Saalian ช่วงซาเลียน : ดู Riss
sabkha; sebkha แซบคา ๑. สภาพแวดล้อมการตกตะกอนติดชายทะเล ซึ่งมักเกิดขึ้นในบริเวณที่แห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้งในส่วนที่ติดกับชายฝั่งทะเล ส่วนที่เหนือเขตระดับน้ำทะเลขึ้นสูง ดังนั้น จึงอยู่ระหว่างเขตพื้นที่บนบกกับเขตน้ำทะเลขึ้น-ลง ลักษณะจำเพาะของแซบคาได้แก่ ชั้นเกลือและเกลือระเหย ตะกอนน้ำทะเลขึ้นถึง และตะกอนลมหอบ ปัจจุบันพบเห็นในบริเวณชายฝั่งทะเลเปอร์เซีย และแคลิฟอร์เนีย ๒. ชุดลักษณ์หินตะกอนซึ่งแสดงด้วยหินเกลือระเหย หินกรวดเม็ดแบนฐานเรียบ ชั้นตะกอนที่มีสโตรมาโทไลต์ (stromatolite) ระแหงโคลน การเกิดโดโลไมต์ และไม่พบซากดึกดำบรรพ์ปรากฏ ที่สำคัญคือ แซบคาเป็นแหล่งกำเนิดปิโตรเลียมและแหล่งแร่ซัลไฟด์ที่สำคัญ
saddle ๑. ช่องสันเขา : ๑.๑ จุดต่ำในเส้นยอดของสันเขาหรือสันปันน้ำ ๑.๒ ช่องหรือทางราบกว้างที่มีขอบด้านข้างเอียงขึ้นเล็กน้อยดูคล้ายอานม้า ๒. ทางแร่รูปอานม้า : ดู saddle reef; saddle vein ๓. โค้งอานม้า : ดูคำอธิบายใน lobe ความหมายที่ ๑….
sagittal -สองซีก : คำที่ใช้เกี่ยวกับหรืออยู่ในระนาบที่แบ่งร่างกายของสัตว์ออกเป็นสมมาตรสองข้าง หรืออยู่ในระนาบที่ขนานกับระนาบแบ่งสองข้าง เช่น ระนาบที่แบ่งร่าง ๒
ไทรโลไบต์ออกเป็นสองส่วนที่เหมือนกันทุกประการ (sagittal plane) หรือการตัด ฟอแรมินิเฟอราในแนวตั้งฉากกับแกนหมุนของเปลือก (sagittal section)
sagittate -รูปหัวลูกศร : คำที่ใช้กับรูปร่างของใบไม้ที่มีลักษณะแบบหัวลูกศรหรือลูกธนู
salic ซาลิก : กลุ่มแร่ที่มีซิลิกาและอะลูมินาเป็นจำนวนมากอยู่ในหินอัคนีทั่วไป มีสีจาง เช่น ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ เฟลด์สปาร์ทอยด์ อาจหมายถึงหินที่มีแร่เหล่านี้ชนิดเดียวหรือหลายชนิดเป็นองค์ประกอบหลัก คำนี้มาจาก silica + alumina
saltation ๑. การกระโดดเป็นช่วง : กระบวนการที่ทรายถูกกระแสน้ำพัดพาให้เคลื่อนที่ไปตามท้องน้ำและแขวนลอยผสมกันเป็นช่วง ๆ ไม่ต่อเนื่องกัน ดูคล้ายกับวัตถุนั้นกระโดดเป็นช่วง ๆ คำนี้ใช้กับการเคลื่อนที่ของเม็ดทรายในทะเลทรายด้วย saltation มาจากภาษาละติน saltare แปลว่า กระโดด ดูรูปประกอบ ๒. การกลายพันธุ์แบบกระโดด : วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เกิดเป็นชนิดใหม่ขึ้นอย่างกะทันหันภายในชั่วรุ่นเดียว โดยที่ไม่มีรุ่นที่อยู่ตรงกลางระหว่างรุ่นเก่าที่ให้กำเนิดกับรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไป
saltatory evolution วิวัฒนาการกลายพันธุ์แบบกระโดด : ทฤษฎีที่ว่าด้วยการกลายพันธุ์แบบกระโดด ดู saltation ๒ ประกอบ
salt lick โป่งเกลือ : บริเวณที่มีเกลือผุดขึ้นมาเกรอะกรังอยู่บนผิวดินและสัตว์ต่าง ๆ เช่น กวาง กระทิง ไปเลียกิน มักพบอยู่รอบ ๆ พุเกลือ
salt pan ๑. แอ่งเกลือ : ๑.๑ แอ่งตื้นบนแผ่นดิน ซึ่งเป็นที่รวมตัวของน้ำและสารละลาย เมื่อน้ำระเหยไปจึงทิ้งสารประกอบพวกเกลือเอาไว้ ๑.๒ แอ่งเกลือตื้นที่มีน้ำกร่อยขังอยู่ ๒. ภาชนะทำเกลือ : ภาชนะขนาดใหญ่ที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ นาเกลือ ซึ่งทำให้เกิดเกลือโดยการระเหยของน้ำและทิ้งชั้นเกลือเอาไว้
salt plug ลำหินเกลือ : แกนกลางของโดมหินเกลือ มีรูปร่างเป็นแท่งค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑-๒ กิโลเมตร ซึ่งดันแทรกจากชั้นเกลือหินแม่ที่อยู่ลึกลงไป ๕-๑๐ กิโลเมตร ขึ้นสู่ชั้นตะกอนโดยรอบชั้นเกลือหิน
salt tectonics การแปรสัณฐานโดยหินเกลือ : การศึกษาโครงสร้างและกลไกการแทรกขึ้นมาของโดมหินเกลือ ตลอดจนโครงสร้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโดมหินเกลือ
เสนอทบทวนศัพท์บัญญัติ
salt-water encroachment การรุกล้ำของน้ำเค็ม : การแทนที่น้ำจืดใต้ดินโดยน้ำเค็มที่รุกล้ำเข้ามาเนื่องจากความหนาแน่นที่สูงกว่า โดยปรกติเกิดในบริเวณชายฝั่งทะเลและชะวากทะเล สำหรับบริเวณอื่นนั้นเกิดจากน้ำเค็มจัดใต้ทะเลสาบพลายาเคลื่อนเข้าสู่บ่อน้ำจืด การรุกล้ำเกิดเมื่อความดันรวมของน้ำเค็มสูงเกินความดันรวมของน้ำจืดที่อยู่ใกล้เคียง ดู sea-water intrusion ประกอบ
samarskite ซามาร์สไกต์ : แร่ออกไซด์ของธาตุหลายชนิด มีสูตรเคมี [(Y, Er, Ce, U, Ca, Fe, Pb,Th) (Cb, Ta, Ti, Sr) Si2O6] ผลึกอยู่ในระบบสามแกนต่าง เนื้อแน่น ความแข็ง ๕-๖ ความถ่วงจำเพาะ ๔.๑-๕.๖๙ รอยแตกรูปโค้งเว้าแบบก้นหอยและแบบรัศมี พบในหินแกรนิตและเพกมาไทต์ มักเกิดร่วมกับแร่ตระกูลโคลัมเบียมแทนทาลัม โมนาไซต์ แมกนีไทต์ เซอร์คอน เบริล ในประเทศไทยพบบริเวณเหมืองแร่ดีบุก จังหวัดภูเก็ตและพังงา มีความหมายเหมือนกับ uranotantalite *7/46,9/46,10/46
sample; geological sample ตัวอย่างทางธรณีวิทยา : ดู geological sample; sample
