยโพแทสเซียม เช่น ออร์โท-เคลส ไมโครไคลน์ ซานิดีน ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก แหล่งสำคัญในประเทศไทยพบที่ จังหวัดตาก ราชบุรี มีความหมายเหมือนกับ potash feldspar และ k-spar ในเชิงพาณิชย์หมายถึง เฟลด์สปาร์ที่ประกอบด้วยโพแทสเซียมสูง มีความหมายเหมือนกับ potash feldspar, alkali feldspar, k-spar และ potspar 

potential barrier กำแพงศักย์ : ความต้านทานต่อการเปลี่ยนสถานะของพลังงานหนึ่22/46งไปเป็นอีกอย่างหนึ่งซึ่งตามระบบทางเคมีต้องอาศัยพลังงานก่อกัมมันต์เป็นตัวช่วย

potential electrode ขั้วศักย์ไฟฟ้า : ขั้วศักย์ไฟฟ้าที่ใช้วัดความต่างศักย์ไฟฟ้า ในทางธรณีฟิสิกส์มี ๒ แบบ คือ ๑. แท่งโลหะนำไฟฟ้า เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร หรือรูปเหล็กฉาก ความยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ปลายด้านหนึ่งแหลมใช้ตอกลงในดิน มีสายไฟต่อเข้ากับวงจรวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้าทั้ง ๒ แท่ง ที่ตอกลงไปในดิน ๒. ถ้วยดินเผารูปทรงกระบอก ส่วนบนเป็นกระเบื้องเคลือบ ส่วนล่างไม่เคลือบ มีรูพรุนเพื่อให้สารละลายซึมผ่านได้ มีแท่งโลหะทองแดงอยู่ตรงกลาง ทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้า แช่อยู่ในสารละลายทองแดงซัลเฟต ส่วนบนมีฝาปิด มีสายไฟฟ้าต่อเชื่อมเข้าวงจรวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้าทั้งสองที่วางไว้ที่ผิวดิน ใช้ในกรณีที่ต้องการวัดศักย์ไฟฟ้าที่ต้องการความถูกต้องแน่นอนสูง เพราะสามารถแก้ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้วไฟฟ้าทั้งสองที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าตามธรรมชาติที่เกิดเองใต้ผิวดินให้หมดไปได้ ใช้ในการสำรวจความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำสูง และใช้ในการสำรวจด้วยวิธีการเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำ

potential ore สินแร่ศักย์ : ๑. แหล่งแร่หรือสินแร่ที่มีแนวโน้มว่าจะค้นพบได้ ๒. แหล่งแร่หรือสินแร่ที่พบแล้ว แต่ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะพัฒนาในเชิง พาณิชย์ได้ ดู resources ประกอบ ๖๔

pour point จุดไหลเท : อุณหภูมิต่ำสุดที่ทำให้น้ำมันยังคงไหลได้ภายใต้สภาวะที่กำหนดไว้ในการทดสอบ เป็นการหาจุดที่น้ำมันเริ่มหยุดไหลแล้วบวกเพิ่มไม่เกิน ๓ องศาเซลเซียส และเป็นตัวเลขที่ ๓ หารลงตัว โดยถือว่าเป็นอุณหภูมิต่ำสุดที่น้ำมันยังคงไหลได้ จุดไหลเทของน้ำมันดิบเป็นสมบัติที่ชี้บอกคร่าว ๆ ว่าน้ำมันดิบนั้นมีส่วนประกอบไฮโดรคาร์บอนประเภทพาราฟินหรือแอโรแมติกมากน้อยเพียงใด โดยน้ำมันดิบที่มีจุดไหลเทสูง จะมีปริมาณไฮโดรคาร์บอนประเภทพาราฟินสูงแต่มีปริมาณไฮโดรคาร์บอนประเภทแอโรแมติกต่ำ อาจจัดเป็นน้ำมันดิบฐานพาราฟิน ส่วนน้ำมันดิบที่มีจุดไหลเทต่ำ ก็จะมีปริมาณไฮโดรคาร์บอนประเภทแอโรแมติกสูง อาจจัดเป็นน้ำมันดิบฐานแนฟทีน ทั้งค่าความหนืดและจุดไหลเทเป็นสมบัติที่สำคัญที่นำมาใช้ประกอบการออกแบบระบบการสูบและขนถ่ายน้ำมันโดยทางระบบท่อ การทดสอบค่าจุดไหลเทของตัวอย่างที่เป็นน้ำมันดิบจะทดสอบตามวิธีมาตรฐาน ASTM (American Society for Testing and Materials) D–5358 และตัวอย่างที่เป็นผลิตภัณฑ์จะใช้วิธีมาตรฐาน ASTM D–97

powder diffraction; powder method การเลี้ยวเบนจากผง : วิธีวิเคราะห์ผงตัวอย่างธรรมชาติหรือที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยเครื่องดิฟแฟรกโทมิเตอร์ โดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ในการหาชนิดหรือระบบผลึกของแร่

Praetiglian ช่วงพรีติเจียน : ธารน้ำแข็งสมัยไพลโอซีนที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ ในช่วงเวลาระหว่าง ๒.๔๐-๒.๑๐ ล้านปี ตามด้วยช่วงคั่นทิกเลียน ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

prase เพรส

๑. ควอตซ์สีเขียว เนื้อผลึก มีสารฝังในเป็นผลึกรูปเข็มของแร่แอกทิโนไลต์

๒. ควอตซ์เนื้อจุลผลึกแบบเนื้อเม็ด มีสีเขียวด้านคล้ายแจสเพอร์ มักเกิดร่วมกัน

ดู quartz ประกอบ 

Precambrian Eon บรมยุคพรีแคมเบรียน : บรมยุคต้นของธรณีกาล มีอายุก่อนยุคแคมเบรียนในมหายุคพาลีโอโซอิก เริ่มตั้งแต่ประมาณ ๕๗๐ ล้านปีลงไป เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุด เชื่อกันว่าสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำเริ่มเกิดขึ้นในตอนปลายของบรมยุคนี้ แต่ส่วนมากไม่พบร่องรอยหรือหลักฐานที่ชัดเจนเหมือนซากดึกดำบรรพ์ในยุคแคมเบรียน หินที่เกิดในบรมยุคนี้เรียกว่า หินบรมยุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Eonothem) สถาบันทางธรณีวิทยาบางแห่งได้แบ่งช่วงเวลาของบรมยุคพรีแคมเบรียนตาม ๖๕

หลักฐานการหาอายุโดยกัมมันตรังสีเป็น ๒ ช่วง คือ บรมยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic Eon) ซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๒,๕๐๐ ถึง ๕๗๐ ล้านปีมาแล้ว และบรมยุค อาร์เคียน (Archaean Eon; Archean Eon) หรืออาร์คีโอโซอิก ซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๔,๐๐๐ ถึง ๒,๕๐๐ ล้านปี ดู geologic time scale ประกอบ คำนี้เดิมเคยจัดเป็นมหายุค ปัจจุบันทั้งมหายุคและบรมยุคเลิกใช้แล้ว

Precambrian Era มหายุคพรีแคมเบรียน : ดูคำอธิบายใน Precambrian Eon 

Precambrian พรีแคมเบรียน : ช่วงเวลาทางธรณีวิทยาหรือหินที่มีอยู่หรือสะสมตัวอยู่ก่อนการเริ่มต้นของมหายุคพาลีโอโซอิก ช่วงเวลาดังกล่าวมีปริมาณร้อยละ ๙๐ ของเวลาทางธรณีกาลทั้งหมด แบ่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ โดยระบบที่แตกต่างกัน แต่การแบ่งช่วงเวลาใช้หลักฐานของการปรากฏขึ้นหรือการขาดหายไปของสิ่งมีชีวิตเป็นเครื่องกำหนด ดู Azoic และProterozoic ประกอบ 

precious metal โลหะสูงค่า : โลหะจำพวกทองคำ เงิน หรือแร่อื่น ๆ ในกลุ่มแพลทินัม เช่น อิริเดียม ออสเมียม โรเดียม รูทีเนียม

precision ความเที่ยง : ๑. ปราศจากความผิดพลาด ๒. ความสามารถในการวัดซ้ำของเครื่องมือ ซึ่งใช้ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยของชุดค่าที่วัดได้เป็นตัววัด ดู accuracy และ resolution ประกอบ 

pregeologic -ก่อนธรณีวิทยา : 

๑. คำที่ใช้กับเวลาหรือช่วงเวลาของโลกที่ได้กำหนดขึ้นตามทฤษฎีหรือก่อนมีข้อมูลทางธรณีวิทยา

๒. คำที่ใช้กับส่วนของธรณีประวัติที่มีอายุแก่กว่าหินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก (ประมาณ ๔.๕-๓พันล้านปี)

premineral เกิดก่อนการเกิดแร่ : โครงสร้างหรือลักษณะอื่นที่มีอยู่ก่อนการเกิดแร่

preoccupied name ชื่อตั้งซ้ำ : ในทางอนุกรมวิธาน ชอซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ได้ หรือต้องยกเลิกไปเนื่องจากชื่อนั้นใช้เป็นชื่อสิ่งมีชีวิตในขั้นอื่นมาก่อนหน้านี้แล้ว

pressolution; pressure solution การละลายจากแรงดัน : การละลายในหินตะกอนซึ่งเกิดขึ้นระหว่างรอยต่อของเม็ดตะกอนหรือผลึกที่มีแรงดันจากภายนอกมากกว่าแรงดันของของเหลวที่อยู่ระหว่างเม็ดตะกอน ยังผลให้ผิวสัมผัสเพิ่มขึ้นและช่องว่างระหว่างเม็ด ๖๖

ตะกอนลดลง จนทำให้หินเชื่อมติดกันแน่นขึ้น ดู solution transfer และ Riecke’s principle ประกอบ 

pressure ridge สันแรงดัน : ลักษณะโครงสร้างอันเป็นผลจากแรงดันคู่ขนานและเคลื่อนเข้าหากันในช่วงเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือการ เคลื่อนที่ของธารน้ำแข็ง จนทำให้แผ่นดินเป็นสันและหดสั้นลง

pressure shadow เงาความดัน : [ศิลาวิทยาโครงสร้าง] กลุ่มของเม็ดแร่ที่ก่อตัวใหม่อยู่บริเวณขอบตรงข้ามกันของแร่ดอกแปรหรือเม็ดตะกอนประสม ทำให้เกิดมีลักษณะเป็นโครงสร้างยืดยาว โครงสร้างนี้มักวางตัวขนานกับริ้วขนาน และอาจใช้เป็นตัวชี้แนวริ้วขนานได้ มีความหมายเหมือนกับ pressure fringe, strain shadow และ stress shadow 

pressure solution; pressolution การละลายจากแรงดัน : ดู pressolution; pressure solution 

primary ปฐมภูมิ : ๑. กล่าวถึงแร่ เนื้อและโครงสร้างของหินที่เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงเวลาที่หินนั้นเกิด มีความหมายตรงข้ามกับ secondary ๒. กล่าวถึงแหล่งแร่ที่ไม่ถูกกระทบจากกระบวนการเพิ่มพูนยิ่งยวด ๓. กล่าวถึงโลหะที่ได้จากสินแร่ไม่ใช่จากเศษโลหะ ๔. กล่าวถึงระยะแรกเกิดของแนวชายทะเล ซึ่งยังไม่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยการ กระทำของคลื่น เช่น แนวชายทะเลที่เป็นผลจากลาวาหลากในสมัยปัจจุบัน

primary dip; initial dip; original dip มุมเทเดิม : ดู initial dip; original dip; primary dip 

primary mineral แร่ปฐมภูมิ : แร่ที่เกิดพร้อมกับหินที่ล้อมรอบหรือเกิดร่วมกันโดยกระบวนการเกิดหินอัคนี กระบวนการน้ำร้อน กระบวนการไอร้อน โดยแร่ปฐมภูมิจะมีองค์ประกอบและรูปร่างเหมือนเดิมตั้งแต่เกิด

primary recovery การผลิตขั้นปฐมภูมิ : การผลิตน้ำมันดิบที่สามารถผลิตได้ด้วยแรงขับในชั้นกักเก็บหรือสูบขึ้นมาโดยธรรมชาติ ไม่ใช้แรงอัดจากภายนอก

primary structure โครงสร้างปฐมภูมิ :๑. [หินตะกอน] ลักษณะโครงสร้างของหินตะกอนที่เกิดก่อนกระบวนการแข็งตัวเป็นหิน เช่น การวางชั้น รอยริ้วคลื่น ๒. [หินอัคนี] โครงสร้างในหินอัคนีที่เกิดพร้อมกับการเกิดหรือการดันตัวขึ้นมา ๖๗

ของหินหนืด ก่อนการแข็งตัวในช่วงสุดท้าย ตัวอย่างเช่น โครงสร้างรูปหมอนที่เกิดระหว่างการไหลทะลักของลาวา หรือลักษณะแนวชั้นที่เกิดในระหว่างการแข็งตัวของหินหนืด ๓. [หินแปร] โครงสร้างเดิมในหินแปรที่มีถิ่นกำเนิดในระดับลึกซึ่งเกิดก่อนการเปลี่ยนแปลงลักษณะและการปรับสมดุลใหม่เมื่อถูกแทรกตัวขึ้นมาสู่ระดับตื้นระหว่างกระบวนการก่อเทือกเขา ๔. [บรรพชีวินวิทยา] แวคิวโอลขนาดเล็ก หรือช่องว่างในสารเนื้อเจลหรือไคทินเทียม ซึ่งห่อหุ้มเป็นผนังของเซลล์รูปกรวยหรือรูปแตรของสัตว์เซลล์เดียวกลุ่มทินทินนิด ผนังเนื้อเจลหรือไคทินเทียมนี้เรียกว่า ลอริกา ดู secondary structure และ tertiary structure ประกอบ 

Priscoan พริสโคน : ช่วงเวลาที่เก่าแก่ที่สุดในตารางธรณีกาล ซึ่งมีช่วงเวลาตั้งแต่ประมาณ ๔,๗๐๐ ถึง ๔,๐๐๐ ล้านปี เป็นช่วงเวลาที่เชื่อว่าผิวของโลกอยู่ในสภาวะเหลวร้อนกำลังจะแข็งตัว กลายเป็นชั้นเปลือกโลก (crust) สถาบันทางธรณีวิทยาบางแห่ง เช่น USGS เรียกช่วงเวลาดังกล่าวนี้ว่า ฮาเดียน (Hadean)

prism ปริซึม : รูปทรงที่มี สาม สี่ หก แปด หรือ สิบสองหน้าขนานกับแกนเดียวกัน ตัดกันเป็นเหลี่ยม และเปิดเฉพาะหัวท้าย (รอพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป)

prismatic layer ชั้นแท่ง : ชั้นชั้นหนึ่งในมุกหรือไข่มุก ประกอบด้วยผลึกแร่อะราโกไนต์รูปแท่งขนาดจิ๋วเรียงตัวกัน โดยมีแกนยาวของผลึกตั้งฉากกับผิวหน้าของชั้นนั้น ดูรูปที่ conchiolin 

probable ore สินแร่ที่น่าจะเป็น : ๑. indicated ore ๒. แหล่งแร่ที่มีปริมาณสินแร่ใกล้เคียงต่อการพัฒนาได้ เพียงแต่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์

probable reserves ปริมาณสำรองเป็นไปได้ : ปริมาณสำรองที่ประมาณได้จากข้อมูลทางธรณีวิทยาและวิศวกรรม ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งมีความเชื่อมั่นและความเป็นไปได้ในการผลิตน้อยกว่าปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว คือมีความเชื่อมั่นร้อยละ ๔๐-๘๐ เนื่องจากกฎระเบียบต่าง ๆ หรือสภาพทางเศรษฐกิจ ๖๘

problematic fossil ซากดึกดำบรรพ์ปัญหา : วัตถุธรรมชาติ โครงสร้าง หรือรอยในหิน ซึ่งมีลักษณะคล้ายซากดึกดำบรรพ์ แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่ามีกำเนิดจากอินทรีย์สารหรือมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นใด ทำให้ไม่สามารถจัดเข้าในหมวดหมู่ทางอนุกรมวิธานได้ มีความหมายเหมือนกับ dubiofossil ความหมายที่ ๒ ดู pseudofossil ประกอบ 

producing horizon ชั้นผลิต : ดูคำอธิบายใน producing zone 

producing zone เขตชั้นผลิต : ชั้นหินทุกชั้นที่สามารถผลิตปิโตรเลียมได้เมื่อมีการเจาะทะลุผ่านลงไป คำนี้มักใช้ผิดความหมายกับ producing horizon ซึ่งหมายถึง ชั้นหินชั้นเดียวที่ผลิตปิโตรเลียมได้ ดู pay zone ประกอบ 

profile section ภาคตัดโพรไฟล์ : ดู profile ความหมายที่ ๑ 

profile ๑. โพรไฟล์ : ๑.๑ แผนภาพหรือแผนผังแสดงให้เห็นโครงแบบหรือความลาดของพื้นดินตามแนวเส้นที่ปรากฏบนระนาบตั้ง ซึ่งมักขยายมาตราส่วนตามแนวตั้งเพิ่มขึ้น มีความหมายเหมือนกับ profile section ดู line of section ประกอบ ๑.๒ กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เส้นกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงความโน้มถ่วงกับระยะทาง ๑.๓ ในการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน หมายถึง ข้อมูลที่กลุ่มของเครื่องรับคลื่นหลาย ๆ กลุ่มได้รับเมื่อจุดระเบิดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ๒. หน้าตัดข้าง : แผนภาพส่วนตัดในแนวดิ่งของภูมิประเทศ ดิน ระดับน้ำใต้ดิน หรือลำน้ำ เพื่อแสดงลักษณะจากบนสุดถึงล่างสุด

prograding shoreline แนวชายทะเลงอก : แนวชายทะเลที่งอกยื่นออกไปในทะเลซึ่งเกิดจากการทับถมหรือการสะสมของตะกอน ดู retrograding shoreline ประกอบ 

proration สัดส่วนการผลิต ๑. สัดส่วนของการผลิตปิโตรเลียมออกจำหน่ายในตลาดของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ยอมรับโดยองค์กรร่วมกัน เช่น กลุ่มโอเปก ๒. การกำกับการผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งสำรองโดยหน่วยงานของรัฐ ให้มีอัตราการผลิตในปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพของแหล่ง เพื่อให้สามารถผลิตปิโตรเลียม ๖๙