sand crystal ผลึกทราย : ผลึกขนาดใหญ่ที่มีหน้าผลึกสมบูรณ์หรือเกือบสมบูรณ์ มีเม็ดทรายอยู่ภายในผลึกถึงร้อยละ ๖๐ เกิดขึ้นในขณะที่ตะกอนทรายกำลังจะแข็งตัวเป็นหินโดยการประสาน ดังเช่นที่เกิดในผลึกแร่แคลไซต์ แบไรต์ ยิปซัม
sandstone dike พนังหินทราย : ๑. พนังเศษหินที่ประกอบด้วยหินทราย ๒. ดู stone intrusion
Sangamonian ช่วงคั่นแซงกามอเนียน : ช่วงเวลาที่ธารน้ำแข็งของสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือละลาย อยู่ระหว่างช่วงอิลลินอเอียนกับช่วงวิสคอนซิเนียน ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ
sanidinite facies ชุดลักษณ์ซานิดีไนต์ : ชุดกลุ่มแร่หินแปรกลุ่มหนึ่งที่เกิดจากการแปรสภาพแบบอุณหภูมิสูง ความดันต่ำ ชุดลักษณ์ซานิดีไนต์ประกอบด้วยกลุ่มแร่ทริดิไมต์ มุลไลต์ ซานิดีน เป็นต้น
sardonynx ซาร์โดนิกซ์ : แร่คาลซิโดนีชนิดหนึ่งที่เป็นรัตนชาติ มีโครงสร้างคล้ายโอนิกซ์ แต่ยังมีแถบสีน้ำตาลหรือแดงของซาร์ดที่ขนานกันสลับกับแร่อื่น ๆ ที่มีสีขาว ดำ หรือสีอื่น ๆ
saturation ความอิ่มตัว : ๑. ปริมาณเป็นร้อยละของน้ำมันดิบ แก๊ส หรือ น้ำ ที่มีอยู่ในช่องว่างทั้งหมดในหิน ๒. ปริมาณเป็นร้อยละของแร่ซิลิกาอิ่มตัวที่มีอยู่ในหินอัคนี ๓. ปริมาณสูงสุดของไอน้ำในอากาศที่อุณหภูมิหนึ่ง
sausage structure; boudinage โครงสร้างแบบไส้กรอก : ดู boudinage; sausage structure
saussurite ซอสซูไรต์ : แร่ที่เป็นมวลเม็ด เนื้อแน่นและเหนียว มีสีขาวหรือเทา มีองค์ประกอบเป็นส่วนผสมของแร่แอลไบต์หรือโอลิโกเคลสและซอยไซตหรือเอพิโดต์ เกิดจากการสลายตัวของแร่แคลเซียมแพลจิโอเคลส
savanna สะวันนา :
๑. ทุ่งหญ้าในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าที่มีฝนตกน้อย แห้งแล้งประมาณครึ่งปี มักอยู่ถัดจากเขตป่าร้อนชื้นออกไปทางขั้วโลก เป็นทุ่งหญ้ายาวและมีต้นไม้พุ่มปะปนอยู่บ้าง บางแห่งมีลักษณะทุ่งหญ้าปนป่าโปร่ง ทุ่งหญ้าสะวันนามีบริเวณกว้างขวางในเขตภูมิอากาศแบบนี้ในทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้ ทางเหนือของทวีปออสเตรเลีย และบางแห่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความหมายเหมือนกับ tropical grassland
๒. คำที่ใช้เรียกพื้นที่ราบลุ่มชื้นแฉะที่เกิดจากตะกอนน้ำพาซึ่งบางครั้งอาจพบหมู่ต้นไม้หรือไม้ยืนต้นขึ้นปะปนอยู่บ้าง ใช้เฉพาะตามชายฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติกทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา คำนี้นิยมเขียนว่า savannah
scabland แดนขรุขระ, ภูมิประเทศสแคบแลนด์ : พื้นที่สูงซึ่งมีลักษณะขรุขระเต็มไปด้วยกองหินทับถม ข้างใต้เป็นหินบะซอลต์หลาก เช่นในบริเวณที่ราบสูงโคลัมเบีย-สเนก (Columbia-Snake) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากบริเวณ ๕
นี้เคยถูกธารน้ำแข็งที่ละลายไหลบ่าท่วมเป็นบริเวณกว้างและกัดกร่อนลึกลงไปถึงหินบะซอลต์ ทำให้พื้นแผ่นดินตรงที่เป็นหินบะซอลต์โผล่ออกมาหรือไม่ก็มีหินรูปร่างเป็นเหลี่ยม ๆ ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่แตกหลุดจากหินบะซอลต์เหล่านี้ทับถมอยู่ทั่วไป แดนขรุขระนี้มักมีดินปกคลุมอยู่บาง ๆ และมีพืชพรรณขึ้นอยู่ประปราย ภูมิประเทศแบบนี้เกิดในบริเวณที่เป็นหินบะซอลต์ ตรงกันข้ามกับภูมิประเทศแบดแลนด์ เช่น ในมลรัฐดาโกตาใต้ ที่พื้นแผ่นดินนั้นอยู่ในบริเวณหินชั้น
scabrock หินแดนขรุขระ : ๑. หินโผล่บนพื้นภูมิประเทศสแคบแลนด์ ๒. เศษหินหรือวัสดุที่ผุพังจากพื้นผิวของภูมิประเทศสแคบแลนด์ ดู scabland ประกอบ
scalar สเกลาร์ : ลักษณะทางกายภาพของเนื้อหินที่ไม่แสดงทิศทาง ตัวอย่างเช่น รูปร่างของเม็ดแร่ ความพรุน รูปทรงของผลึก
scale ๑. มาตราส่วน, สเกล : อัตราส่วนระหว่างระยะห่างในแผนที่หรือภาพเป็นต้น กับระยะห่างจริงหรือกับระยะห่างบนแผนที่หรือภาพอื่น ๒. เกล็ด : ๒.๑ เศษหินที่มีรูปร่างบาง ๆ แตกหลุดจากผนังของถ้ำหรืออุโมงค์ของเหมือง ๒.๒ โครงสร้างแบบแผ่นที่พบในซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ซากปลาดึกดำบรรพ์มีเกล็ดคลุมช่วงลำตัวและช่วงหางในขณะที่หัวและไหล่ปกคลุมด้วยแผ่นเกราะหรือแผ่นกระดูกขนาดใหญ่ ซึ่งพบที่ภูน้ำจั้น จังหวัดกาฬสินธุ์
๒.๓ ไขพาราฟินที่กรองออกจากการกลั่นพาราฟินชนิดหนัก
scanning electron microscope (SEM) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนส่องกราด (เอสอีเอ็ม) : กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ลำอิเล็กตรอนผ่านตัวอย่างที่ต้องการตรวจสอบซ้ำไปมา และสะท้อนแล้วเปล่งแสงอิเล็กตรอน ภาพเกิดจากอิเล็กตรอนปฐมภูมิที่สะท้อนกลับเมื่อกระทบตัวอย่าง และอิเล็กตรอนของตัวอย่างที่ถูกอิเล็กตรอนปฐมภูมิกระแทกหลุดออกมา เรียกว่า อิเล็กตรอนทุติยภูมิ เครื่องจับอิเล็กตรอนจะรวบรวมอิเล็กตรอนทั้งสองแบบส่องผ่านไปยังหลอดรังสีแคโทดปรากฏออกมายังจอแสดงผล ภาพที่ได้จะมีลักษณะเป็น ๓ มิติ กล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้ใช้สำหรับตรวจสอบและวิเคราะห์ตัวอย่างที่มีขนาด ๖
เล็กมาก ๆ เช่น ซากดึกดำบรรพ์ของเรดิโอลาเรีย ดู electron microscope ประกอบ มีรูป ภาพแสดงลำอิเล็กตรอนที่มากระทบตัวอย่างและผลที่ได้รับ
scanning transmission electron microscope (STEM) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนส่องกราดผ่าน (เอสทีอีเอ็ม) : กล้องจุลทรรศน์แบบผสมโดยนำกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนส่องแสงผ่าน และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนส่องกราดเข้ามาใช้ในกล้องเดียวกัน โดยทำให้ลำอิเล็กตรอนเป็นเสมือนเครื่องหยั่ง (fine probe) ที่มีความละเอียดมาก ๆ มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า ๑,๐๐๐ อังสตรอม และส่องกราดไปยังตัวอย่างแผ่นตัดบาง ประโยชน์ที่ได้จากการมีเครื่องหยั่งที่ละเอียดมาก ๆ นี้ และเครื่องวัดลำอิเล็กตรอนที่ส่องผ่านในเครื่องมือบางชนิดขนาดของลำอิเล็กตรอนสามารถลดขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางได้หลายอังสตรอม ทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัดสูงของอะตอมเดี่ยวขนาดใหญ่ เช่น ยูเรเนียม ดู electron microscope ประกอบ
scaphopod สแคโฟพอด : สัตว์จำพวกหอยฝาเดียวที่อาศัยคืบคลานอยู่ตามพื้นทะเล จัดอยู่ในชั้น สแคโฟโพดา มีลักษณะเฉพาะคือ มีตัวยาวอยู่ภายในเปลือกเนื้อปูนรูปร่างกลมยาว คล้ายงาช้าง และมีรูเปิดทั้งสองด้าน
scapolite สแกโพไลต์ : ๑. กลุ่มแร่ในระบบผลึกสองแกนเท่า มีสูตรเคมี (Na, Ca, K)4 [Al3 (Al, Si)3 Si6O24] (Cl, F, OH, CO3, SO4) กลุ่มแร่สแกโพไลต์บ่งบอกถึงการเกิดในหินแปรที่มีแคลเซียมสูง หรือหินอัคนีเนื่องจากการแปรเปลี่ยนของแร่แพลจิโอเคลส ๒. กลุ่มแร่สแกโพไลต์ ประกอบด้วยแร่ซึ่งเป็นผลึกผสมระหว่างมาเรียไลต์ (marialite) สูตรเคมี 3NaAlSi3O8.NaCl และไมออไนต์ (meionite) สูตรเคมี 3CaAl2Si2O8.(CaCO3, CaSO4) มีสีขาว เทา เขียวอ่อน อาจพบมีสีเหลืองบ้าง วาวแบบแก้ว โปร่งแสงถึงโปร่งใส ความถ่วงจำเพาะ ๒.๕๕–๒.๗๒ ๗
ความแข็ง ๕–๖ พวกผลึกสีเหลืองใช้เป็นรัตนชาติ
scheelite ชีไลต์ : สินแร่ทังสเตนชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี CaWO4 ผลึกอยู่ในระบบสองแกนเท่า สีขาว เหลือง เขียว น้ำตาล ความวาวแบบแก้วถึงคล้ายเพชร ความถ่วงจำเพาะ ๕.๙–๖.๑ ความแข็ง ๔.๕–๕ พบในสายแร่แปรเปลี่ยนด้วยไอร้อน มักเกิดร่วมกับควอตซ์และโมลิบเดไนต์ มีการเรืองแสงสีน้ำเงิน–สีครีม ตามปริมาณโมลิบเดไนต์
schiller; play of color การเหลือบสี : ดู play of color; schiller
schillerization กระบวนการเล่นสี : ปรากฏการณ์การเล่นสีในแร่ที่เกิดจากการเรียงตัวของสารฝังในเล็ก ๆ ในแร่
schlieren แถบหินอัคนี : แถบหินรูปร่างแบนหนา มีความยาวตั้งแต่ ๕-๗.๕ เซนติเมตร ถึงหลายเมตร อยู่ในมวลหินอัคนีระดับลึก มีองค์ประกอบของแร่เหมือนหินอัคนีระดับลึกนั้น แต่แตกต่างในอัตราส่วนของสีแร่ซึ่งอาจมีสีเข้มหรือสีอ่อนกว่ากัน ขอบเขตของหินเป็นแบบค่อย ๆ เปลี่ยน แถบหินอัคนีเกิดจากการเปลี่ยนไปของสารฝังในหรือเกิดจากการแยกตัวของแร่ และส่วนใหญ่วางตัวตามทิศทางการไหลของหินหนืด
Schlumberger array แถวลำดับแบบชลัมแบร์แจร์ : รูปแบบการจัดวางขั้วไฟฟ้าในการสำรวจวัดความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ โดยการวางขั้วไฟฟ้าในแนวเส้นตรงเรียงตามกัน ให้ขั้วกระแสไฟฟ้าทั้ง ๒ ขั้วคร่อมอยู่ด้านนอก ขั้วศักย์ไฟฟ้าอยู่ด้านใน ระยะระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้าห่างกันมากเมื่อเทียบกับระยะระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้า ระยะระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้าประมาณ ๕ เท่า หรือมากกว่าระยะระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้า มีรูป A, B คือ ขั้วกระแสไฟฟ้า M, N คือ ขั้วศักย์ไฟฟ้า I คือ กระแสไฟฟ้าที่วัดด้วยแอมมิเตอร์ V คือ ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่วัดด้วยโวลต์มิเตอร์ X คือ ระยะระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้ากับขั้วศักย์ไฟฟ้าที่อยู่ใกล้กัน n คือ เลขจำนวนเต็มที่มากกว่าหรือเท่ากับ ๕
scintillation counter; scintillomete เครื่องนับแสงวับ : อุปกรณ์ตรวจวัดรังสีชนิดก่อไอออน ประกอบด้วยวัสดุที่เปล่งแสงวับเมื่อถูกกระทำโดยรังสีหลอดทวีคูณแสง และเครื่องบันทึกสัญญาณที่แสดงปริมาณและพลังงานของรังสีที่ตรวจวัด