ขึ้นมาใช้ได้มากที่สุดและไม่ทำให้แหล่งปิโตรเลียมเสียหายเร็วเกินควร ในประเทศไทย หน่วยงานที่กำกับดูแลการผลิตคือ กรมทรัพยากรธรณี

prospect pit หลุมสำรวจ : หลุม ปล่อง หรืออุโมงค์ ที่ทำขึ้นในการสำรวจบริเวณที่มีแร่

prospect พื้นที่คาดหวัง : ๑. พื้นที่ที่มีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งแร่โดยการศึกษาจากข้อมูลการสำรวจขั้นต้น ๒. พื้นที่ที่จะสำรวจด้วยวิธีการสำรวจทางเทคนิคบางประการ เช่น การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ การสำรวจทางธรณีเคมี ๓. พื้นที่ที่มีความผิดปรกติทางธรณีวิทยาหรือมีค่าผิดปรกติทางธรณีฟิสิกส์ ที่มีการเสนอให้สำรวจเพิ่มเติม ๔. บางครั้งหมายถึงพื้นที่ที่ได้สำรวจด้วยวิธีการขั้นต้นแล้วแต่ยังมีข้อมูลหรือหลักฐานไม่พอที่จะบอกได้ว่ามีคุณค่าทางเศรษฐกิจ . [ปิโตรเลียม] บริเวณที่น่าจะมีศักยภาพการสะสมตัวของปิโตรเลียมสูงและมีข้อมูลมากเพียงพอต่อการกำหนดเป้าหมายในการเจาะ ซึ่งเมื่อพบปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์แล้วจะเลื่อนระดับเป็นแหล่งปิโตรเลียม ดู field ประกอบ 

prospecting การสำรวจ : exploration 

Proterozoic Eon บรมยุคโพรเทอโรโซอิก : บรมยุคปลายของช่วงเวลาก่อนยุคแคมเบรียน มีช่วงเวลาตั้งแต่ ๒๕,๐๐-๕๗๐ ล้านปีมาแล้ว ดู geologic time scale ประกอบ คำนี้ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

Proterozoic โพรเทอโรโซอิก : ๑. หน่วยย่อยของช่วงเวลาพรีแคมเบรียนอยู่ในช่วงพรีแคมเบรียนตอนปลาย มีความหมายเหมือนกับ Algonkian และ Agnotozoic ดู Archaeozoic ประกอบ ๒. ช่วงเวลาหรือชั้นหินที่มีอายุมากกว่ามหายุคพาลีโอโซอิก

Protochrodata โพรโทคอร์ดาตา : ชื่อไฟลัมย่อยของสัตว์กลุ่มที่มีแกนสันหลัง (notochord) ในบาง ช่วงของชีวิต โดยแกนสันหลังไม่พัฒนาเป็นโครงกระดูกหรือลำกระดูกสันหลัง (spinal column) สัตว์กลุ่มนี้จัดอยู่ระหว่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกับสัตว์มีกระดูกสันหลัง เดิมโพรโทคอร์ดาตาแบ่งออกเป็น ๒ ไฟลัมย่อย คือ ไฟลัมย่อยเฮมิคอร์ดาตา (subphylum Hemichordata) กับไฟลัมย่อยทูนิคาตา (subphylum Tunicata) ภายหลังได้จัดจำแนกใหม่โดยแยกไฟลัมย่อยทูนิคาตาไปอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตาและเปลี่ยนชื่อเป็นไฟลัมย่อย ๗๐

ยูโรคอร์ดาตา (subphylum Urochordata) แทน พร้อมยกไฟลัมย่อยเฮมิคอร์ดาตาเป็นไฟลัมเฮมิคอร์ดาตา ส่วนโพรโทคอร์ดาตาให้ไปเป็นไฟลัมย่อยในไฟลัมคอร์ดาตา โดยให้เป็นชื่อรวมไม่เป็นทางการของไฟลัมย่อยยูโรคอร์ดาตาและไฟลัมย่อยเซฟาโลคอร์ดาตา ดู Chordata ประกอบ 

protoconch เปลือกตัวอ่อน : 

๑. เปลือกซึ่งตัวอ่อนของหอยเซฟาโลพอดได้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรก เปลือกนี้อาจคงสภาพให้เห็นหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นคำนี้จึงมักหมายถึงห้องแรกสุดของเปลือกหอย เซฟาโลพอด

๒. เกลียวที่ปลายยอดของเปลือกหอยกาบเดี่ยวซึ่งตัวอ่อนของหอยพวกนี้ได้สร้างขึ้น เกลียวที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกนี้จะมีลักษณะผิวเรียบ

protodolomite โพรโทโดโลไมต์ : 

๑. ผลึกแคลเซียมแมกเนเซียมคาร์บอเนตหรือโดโลไมต์ที่มีโครงสร้างไม่เป็นระเบียบ มีไอออนโลหะเกิดในชั้นของผลึกเดียวกัน แทนที่จะเกิดสลับชั้นเหมือนกับที่เกิดในแร่โดโลไมต์ปรกติ ๒. วัสดุที่สังเคราะห์ที่เกิดจากการตกผลึกไม่สมบูรณ์ มีส่วนประกอบคล้ายแร่โดโลไมต์

proton-resonance magnetometer โปรตอน-เรโซแนนซ์แมกนิโทมิเตอร์ : เครื่องมือวัดความเข้มสนามแม่เหล็กรวมซึ่งอาศัยหลักการของนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์ ที่โปรตอนทำหน้าที่เป็นแท่งแม่เหล็กขนาดเล็กหมุนรอบแกนแม่เหล็กของตัวเอง เมื่อให้สนามแม่เหล็กจากภายนอกที่มีความเข้มสูง ๆ เข้าไปในแนวตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กรวมแล้วหยุดทันที โปรตอนจะค่อย ๆ ปรับตัวแล้วมีแนวทางการหมุนแกว่งแบบลูกข่าง รอบแนวแกนสนามแม่เหล็กรวมด้วยความถี่ของการหมุนแกว่งที่เรียกว่า ความถี่ลาร์มอร์ ซึ่งเป็นปฏิภาคกับความเข้มสนามแม่เหล็กรวม การวัดความถี่ลาร์มอร์ของโปรตอนออกมาทำให้สามารถหาขนาดความเข้มสนามแม่เหล็กรวมได้ เครื่องมือนี้ใช้วัดความเข้มสนามแม่เหล็กได้ทั้งบนบก ในทะเลและทางอากาศ โดยวัดได้ละเอียดถึง ๑ แกมมา บางแบบวัดได้ถึง ๐.๕ แกมมา

protoquartzite หินโพรโทควอร์ตไซต์ : หินทรายชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเม็ดที่ขนาดใกล้เคียงกัน แต่ไม่มีความกลมมนเหมือนในหินออร์โทควอร์ตไซต์ ตามองค์ประกอบจัดเป็นหินทรายเนื้อเศษหินที่มีส่วนประกอบอยู่ระหว่างหินซับเกรย์แวก (subgraywacke) กับหินออร์โทค ๗๑

วอร์ตไซต์ มักพบมีรูปร่างแบบแนวชั้นทราย ดู orthoquartzite และ shoestring sand ประกอบ 

prototype ต้นแบบเดิม : รูปแบบดั้งเดิมที่เก่าแก่ที่สุดของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในสายพันธุ์นั้น ๆ ซึ่งบรรพบุรุษได้ถ่ายทอดไปยังลูกหลานรุ่นต่อมา

proved area พื้นที่พิสูจน์ทราบ : จำนวนพื้นที่โดยรวมบนพื้นผิวซึ่งครอบคลุมบริเวณที่กำหนดว่ามีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วจากการเจาะสำรวจ ทั้งนี้อาจรวมพื้นที่ผิวที่รวบรวมเอาขอบเขตของพื้นที่ที่มีการพิสูจน์แบบคาดคะเนของแหล่งข้างเคียงด้วย เช่น แหล่งปิโตรเลียม แหล่งแร่

proved developed reserves ปริมาณสำรองผลิตได้ : ปริมาณทรัพยากรที่สามารถผลิตได้จากหลุมเจาะที่มีอยู่แล้ว โดยวิธีการและเครื่องมือที่มีอยู่

proved ore; positive ore สินแร่พิสูจน์แล้ว : ดู positive ore; proved ore 

proved reserves ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว : ปริมาณทรัพยากรที่ประมาณได้จากข้อมูลทางธรณีวิทยาและวิศวกรรม ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ด้วยความเชื่อมั่นมากกว่าร้อยละ ๘๐ ว่าจะสามารถผลิตได้ในอนาคตจากแหล่งที่สำรวจพบแล้วภายใต้สภาพทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในเวลานั้น

proved undeveloped reserves ปริมาณสำรองผลิตได้ในอนาคต : ปริมาณทรัพยากรที่สามารถผลิตได้จากหลุมเจาะในอนาคต หรือจากการเจาะหลุมเก่าลึกลงไป หรือ โดยใช้เทคนิค การเพิ่มผลผลิต

proven reserves ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว : ทรัพยากรที่ได้ค้นพบและได้รับการพิจารณากำหนดว่านำขึ้นมาใช้ได้ แต่ยังคงอยู่ในแหล่งนั้น

provenance แหล่งต้นกำเนิด : สถานที่กำเนิดซึ่งเป็นที่มาขององค์ประกอบในหินตะกอนหรือชุดลักษณ์ของหินตะกอน อาจหมายถึงหินในพื้นที่นั้น

provincial series หินสมัยระดับท้องถิ่น : ชุดของชั้นหินซึ่งเป็นที่รู้จักกันในบริเวณเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ที่นำไปสู่การแบ่งเวลาส่วนใหญ่ภายในยุค

provincial species ชนิดระดับท้องถิ่น : ชนิดที่จำกัดขอบเขตในแดนภูมิศาสตร์ หรือนิเวศวิทยา ๗๒

proximal -ส่วนต้น : ๑. คำที่ใช้กับแหล่งสินแร่ที่อยู่ใกล้กับภูเขาไฟต้นกำเนิด ๒. คำที่ใช้กับแหล่งสะสมตะกอนที่เกิดใกล้กับแหล่งกำเนิด ทำให้ ตะกอนในแหล่งสะสมมีขนาดเม็ดหยาบ ๓. ส่วนของสิ่งมีชีวิตซึ่งจัดเป็นส่วนที่อยู่ใกล้หรืออยู่ถัดจากจุดเริ่มต้นหรือศูนย์กลางการเจริญเติบโตของโครงร่างสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ มากที่สุด ดู distal ประกอบ 

pseudobreecia หินกรวดเหลี่ยมเทียม : หินปูนที่ถูกแทนที่ด้วยแร่โดโลไมต์บางส่วน มีลักษณะลายพร้อยคล้ายหินกรวดเหลี่ยม หรือมีพื้นผิวที่ผุสลายดูคล้ายกับชิ้นส่วนแตกหัก อันเป็นผลจากมวลแร่แคลไซต์เนื้อหยาบเจริญเติบโตตกผลึกใหม่เป็นหย่อม ๆ ในโคลนเนื้อปูนสีอ่อนกว่าและถูกแปรเปลี่ยนน้อย

pseudoconglomerate หินกรวดมนเทียม : หินที่มีลักษณะคล้ายหินชั้นหรือหินตะกอนพวกหินกรวดมน เช่น หินกรวดมนที่ถูกบดอัดหรือมวลรวมของหินมนใหญ่เนื่องจากการผุสลายตัวอยู่กับที่แบบทรงกลม

pseudo cross-bedding ชั้นเฉียงระดับเทียม : 

๑. ชั้นเอียงที่เกิดจากการสะสมตะกอนตามแนวที่รอยริ้วคลื่นเคลื่อนที่ไป และมีลักษณะเฉพาะของชั้นลาดแนวดินดอนที่มีมุมเทไปทางเดียวกับกระแสน้ำ

๒. โครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายชั้นเฉียงระดับ เกิดจากการเลื่อนไถลและเลื่อนถล่มลงมาของมวลตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวเป็นหิน

pseudofossil ซากดึกดำบรรพ์เทียม : วัตถุธรรมชาติ โครงสร้าง หรือแร่ ซึ่งมีกำเนิดจากอนินทรีย์สาร แต่อาจคล้ายกับซากดึกดำบรรพ์หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ ดู problematic fossil ประกอบ 

pseudomorph สัณฐานเทียม : รูปร่างภายนอกของผลึกแร่ที่ยังคงสภาพเดิม โดยโครงสร้างภายในหรือองค์ประกอบทางเคมีของผลึกแร่นั้นถูกแปรเปลี่ยนไป เช่น ไพไรต์ (FeS2) อาจเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีและโครงสร้างเป็นไลมอไนต์ (FeO.OH.nH2O) แต่ยังคงรักษารูปร่างภายนอกของไพไรต์ไว้ โดยทั่วไปสัณฐานเทียมยังมีความหมายครอบคลุมถึงลักษณะการเกิดต่าง ๆ ดังนี้ ๑. การแทนที่โดยไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมี เช่น ซิลิกาเข้าไปแทนที่เส้นใยไม้เป็นไม้กลายเป็นหิน ควอตซ์แทนที่โครซิโดไลต์ ดู silicified wood; agatized wood; opalized wood; petrified wood; woodstone ประกอบ ๗๓

๒. การเกิดแร่รอบพื้นผิวแร่อื่น เช่น ควอตซ์เกิดรอบผลึกฟลูออไรต์ ต่อมาฟลูออไรต์จะละลายไปเหลือแต่รูปพิมพ์อยู่ภายในควอตซ์ ๓. การแปรเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีบางส่วน เช่น แอนไฮไดรต์ (CaSO4) เปลี่ยนเป็นยิปซัม (CaSO42H2O) กาลีนา (PbS) เปลี่ยนเป็นแองกลีไซต์ (PbSO4) ไพไรต์ (FeS2) เปลี่ยนเป็นไฮดรัสออกไซด์ เช่น ไลมอไนต์ (FeO.OH.nH2O)

pseudomorphism ภาวะสัณฐานเทียม : ๑. (ผลิกศาสตร์) การที่รูปร่างของแร่ชนิดหนึ่งมีรูปผลึกภายนอกเป็นของแร่อีกชนิดหนึ่ง ๒. ดูคำอธิบายใน pseudomorph 

pseudo ripple mark รอยริ้วคลื่นเทียม : โครงสร้างในหินที่มีลักษณะคล้ายรอยริ้วคลื่น เกิดจากการแปรเปลี่ยนลักษณะของหิน ไม่ได้เกิดจากกระแสน้ำหรือคลื่นบนพื้นท้องน้ำ แต่เกิดจากแรงดันด้านข้างเนื่องจากการเลื่อนไถล หรือจากการแปรสัณฐานที่เกิดขึ้นในบริเวณแคบ ๆ เฉพาะถิ่น

pterosaur เทโรซอร์ : สัตว์เลื้อยคลานโบราณ จัดอยู่ในอันดับเทโรซอเรีย ( order Pterosauria) ซึ่งได้พัฒนารูปร่างจนสามารถบินได้ มีลักษณะเฉพาะคือ นิ้วที่สี่มีขนาดยาวมากใช้สำหรับพยุงแผ่นปีก มีลักษณะเป็นแผ่นหนังเชื่อมต่อระหว่างนิ้วกับด้านข้างของลำตัว ขาคู่หลังมีขนาดลดลง มีช่วงอายุตั้งแต่ยุคไทรแอสซิกตอนปลายถึงยุคครีเทเชียสตอนปลาย มีความหมายเหมือนกับ pterodactyl ความหมายที่ ๒ 

pterodactyl เทโรแดกทิล : 

๑. สัตว์เลื้อยคลานบินได้ จัดอยู่ในอันดับย่อยเทโรแดกทิลอยเดีย (suborder Pterodactyloidea) ของอันดับเทโรซอเรีย (order Pterosauria) มีลักษณะที่ก้าวหน้ากว่าอันดันย่อยแรมโพไรน์คอยเดีย (suborder Rhamphorhynchoidea) เทโรแดกทิลมีลกษณะเฉพาะคือ มีหางที่ลดขนาดลง ฟันลดขนาดลงจนหายไป แต่รูปร่างจะมีขนาดใหญ่ขึ้น มีช่วงอายุยุคจูแรสซิกตอนกลางถึงยุคครีเทเชียสตอนปลาย

๒. คำทั่วไป ใช้เรียกสัตว์ในกลุ่มเทโรซอร์

pteropod เทโรพอด : สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหอยกาบเดี่ยว จัดอยู่ในอันดับเทโรโพดา (order Pteropoda) อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม มีทั้งพวกที่สร้างเปลือกด้วยสารอะราโกไนต์มีลักษณะเป็นแบบกรวยยาว และพวกที่ไม่สร้างเปลือก อวัยวะที่ใช้เดินพัฒนาเป็นครีบแบบปีกเพื่อใช้ช่วยในการว่ายน้ำ ดูรูปประกอบ ๗๔

Pterosauria เทโรซอเรีย : ชื่ออันดับของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่บินได้ แบ่งออกเป็น ๒ อันดับย่อยคือ อันดับย่อยเทโรแดกทิลอยเดีย (suborder Pterodactyloidea) ซึ่งมีลักษณะที่ก้าวหน้ากว่า และอันดับย่อยแรมโพไรน์คอยเดีย (suborder Rhamphorhynchoidea) ซึ่งมีลักษณะที่โบราณกว่า

pumping test; aquifer test การทดสอบชั้นน้ำ : ดู aquifer test; pumping test 

pycnocline ลาดความหนาแน่น : ๑. ระดับที่อัตราการเปลี่ยนความหนาแน่นของชั้นน้ำในมหาสมุทรลดลงอย่างฉับพลันระหว่างชั้นน้ำส่วนบนกับชั้นน้ำส่วนล่าง ดู thermocline ประกอบ ๒. ชั้นน้ำในมหาสมุทร ซึ่งความหนาแน่นของน้ำได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตามระดับความลึก รอสอบถาม นายสมชาย พุ่มอิ่ม เรื่องอัตราการเปลี่ยนความหนาแน่น ในข้อ ๑ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับรูป ถ้าพิจารณาจากรูปน่าจะ “เพิ่มขึ้น” จึงสงสัยว่าเป็น “อัตราการเปลี่ยน” หรือ “การเปลี่ยน”

pygidium ส่วนหาง : ส่วนท้ายที่ต่อจากลำตัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะพวกไทรโลไบต์ ประกอบด้วยปล้องหลาย ๆ ปล้องที่เชื่อมต่อกัน ดูรูปประกอบ 

pyramid พีระมิด : รูปทรงที่มี สาม สี่ หก แปด หรือ สิบสองหน้าที่ไม่ขนานกันพบกันที่จุดหนึ่ง

pyrolusite ไพโรลูไซต์ : แร่แมงกานีสชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี MnO2 ผลึกอยู่ในระบบสองแกนเท่า โดยทั่วไปพบเป็นมวลเม็ดรวมเป็นก้อน รูปไต เส้นรูปรัศมี สีดำ เป็นสินแร่แมงกานีสที่สำคัญที่สุด ใช้ทำถ่านไฟฉาย

pyrope ไพโรป : แร่การ์เนตชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี [Mg, Fe]3Al2 [SiO4]3 ความแข็ง ๗ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๕๑ สีแดงเข้มเกือบดำ หรือสีแดงเพลิง ถ้าโปร่งใสใช้เป็นรัตนชาติ ดู garnet ประกอบ 

pyroxenoid แร่คล้ายไพรอกซีน : แร่ที่มีองค์ประกอบคล้ายไพรอกซีน แต่โครงสร้างอยู่ในระบบสามแกนเอียง มีซิลิกาทรงสี่หน้าต่อกันเป็นวง ตัวอย่างเช่น โวลลาสโทไนต์ โรโดไลต์ เพกโทไลต์ ๗๕

pyrrhotite พิร์โรไทต์ : แร่ในกลุ่มซัลไฟด์ มีสูตรเคมี Fe 1- xS ผลึกอยู่ในระบบสามแกนราบ สีน้ำตาลถึงบรอนซ์ ความถ่วงจำเพาะ ๔.๖ ความแข็ง ๓.๕-๔.๕ บางทีแสดงสมบัติแม่เหล็กอย่างอ่อน มักพบเป็นมวลเม็ด ผงสีดำ วาวแบบโลหะ พบทั่วไปในหินอัคนีและแร่อุณหภูมิสูง มักเกิดร่วมกับแร่ไพไรต์และซัลไฟด์ชนิดอื่น ในประเทศไทยพบที่จังหวัดพิษณุโลก

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

quarry เหมืองหิน : บริเวณพื้นที่หรือหน้างานของเหมืองเปิดที่มีการนำแร่ หิน ดิน ทราย ออกมาใช้ประโยชน์ โดยการขุดเจาะ ระเบิด หรือตัก

quarternary system ระบบจัตรุภาค : ระบบที่มี ๔ องค์ประกอบ เช่น ระบบ CaO-MgO-FeO-SiO2 หรือ Sn-Ag-Cu-Ni

quartz ควอตซ์, แร่เขี้ยวหนุมาน : แร่ประกอบหินที่สำคัญ มีสูตรเคมี SiO2 ผลึกอยู่ในระบบสามแกนราบ ความถ่วงจำเพาะ ๒.๖๕ ความแข็ง ๗ ขูดกระจกเป็นรอย วาวแบบแก้ว รอยแตกแบบก้นหอย มีสีต่างๆ ที่พบทั่วไปคือใส ไม่มีสี สีขาวน้ำนม และสีเทา ควอตซ์แบ่งออกเป็น ๒ ชนิดใหญ่ ๆ คือ

๑. พวกที่เกิดเป็นผลึกหรือมีผลึกหยาบ ผลึกมักจะเกิดเป็นแท่งยาวปลายแหลมทั้งหัวและท้าย ลักษณะคล้ายเขี้ยวหนุมาน เรียกแร่เขี้ยวหนุมานก็ได้ บางครั้งก็เกิดเป็นผลึกแฝด มีลักษณะโปร่งใสถึงโปร่งแสง มีสีต่าง ๆ มีชื่อเรียกดังนี้ หินแก้วผลึกไม่มีสี ใสเหมือนแก้ว แอมิทิสต์มีสีม่วง ควอตซ์สีกุหลาบมีสีชมพู ควอตซ์สีควันไฟมีสีเทาควันไฟอมเหลือง มอเรียนมีสีดำ ซิทรินมีสีเหลืองทองหรือเหลืองมะนาว ควอตซ์สีน้ำนมมีสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม แก้วตาเสือมีสีตั้งแต่สีเหลืองแกมน้ำตาลแดงและสีน้ำเงิน และอาจเป็นสีแดงเข้มก็ได้ มีลักษณะเหลือบแพรวพราวเป็นแถบคล้ายไหม พวกควอตซ์ที่มีสารฝังใน เช่น อะเวนจูรีนมีสีเทาเหลืองหรือน้ำตาลแดงเป็นประกายระยิบระยับ และควอตซ์เนื้อรูไทล์มีผลึกของแร่รูไทล์อยู่ข้างใน

๒. พวกที่เกิดเป็นจุลผลึกหรือผลึกเล็กละเอียด แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบเนื้อเสี้ยน เรียกคาลซิโดนี มีชื่อเรียกตามสี เช่น คาร์เนเลียน ซาร์ด คริโซเพรส อะเกต โอนิกซ์ และแบบเนื้อเม็ด เช่น หินเหล็กไฟ เชิร์ต แจสเพอร์ เพรส

ควอตซ์เป็นแร่ที่พบทั่วไปในหินชนิดต่าง ๆ พบในหินอัคนี เป็นแร่หลักในหินแกรนิต หินเพกมาไทต์ เป็นแร่กากในสายแร่น้ำร้อนที่มีโลหะ พบในหินแปรพวกหินควอร์ตไซต์ ในหินตะกอนพวกหินทราย ประโยชน์ของควอตซ์ใช้เป็นรัตนชาติ หินก่อสร้าง ทำครกบด ผงขัดสี อุตสาหกรรมแก้วและอิฐซิลิกา เป็นต้น ดู low quartz ประกอบ ๗๖

quebrada เกบราดา : ทางน้ำหรือโกรกธารที่แห้งในฤดูแล้ง แต่ในฤดูฝนมีน้ำมาก กระแสน้ำไหลแรงด้วยความเร็วสูง quebrada มาจากภาษาสเปน เป็นคำที่ใช้กันทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

race . ร่องน้ำเชี่ยว : ช่องแคบ ๆ หรือร่องน้ำแคบ ๆ ทำให้น้ำที่ไหลผ่านร่องนี้มีความเร็วสูงมาก

๒. กระแสน้ำเชี่ยว : กระแสน้ำไหลเชี่ยวและรุนแรงผ่านช่องแคบ ๆ หรือร่องน้ำ แคบ ๆ ส่วนใหญ่ใช้กับกระแสน้ำขึ้นลง

๓. ลำราง : รางน้ำที่ขุดไว้เพื่อนำน้ำไปยังโรงแต่งแร่ หรือพื้นที่เกษตรกรรม

๔. เผ่าพันธุ์, ชาติพันธุ์ : กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่มีความแตกต่างไม่เด่นชัดพอที่จะแบ่งเป็นชนิดหรือชนิดย่อย

radar เรดาร์ : อุปกรณ์สำหรับตรวจหาทางอิเล็กทรอนิกส์ ใช้หาตำแหน่งหรือวัตถุที่อยู่ไกลออกไป โดยการวัดความต่างกันของเวลาเดินทางของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงมากที่ส่งออกไปจากเครื่องส่ง และเกิดการสะท้อนกลับจากวัตถุ ทำให้หาระยะทาง ทิศทาง ความสูง และลักษณะอื่น ๆ ของวัตถุนั้นได้ ความมืดไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้เรดาร์ แต่ความชื้นที่เกิดจากหมอก หิมะ ฝน หรือเมฆหนา อาจทำให้พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลดลงหรือเกิดการสะท้อนกลับขึ้นได้

radial dipole-dipole array แถวลำดับสองขั้วคู่แนวรัศมี : รูปแบบการจัดวางขั้วไฟฟ้า โดยมีขั้วกระแสไฟฟ้าวางตัวในแนวหนึ่ง และขั้วศักย์ไฟฟ้าอยู่ห่างออกไปในแนวรัศมี โดยเส้นลากต่อระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้าทำมุม กับเส้นลากต่อระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้าตรงจุดกึ่งกลาง และจุดกึ่งกลางของแนวเส้นทั้งสองห่างกันเป็นระยะทาง r

radial symmetry สมมาตรแบบรัศมี : ลักษณะสมมาตรแบบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ซึ่งแบ่งออกได้เป็นส่วน ๆ ที่เหมือนกันโดยรอบจุดหรือรอบแกน เช่น โครงร่างของปลาดาวหรือกลีบดอกไม้

radiation damage การทำลายโดยการแผ่รังสี : การสลายตัวของนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีในแลตทิซของผลึกหรือแก้ว อันเนื่องมาจากอนุภาคที่แตกตัวหรืออนุภาคแอลฟาเคลื่อนที่ผ่าน ทำให้เกิดการทำลายเป็นรอยแบ่งแยกในผลึกหรือแก้วนั้น ความหนาแน่นของรอยแบ่งแยกนี้สามารถนำไปหาอายุของวัสดุได้ โดยวิธีกัดผิวด้วยน้ำยาเคมี ดู fission track ประกอบ ๗๗

radiation ๑. การแผ่รังสี : การที่นิวเคลียสของอะตอมหรือวัสดุปล่อยอนุภาคที่มีขนาดเล็กหรือรังสีออกมา โดยมีพลังงานออกมาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น พลังงานแสงสว่าง พลังงานความร้อน หรือทั้ง ๒ อย่าง ดู radioactivity ประกอบ ๒. การแผ่กระจาย : การกระจายของกลุ่มสิ่งมีชีวิตไปสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้วิวัฒนาการของโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไป

radioactive age determination; radiometric dating การหาอายุจากกัมมันตรังสี : ดู radiometric dating; radioactive age determination 

radioactive decay การสลายของกัมมันตรังสี : การสลายตัวโดยการแผ่รังสี ทำให้ธาตุที่ไม่เสถียรเปลี่ยนไปเป็นอีกธาตุหนึ่งที่เสถียรกว่า เช่น ยูเรเนียม ๒๓๘ สลายตัวเป็นตะกั่ว ๒๓๖ ผลของการสลายตัวทำให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา หรือรังสีแกมมา และมีพลังงานความร้อนเกิดขึ้นด้วย ใช้ในการหาอายุหินโดยการเทียบส่วนธาตุคู่ เช่น อาร์กอน ๔๐ /โพแทสเซียม ๔๐ สทรอนเซียม ๘๗/รูบิเดียม ๘๗ อาร์กอน ๔๐/อาร์กอน ๓๙

radioactive element ธาตุกัมมันตรังสี : ธาตุที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุอื่นด้วยตัวเองในธรรมชาติ โดยการปล่อยอนุภาคไฟฟ้าออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม สำหรับบางธาตุ เช่น ยูเรเนียม ไอโซโทปที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่รู้จักล้วนแต่เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี ส่วนธาตุอื่น ๆ เช่น โพแทสเซียมมีหลายไอโซโทปแต่มีไอโซโทปเดียวเท่านั้นที่เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี ไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุส่วนใหญ่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ในห้องปฏิบัติการ มีบางธาตุเท่านั้นที่เป็นกัมมันตรังสีในธรรมชาติ

radioactive series อนุกรมกัมมันตรังสี : การเรียงตามลำดับของนิวไคลด์ ซึ่งแต่ละตัวจะกลายเป็นตัวถัดไปในอนุกรมเมื่อเกิดการสลายตัวทางกัมมันตรังสีจนได้นิวไคลด์ที่เสถียร เกิดขึ้น ในธรรมชาติมีอนุกรมกัมมันตรังสีที่สำคัญ ๓ อนุกรม คือ อนุกรมแอกทิเนียม อนุกรมทอเรียม และอนุกรมยูเรเนียม

radioactivity กัมมันตรังสี : การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมาซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมีพลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน ๗๘

radioactivity log ผลบันทึกทางกัมมันตรังสี : ผลบันทึกค่าการหยั่งธรณีหลุมเจาะวิธีหนึ่ง เป็นเส้นแสดงการเปลี่ยนแปลงค่าที่ได้จากปฏิกิริยาในนิวเคลียสของอะตอมที่เกิดจากพฤติกรรมของรังสีแกมมาและนิวตรอน เป็นการบันทึกผลตอบสนองที่ได้รับจากหินบริเวณใกล้หลุมเจาะเมื่อส่งรังสีแกมมาหรือนิวตรอนจากต้นกำเนิดผ่านชั้นหิน ใช้สำหรับบันทึกค่าได้ทั้งในหลุมเจาะที่ลงท่อกรุ ในหลุมเปลือย และในหลุมที่มีของไหล ใช้ประโยชน์ในการบ่งชี้ชนิดของหิน ความหนาแน่น ความพรุน และของไหลที่อยู่ในชั้นหินนั้น มีความหมายเหมือนกับ nuclear log ดู density log และ neutron log; neutron-activation log ประกอบ 