scintillation แสงวับ : แสงที่เปล่งออกมาอย่างรวดเร็วเมื่อรังสีชนิดก่อไอออนทำอันตรกิริยากับวัสดุบางชนิด เช่น รังสีแกมมา กระทำต่อผลึกโซเดียมไอโอไดด์
scissor fault รอยเลื่อนกรรไกร : รอยเลื่อนที่มีการเหลื่อมหรือรอยแยกตามแนวระดับที่เพิ่มขึ้นและลดลงในทิศทางตรงกันข้าม รอยแยกอาจเกิดจากการเคลื่อนที่คล้ายกรรไกร หรืออาจเป็นผลจากการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนตามแนวระดับที่ไม่มีรูปแบบตามรอยเลื่อน ตัดผ่านชั้นหินโค้งรูปประทุนหรือรูปประทุนหงาย ดู pivotal, fault hinge fault, rotary fault และ rotational fault ประกอบ
scleractinian สเคอแรกทิเนียน : ดู hexacoral
sclerite เปลือกสัตว์ขาปล้อง : ผนังแข็งหุ้มลำตัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกสัตว์ขาปล้อง มีลักษณะเป็นปล้องๆ แต่ละปล้องมีผนังแข็งเนื่องจากสร้างด้วยสารไคทิน ทำให้แตกต่างจากผนังปล้องเนื้อนิ่มของบรรพบุรุษซึ่งเป็นสัตว์พวกหนอนปล้อง
scolecodont สโคลีโคดอนต์ : ขากรรไกรพร้อมฟันของสัตว์พวกหนอนปล้อง ประกอบด้วยซิลิกาและไคทิน ในระหว่างกระบวนการเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ ไคทินจะเปลี่ยนเป็นถ่านสีดำหรือเจ็ต ดู jet ประกอบ (รอตรวจสอบคำอ่าน สโคลีโคดอนต์)
scolithus รอยสโคไลตัส : รอยซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนอน พบในหินทรายซึ่งประกอบด้วยควอตซ์เป็นแร่หลักของยุคแคมเบรียนและออร์โดวิเชียน รวมทั้งหินยุคก่อนแคมเบรียนตอนปลาย รอยสโคไลตัสประกอบด้วยรูกลมหรือท่อกลม ตรงดิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๒-๑.๐ เซนติเมตร ตอนล่างอยู่รวมกัน และบานออกเป็นแอ่งรูปถ้วย สันนิษฐานว่าเป็นรอยซากดึกดำบรรพ์จากรูขุดของหนอนน้ำเค็มสกุล Scolithus
scolithus รูหนอน : โครงสร้างร่องรอยซากดึกดำบรรพ์ที่คล้ายหนอนชนิดต่าง ๆ พบในหินทรายที่มีองค์ประกอบควอตซ์สูงในยุคแคมเบรียนและออร์โดวิเชียนและในหินยุคพรีแคมเบรียนตอนบนด้วย ประกอบด้วยท่อตรงแคบ ๆ แนวตั้ง หรือท่อที่มีสิ่งบรรจุ ขนาด ๙
๐.๒-๑.๐ เซนติเมตร เชื่อว่าเป็นรูชอนไชดึกดำบรรพ์ของตัวหนอนทะเล (ยังไม่ยุติ)
scour mark รอยกัดเซาะ : รอยการกัดเซาะของกระแสน้ำที่ไหลไปบนพื้นท้องน้ำ
scour การกัดเซาะของน้ำ : ๑. การกัดกร่อนอย่างรุนแรงโดยเฉพาะจากกระแสน้ำตรงด้านนอกของส่วนโค้งของตลิ่งและในชั้นหินธารน้ำที่ถูกกระแสน้ำแรงพัดพาไป ๒. ดู tidal scour ๓. ในทางวิศวกรรม หมายถึงการใช้สายน้ำที่ทำขึ้นเพื่อไล่โคลนออกจากท้องน้ำ รวมทั้งโครงสร้างที่ทำขึ้นเพื่อให้เกิดกระแสคลื่น
screen analysis; sieve analysis การวิเคราะห์ผ่านตะแกรง : การวิเคราะห์หาขนาดและการกระจายตัวของดิน ตะกอน หรือสินแร่ โดยการคิดค่าเป็นร้อยละของอนุภาคที่ผ่านตะแกรงมาตรฐานขนาดต่าง ๆ
S-dolostone เอส-โดโลสโตน : โดโลสโตนที่ถูกควบคุมด้วยลำดับชั้นหิน เกิดเป็นชั้นแผ่กว้าง โดยทั่วไปแทรกเป็นรูปลิ้นอยู่ในชั้นหินปูน ดู T-dolostone และ W-dolostone ประกอบ 18/50
sea broch ดินแดนขรุขระ (หาไม่พบ) *34/46
sea knoll เนินใต้ทะเล : เนินที่มีความสูงไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ เมตรจากพื้นท้องทะเล มีความหมายเหมือนกับ knoll ๒ *27,28/47
sea-floor spreading พื้นสมุทรแผ่ขยาย : สมมุติฐานหรือแนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ออกจากกันของธรณีภาคตามแนวราบบริเวณพื้นมหาสมุทรด้วยอัตรา ๒-๑๐ เซนติเมตรต่อปี พร้อมกับมีหินหนืดร้อนดันขึ้นมาตามแนวเทือกสันเขาใต้สมุทร ดู continental displacement; continental drift ประกอบ *8/46,9/46,10/46
seal ชั้นหินปิดกั้น : ชั้นหินเนื้อตันที่ปิดทับอยู่บนชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม เพื่อไม่ให้ปิโตรเลียมเคลื่อนย้ายออกไป เช่น ชั้นหินดินดาน *1/47
seat-earth; hard seat; seat rock; seat stone ชั้นรองรับ : ชั้นดินหรือหินที่รองรับอยู่ใต้ชั้นถ่านหิน เดิมเป็นชั้นดินที่ต้นไม้ซึ่งเป็นต้นกำเนิดชั้นถ่านหินเคยเจริญเติบโตอยู่ มักพบซากดึกดำบรรพ์ ชั้นรองรับนี้ถ้ามีปริมาณซิลิกามากเรียก กานอิสเตอร์ ดู fire ๑๐
clay; fireclay; refractory clay และ ganister ประกอบ *25/47,26/47,27/47,28/47
sea urchin เม่นทะเล : สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเอไคนอยด์ที่มีรูปร่างกลม โครงร่างประกอบด้วยแผ่นสารเนื้อปูนเชื่อมต่อ ๆ กันแบบเดียวกับการปูแผ่นกระเบื้องโมเสก มีหนามยื่นออกมาสำหรับใช้เป็นอวัยวะในการเคลื่อนที่ มีช่วงอายุยุคดีโวเนียนถึงปัจจุบัน
22/49
secondary ทุติยภูมิ : ๑. ดู supergene ๒. คำที่กล่าวถึงโลหะที่ได้จากเศษโลหะมากกว่าจากสินแร่ในธรรมชาติ ๓. คำที่กล่าวถึงแนวชายทะเลที่พัฒนาขั้นสมบูรณ์ เกิดจากกระบวนการกระทำของน้ำทะเลในปัจจุบัน เช่น การกร่อนจากคลื่น *11/44,30/47,31/47