radiogenic -ผลิตผลกัมมันตรังสี : คำที่ใช้เกี่ยวกับผลิตผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการกัมมันตรังสี ตัวอย่างเช่น ตะกั่ว ความร้อน

radiogenic isotope; radioisotope ไอโซโทปกัมมันตรังสี : ไอโซโทปของธาตุหนึ่ง ๆ ที่ได้จากการสลายตัวทางกัมมันตรังสี ไอโซโทปนี้อาจมีหรือไม่มีกัมมันตรังสีก็ได้

radiolarian เรดิโอลาเรียน : สัตว์เซลเดียวพวกแอกทิโนพอด จัดอยู่ในชั้นย่อยเรดิโอลาเรีย (subclass Radiolarion) มีลักษณะเฉพาะคือ โครงร่างเป็นสารเนิ้อซิลิกา อาศัยอยู่ในทะเล มีช่วงอายุตั้งแต่ยุคแคมเบรียนจนถึงปัจจุบัน ดู radiolarion ooze ประกอบ 

radiometric dating; radioactive age determination การหาอายุจากกัมมันตรังสี : การคำนวณหาอายุทางธรณีวิทยาเป็นปีจากปริมาณที่เหลืออยู่ของธาตุกัมมันตรังสีวงจรสั้น เช่น คาร์บอน-๑๔ หรือปริมาณธาตุกัมมันตรังสีวงจรยาวบวกกับปริมาณของธาตุลูกที่เกิดจากการสลายตัวของธาตุแม่ เช่น โพแทสเซียม-๔๐/อาร์กอน-๔๐ การหาอายุจากกัมมันตรังสีจะได้อายุสัมบูรณ์ วิธีการคำนวณนี้ประยุกต์กับทุกวิธีการหาอายุโดยการสลายตัวของไอโซโทปกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดู absolute age; isotopic age; radiometric age ประกอบ 

rafting การเคลื่อนที่เป็นแพ : การที่หินหรือดินเคลื่อนที่หรือลอยเป็นแพโดยติดไปกับธารน้ำแข็ง พืช หรือวัสดุลอยน้ำต่าง ๆ

rain wash; surface wash; unconcentrated wash การชะล้างแบบแผ่ซ่าน : ดู sheet erosion; sheet flood erosion ๗๙

raise ปล่องเจาะขึ้น : ปล่องที่เจาะในแนวตั้งหรือแนวเอียงที่สร้างขึ้นโดยการเจาะระเบิดจากอุโมงค์เบื้องล่างขึ้นสู่ผิวพื้นหรือเพื่อเชื่อมอุโมงค์ระดับล่างกับอุโมงค์ระดับบนของเหมือง เพื่อการสำรวจติดตามสายแร่

raise beach หาดยกระดับ : หาดโบราณหรือหาดเดิมที่ปรากฏอยู่เหนือชายหาดทะเลในปัจจุบัน อาจเนื่องมาจากการยกตัวของแผ่นดินบริเวณนั้น หรือการที่ระดับน้ำทะเลลดต่ำลง ดู marine และ terrace standline ประกอบ 

raise reef พืดหินเหนือน้ำ : พืดหินอินทรีย์ที่อยู่สูงกว่าหรือโผล่พ้นระดับน้ำทะเล อาจเกิดจากถูกยกตัวสูงขึ้นหรือเนื่องจากระดับน้ำทะเลลดลง

rake มุมเรก : มุมเอียงทางโครงสร้างธรณีวิทยาที่เกิดจากเส้นแนวนอนทำกับเส้นใด ๆ บนระนาบ เช่น รอยครูดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน จากรูป ก มุม ABH คือมุมเรก และมุม CBH คือมุมพลันจ์ ของเส้น BH ที่อยู่บนระนาบ ABGH หรือในรูป ข มุม bac คอมุมเรก มีความหมายเหมือนกับ pitch ดู plunge ประกอบ 

ramp anticline; snake’s head fold ชั้นหินโค้งรูปหัวงู : ชั้นหินโค้งรูปประทุนที่เกิดจากการเคลื่อนที่ขึ้นไปตามส่วนลาดของระนาบรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ

ramp ส่วนลาด : ๑. ส่วนลาดชันของรอยเลื่อนย้อนโดยเฉพาะบริเวณที่เป็นชั้นหินของรอยเลื่อนย้อนหรือ decollement เปลี่ยนจากลำดับชั้นหินด้านล่างเป็นชั้นหินด้านบน ๒. การเคลื่อนของหิมะที่ทำให้เกิดแนวลาดเอียงระหว่างแผ่นดินหรือแผ่นน้ำแข็งกับทะเล หรือไหล่น้ำแข็ง ๓. ทางลาดเอียงสำหรับการขนส่ง(แร่)ที่เชื่อมต่อระหว่างพื้น ๒ ระดับ (รอที่ประชุมพิจารณา)

rampart สันกำแพง, ปราการ : ๑. แนวสันแคบ ๆ สูงประมาณ ๑-๒ เมตร ประกอบด้วยกรวดขนาดต่าง ๆ และเศษ หักๆ ของพวกปะการัง มักปกคลุมด้วยเนินทราย เกิดจากการกระทำของคลื่นที่ซัดขอบด้านนอกของพืดหินใต้น้ำซึ่งมีลักษณะแบนราบ ๒. ขอบหินที่มีลักษณะครึ่งวงกลมหรือวงแหวนรอบยอดภูเขาไฟ ซึ่งประกอบด้วย หินตะกอนภูเขาไฟ ๓. ดูคำอธิบายใน lake rampart ๘๐

rapids แก่ง : ส่วนหนึ่งของแม่น้ำที่มีหินโผล่ หรือมีก้อนหินมนใหญ่ขวางทางน้ำ ทำให้ทางน้ำแคบเข้าและระดับของท้องน้ำเปลี่ยนแปลง เป็นเหตุให้กระแสน้ำไหลเชี่ยวและมีความเร็วสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณข้างเคียง เช่น แก่งสะพือ จังหวัดอุบลราชธานี แก่งคุดคู้ จังหวัดเลย

ravine ช่องเขากร่อน : ช่องเขาแคบและเล็กที่เกิดจากการกร่อนโดยสายน้ำ มีขนาดใหญ่กว่าร่องธารแต่เล็กกว่าหุบเขา เช่น ลำธารที่ไหลลงมาตามความลาดชันของภูเขาแล้วกร่อนหินจนเป็นช่องเป็นหุบเล็ก ๆ

ray ๑. รังสี : 

๑.๑ เวกเตอร์ในแนวตั้งฉากกับพื้นผิวคลื่น เป็นการบอกทิศทางและบางครั้งบอกความเร็วในการเดินทางของคลื่นด้วย

๑.๒ แถบสว่างหรือเส้นสว่างเป็นแนวยาวซึ่งสังเกตเห็นได้บนพื้นผิวดวงจันทร์ และปรากฏว่าเปล่งแสงออกมาจากหลุมลึกในดวงจันทร์ บางขณะมีความยาวเป็นร้อยกิโลเมตร

๒. รัศมี : 

๒.๑ ส่วนของร่างกายของเอไคโนเดิร์มซึ่งมีสมมาตรแบบรัศมี รวมทั้งโครงสร้าง ต่าง ๆ ที่ร่างกายส่วนนั้นได้สร้างขึ้น

๒.๒ ในพวกปลากระดูกแข็ง หมายถึงก้างภายในครีบหรือก้านครีบ ใช้สำหรับพยุงครีบ

๓. ปลากระเบน : ปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวแบนมาก มีเหงือก ๕ คู่ หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มีกมีผิวหยาบหรือขรุขระ

range finder กล้องวัดระยะ : เครื่องมือหรืออุปกรณ์คล้ายกล้อง ใช้สำหรับหาระยะทางจากจุดหนึ่ง ไปยังจุดอื่นที่ไม่มีเครื่องมืออยู่

reach รีช

๑. ส่วนของลำน้ำในแม่น้ำที่มีลักษณะเหมือนกันตลอดทั้งแนวการไหล ความลาดชัน และความลึก เช่น ลำน้ำแนวตรงที่อยู่ระหว่างทางน้ำโค้งตวัด หรือลำน้ำที่อยู่ระหว่างฝายกั้นน้ำในแม่น้ำลำคลอง ๘๑

๒. ส่วนของน้ำทะเลที่ไหลรุกเข้าไปในแผ่นดิน หรืออ่าวแคบ ๆ หรือชะวากทะเลที่เว้าเป็นทางยาวเข้าไปในแผ่นดิน

reaction border; reaction rim ขอบปฏิกิริยา : โซนของแร่ชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ล้อมแร่อีกชนิดหนึ่งเป็นวงรอบหรืออยู่ตรงบริเวณสัมผัสของแร่ ๒ ชนิด โซนของแร่นี้เกิดจากสารละลายทำปฏิกิริยากับแร่ที่เกิดอยู่ก่อนตามขอบของแร่นั้นแล้วเกิดเป็นแร่ใหม่ตรงขอบของแร่เดิม มีความหมายเหมือนกับ rim ๓ 

realgar รีอัลการ์ : แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยสารหนูและกำมะถัน มีสูตรเคมี AsS รูปผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง ลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้นหรือยาว เป็นเม็ด หรือเป็นก้อนอัดแน่น อ่อนนุ่ม มีค่าความแข็ง ๑.๕–๒ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๕ สีแดงหรือแดงอมส้ม เป็นมัน จึงเรียกว่า หรดาลแดง เมื่อถูกแสงสว่างจะค่อย ๆ กลายสภาพเป็นสีส้มอ่อน หากถูกแสงจากไฟฟ้าผลึกจะแตกสลายกลายเป็นผงสีส้มอ่อนเช่นกัน ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำกระสุนปืนส่องวิถี ใช้ในงานความร้อนสูง เช่น ดอกไม้ไฟ พลุสี ใช้เป็นสารฆ่าสัตว์แทะ เช่น หนู และใช้เป็นสีทา

recapitulation theory ทฤษฎีซ้ำรอยวิวัฒนาการ : ทฤษฎีทางชีววิทยา ซึ่งกล่าวว่า การที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งได้พัฒนาผ่านขั้นตอนที่สืบเนื่องต่อ ๆ กันมาเหมือนดังเช่นที่บรรพบุรุษได้เคยพัฒนาผ่านมา ดังนั้น วิวัฒนาการชาติพันธุ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ จึงเห็นได้จากการเจริญเฉพาะตัวของลูกหลานแต่ละตัวในกลุ่มเดียวกัน มีความหมายเหมือนกับ Haeckel ‘s Law ดู palingenesis ประกอบ 

recession; retreat; retrogression การถอยกลับ

๑. การถอยกลับเข้าไปในพื้นที่ซึ่งเคยเคลื่อนที่ผ่านมา เช่น แนวการถอยกลับของธารน้ำแข็ง

๒. การกัดเซาะแนวชายฝั่งจากน้ำทะเลทำให้แนวชายฝั่งถอยกลับเข้าไปในแผ่นดิน หรือผลที่ได้จากการถอยเข้าไปในแผ่นดินของชายฝั่งในช่วงเวลาหนึ่ง

๓. การถอยกลับออกไปของน้ำทะเลเมื่อระดับน้ำทะเลลดลง

๔. หน้าผาหินที่ถูกกร่อนเข้าไปเรื่อย ๆ โดยมุมความลาดเอียงของหน้าผาไม่เปลี่ยนแปลง

recharge; intake การเติมน้ำ : กระบวนการเติมน้ำหรือเพิ่มน้ำเข้าไปในเขตอิ่มน้ำ เช่น ในชั้นหินอุ้มน้ำ ๘๒

reconnaissance การสำรวจขั้นต้น : การสำรวจทั่วไปเกี่ยวกับลักษณะที่สำคัญของบริเวณหนึ่ง ๆ เป็นงานสำรวจเบื้องต้นก่อนการสำรวจที่ละเอียดกว่า อาจดำเนินการในสนามหรือสำนักงานก็ได้ขึ้นกับข้อมูลที่มีอยู่ ในด้านธรณีวิทยา หมายถึงการพิสูจน์หาพื้นที่ศักยภาพของแหล่งทรัพยากรธรณี โดยอาศัยข้อมูลเบื้องต้นจากผลการศึกษาทางธรณีวิทยาบริเวณไพศาล ธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ และวิธีการทางอ้อมอื่น ๆ การตรวจสอบในสนามเบื้องต้น ตลอดจนการอนุมานหรือประมาณค่าแนวโน้มทางธรณีวิทยา การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์หาพื้นที่ที่มีแหล่งทรัพยากรธรณีซึ่งควรค่าแก่การสืบหาต่อไป

recoverable reserves ปริมาณสำรองที่สามารถผลิตได้ : ปริมาณปิโตรเลียมที่ผลิตขึ้นมาได้ในเชิงพาณิชย์จากหลุมเจาะเดียวหรือหลายหลุมภายในระยะเวลาหนึ่ง ดู ultimate recovery ประกอบ 

recovery ๑. ผลผลิตได้ : ในการทำเหมืองหมายถึง จำนวนร้อยละส่วนประกอบมีค่าที่สามารถผลิตได้จากสินแร่ เช่น ผลผลิตถ่านหินจากชั้นถ่านหิน แบไรต์จากแหล่งสินแร่แบไรต์ ๒. การคืนสภาพ : ๒.๑ ระดับความสูงคงตัวของน้ำในบ่อน้ำบาดาลหรือบ่อใกล้เคียงหลังหยุดการสูบน้ำ ๒.๒ ในวิชาศิลาวิทยาโครงสร้าง หมายถึงกระบวนการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะจนทำให้เม็ดแร่จัดเรียงตัวใหม่ภายหลังจากความเครียดถูกปลดปล่อย เช่น การตกผลึกใหม่เป็นผลให้วัสดุที่ไม่มีความเครียดก่อกำเนิด ๓. การตรวจซ้ำ : การสอบทานตำแหน่งหรือเครื่องหมายบอกตำแหน่งถาวรที่แท้จริง ซึ่งเป็นเครื่องหมายดั้งเดิม ตำแหน่งเดิม พรรณนารูปลักษณะว่าถูกต้อง

recovery factor สัดส่วนการผลิต : ปริมาณปิโตรเลียมที่ผลิตขึ้นมาได้เป็นร้อยละของปริมาณปิโตรเลียมทั้งหมดที่มีอยู่ในแหล่งกักเก็บ ซึ่งขึ้นอยู่กับความพรุน ความฟ่าม ชนิดของแรงขับในแหล่งกักเก็บ เป็นต้น

recovery reserve ________ : 

rectangular array แถวลำดับรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก : การจัดวางกลุ่มจีโอโฟนหรือกลุ่มต้นกำเนิดคลื่นตามแนวเส้นสำรวจและในแนวขนานกับแนวเส้นสำรวจ บางครั้งจำนวนจีโอโฟนที่วางนั้นมากกว่า ๑๐๐ ตัว ๘๓

recurved spit; hook spit สันดอนจะงอยโค้งกลับ : สันดอนจะงอยที่ปลายด้านนอกที่ยื่นอยู่ในทะเลหันวกกลับเข้ามาทางแผ่นดิน เกิดเนื่องจากกระแสน้ำหรือคลื่นที่หักเหไปจากทิศทางปรกติ หรือเกิดจากแรงกระทำของกระแสน้ำที่สวนกัน ๒ ทิศทางหรือมากกว่า มีความหมายเหมือนกับ hook ๒….

red coral ปะการังแดง : (มอบนางเบ็ญจา เสกธีระ เขียนคำอธิบาย)

red mud โคลนแดง

๑. โคลนที่มีต้นกำเนิดจากแผ่นดิน ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตถึงร้อยละ ๒๕ มีสีแดงเนื่องจากเหล็กออกไซด์ ส่วนมากพบอยู่ในพื้นทะเลใกล้ทะเลทรายและปากแม่น้ำใหญ่

๒. ตะกอนในบ่อน้ำเสียซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการแต่งแร่บ็อกไซต์

reduction รีดักชัน : ๑. (เคมี) กระบวนการลดออกซิเจนจากสารประกอบ เช่น แร่ฮีมาไทต์ (Fe2O3) ถูกรีดิวซ์เป็นโลหะเหล็ก (Fe) หรือ การลดเวเลนซีบวกหรือเพิ่มเวเลนซีลบ เช่น CO3+ ถูกรีดิวซ์เป็น CO2+ และ Cl2 ถูกรีดิวซ์เป็น Clหรือ การที่อะตอมหรือไอออนได้รับอิเล็กตรอนเพิ่ม ๒. (ธรณีฟิสิกส์) การปรับแก้ค่าความโน้มถ่วงของโลกที่ได้จากการวัด ๓. (ธรณีสัณฐานวิทยา) กระบวนการที่ทำให้ผิวดินต่ำลงโดยการกร่อน

reef breccia กรวดเหลี่ยมพืดหิน : หินกรวดเหลี่ยมที่เกิดจากการสะสมและการจับตัวแข็งของเศษชิ้นหินปูนที่แตกหักมาจากพืดหินใต้น้ำโดยการกระทำของคลื่นหรือน้ำขึ้นน้ำลง

reef complex พืดหินซับซ้อน : มวลหินที่ประกอบด้วยพืดหินใต้น้ำ ส่วนที่แตกหักจากการกระทำของคลื่น ส่วนของพืดหินทั้งส่วนหน้า ส่วนหลัง และส่วนกลางซึ่งล้อมด้วยตะกอนในแอ่งด้านที่เข้าหาทะเล และตะกอนในลากูนด้านที่เข้าหาแผ่นดิน

reef core แกนพืดหิน : ส่วนภายในของพืดหินใต้น้ำที่อยู่ตรงกลางซึ่งเป็นหินเดิมที่ให้ปะการังก่อตัวขึ้น ณ ที่นั้น

reef crest ยอดพืดหิน : ส่วนของพืดหินที่อยู่สูงที่สุดระหว่างพืดหินราบกับพืดหินส่วนหน้า ซึ่งเป็นส่วนที่ปะการังเจริญเติบโต ๘๔

reef flank ขอบพืดหิน : ส่วนของพืดหินใต้น้ำที่ล้อมรอบขยายออกด้านข้างหรือทับอยู่บนแกนพืดหิน ซึ่งมักประกอบด้วยชั้นของกรวดเหลี่ยมพืดหินที่แตกหัก และมีมุมเอียงเทออกจากแกนพืดหิน ขอบพืดหินมักมีลักษณะแคบยาว ซึ่งขึ้นอยู่กับแรงกระทำทางชีวะ และทางกายภาพ

reef flat พืดหินราบ : แนวพืดหินลักษณะราบที่ประกอบด้วยหินปะการังที่ตายแล้ว เศษปะการัง และปะการังขนาดเม็ดทราย โดยทั่วไปเมื่อน้ำลงพื้นที่นี้จะแห้งและจะโผล่ให้เห็นเป็นส่วนยอดของพืดหินเหนือแนวน้ำลง

reef front พืดหินส่วนหน้า : ส่วนของพืดหินที่ลาดเข้าหาทะเลอยู่ระหว่างยอดพืดหินกับหน้าพืดหิน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยซากปะการังและเศษหินที่ร่วงหล่นลงมา

reef knoll เนินพืดหิน : ๑. เนินหินชีวภาพหรือพืดหินปะการังดึกดำบรรพ์ซึ่งปัจจุบันปรากฏให้เห็นเป็นโคกขนาดเล็กโผล่ถึงความสูง ๑๐๐ เมตร จากพื้นท้องทะเล เป็นรูปกรวยกลมหรือเกือบกลม โดยทั่วไปมักล้อมรอบด้วยหินตะกอน เช่น หินทราย หินดินดาน ๒. พืดหินใต้น้ำที่ปรากฏให้เห็นเป็นเนินเตี้ยในปัจจุบัน

reef patch หย่อมพืดหิน : พืดหินปะการังที่เจริญเติบโตเป็นอิสระบนไหล่ทวีป ซึ่งมีความลึกน้อยกว่า ๗๐ เมตร มักเกิดในทะเลสาบ หลังเทือกปะการังสันดอน หรือปะการังวงแหวนขนาดของหย่อมพืดหินอาจกว้างใหญ่เป็นกิโลเมตร เช่น ที่เป็นอาณานิคมเดี่ยวขนาดใหญ่ ดู reef knoll, shoal reef และ patch reef ประกอบ 

reef rock หินพืดหิน : มวลหินที่มีความคงทนสูง ไม่แสดงชั้น ประกอบด้วยซากปะการังส่วนใหญ่ปนกับกรวด ทรายเนื้อปูน และประสานด้วยคาร์บอเนต ดู biolithite ประกอบ 

reef ๑. หินพืด(ใต้น้ำ), หินโสโครก : ๒. ทางแร่ 

reentrant -ซ้ำรอยเว้า : 

๑. คำที่ใช้กับการเคลื่อนเข้ามากระทบตรงที่เดิมหลาย ๆ ครั้ง เช่น มุมซ้ำรอยที่เกิดจากคลื่นเคลื่อนเข้าไปกระทบแนวชายฝั่งซ้ำที่เดิม หรือมุมที่เกิดเว้าอยู่บนหน้าผลึกแฝด ๒. คำที่ใช้กับเนินที่มีลักษณะเว้าเข้าไปในชายฝั่งทะเล และอาจมีทางน้ำระหว่างเนินที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลนั้น ๘๕

reference locality ที่ตั้งอ้างอิง : พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งหน้าตัดอ้างอิงของชั้นหินปรากฏอยู่ ที่ตั้งอ้างอิงกำหนดขึ้นเพื่อใช้เสริมกับที่ตั้งแบบฉบับ ดู type locality ประกอบ 

reference section หน้าตัดอ้างอิง : หน้าตัดของชั้นหินซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อเสริมกับชั้นหินแบบฉบับหรือใช้แทนที่เมื่อสูญเสียชั้นหินแบบฉบับ และใช้เป็นมาตรฐานสำหรับเทียบสัมพันธ์ในภาพตั้งลำดับชั้นหิน ตัวอย่างหน้าตัดอ้างอิงของชั้นหินในประเทศไทย ได้แก่ ชั้นหินริมทางหลวงหมายเลข ๒ (มิตรภาพ) ตอนสระบุรี-นครราชสีมา ระหว่างเขื่อนลำตะคองกับถนนต่างระดับที่สีคิ้ว จัดเป็นหน้าตัดอ้างอิงของชั้นหินแบบฉบับหมวดหินเสาขัว ซึ่งมีที่ตั้งแบบฉบับอยู่ที่ห้วยเสาขัว ดู standard section ประกอบ 

reflectance อัตราสะท้อน : สัดส่วนของพลังงานที่สะท้อนกลับต่อพลังงานที่ตกกระทบวัตถุ

reflected wave คลื่นสะท้อน : คลื่นไหวสะเทือนซึ่งสะท้อนที่รอยสัมผัสระหว่างตัวกลางที่มีสมบัติความยืดหยุ่นต่างกัน

reflection การสะท้อน : การที่คลื่นตกกระทบพื้นผิวแล้วสะท้อนกลับไปยังตัวกลางเดิม ในการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน ลักษณะการสะท้อนของคลื่นจะปรากฏบนแถบบันทึกซึ่งบอกให้ทราบว่าเป็นส่วนของพลังงานที่เกิดจากการสะท้อน ดู law of reflection และ total reflection ประกอบ 

reflection coefficient สัมประสิทธิ์การสะท้อน : อัตราส่วนระหว่างแอมพลิจูดของคลื่นสะท้อนกับคลื่นตกกระทบ สัมประสิทธิ์การสะท้อนกำลังสองมีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างพลังงานสะท้อนกลับกับพลังงานที่ตกกระทบ

reflection shooting; reflection survey การสำรวจคลื่นสะท้อน : ดู reflection survey; reflection shooting 

reflection survey; reflection shooting การสำรวจคลื่นสะท้อน : การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนเพื่อหาโครงสร้างทางธรณีวิทยา ความแตกต่างของชุดหินและลำดับชั้นหินโดยใช้คลื่นสะท้อน เป็นการวัดเวลาการเดินทางของคลื่นไหวสะเทือนจากต้นกำเนิดซึ่งส่งจากผิวดินลงไปตกกระทบรอยสัมผัสระหว่างตัวกลาง ๒ ชนิด ซึ่งมีความเร็วคลื่นต่างกัน แล้วสะท้อนกลับสู่เครื่องรับที่ผิวดินเพื่อหาความลึก มุมเท และแนวระดับของรอยสัมผัสระหว่างตัวกลาง ๘๖

reflector ชั้นสะท้อน : พื้นผิวสัมผัสระหว่างตัวกลาง ๒ ชนิด ซึ่งมีสมบัติแตกต่างกันที่ทำให้เกิดการสะท้อนของคลื่นเสียง คลื่นแสง หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ในกรณีการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ เมื่อคลื่นเสียงจากต้นกำเนิดคลื่นตกกระทบพื้นผิวสัมผัสระหว่างตัวกลาง ๒ ชั้น ที่มีความเร็วคลื่นเสียงต่างกัน จะทำให้เกิดการสะท้อนกลับไปเข้าเครื่องรับคลื่นเสียงซึ่งอยู่ที่ผิวดิน โดยพื้นผิวสัมผัสอาจอยู่ระหว่างหินต่างชนิดกันหรืออยู่ในชั้นหินชนิดเดียวกันแต่มีสารละลายต่างชนิดกันบรรจุอยู่ เช่น พื้นผิวสัมผัสระหว่างชั้นน้ำกับชั้นปิโตรเลียมในแหล่งกักเก็บ ดังรูป

reflux การไหลกลับ : ลักษณะการไหลย้อนกลับของน้ำเค็มที่มีความเข้มข้นสูงผ่านท้องน้ำหรือข้ามพนังกั้น (barrier sill) ของแอ่งเกลือระเหย เพราะน้ำเค็มในแอ่งอาจมีสารละลายแมกนีเซียมที่เข้มข้นกว่าน้ำเค็มปรกติ และเชื่อกันว่าการไหลกลับนี้เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดแร่โดโลไมต์บางชั้นแทรกอยู่ในลำดับชั้นของแอ่งหินคาร์บอเนต

refraction การหักเห : การเบี่ยงเบนรังสีของแสงหรือพลังงานรูปอื่น เช่น คลื่นไหวสะเทือน ซึ่งเดินทางผ่านจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งที่มีความหนาแน่นต่างกัน และทำให้มีการเปลี่ยนแปลงความเร็วเกิดขึ้น

refraction survey; refraction shooting การสำรวจคลื่นหักเห : การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนโดยใช้คลื่นนำ วัตถุประสงค์ของการสำรวจ เพื่อต้องการหาความลึกจากผิวดินถึงรอยสัมผัสระหว่างตัวกลางที่มีความเร็วต่างกัน ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดการหักเหของคลื่นไหวสะเทือน นอกจากนี้ ยังสามารถสำรวจหามวลสารที่มีความเร็วสูงที่เกิดอยู่ใต้ผิวดิน เช่น โดมเกลือ

refraction shooting; refraction survey การสำรวจคลื่นหักเห : ดู refraction survey; refraction shooting 

refractometer มาตรดรรชนีหักเห : เครื่องมือสำหรับใช้ตรวจสอบค่าดรรชนีหักเหของสาร ใช้ได้ทั้งของเหลวและของแข็ง นิยมใช้ในการหาชนิดแร่ รัตนชาติ เป็นต้น

refractor ชั้นหักเห : ผิวสัมผัสระหว่างตัวกลาง ๒ ชั้นที่มีความเร็วคลื่นเสียงต่างกัน ชั้นบนความเร็วคลื่นน้อยกว่าชั้นล่าง เมื่อคลื่นเสียงตกกระทบผิวสัมผัสด้วยมุมวิกฤต ทำให้คลื่นเสียงเดินทางไปตามแนวของผิวสัมผัสนั้นแล้วหักกลับด้วยมุมวิกฤตเข้าหาเครื่องรับคลื่นเสียงซึ่งอยู่ที่ผิวดิน ๘๗

refractory วัสดุทนไฟ : วัสดุประเภทอนินทรีย์พวกดิน หิน แร่ธาตุ ที่หลอมตัวได้ยากในอุณหภูมิสูง ทนความร้อนสูง เช่น อิฐทนไฟ

refractory ore สินแร่ทนไฟ : สินแร่ที่มีความทนต่อความร้อนและปฏิกิริยาเคมีที่อุณภูมิสูง

regenerated crystal ผลึกเติบใหญ่ : ผลึกขนาดใหญ่ที่เกิดจากเม็ดแร่ขนาดเล็กที่มีอยู่เดิมขยายขนาดโตขึ้นเนื่องจากการเกิดผลึกใหม่ภายในมวลของวัสดุที่ถูกบดอัด เช่น ควอตซ์หรือเฟลด์สปาร์ขนาดใหญ่ในเนื้อพื้นของแร่เม็ดขนาดเล็กกว่าที่ถูกบดอัดในหินไมโลไนต์

regime ระบบเฉพาะ : รูปแบบที่มีการเกิดหรือการกระทำอย่างเป็นระบบและเป็นที่รับรู้ได้ทั่วไป เช่น ระบบเฉพาะของการตกตะกอน

regimen ระบอบ : 

๑. ลักษณะเฉพาะของการไหลของน้ำในลำธาร เช่น ความเร็ว ปริมาตร การเปลี่ยนร่องธาร ความสามารถในการนำพาตะกอน ดู regime ประกอบ 

๒. ปริมาณของน้ำทั้งหมดที่เกี่ยวกับพื้นที่รับน้ำและการกระทำของน้ำ ซึ่งหาได้จากการวัดปริมาณน้ำฝน การกักเก็บน้ำผิวดินและใต้ดิน และการคายระเหย

๓. การวิเคราะห์ปริมาณน้ำทั้งหมดในทะเลสาบในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง นิยมวัดเป็นปี ดู regime ประกอบ 

regional gravity ความถ่วงบริเวณไพศาล : (รอเขียนอธิบาย)

regression reef พืดหินใต้น้ำถดถอย : ชุดของพืดหินใต้น้ำและเนินหินชีวภาพที่วางตัวซ้อนทับอยู่เหนือตะกอนทะเลลึกขณะที่มีการยกตัวของแผ่นดิน หรือขณะที่มีการลดระดับของน้ำทะเลและมักเกิดขนานกับชายฝั่ง

regression การถดถอย : ๑. การถอยห่างของทะเลจากแผ่นดิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงจากสภาพนอกชายฝั่งทะเลน้ำลึกเป็นใกล้ชายฝั่งทะน้ำตื้น หรือการเคลื่อนที่ของรอยต่อระหว่างการทับถมตัวของตะกอนจากพื้นดินและตะกอนจากทะเลเข้าสู่จุดศูนย์กลางของแอ่งทะเล ๒. สมมุติฐานการย้อนกลับของทิศทางวิวัฒนาการ ซึ่งในบางครั้งใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางบรรพชีวิน ได้แก่ การสูญพันธุ์ของ graptolites ๓. แนวโน้มทางพันธุกรรมที่แสดงให้เห็นในรุ่นลูกจากลักษณะที่ได้รับการ ๘๘

ถ่ายทอด โดยกลับกลายเป็นลักษณะที่ธรรมดากว่าลักษณะที่เจริญแล้วหรือมีความพิเศษเฉพาะของรุ่นพ่อแม่

regressive reef พืดหินถดถอย : พืดหินหรือเนินหินชีวภาพใต้น้ำที่อยู่ใกล้ ๆ ชายฝั่ง ซึ่งเกิดอยู่บนชั้นหินที่ตกตะกอนในแอ่ง ในขณะที่พื้นดินยกตัว หรือน้ำทะเลมีระดับลดลง พืดหินนี้มักขนานกับแนวชายฝั่ง ดู transgressive reef ประกอบ 

regressive seadiment ตะกอนถดถอย : ตะกอนที่สะสมตัวขณะที่น้ำทะเลลดลง หรือขณะที่แผ่นดินรุกล้ำเข้าไปในทะเล

relative humidity ความชื้นสัมพัทธ์ : อัตราส่วนเป็นร้อยละของปริมาณไอน้ำที่แท้จริงในอากาศกับปริมาณของไอน้ำอิ่มตัวในอากาศปริมาตรหนึ่งที่อุณหภูมิเดียวกัน

relative permeability สภาพให้ซึมได้สัมพัทธ์ : อัตราส่วนระหว่างสภาพให้ซึมได้ยังผลของของไหลที่ไม่อิ่มตัว กับสภาพให้ซึมได้ของของไหลเดียวกันที่อิ่มตัวเต็มที่ มีพิสัยตั้งแต่ศูนย์เมื่อมีความอิ่มตัวน้อยถึงหนึ่งเมื่อมีความอิ่มตัวเต็มที่ ดู absolute permeability และ effective permeability ประกอบ 

relic ๑. ส่วนที่เหลือ : ๑.๑ ภูมิลักษณ์ที่เหลืออยู่หลังจากการกร่อนหรือการสลายตัว เช่น เขาโดดเกาะหินโด่ง สะพานหินธรรมชาติ ๑.๒ ส่วนของแร่ หรือลักษณะของหินหรือแร่เดิมที่ยังคงสภาพอยู่ภายหลังการเปลี่ยนสภาพ ทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการกำเนิดของหินหรือแร่นั้น เช่น แร่ไลมอไนต์หรือข้าวตอกพระร่วงที่ยังคงรูปลูกบาศก์หรือรูปลูกเต๋าของแร่ไพไรต์ หินแปรที่แสดงลักษณะเนื้อดอก แสดงถึงการแปรสภาพมาจากหินอัคนี ส่วนของแร่คาลโคไพไรต์ที่ยังคงเหลือให้เห็นในพื้นแร่คาลโคไซต์ที่เข้าแทนที่แร่คาลโคไพไรต์นั้น ๒. ร่องรอย : โครงร่างหรือรูปร่างเดิมของชิ้นส่วน (particle) ในหินชั้นหรือหินตะกอนที่เกิดจากการนำพามาสะสมตัวบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น ร่องรอยของโครงกระดูกในหินปูน ดู saprolite ประกอบ 

relict -ส่วนเหลือค้าง : 