secondary crater หลุมกระแทกทุติยภูมิ : แอ่งขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างคล้ายปากปล่องภูเขาไฟ เกิดจากการกระแทกของหินที่หลุดกระเด็นออกมาจากหลุมตกกระแทกขนาดใหญ่ เช่น โครงสร้างที่เกิดจากชิ้นส่วนหินที่กระเด็นขึ้นมาจากพื้นผิวของดวงจันทร์อันเป็นผลจากการกระแทกอย่างรุนแรง *30,31,32/47
secondary enlargement การขยายทุติยภูมิ : การตกสะสมตัวรอบ ๆ ชิ้นแร่หนึ่ง ๆ ของสารที่มีส่วนประกอบเดียวกับชิ้นแร่นั้น ซึ่งเป็นไปอย่างต่อเนื่องทั้งเชิงแสงและผลึก จึงมักเป็นผลให้เกิดหน้าผลึกที่เป็นลักษณะของแร่เดิม เช่น การเจริญเติบโตรอบ ๆ เม็ดควอตซ์ในหินทราย *30,31,32,33/47
secondary mineral แร่ทุติยภูมิ : แร่ที่เกิดขึ้นภายหลังหินที่ล้อมรอบหรือที่เกิดร่วมกัน เป็นผลจากการผุพังอยู่กับที่ การแปรสภาพ หรือการละลายของแร่ปฐมภูมิ *10,11,12/48
secondary recovery การผลิตขั้นทุติยภูมิ : การผลิตน้ำมันดิบหลังจากผ่านการผลิตขั้นปฐมภูมิแล้ว โดยใช้แรงอัดจากภายนอก ดู steam flood และ water flood; water injection ประกอบ *1/47,2/47
secondary structure โครงสร้างทุติยภูมิ : ๑. โครงสร้างของหินที่เกิดขึ้นภายหลังจากการสะสมตะกอนหรือการแทรกตัวของ ๑๑
หินอัคนี เช่น รอยเลื่อน รอยคดโค้ง แนวแตก ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการแปรสัณฐาน ๒. โครงสร้างอย่างหยาบ ๆ พบอยู่ระหว่างชั้นบาง ๆ ในผนังลอริกาของสัตว์เซลล์เดียวกลุ่มทินทินนิด (tintinnid) ดู primary structure, tertiary structure และ tintinnid ประกอบ 20/50
second law of thermodynamics กฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ : การเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีในกระบวนการผันกลับทั้งหลาย มีค่าเท่ากับความร้อนซึ่งระบบใดระบบหนึ่งแลกเปลี่ยนกับระบบภายนอก หารด้วยอุณหภูมิสัมบูรณ์ ในกรณีที่เป็นกระบวนการผันกลับไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีมีค่ามากกว่าผลลัพธ์ที่ได้จากค่าความร้อนหารด้วยอุณหภูมิสัมบูรณ์ ดู entropy ความหมายที่ ๑ ประกอบ 42/49
second reflection การสะท้อนสองครั้ง : ดู multiple reflection 35/49
secretion ๑. การหลั่ง : กระบวนการที่สัตว์หรือพืชได้เปลี่ยนแร่ธาตุในสารละลายให้เป็นส่วนของโครงร่างสัตว์หรือพืชนั้น
๒. สารหลั่ง : โครงสร้างทุติยภูมิซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของสารละลายแร่ภายในโพรงหิน เช่นในสายแร่หรือในจีโอด การตกตะกอนจะค่อย ๆ พอกขึ้นจากผนังด้านในของโพรงเข้าสู่ศูนย์กลางโพรง ไม่เหมือนมวลสารพอกซึ่งพอกขยายขึ้นจากศูนย์กลาง 22/49
section ๑. ภาคตัดภาพตั้ง : ดู columnar section ๒. ภาคตัดลำดับชั้นหิน : ดู geologic section ๓. ชั้นหินแบบฉบับ : ดู type section ๔. หน้าตัด : รอยตัดที่เกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น เช่น หน้าผาริมทะเล หน้าเหมือง ลาดเหนือทาง ลักษณะของหน้าตัดอาจมีแนวชันดิ่งหรือลาดเอียงก็ได้ *3,4,5-6,7,8,9,10/48
sedifluction ตะกอนเคลื่อนตัว : การเคลื่อนที่ของวัสดุกึ่งเปียกกึ่งแห้งในตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว ซึ่งเกิดในช่วงแรก ๆ ของการแข็งตัวเป็นหินตะกอน 18/50
sedimentary dike พนังหินตะกอน : มวลตะกอนรูปแบนหนาที่ตัดโครงสร้างหรือชั้นหินที่เกิดอยู่ก่อนแล้วในลักษณะเช่นเดียวกับพนังหินอัคนี พนังหินตะกอนเกิดโดยการเติมเต็มของตะกอนในรอยแตก รอยแยกจากด้านล่าง ด้านบน หรือในแนวระนาบ โดยแรงบีบอัดหรือถูกแทรกดันภายใต้ภาวะความกดดันที่ผิดปรกติ เช่น จากแรงดันแก๊ส น้ำหนักของหินที่วางทับอยู่ ๑๒
ด้านบน จากแผ่นดินไหว หรือโดยตะกอนจากข้างบนตกหล่นลงในช่องว่างหรือรอยแตก ตัวอย่างเช่น พนังเศษหิน ดู clastic dike, injection dike และ sediment vein ประกอบ 23/50
sediment vein สายหินตะกอน: พนังหินตะกอนชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการเติมเต็มของตะกอนจากด้านบนลงในรอยแตก 22/50
sedimentary facies ชุดลักษณ์หินตะกอน : ลำดับชั้นหินที่มีรูปแบบเฉพาะของลักษณะเนื้อหินหรือซากดึกดำบรรพ์ที่แตกต่างจากลำดับชั้นหินส่วนอื่น ๆ ในหน่วยหินนั้น 19/50
sedimentary ore สินแร่ตะกอน : หินตะกอนซึ่งมีความสมบูรณ์ของแร่จนเป็นสินแร่ได้ หรือแหล่งแร่ที่เกิดจากกระบวนการตกตะกอน เช่น แหล่งเกลือหิน แหล่งฟอสเฟต หรือแหล่งแร่เหล็กแบบ คลินตัน 19/50
sediment vein สายหินตะกอน: พนังหินตะกอนชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการเติมเต็มของตะกอนจากด้านบนลงในรอยแตก 22/50
segregation banding แถบแยกตัว : แถบหรือแนวชั้นในหินไนส์ที่เกิดจากการแยกตัวของแร่จากหินเดิมที่เกือบเป็นเนื้อเดียวกัน *13/47,14/47