๑. ภูมิลักษณ์ คำที่ใช้กับลักษณะหรือแบบรูปต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกที่ยังคงเหลืออยู่ หลังจากส่วนอื่นในบริเวณนั้นหายไป ๘๙

๒. แร่และหิน คำที่ใช้กับเนื้อแร่หรือโครงสร้างดั้งเดิมที่ยังคงเหลืออยู่หลังจากส่วนอื่น ๆ ถูกแทนที่หมด หรือหมายถึงคำที่ใช้กับเนื้อหินเดิมที่ยังคงเหลืออยู่หลังจากถูกแปรสภาพ

๓. หินแปร คำที่ใช้กับแร่ โครงสร้าง หรือลักษณะรูปร่างของหินเดิมที่คงอยู่ในหินที่เกิดใหม่ แม้ว่ากระบวนการกระทำดูเหมือนสามารถทำลายลักษณะรูปดั้งเดิมได้ก็ตาม

relict permafrost ชั้นดินเยือกแข็งเหลือค้าง : ชั้นดินเยือกแข็งที่เกิดขึ้นในอดีต และในปัจจุบันยังพบเหลือค้างอยู่ ณ ที่ซึ่งไม่สามารถเกิดชั้นดินชนิดนี้ได้

relict texture เนื้อเดิมเหลือค้าง : ในแหล่งแร่หมายถึง เนื้อหินหรือแร่ดั้งเดิมที่ยังคงปรากฏอยู่ หลังจากถูกแทนที่เพียงบางส่วนหรือแทนที่ทั้งหมด

relief map แผนที่ความสูงต่ำ : แผนที่แสดงลักษณะทรวดทรงและความสูงต่ำของพื้นผิว ซึ่งแสดงด้วยเส้นชั้นความสูง เส้นชั้นความลึก เส้นลาดเขา เงา หรือแถบสี เช่น แผนที่ความสูงต่ำของผิวโลก

relief ความสูงต่ำ : ๑. ลักษณะทางกายภาพของพื้นผิวโลกซึ่งเป็นภูเขาและหุบเขา ที่ราบกับที่ราบสูง หรือเป็นภูมิทัศน์ทั่วไป ๒. ความแตกต่างกันในด้านรูปร่างลักษณะของผิวโลกซึ่งมีความสูงต่ำไม่เท่ากัน ๓. ลักษณะพื้นผิวที่ขรุขระหรือแสดงความสูงต่ำของผลึกแร่ในแผ่นตัดบางที่ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ลักษณะนี้เกิดจากการหักเหของแสงจากแร่หรือตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างค่าดรรชนีหักเหของแร่กับตัวกลาง หากระดับความสูงต่ำต่างกันสูง แสดงว่ามีความแตกต่างระหว่างดรรชนีหักเหของแร่กับตัวกลางที่เป็นสารเชื่อมประสานสูง ระดับความสูงต่ำจะมีค่าเป็นบวก หากดรรชนีหักเหของแร่มีค่ามากกว่าตัวกลาง ซึ่งจะเห็นพื้นผิวแร่สูงกว่าผิวตัวกลาง ในทางกลับกัน ระดับความสูงต่ำจะมีค่าเป็นลบ หากดรรชนีหักเหของแร่มีค่าน้อยกว่าตัวกลาง ซึ่งจะเห็นพื้นผิวของแร่ต่ำกว่าพื้นผิวของตัวกลางในแผ่นตัดบางนั้น ดู becke line ประกอบ ๔. พิสัยของค่าทางธรณีฟิสิกส์ในพื้นที่ที่มีค่าผิดปรกติหรือในพื้นที่ที่มีความสูงต่ำของค่าทางธรณีฟิสิกส์ เช่น ความสูงต่ำของค่าความโน้มถ่วงที่เป็นขนาดของความโน้มถ่วงแตกต่างจากค่าปรกติ ๙๐

remaining reserves ปริมาณสำรองคงเหลือ : ทรัพยากรที่คาดว่าจะสามารถผลิตได้นับตั้งแต่เวลาที่กำหนดเป็นต้นไป โดยเทคโนโลยีและสภาพเศรษฐกิจที่คาดการณ์ได้ ณ เวลานั้น

repregressive metamorphism; retrograde metamorphism การแปรสภาพย้อน : ดู retrograde metamorphism; reprogressive metamorphism 

representative fraction (RF) มาตราส่วนแบบเศษส่วน (อาร์เอฟ) : มาตราส่วนของแผนที่ในรูปของตัวเลขเศษส่วนที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของความยาวตามแนวเส้นบนแผนที่กับระยะทางจริงในพื้นที่ซึ่งมีหน่วยการวัดหน่วยเดียวกัน ตัวอย่างเช่น แผนที่มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐ แสดงว่าหนึ่งหน่วยบนแผนที่เท่ากับ ๕๐,๐๐๐ หน่วยบนพื้นที่จริง

reptile สัตว์เลื้อยคลาน : สัตว์มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในชั้นเรปทิเลีย (class Reptelia) เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจได้ด้วยปอด ตลอดขั้นตอนของการพัฒนา วางไข่บนบก ไข่มีปริมาณไข่แดงมาก มีช่วงอายุตั้งแต่ยุคเพนซิลวาเนียนจนถึงปัจจุบัน

resedimentation การตกตะกอนใหม่ : 

๑. การสะสมตะกอนใหม่อีกครั้งของวัตถุที่มาจากหินตะกอนที่มีอยู่เดิม

๒. การสะสมตะกอนแบบพอกพูนที่เกิดจากการตกตะกอนของสารละลายหรือการตกตะกอนที่นำพามาโดยเชิงกล (ทางกายภาพ) ในช่องว่างหรือโพรง เช่น การสะสมตะกอนจากสารละลายหรืออนุภาคหินปูน

๓. การสะสมตะกอนที่เกิดขึ้นใต้น้ำทั้งที่เกิดจากการพัดพาสิ่งถับทมเดิมลงมาตามความลาดเอียงของท้องทะเลหรือจากแรงโน้มถ่วงของโลก

resequent stream ธารน้ำซ้ำแนว : ธารน้ำซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง มีแนวและทิศทางการไหลเช่นเดียวกับธารน้ำตามแนวเทที่มีอยู่เดิม แต่อยู่ในระดับต่ำกว่า โดยทั่วไปเป็นสาขาหนึ่งของธารน้ำที่ไหลไปตามแนวระดับของชั้นหิน ดู consequent stream; dip stream 

reserves ปริมาณสำรอง : ปริมาณแร่ เชื้อเพลิง หรือหินที่มีการสะสมตัวตามธรรมชาติและสามารถพัฒนามาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ โดยมีความเหมาะสมทางด้านเศรษฐ-ศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สังคม กฎและระเบียบ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

reservoir drive mechanism; drive mechanism; reservoir drive แรงขับแหล่งกักเก็บ : ดู drive mechanism;reservoir drive; reservoir drive mechanism ๙๑

reservoir energy แรงขับแหล่งกักเก็บ : พลังงานหรือแรงดันในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม ดู gas-cap drive, dissolved-gas drive, water drive ประกอบ 

reservoir pressure ความดันแหล่งกักเก็บ : ความดันในชั้นหินที่มีปิโตรเลียมสะสมอยู่ เนื่องจากความหนาของชั้นหินปิดทับ การเปลี่ยนรูปของโครงสร้างชั้นหิน น้ำหนักของเหลว เป็นต้น

reservoir แหล่งกักเก็บ : ๑. ชั้นหินใต้ดินที่มีความพรุนและเนื้อฟ่ามที่มีปิโตรเลียมสะสมอยู่ ดู pool และreservoir rock ประกอบ ๒. ดู aquifer; water horizon ๓. หนองบึงหรือทะเลสาบตามธรรมชาติหรือที่สร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำ

residual gravityความถ่วงส่วนเหลือ : ค่าความถ่วงที่เหลืออยู่หลังจากได้หักลบความถ่วงบริเวณไพศาลออกจากค่าที่วัดได้แล้ว ความถ่วงส่วนเหลือมีค่าเพียงเล็กน้อย หรือเป็นองค์ประกอบของความผิดปรกติที่เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับสนามความถ่วงที่วัดได้

resin เรซิน : 

๑. ในความหมายเดิม หมายถึงผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลค่อนข้างสูงซึ่งขับออกมาจากพืชหรือต้นไม้โดยเฉพาะไม้ตระกูลสน เช่น ยางสน กำยาน แต่ปัจจุบันคำ “เรซิน” ใช้ในความหมายค่อนข้างกว้างและแตกต่างไปจากเดิมค่อนข้างมาก โดยหมายรวมถึงพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก สิ่งทอ สี สารเคลือบผิว นอกจากนี้คำว่า “เรซิน” ยังมักใช้ในความหมายเดียวกับพลาสติกที่อยู่ในรูปเป็นเม็ดด้วย

๒. สสารลักษณะแข็ง เปราะ โปร่งใสหรือโปร่งแสง เป็นยางไม้ที่มีลักษณะเยิ้มข้น ซึ่งพืชปัจจุบันหรือพืชดึกดำบรรพ์ผลิตขึ้น เมื่อสูญเสียน้ำมันระเหยและแข็งตัวจะกลายเป็นเรซิน สีเหลืองถึงน้ำตาล ลักษณะมันวาว ติดไฟได้ ละลายในอีเทอร์และสารละลายอินทรีย์อื่น ๆ แต่ไม่ละลายน้ำ ดู amber ประกอบ 

resistivity สภาพต้านทาน : สมบัติของวัสดุซึ่งต้านทานการไหลของไฟฟ้า เป็นอัตราส่วนระหว่างความเข้มสนามไฟฟ้ากับความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า ส่วนกลับของสภาพต้านทาน คือ สภาพนำ (ยังไม่ยุติ ให้เพิ่มคำอธิบายทางความร้อนเป็นข้อ ๒) ๙๒

resistivity log ผลบันทึกสภาพต้านทาน : ผลบันทึกการหยั่งธรณีในหลุมเจาะโดยการวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าแบบธรรมดา ได้จากการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านขั้วกระแสไฟฟ้าเข้าไปในชั้นหิน แล้ววัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้า ๒ ขั้ว นำไปคำนวณหาสภาพต้านทานไฟฟ้าของชั้นหิน การวัดสภาพต้านทานไฟฟ้าให้ข้อมูลความแตกต่างกันระหว่างชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมซึ่งให้ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าสูง กับชั้นหินกักเก็บน้ำซึ่งมีสภาพต้านทานไฟฟ้าต่ำ เมื่อใช้ข้อมูลนี้ร่วมกับข้อมูลความพรุนของชั้นหินที่ได้จากการหยั่งธรณีแบบอื่น ๆ จะสามารถประเมินหาปริมาณของไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในแหล่งกักเก็บได้ค่อนข้างแม่นยำ

resistivity method วิธีสำรวจสภาพต้านทาน : วิธีการสำรวจธรณีฟิสิกส์ด้วยไฟฟ้า โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าลงใต้พื้นดินผ่านขั้วไฟฟ้าสองขั้ว วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้วไฟฟ้าอื่น อีกสองขั้วหรือมากกว่า

resistivity prospecting _______ :

resolution การแยก :ความสามารถในการวัดของเครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ หรือระบบการรับรู้ระยะไกล หรือเครื่องมืออื่น ๆ ในการแยกแยะจุดเป้าหมาย [แก้ไขในคำอธิบาย precision ให้สอดคล้องกันด้วย]

resources ทรัพยากร : ของแข็ง ของเหลว หรือแก๊สที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในชั้นเปลือกโลก ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะสกัดหรือนำขึ้นมาใช้อย่างคุ้มค่าทางเศรษฐกิจในขณะนั้น หรือในระยะเวลาหนึ่งในอนาคต มีความหมายเหมือนกับ mineral resources 

resurgence จุดธารผุด : มีความหมายเหมือนกับ rise ๑ ดูคำอธิบายใน subterranean cutoff 

retained water น้ำเหลือค้าง : น้ำที่ยังคงเหลืออยู่ตามช่องว่างในหินหรือดินหลังจากที่น้ำบางส่วนได้ถูกระบายออกไป

reticulate -ตาข่าย : ๑. คำที่ใช้กับสายแร่ที่มีลักษณะคล้ายตาข่าย ๒. เนื้อหินที่ผลึกบางส่วนแปรเปลี่ยนเป็นแร่ทุติยภูมิ มีลักษณะคล้ายตาข่าย ดู mesh texture ประกอบ ๓. ลักษณะตาข่ายที่ปรากฏบนโครงร่างของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ชั้นตาข่ายบนผิวของพวกฟอแรมินิเฟอรา ๙๓

retreat; recession; retrogression การถอยกลับ : ดู recession; retreat; retrogression 

retrogression ; recession; retreat การถอยกลับ : ดู recession; retreat; retrogression 

retrograde metamorphism; reprogressive metamorphism การแปรสภาพย้อน : การแปรสภาพแบบที่มีการแปรสภาพหลายครั้ง โดยพบแร่แปรสภาพขั้นต่ำซึ่งได้จากการแปรเปลี่ยนหรือสูญหายไปของแร่ที่เป็นสัญลักษณ์ของการแปรสภาพขั้นสูงกว่า สันนิษฐานว่าเป็นการจัดตัวใหม่ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางกายภาพในระบบ เช่น การลดอุณหภูมิ

retrograding shoreline แนวชายทะเลถอยกลับ : แนวชายทะเลที่ถอยร่นเข้าไปในแผ่นดินจากการกัดเซาะของคลื่นและน้ำทะเล ดู recession; retreat; retrogression ประกอบ 

reversal reversal; geomagnetic reversal การกลับขั้ว : การเปลี่ยนขั้วของสนามแม่เหล็กโลกจากขั้วที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้เกิดขึ้นหลายครั้งในอดีตของโลกที่ผ่านมา

reverse polarityสภาพขั้วผิดปรกติ : ๑. สภาพที่แนวเส้นแรงแม่เหล็กตกค้างทางธรรมชาติวางตัวตรงข้ามกับทิศทางการวางตัวของแนวเส้นแรงสนามแม่เหล็กโลกปัจจุบัน ๒. รูปแบบการวางตัวของเส้นแรงสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งทำให้ขั้วบวกแม่เหล็กโลกอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับขั้วโลกเหนือทางภูมิศาสตร์ ดู normal polarity ประกอบ 

RF (representative fraction) อาร์เอฟ (มาตราส่วนแบบเศษส่วน) : ดู representative fraction (RF) 

Rg wave คลื่นอาร์จี : คลื่นเรลีย์คาบสั้นความเร็วต่ำซึ่งเคลื่อนที่ไปเฉพาะบริเวณที่เป็นแผ่นดิน g หมายถึงบริเวณหินแกรนิต

rheid fold รอยคดโค้งไหล : รอยคดโค้งในชั้นหินที่มีการเปลี่ยนลักษณะโดยการไหลดูราวกับว่ามีสภาพเป็นของเหลว

rheid มวลไหล : ๑. สารที่เปลี่ยนลักษณะได้อย่างมาก เนื่องจากการไหลยืด ณ จุดต่ำกว่าจุดหลอมเหลวเมื่อได้รับแรงเค้น ซึ่งการเปลี่ยนลักษณะนี้จะเกิดได้มากกว่าการเปลี่ยนสารแบบยืดหยุ่นอย่างน้อย ๓ เท่า ในสภาวะเดียวกัน ๒. มวลหินที่แสดงโครงสร้างแบบไหล ๙๔

rheology วิทยากระแส, วิทยาการไหล : วิชาที่ศึกษาการเปลี่ยนลักษณะและการไหลของสาร

rheomorphism สภาพการไหล : กระบวนการที่หินเริ่มไหลและเปลี่ยนลักษณะในสภาพที่ยังหนืดอยู่ ซึ่งเป็นผลจากการหลอมบางส่วนเป็นอย่างน้อย และมักมีสารใหม่เข้าสู่ระบบด้วย

rhodochrosite โรโดโครไซต์ : แร่ในกลุ่มแคลไซต์ มีสูตรเคมี MnCO3 สีชมพูแดงกุหลาบ เหลือง น้ำตาล หรือเทา หากสัมผัสอากาศสักระยะหนึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีดำซึ่งเป็นสีของแร่แมงกานีสออกไซด์ ผลึกอยู่ในระบบสามแกนราบ มักเกิดเป็นแผ่น ๆ เกาะกันแน่นหรือเป็นมวลเม็ด ความถ่วงจำเพาะ ๓.๕-๓.๗ ความแข็ง ๓.๕-๔.๐ แนวแตกเรียบ ๓ แนว วาวคล้ายแก้ว โปร่งแสงถึงโปร่งใส มักเกิดในสายแร่น้ำร้อนร่วมกับสินแร่เงิน ตะกั่ว ทองแดง และแมงกานีสชนิดอื่น เป็นสินแร่รองของแมงกานีส ชนิดสีชมพูแดงกุหลาบใช้ทำเครื่องประดับ ในประเทศไทยพบที่จังหวัดเลย น่าน พิจิตร นราธิวาส และสุราษฎร์ธานี rhodochrosite มาจากคำในภาษากรีก ๒ คำ คือ rhodo หมายถึงดอกกุหลาบ และ chrosis หมายถึงสี

rhodonite โรโดไนต์ : กลุ่มแร่คล้ายไพรอกซีน มีสีแดงกุหลาบ ชมพู น้ำตาล เนื้อสมานแน่นและเหนียว มีสูตรเคมี MnSiO3 ผลึกอยู่ในระบบสามแกนเอียง วาวแบบแก้ว โปร่งแสงถึงโปร่งใส ความแข็ง ๕.๕-๖.๐ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๔-๓.๗ รอยแตกแบบก้นหอยหรือขรุขระ เกิดในแหล่งแร่แมงกานีสที่เกิดจากการแปรสภาพแบบแทนที่ แบบน้ำร้อน หรือการแปรสภาพของหินตะกอน ใช้เป็นหินประดับและใช้ผสมทำให้แก้วมีสีม่วง ในประเทศไทยพบที่จังหวัดเลย และตำบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ คำ rhodo มาจากภาษากรีก หมายถึงดอกกุหลาบ

rhythmic sedimentation การตกตะกอนซ้ำลำดับ : การตกตะกอนที่ปรากฏในชั้นหินที่มีความต่อเนื่องของลำดับหน่วยชั้นหินตั้งแต่ ๒ หน่วยขึ้นไป มีลักษณะของชั้นหินย่อยเกิดสลับหรือซ้ำกันเป็นชุด ๆ อย่างสม่ำเสมอ มีความหนาตั้งแต่ชั้นบาง ๆ ถึงร้อย ๆ เมตร แสดงถึงความถี่ของการสะสมตะกอนและสภาพการเกิดที่เหมือนกันแล้วมาเกิดซ้ำอีก เช่น การเกิดสลับชั้นถี่ของหินทรายและหินโคลนในหมวดหินฮ่องหอยของกลุ่มหินลำปาง มีความหมายเหมือนกับ cyclic sedimentation 

rhythmite ชั้นหินเอกลักษณ์ : 

๑. ชั้นหินที่มีความโดดเด่นหน่วยหนึ่งในลำดับหน่วยหินหลายหน่วยที่ต่อเนื่องกันและมีชนิดหินซ้ำกัน ๙๕

๒. ชั้นหินที่มีลักษณะโดดเด่นในลำดับชั้นหินซ้ำรูป

ria coast ชายฝั่งรีอา : ๑. ชายฝั่งทะเลที่มีซอกอ่าวเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก เกิดจากแผ่นดินบางส่วนบริเวณชายฝั่งทะเลยุบตัวลง ทำให้หุบเขาตอนปลายลำน้ำที่ไหลผ่านลงสู่ทะเลกลายเป็นอ่าว มีลักษณะแคบและยาวคล้ายรูปลิ่มลึกเข้าไปในฝั่ง ชายฝั่งแบบนี้ที่รู้จักกันมาก ได้แก่ ชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสเปน และทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะไอร์แลนด์ ๒.ชายฝั่งทะเลที่มักเรียกว่า ฟยอร์ด แต่มีความแตกต่างที่สำคัญ คือ อ่าวจะสั้นกว่า มีความกว้างและลึกไปในทะเล แต่ไม่ลึกเท่าฟยอร์ด ดู fiord ประกอบ 

ria รีอา : ๑. ส่วนของทะเลที่มีลักษณะแคบยาว ยื่นเข้าไปในแผ่นดินโดยที่ความลึกและความกว้างจะค่อย ๆ หดหายไปเมื่อเข้าฝั่ง เกิดจากการยุบตัวของหุบเขาลำน้ำ หรือชะวากทะเล มักสั้นกว่าและตื้นกว่าฟยอร์ด ๒. ชะวากทะเลหรือปากแม่น้ำที่กว้าง รวมถึงฟยอร์ด ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการจมตัวของหุบเขา

rib ซี่ : ๑. แผ่นหรือพนังหินที่เกิดเป็นสันเขาเล็ก ๆ บนไหล่เขาชัน ๒. เสาค้ำยันที่เป็นแนวยาวในเหมืองใต้ดิน ๓. รอยหยักรูปรัศมีหรือตามขวางบนเปลือกหอยดึกดำบรรพ์ เช่น สันที่ชูขึ้นมาเป็นวงของพวกแอมโมนอยด์หรือนอติลอยด์

ribbon ริบบิ้น : ๑. ชุดหนึ่งของแถบหรือแนวที่วางตัวขนานกันในแร่หรือหิน เช่น หินชนวนริบบิ้น (slate ribbon) ๒. คำที่ใช้กับสายแร่ที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นสินแร่ แร่กาก หรือหินท้องถิ่นวางตัวสลับสีกัน หรือเป็นสินแร่สลับสี

ribbon diagram แผนภาพแบบริบบิ้น : ภาพตัดขวางทางธรณีวิทยาที่ได้สัดส่วน โดยการต่อจุดควบคุมเป็นเส้นคดโค้ง ๙๖

ribbon injection การแทรกแบบริบบิ้น : การที่หินหนืดแทรกซอนเข้าไปตามแนวแตกเรียบของชั้นหินคดโค้ง เกิดเป็นหินอัคนีรูปร่างคล้ายลิ้น

ribbon rock หินแบบริบบิ้น : หินที่มีลักษณะเป็นชั้นบางวางซ้อนกัน แต่ละชั้นมีส่วนประกอบหรือสีต่างกัน เช่น หินดินดานสีเทาแทรกระหว่างหินโดโลไมต์สีน้ำตาลกับหินปูนสีอ่อน

Richter scale มาตราริกเตอร์ : มาตรากำหนดขนาดของแผ่นดินไหวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซี.เอฟ. ริกเตอร์ (C.F. Richter) นักแผ่นดินไหวแห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดค้นและเผยแพร่ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ โดยใช้หลักการจากผลบันทึกของเครื่องวัดความไหวสะเทือนและมีการปรับแก้เกี่ยวกับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว วัดเป็นค่าลอการิทึมฐานสิบของแอมพลิจูดสูงสุดที่วัดได้ (M = log10 A) โดยเทียบกับเครื่องมือเฉพาะที่กำหนดให้ใช้ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง ๑๐๐ กิโลเมตรจากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว เดิมมาตรานี้มีค่าตั้งแต่ ๐-๙ ปัจจุบันวัดได้ละเอียดมากขึ้น เช่น แผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิที่บริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วัดได้ ๙.๐ ริกเตอร์ (ข้อมูลจาก USGS)

ridge สัน : 

๑. แนวยาวแคบยอดแหลมและด้านข้างชัน

๒. สันหาด

๓. ลักษณะขรุขระบนผิวของก้อนน้ำแข็งที่แตกหลุดออกมาและลอยอยู่ในน้ำเนื่องจากแรงลมและแรงกระแทกจากคลื่น

๔. แนวสูงยาวบนพื้นท้องมหาสมุทรที่มีด้านข้างสูงชันและมีลักษณะภูมิประเทศ ขรุขระ

๕. ส่วนที่นูนสูงขึ้นบนผิวเปลือกของสัตว์ เช่น สันนูนตามขวางบนแผ่นเอคินอยด์ซึ่งทำหน้าที่กั้นแถวของรูเปิดบนแผ่นเปลือกแต่ละแผ่นให้แยกออกจากกัน

ridge and valley topography ridge and valley topography ภูมิประเทศสันและหุบ : พื้นผิวแผ่นดินที่เป็นสันและหุบยาวขนานกันและสลับกัน เกิดจากความทนทานต่อการกร่อนที่ไม่เท่ากันของชั้นหินคดโค้ง ตัวอย่างภูมิประเทศแบบฉบับอยู่ในบริเวณเทือกเขาแอปพาเลเชียน ประเทศสหรัฐอเมริกา

Riecke’s principle__________ : รอเขียนคำอธิบาย ๙๗

riffle ร่องขวาง : ๑. ส่วนตื้นของท้องน้ำที่ขยายตัวในแนวขวางตรงบริเวณที่น้ำไหลแกว่ง เนื่องจากตะกอนที่ตกจมขวางกั้น หรือเป็นแก่งเล็ก ๆ ที่มีน้ำตก ๒. แนวขวางรางที่ทำให้เกิดเป็นร่องเพื่อกักเก็บหรือดักทองหรือแร่หนักในทรายหรือกรวด

rift ร่องทรุด : ๑. ร่องทวีปที่ยาวและแคบซึ่งขนาบด้วยรอยเลื่อนปรกติ หรือเป็นกราเบนที่มีขนาดกว้างใหญ่ซึ่งมักเกิดร่วมกับการเกิดภูเขาไฟ ๒. แนวของรอยเลื่อนตามแนวระดับที่มีขอบเขตกว้างขวาง ๓. รอยแตกแคบ ๆ รอยแยกหรือรอยเปิดของหินที่เกิดจากการแตกหรือแยกออกจากกัน ๔. ในเหมืองหินหมายถึงทิศทางของรอยแยกในมวลหิน เช่น ทิศทางของรอยแยกในหินแกรนิตซึ่งมักทำมุมฉากกับเม็ดแร่ ๕. ทางเดินในถ้ำที่แคบสูง รูปร่างถูกควบคุมด้วยแนวแยก รอยเลื่อน หรือแนวชั้นหิน ๖. บริเวณที่เป็นหินและร่องตื้นในธารน้ำ

rig แท่นเจาะ : อุปกรณ์การเจาะที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ หอเจาะ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าระบบกว้าน และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในการเจาะ (ดูรูปที่ swivel) 

rigidity สภาพแข็งเกร็ง : สมบัติทางกายภาพของวัสดุที่สามารถต้านทานต่อความเค้นที่ทำให้วัสดุเปลี่ยนรูปไป เช่น ของไหลมีค่าสภาพแข็งเกร็งเท่ากับศูนย์ เนื่องจากไม่สามารถต้านทานต่อความเค้น

rigidity modulus; modulus of rigidity มอดุลัสความแข็งเกร็ง : มอดุลัสความยืดหยุ่นในสภาพเฉือน ซึ่งเป็นอัตราส่วนของความเค้นเฉือนต่อความเครียดในตัวกลางที่มีแรงเฉือนปรกติมากระทำ

rill erosion การกร่อนแบบร่องน้ำริน : ดูคำอธิบายใน sheet erosion; sheet flood erosion 

rill mark รอยน้ำริน : ร่องเล็ก ๆ หรือร่องน้ำรูปกิ่งไม้บนหาดทรายหรือหาดโคลนที่เกิดจากคลื่นซัดเข้าหาฝั่งแล้วไหลย้อนกลับผ่านพื้นผิวหาดหลังจากคลื่นแตกกระจาย

rille หุบจันทรา : หุบเขาที่มีลักษณะคล้ายร่องลึกบาดาลบนผิวดวงจันทร์ กว้าง ๑–๒ กิโลเมตร ยาวหลายร้อยกิโลเมตร มีรูปร่างไม่แน่นอนหรือไม่สม่ำเสมอ ทั้งโค้งตวัดหรือเกือบเป็น ๙๘

เส้นตรง พื้นท้องแบนราบหรือเป็นผนังชัน แสดงลักษณะปฐมวัยและสื่อถึงระบบรอยแยกที่เกิดจากวัสดุที่เปราะn

rillestein ริ้วรอยหิน : ร่องเล็กที่มีขนาดกว้างประมาณ ๑ มิลลิเมตร หรือเล็กกว่า เกิดบนพื้นผิวของหินหรือแร่ที่ละลายง่าย เช่น หินปูน เกลือหิน

rim syncline ขอบประทุนหงาย : แอ่งที่เกิดรอบ ๆ โดมหินเกลือ เมื่อเกลือในชั้นหินด้านล่างเกิดการแปรสัณฐานและถูกเลื่อนเข้าไปในโดม

rim ๑. หินขอบริม : ดู rimrock ๒. ขอบ : สันเขาของกองตะกอนธารน้ำแข็งที่ล้อมรอบแอ่งตรงกลาง ๓. ขอบปฏิกิริยา : ดู reaction border; reaction rim ๔. กระดูกคู่ริม : กระดูกคู่หนึ่งของซี่โครงซึ่งช่วยในการพยุงร่างกายสัตว์มีกระดูก สันหลัง เช่น ปลากระดูกแข็ง สัตว์สี่เท้า

rimrock หินขอบริม : ๑. ชั้นหินแนวระดับ เช่น ลาวาหลาก ที่มีความทนทาน โผล่ให้เห็นที่ขอบของที่ราบสูงหรือภูเขายอดราบ โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นหน้าผาชัน มีความหมายเหมือนกับ rim ๑ ๒. ชั้นหินที่เกิดหรือโผล่เหนือขอบแหล่งแร่แบบลานแร่

rimrock หินชายขอบ : 