segregation การแยกตัว : ๑. มีความหมายเหมือนกับ magmatic segregation ๒. ลักษณะทุติยภูมิที่เด่นชัดในหินตะกอน เกิดจากการจัดเรียงตัวใหม่ทางเคมีขององค์ประกอบรองในตะกอน เกิดภายหลังการสะสมตัว เช่น ก้อนทรงมนของเหล็กซัลไฟด์ ๓. การแยกตัวออกมาอยู่ด้วยกันของอนุภาคชนิดหนึ่ง ๆ ดังเช่นในกระบวนการตกผลึกของหินหนืด แร่จำพวกหนึ่งจะเติบโตกันเป็นกลุ่มหรือแยกตัวเป็นแนวแถบ ๔. การกระจายตัวของมลทิน สารฝังใน และโลหะผสมในโลหะที่เกิดขึ้นจากกระบวนการแช่แข็ง ๕. การแยกตัวของอนุภาคที่มีลักษณะทางกายภาพแตกต่างกัน *12/47, 13/47, 14/47
seism; earthquake แผ่นดินไหว : ดู earthquake; seism 36/49
seismic activity ; seismicity ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว : ดู seismicity; seismic activity *17/48 ๑๓
seismic area พื้นที่แผ่นดินไหว : พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว *16,17,18/48
seismic belt แนวแผ่นดินไหว : เขตแผ่นดินไหวที่มีลักษณะเป็นแนวยาวโดยเฉพาะบริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนเข้าหากัน หรือแยกออกจากกัน *16,17,18/48
seismic detector เครื่องรับคลื่นไหวสะเทือน : อุปกรณ์สำหรับใช้รับพลังงานคลื่นไหวสะเทือน แล้วเปลี่ยนเป็นศักย์ไฟฟ้า เช่น จีโอโฟน ไฮโดรโฟน 37/49
seismic-electric effect ไฟฟ้าคลื่นไหวสะเทือน : ปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าชนิดที่มีแอมพลิจูดเปลี่ยนแปลงเป็นคาบ ไหลผ่านขั้วไฟฟ้าสองขั้วที่ปักลงในดินเมื่อคลื่นไหวสะเทือนเดินทางผ่านพื้นที่ระหว่างขั้วไฟฟ้าทั้งสองขั้ว (ยังไม่ยุติ) 36/49
seismic event เหตุการณ์ไหวสะเทือน : ๑. เหตุการณ์สั่นสะเทือนของแผ่นดินอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด การตกกระทบของอุกกาบาตขนาดใหญ่ แผ่นดินถล่ม หรือสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น การระเบิดหิน การระเบิดปรมาณู ๒. การเปลี่ยนแปลงสัญญาณคลื่นไหวสะเทือนหรือความแตกต่างของค่า แอมพลิจูด ของผลบันทึกคลื่นไหวสะเทือน ซึ่งอาจเป็นการหักเห การสะท้อน การกระจายของสัญญาณคลื่นจากการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน เหตุการณ์ไหวสะเทือนไม่จำเป็นต้องก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นก็ได้ 38/49
seismic exploration การสำรวจความไหวสะเทือน : การใช้คลื่นไหวสะเทือนที่ทำขึ้นเพื่อค้นหาแหล่งสะสมทรัพยากรธรรมชาติทางเศรษฐกิจ เช่น แหล่งเกลือ แหล่งน้ำมันและแก๊ส หรือเพื่อการศึกษาทางวิศวกรรม หรือธรณีวิทยาโครงสร้าง ตัวอย่างเช่น การหาความลึก ความลาดเอียง การคดโค้ง หรือรอยเลื่อนของชั้นหิน *23/44
seismic facies analysis การวิเคราะห์ชุดลักษณ์คลื่นไหวสะเทือน : คำบรรยายและการแปลความหมายคลื่นไหวสะเทือนจากรูปแบบของลักษณะคลื่นสะท้อนที่ปรากฏเป็นลักษณะทางธรณีวิทยา โดยอาศัยการพิจารณาโครงแบบ ความต่อเนื่อง ขนาด ความถี่ และความเร็วช่วงคลื่นสะท้อน 37/49
seismic focus; earthquake focus; focus; hypocentre ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว : จุดภายในโลกที่เป็นต้นกำเนิดของแผ่นดินไหว หรือจุดภายในโลกที่ปล่อยพลังงานสะสม ๑๔
ออกมาในรูปของแผ่นดินไหว ดู epicentre และ field focus ประกอบ *9,10/48
seismic gap เขตช่องว่างการไหวสะเทือน : ส่วนของเขตรอยเลื่อนมีพลัง ซึ่งยังไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวใหญ่มาก่อน ในระหว่างคาบอุบัติซ้ำในขณะที่ส่วนอื่นในเขตนั้นเคยเกิดมาแล้ว โดยทั่วไปนักวิทยาการไหวสะเทือนถือว่าเขตนี้มีแนวโน้มสูงในการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต 5/49
seismic intensity ความเข้มคลื่นไหวสะเทือน : อัตราเฉลี่ยของการถ่ายเทพลังงานคลื่นไหวสะเทือนที่ไหลผ่านพื้นที่หน้าตัดหนึ่งหน่วยซึ่งตั้งฉากกับแนวการเคลื่อนที่ของคลื่นมีความหมายเหมือนกับ acoustic intensity; sound intensity *17,18/48
seismic map แผนที่คลื่นไหวสะเทือน : ๑. แผนที่เส้นชั้นที่ได้จากข้อมูลจากการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน ค่าของเส้นชั้นอาจเป็นค่าเวลาหรือความลึก การเขียนข้อมูลลงบนแผนที่อาจลงไว้ตรงตำแหน่งจุดที่ตรวจวัด เกิดเป็นแผนที่ข้อมูลที่ยังไม่ได้ปรับแต่งตำแหน่งชั้นหินให้ถูกต้อง หรือเขียนข้อมูลตามตำแหน่งของพื้นผิวที่สะท้อนคลื่นหรือหักเหคลื่น เป็นแผนที่ที่มีการปรับแก้ตำแหน่งชั้นหินให้ถูกต้องแล้ว ๒. แผนที่แสดงจุดเกิดแผ่นดินไหว 36/49
seismic method วิธีสำรวจโดยคลื่นไหวสะเทือน : วิธีการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์แบบหนึ่งโดยการทำให้เกิดคลื่นสะท้อนหรือคลื่นหักเห รวมทั้งตรวจวัดคลื่นและวิเคราะห์คลื่นยืดหยุ่นในพื้นดิน 37/49
seismic noise เสียงรบกวน : คลื่นเสียงทุกชนิดที่ไม่ใช่คลื่นปฐมภูมิ เช่น คลื่นพื้นผิว คลื่นสะท้อนซ้ำ คลื่นเลี้ยวเบน เสียงลม เสียงจากเครื่องยนต์ ซึ่งจัดได้ ๒ แบบ แบบที่หนึ่งเรียกตามลักษณะที่ปรากฏในภาพตัดขวางคลื่น แบ่งออกเป็นเสียงรบกวนเรียงแนว และเสียงรบกวนแตกแนว แบบที่สองเรียกตามที่มาของคลื่นเสียง แบ่งออกเป็นเสียงรบกวนจากต้นกำเนิดคลื่น และเสียงรบกวนโดยรอบ *12/46
seismic record บันทึกคลื่นไหวสะเทือน : ในการสำรวจธรณีฟิสิกส์ คือบันทึกผลการสำรวจคลื่นสะท้อนหรือคลื่นหักเหในรูปของแผ่นภาพบันทึกเวลาการเดินทางคลื่นหรือในแถบพลาสติกเคลือบสารแม่เหล็ก ในวิทยาคลื่นไหวสะเทือนแผ่นดินไหว เป็นบันทึกปรากฏการณ์แผ่นดินไหวที่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง รวมถึงเสียงรบกวนพื้นหลัง คลื่นในตัวกลาง ๑๕
คลื่นพื้นผิว ที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติและที่ทำขึ้นด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ 36-37/49
seismic region; seismic zone บริเวณแผ่นดินไหว : พื้นที่ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเสมอ ๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย *17/48
seismic shooting การเกิดคลื่นไหวสะเทือน : ๑. การกระตุ้นให้เกิดคลื่นไหวสะเทือนในชั้นหินโดยการจุดระเบิด ณ ตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งคลื่นจะเดินทางผ่านชั้นหินต่าง ๆ ลงไปแล้วสะท้อนขึ้นมาปรากฏบนผลบันทึกคลื่นไหวสะเทือน ความลึกของคลื่นจะเดินทางได้ลึกมากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนหรือขนาดของวัตถุระเบิด ๒. การสำรวจธรณีฟิสิกส์วิธีหนึ่ง ซึ่งคลื่นยืดหยุ่นจะเกิดขึ้นจากการจุดวัตถุระเบิด หรือ เครื่องให้กำเนิดคลื่นไหวสะเทือนอื่น ๆ เช่น ปีนอัดอากาศ ตุ้มน้ำหนัก เครื่องสั่นสะเทือน 38/49
seismic survey การสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน : การสำรวจเก็บข้อมูลความไหวสะเทือนจากพื้นที่ที่ต้องการ เป็นขั้นแรกของการสำรวจความไหวสะเทือน มีหลายวิธี เช่น วิธีการทำให้เกิดคลื่นยืดหยุ่นขึ้นในพื้นดินโดยการจุดระเบิด 38/49
seismic trace รอยคลื่น : เส้นที่ได้จากการบันทึกขนาดของแอมพลิจูดเปรียบเทียบกับเวลาจากจีโอโฟนตัวใดตัวหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหลังจากคลื่นออกจากต้นกำเนิด *1/45,2/45
seismic velocity ความเร็วคลื่นไหวสะเทือน : อัตราการเคลื่อนที่ของคลื่นไหวสะเทือนวัดเป็นระยะทางหนึ่งหน่วยเวลา ความเร็วคลื่นไหวสะเทือนขึ้นอยู่กับชนิดของคลื่นกับสมบัติสภาพยืดหยุ่น และความหนาแน่นของวัสดุที่คลื่นไหวสะเทือนเดินทางผ่าน *17,18/48
seismic zone; seismic region บริเวณแผ่นดินไหว : ดู seismic region; seismic zone *17/48
seismicity; seismic activity ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว : การวัดความถี่และการกระจายตัวของการเกิดแผ่นดินไหวบนพื้นผิวโลก เช่น วัดเป็นจำนวนครั้งในหนึ่งปี หรือจำนวนครั้งที่เกิดต่อพื้นที่ ๑๐๐ ตารางกิโลเมตร *17/48 ๑๖
seismitron เครื่องจับความไหวตัว : เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้วัดเสถียรภาพของพื้นดินและหิน มีภาคขยายประมาณ ๒.๕ ล้านเท่า ซึ่งสามารถตรวจจับการเคลื่อนที่ของชั้นหินไปเพียงเล็กน้อยถึง ๒.๕๔ ไมครอน ตัวรับสัญญาณอยู่ในหลุมเจาะบริเวณที่ทำการทดสอบ ส่วนหูฟังหรืออุปกรณ์บันทึกผลอัตโนมัติจะใช้สำหรับฟังเสียงสัญญาณ ซึ่งถ้าสัญญาณอยู่ในอัตรา ๓ หรือมากกว่า ๓ ครั้งต่อนาที แสดงว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการพังหรือแตกหัก แต่ถ้ามีสัญญาณมากขึ้นเป็น ๒๕-๓๐ ครั้งต่อนาที ก็จะอยู่ในภาวะอันตราย 39/49
seismogram บันทึกคลื่นไหวสะเทือน : บันทึกผลจากเครื่องมือวัดความไหวสะเทือนที่เกิดจากต้นกำเนิดเสียงเพียงตำแหน่งเดียว 37/49
seismograph เครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือน : เครื่องมือที่ใช้วัดความไหวสะเทือน 37/49
seismologist นักแผ่นดินไหว, นักคลื่นไหวสะเทือน : นักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรซึ่งนำเอาวิธีการหรือหลักการของวิทยาแผ่นดินไหวหรือวิทยาคลื่นไหวสะเทือนมาประยุกต์ เช่น ใช้ในการทำนายการเกิดแผ่นดินไหว หรือใช้ในการสำรวจหาโครงสร้างชั้นหินใต้ดิน แหล่งแร่ น้ำมัน เป็นต้น ดู earthquake, seismicity; seismic activity, seismic exploration และ seismology ประกอบ *17,18,19,20,21/48