๑. หินที่อยู่ตามขอบของพื้นที่สูง เป็นเหมือนแนวเขตธรรมชาติของพื้นที่สูงกับพื้นที่ข้างเคียง ๒. หินดานที่ยกตัวสูงขึ้น จึงเป็นเหมือนแนวเขตระหว่างหินกับตะกอนหรือกรวดที่อยู่ข้างเคียง ๓. หินที่มีความทนทานต่อการกร่อน จึงคงสภาพเป็นแท่งหินตั้งชันบนภูเขาหรือบนที่ราบสูง

ring fault รอยเลื่อนวงแหวน : รอยเลื่อนรูปแบบหนึ่งที่มีผนังชัน มีรูปร่างโดยรอบเป็นรูปทรงกระบอก และพบเกิดร่วมกับการยุบตัวรูปกระบุง

ring fracture stoping หินหนืดรอยแตกวงแหวน : หินหนืดขนาดใหญ่ที่ค้างอยู่ในรอยแตกรูปวงแหวน โดยสัมพันธ์กับการทรุดตัวที่ทำให้เกิดพนังวงแหวน ดู ring dike ประกอบ 

riparian ริมฝั่งน้ำ : ฝั่งหรือชายฝั่งทั้งสองข้างของลำน้ำ 26/49 ๙๙

การสูญเสียน้ำริมฝั่ง : การสูญเสียน้ำจากการระเหยของน้ำตามแม่น้ำลำคลองและน้ำบริเวณท้องน้ำไหลซึมออกไป รวมถึงการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำของต้นไม้ตามแนวสองฝั่งลำน้ำ

rip current กระแสน้ำป่วน : ๑. กระแสคลื่นทะเลซึ่งมีผิวน้ำปั่นป่วนและอลวน เกิดจากการปะทะกันของสายน้ำทะเลที่มีกระแสขึ้นลง ๒ สาย หรือสายน้ำทะเลที่มีกระแสขึ้นลงที่ไหลบรรจบบริเวณที่น้ำตื้นทันทีทันใด หรือการไหลกลับของน้ำที่ซัดขึ้นชายฝั่งโดยคลื่นและลมแรง ๒. กระแสน้ำที่แรงและแคบที่เกิดในช่วงเวลาสั้น ๆ มีความเร็วสูง ไหลสู่ทะเลผ่านเขตคลื่นหัวแตก มองเห็นเป็นแถบแนวของน้ำที่ปั่นป่วนอลวนไหลกลับสู่ทะเล หลังจากถูกซัดขึ้นฝั่งโดยคลื่นและลมทะเล ประกอบด้วย กระแสน้ำเสริม ส่วนคอด และส่วนหัว

rip tide น้ำขึ้น-ลงป่วน : คำที่ใช้ผิดในความหมายของ rip current เพราะเนื่องจากกระแสน้ำป่วนไม่เกี่ยวข้องกับการขึ้นลงของกระแสน้ำ

rip สภาวะน้ำป่วน : สภาวะความปั่นป่วนของน้ำที่มักเกิดในทะเล เกิดจากการพบกันของกระแสน้ำหรือการปะทะต่อกันระหว่างกระแสน้ำกับคลื่น

rip-rap ๑. หินทิ้ง : หินก้อนใหญ่ ๆ ที่วางกองไว้ในบริเวณที่น้ำไหลลง เพื่อป้องกันการกร่อน เนื่องจากคลื่นหรือกระแสน้ำ เพื่อรักษาพื้นผิว ความลาดชัน หรือโครงสร้างข้างใต้ ใช้ประโยชน์สำหรับคลองชลประทาน งานปรับปรุงแม่น้ำ ตัวกั้นทางน้ำที่เขื่อน และการป้องกันชายฝั่ง ตามบริเวณชายฝั่งมักวางกองกันอย่างไม่เป็นระเบียบแต่บริเวณหน้าเขื่อนจะเรียงอย่างเป็นระเบียบ ๒. หินเรียง : หินก้อนใหญ่ขนาดน้ำหนักตั้งแต่ ๗ กิโลกรัมขึ้นไป ที่นำมาวางเรียงกันเป็นแนวเพื่อป้องกันการกร่อนบริเวณลาดคันทาง

rise ๑. จุดธารผุด : มีความหมายเหมือนกับ resurgence ดูคำอธิบายใน subterranean cutoff ๒. เนินเขาท้องสมุทร : ลักษณะภูมิประเทศที่สูงกว่าบริเวณโดยรอบของพื้น(ท้อง)มหาสมุทร มีลักษณะเป็นเนินเขายาว ราบเรียบ ไหล่เขามีความลาดชันน้อย มีความหมายเหมือนกับ oceanic rise และ swell ๔ 

Riss ช่วงริสส์ : ช่วงอายุของธารน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ระหว่างเวลา ๐.๑๘-๐.๑๒ ล้านปี ถือเป็นช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งที่สามของสมัยไพลสโตซีน เทียบได้กับยุคน้ำแข็งอิลลินอเอียน ๑๐๐

ในทวีปอเมริกาเหนือ มีความหมายเหมือนกับ Saalian ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

river-pebble phosphate กรวดฟอสเฟตแม่น้ำ : กรวดฟอสเฟตขนาดกลางชนิดมีสีคล้ำที่ถูกพัดพามาจากสันดอนและที่ราบน้ำท่วมถึงในมลรัฐฟลอริดา ดู pebble phosphate และ land pebble phosphateประกอบ 

road metal หินทำถนน : หินโม่มวลรวมสำหรับใช้ในการก่อสร้างชั้นพื้นทางและชั้นผิวทางของ ถนนลาดยางหรือถนนคอนกรีต

rock bolt; roof bolt สลักยึดหิน : แท่งเหล็กกล้าหรือเหล็กเหนียว ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวที่กำหนดเฉพาะงาน ปลายข้างหนึ่งจะใช้ยึดผนังหินด้วยนอตและแหวนรองซึ่งสามารถขึงให้ตึงและรับน้ำหนักได้ตามที่กำหนด ดู rockbolting ประกอบ 

rock bolting การเย็บหิน : วิธีการเพิ่มเสถียรภาพให้แก่ลาดหินตัดโดยใช้สลักยึดหินบรรจุอยู่ภายในหลุมเจาะ ซึ่งส่วนใหญ่เจาะเป็นหลุมในแนวราบ โดยทั่วไปขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ เซนติเมตร เจาะลึก ๓-๖ เมตร ระยะห่างระหว่างหลุมเจาะและระยะระหว่างแถว ๒-๕ เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาบริเวณนั้น ๆ ภายในหลุมเจาะประกอบด้วยแท่งเหล็กกล้าหรือเหล็กเหนียวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ปลายด้านนอกเป็นเกลียวตลอดเพื่อใช้ยึดผนังหินด้วยนอตพร้อมแหวนรองบนแผ่นเหล็กขนาดประมาณ ๑๕ × ๑๕ เซนติเมตร รอบ ๆ แท่งเหล็กจะถูกยึดกับผนังหลุมเจาะด้วยปูนฉาบ เช่น การเจาะระเบิดหินในการทำเหมืองแร่ อุโมงค์ การก่อสร้างถนน

rock burst หินระเบิด : การระเบิดอย่างรวดเร็วและรุนแรงของมวลหินจากผนังอุโมงค์เหมืองหินระดับลึก สาเหตุมาจากมวลหินไม่สามารถทนต่อความเค้นสูง จนปลดปล่อยความเครียดทำให้แผ่นดินสะเทือนและหินแตกหักถล่ม เป็นผลทำให้ปิดทางเข้า-ออกของเหมือง

rock drumlin เนินรีแกนหิน : ดูคำอธิบายใน drumlin 

rock hound นักล่าหิน : บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจและเสาะแสวงหาหรือสะสมแร่ หิน และซากดึกดำบรรพ์

rock unit; lithostratigraphic unit; rock stratigraphic unit หน่วยลำดับชั้นหินตามลักษณะหิน : ดู lithostratigraphic unit; rock stratigraphic unit; rock unit ๑๐๑

rod wax ไขก้านสูบ : ไขที่เกาะติดอยู่ที่ก้านเครื่องสูบน้ำมันดิบ สมัยก่อนมักนิยมนำมาปิดบาดแผลเพื่อห้ามเลือด

rodding structure โครงสร้างรูปแท่ง : โครงสร้างที่เกิดเป็นแนวเส้นในหินแปร ซึ่งส่วนที่แข็งกว่า เช่น สายแร่ควอตซ์หรือกรวดควอตซ์ขนาดกลาง วางตัวขนานกับแกนหินคดโค้ง มีความหมายเหมือนกับ mullion structure ๒ 

roll __________: ๑. ดู roll orebody ๒.ความหมายทาง sedimentary ๓. ความหมายทางถ่านหิน ๔. ความหมายทาง ภาพถ่ายทางอากาศ

roll-front orebody มวลสินแร่ม้วนหน้า : ส่วนห่อหุ้มหรือขอบมวลสินแร่แบบฉบับไวโอมิง (Wyoming type )ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ติดกับด้านเว้าเข้าได้ถูกออกซิไดส์หรือเติมออกซิเจนจนแปรเปลี่ยนไปเป็นฮีมาไทต์และไลโมไนต์ ส่วนที่ติดกับด้านนูนของมวลสินแร่นั้นถูกลดออกซิเจน ซึ่งมักมี ไพไรต์และอินทรียวัตถุปน

roll orebody มวลสินแร่ม้วน : มวลสินแร่ยูเรเนียม และ/หรือวาเนเดียมในชั้นหรือเลนซ์หินทราย ซึ่งตัดขวางชั้นหินในแนวโค้งจนมีรูปร่างเป็นตัวเอส (S) หรือตัวซี (C) มวลสินแร่ดังกล่าวมี ๒ ชนิด ชนิดแรกเป็นแบบที่ราบสูงโคโลราโดที่ความยาวของมวลสินแร่ขนานกับแกนยาวของเลนซ์หินทรายซึ่งเป็นทางน้ำเก่า และถูกล้อมรอบด้วยหินที่ถูกลดออกซิเจน อีกชนิดหนึ่งเป็นแบบไวโอมิงซึ่งเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวในภาพตัดขวาง และมักเกิดในชั้นหินทรายที่หนาเป็นแผ่นระหว่างชั้นหินโคลน มีความหมายเหมือนกับ roll 

rollover anticline ชั้นหินโค้งรูปประทุนม้วน : ชั้นหินโค้งรูปประทุนที่เกิดร่วมกับรอยเลื่อนปรกติซึ่งยังคงเลื่อนอยู่ขณะตกตะกอน โดยที่รอยเลื่อนจะเกิดในที่ลึกเกือบขนานกับชั้นหินและชันขึ้นข้างบน ระนาบรอยเลื่อนจะเอียงเทตามส่วนของแอ่งที่เลื่อนตัวลง ซึ่งจะทำให้เกิดการดึงออกและทำให้ชั้นหินเกิดการหมุนหรือม้วนตัวตามระนาบรอยเลื่อนเกิดชั้นหินโค้งรูปประทุนม้วนด้านที่เลื่อนลง ซึ่งมักเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม ดู growth fault ประกอบ ๑๐๒

room-and-pillar คูหาและเสา : ๑. การทำเหมืองแบบขุดเจาะระเบิดเอาแร่ออกหรือผลิตแร่เป็นโพรง แล้วเหลือบางส่วนไว้เป็นเสาค้ำยันอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้เพดานเหมืองถล่ม ๒. โครงสร้างพืดหินปะการังที่แสดงลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นช่อง ๆ ซ้อนกัน

root รากฐาน : ๑. การขยายตัวของวัตถุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าลงสู่ฐานของชั้นเปลือกโลกตามสมมุติฐานของแอรี (Airy) เพื่อชดเชยดุลเสมอภาคของเปลือกโลกในบริเวณที่มีมวลมากกว่าและระดับภูมิประเทศสูงกว่า ๒. ส่วนฐานของชั้นหินคดโค้งทบตัวซึ่งเชื่อมต่อกับหินต้นกำเนิดหรือเขตรากฐาน (root zone) ๓. ก้นหรือฐานของแหล่งสินแร่ หรือสายแร่รูปกรวยที่ตัดผ่านหินฐานไปสู่แหล่งสินแร่

root zone เขตรากฐาน : ๑. แหล่งที่มาหรือส่วนของของชั้นหินทบตัว ๒. เขตของเปลือกโลกที่ถูกรอยเลื่อนย้อนจนโผล่ให้เห็น

rose diagram แผนภาพรูปดอกกุหลาบ : กราฟรูปวงแหวนหรือวงกลมหรือเกือบวงกลม ซึ่งแสดงค่าของทิศทางต่าง ๆ ด้วยเส้นที่แยกเป็นรัศมี โดยมีความยาวเป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนที่วัดได้ของค่านั้น ๆ เช่น กระแสลม รอยแยก

rose quartz ควอตซ์สีชมพู : ควอตซ์สีดอกกุหลาบชมพู ใช้เป็นรัตนชาติและหินประดับ ส่วนมากจะไม่ค่อยเกิดเป็นรูปผลึก แต่จะพบในลักษณะที่เป็นเนื้อสมานแน่น โดยมีมลทินที่ทำให้เกิดสี คือธาตุไทเทเนียม เมื่อถูกแสงสีจะจางลง

rosette รูปดอกกุหลาบ : ๑. มวลรวมของผลึกหรือกลุ่มก้อนแร่ยิปซัม แบไรต์ มาคาร์ไซต์ และไพไรต์ ที่มีลักษณะคล้ายดอกกุหลาบ เกิดในหินตะกอน ๒. แผ่นรูปร่างคล้ายดอกไม้ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แผ่นฐานของพวกไครนอยด์

Rossi-Forel scale มาตรารอสซี-ฟอเรล : มาตราความเข้มแผ่นดินไหวคิดขึ้นโดย เอ็ม. เอส. เดอรอสซี (M.S. de Rossi) และ เอฟ. เอ. ฟอเรล (F.A. Forel) ชาวสวิส ใน พ.ศ. ๒๔๒๑ ๑๐๓

กำหนดพิสัยความเข้มจาก ๑ ถึง ๑๐ แผ่นดินไหวที่พอรู้สึกได้มีค่าความเข้มเท่ากับ ๑ และแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดมีค่าความเข้มเท่ากับ ๑๐

rotary fault; pivotal fault; rotational fault รอยเลื่อนแบบหมุน : ดู rotational fault; pivotal fault; rotary fault 

rotary hose; kelly hose; mud hose สายโคลนเจาะ : ดู mud hose; kelly hose; rotary hose 

rotary line; drilling line สลิงเจาะ : ดู drilling line; rotary line 

rotary table แท่นหมุน : อุปกรณ์หลักของแท่นเจาะแบบหมุน ที่ใช้ขับเคลื่อนหรือทำให้ก้านเจาะหมุนได้โดยใช้ระบบเกียร์ และเป็นช่องสำหรับใส่ปลอกประกับก้านเจาะนำ (ดูรูปที่ swivel หมายเลข ๒๑) 

rotation stage แป้นหมุน : ส่วนประกอบหนึ่งของกล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่นกลมหมุนรอบแกนกล้องจุลทรรศน์ได้ ๓๖๐ องศา สำหรับใช้วางวัสดุหรือแผ่นตัดบางที่จะตรวจสอบสมบัติทางแสง หรือวางอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ขอบของแป้นหมุนมีขีดแบ่งองศากำกับทุก ๑ องศา

rotational fault; pivotal fault; rotary fault รอยเลื่อนแบบหมุน : รอยเลื่อนที่พบการเคลื่อนที่แบบหมุนไป ซึ่งบางส่วนเหมือนกับรอยเลื่อนแนวพับ

rubble; rubblestone ชิ้นหินเหลี่ยม : ๑. ชิ้นส่วนเศษหินเหลี่ยมที่อยู่ด้วยกันอย่างหลวม ๆ โดยทั่วไปจะวางตัวอยู่บนหินดาน หรือบริเวณหินโผล่ มีสภาพเหมือนหินกรวดเหลี่ยมที่ยังไม่แข็งตัว ๒. ในการทำเหมืองหิน หมายถึง เศษหินที่เกิดจากการระเบิดหิน

rubblestone; rubble ชิ้นหินเหลี่ยม : ดู rubble; rubblestone 

rugosa รูโกซา : ชื่ออันดับของปะการังกลุ่มหนึ่ง ดู rugose coral และ tetracoral ประกอบ 

rugose coral ปะการังหน่อ : สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกซีเลนเทอเรตหรือไนดาเรีย ชั้นย่อยซูแอนทาเรีย (subclass zoantharia) อันดับรูโกซา (order rugosa) มีลักษณะเฉพาะคือ โครงร่างที่เป็นสารเนื้อปูน มีรูปร่างเป็นรูปกรวยหรือทรงกระบอกที่อาจตรงหรือโค้ง โครงร่างดังกล่าวอาจอยู่เดี่ยว ๆ หรือประกอบกันเป็นกลุ่มคล้ายฝักบัว หรือเจริญเติบโตรวมกันเป็น ๑๐๔

กลุ่มก้อนหนา หรือเป็นแบบแตกแขนงก็ได้ มีช่วงอายุตั้งแต่ยุคออร์โดวิเชียนและสูญพันธุ์ในยุคเพอร์เมียน ดู coelenterate ประกอบ 

runup; wave runup ระดับคลื่นซัด : ระดับสูงสุดของน้ำเมื่อคลื่นวิ่งเข้ากระแทกชายหาดหรือชายฝั่ง ซึ่งวัดในแนวดิ่งระหว่างระดับท้องคลื่นยกตัวกับระดับสูงสุดบนชายหาดที่คลื่นซัดถึง ระดับคลื่นซัดขึ้นอยู่กับความสูงและคาบเวลาของคลื่น รวมทั้งความลาดเอียงและส่วนประกอบของชายหาดหรือชายฝั่ง ดูรูปประกอบ 

rutilated quartz ควอตซ์รูไทล์ : ควอตซ์ที่มีผลึกรูปเข็มของแร่รูไทล์อยู่ข้างใน ซึ่งมีลักษณะเด่นเหมือนเข็มฝังอยู่ในเนื้อแก้ว รูไทล์มีได้หลายสี เช่น สีทอง เรียกแก้วเข็มทอง สีเงิน เรียกแก้วเข็มเงิน สีนาค เรียกแก้วเข็มนาค ดู sagenite ข้อ ๑ ประกอบ 

R/W Interglacial ช่วงคั่นริสส์/วืร์ม : ดู Eemian 

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์