seismology วิทยาคลื่นไหวสะเทือน : ศาสตร์สาขาหนึ่งของธรณีฟิสิกส์ ที่ศึกษาคลื่นไหวสะเทือนเมื่อผ่านตัวกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับแผ่นดินไหว หรือการสำรวจคลื่นไหวสะเทือนเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งปิโตรเลียม แหล่งแร่ และงานวิศวกรรม *28/44 (แก้จากหนังสือหน้า ๒๖๕)
self potential log (SP log) ผลบันทึกศักย์ไฟฟ้าในตัว (ผลบันทึกเอสพี) : ดู SP log (self potential log) 2/45
selvedge; salband ขอบหินอัคนี : ดู selvage ๒ 19/50
selvage ๑. ผงรอยเลื่อน : ดู fault gouge; clay gouge ๒. ขอบหินอัคนี : ขอบของมวลหินที่มีลักษณะเนื้อหินหรือส่วนประกอบเฉพาะตัว เช่น ขอบเนื้อละเอียดของหินอัคนี (พนังหินอัคนีหรือลาวาหลาก) โดยสังเกตได้จากเนื้อหินที่ละเอียดกว่าหรือบางทีมีลักษณะเป็นเนื้อแก้ว เช่น ขอบด้านในของหินลาวารูปหมอนที่เป็นเนื้อแก้ว มีความหมายเหมือนกับ selvedge; salband ๑๗
๓. เกาจ์ : ดู gouge ๑ ๔. ขอบฝาผนึก : สันเว้าที่อยู่ภายในเปลือกของออสทราคอต ตรงบริเวณขอบที่ฝาทั้งสองสัมผัสกัน ทำหน้าที่ให้ฝาทั้งสองปิดเข้าหากันได้แน่นสนิทแบบสุญญากาศ 19/50
SEM (scanning electron microscope) เอสอีเอ็ม (กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนส่องกราด) : ดู scanning electron microscope (SEM) *10/47,11/47
Senecan ซีนีแคน : คำเรียกชื่อหน่วยหินในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นหน่วยหินที่มีอายุอยู่ในช่วงต้นยุคดีโวเนียนตอนปลาย 21/49
separator gas แก๊สเครื่องแยก : แก๊สที่เหลืออยู่หลังจากการแยกแก๊สธรรมชาติเหลวออกโดยเครื่องแยก ณ แหล่งผลิต ดู plant liquid ประกอบ *32,33/47
sepiolite ซีพิโอไลต์ : แร่ดินชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี Mg4Si6O15(OH)2∙6H2O ผลึกอยู่ในระบบสามแกนต่าง มีโครงสร้างแบบลูกโซ่ สีขาวเทา ขาวแกมเหลือง (สีครีม) ขาวแกมน้ำเงิน ขาวแกมแดง เทา มีลักษณะเป็นเส้นใย มีน้ำหนักเบามาก ดูดซับดี และเนื้อแน่น พบมากในตะวันออกกลาง ใช้ทำโคลนเจาะ ใช้ดูดซับฟอกสี ทำกล้องยาสูบ และแกะสลักทำเครื่องประดับ ซีพิโอไลต์เกิดเป็นสายแร่ร่วมกับแคลไซต์ และพบในแหล่งตะกอนน้ำพาที่พัดพามาจากการการผุพังของมวลแร่เซอร์เพนทีน มีความหมายเหมือนกับ meerschaum 22/50
septarian -ลายกระดองเต่า : (เหมืองแร่) คำที่ใช้กับสายแร่ที่บรรจุอยู่ในช่องว่างของรอยแตกที่มีลักษณะเป็นรูปทรงหลายเหลี่ยมที่ไม่เหมือนกัน คล้ายระแหงโคลน 20/50
septarian boulder หินมนใหญ่ลายกระดองเต่า : ดู septarium ความหมายที่ ๑
septarian nodule ก้อนทรงมนลายกระดองเต่า : ดู septarium ความหมายที่ ๑ ๑๘
septarium septarium มวลสารพอกลายกระดองเต่า : ๑. มวลสารพอกทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๘-๙๐ เซนติเมตร โดยทั่วไปเป็นเนื้อคาร์บอเนตปนดิน เช่น หินเหล็กเนื้อดิน (clay ironstone) มีลักษณะพิเศษคือมีรอยแตกระแหงรูปทรงหลายเหลี่ยมแบบต่าง ๆที่เชื่อมประสานกันด้วยแร่ ซึ่งมักเป็นแร่แคลไซต์ ต้นกำเนิดอาจเกี่ยวข้องกับอะลูมินาเจลที่ผิวภายนอกแข็งตัว เมื่อน้ำระเหยออกจากมวลคอลลอยด์ที่อยู่ภายในทำให้เกิดการหดตัวและเกิดรอยแตก มีความหมายเหมือนกับ beetle stone, septarian boulder, septarian nodule และ turtle stone มีรูป ๒. สารที่บรรจุตามรอยแตกรอยแยกในมวลสารพอกลายกระดองเต่า 22/50
septum ผนังกั้น : ๑. ผนังตามขวางภายในเปลือกของหอยเซฟาโลพอด เป็นสารเนื้อปูนที่หอยได้สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับกั้นแบ่งช่องว่างภายในเปลือกออกเป็นห้อง ๆ ดูรูปที่ siphuncle ๒. ผนังหรือแผ่นคล้ายผนังลักษณะต่าง ๆ ในเปลือกหรือโครงร่างของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แผ่นเนื้อปูนที่เรียงกันเป็นรูปรัศมีในเปลือกปะการัง ดูรูปที่ cardinal septum *25,26,27,28/48
sere การสืบลำดับ : ลำดับการพัฒนาของสังคมพืชในระบบนิเวศ ซึ่งสามารถสืบลำดับจากระยะบุกเบิกไปจนถึงขั้นสุด (climax) 22/49
serpentine marble; green marble หินอ่อนเซอร์เพนทีน : ดู verd antiqu; verde antique e 21/50
sessile -เกาะติดที่ : คำที่กล่าวถึงพืชหรือสัตว์ที่มีชีวิตโดยเกาะติดอยู่กับพื้นน้ำ พื้นทะเล หรือวัสดุที่อยู่ในน้ำ ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนด้วยตัวเองได้ เช่น เพรียง หอยนางรม ปะการัง ดู vagile ประกอบ 27/49
shaft ปล่องเจาะลง : อุโมงค์ที่เจาะในแนวดิ่งเพื่อให้เข้าถึงสายแร่หรือชั้นถ่านหินที่อยู่ในระดับลึกในการนำแร่ออกมา ลำเลียงคน ใช้เป็นช่องระบายอากาศหรือช่องสูบน้ำ มักใช้ในการเจาะอุโมงค์ที่อยู่ในแนวดิ่งหรือเกือบดิ่ง ถ้าเจาะในแนวเอียงเรียก ปล่องเอียง (inclined shaft) 14/50
shale shaker ตะแกรงคัดตัวอย่าง : ตะแกรงสั่นที่ใช้สำหรับคัดแยกชิ้นตัวอย่างหินที่ได้จากการเจาะ โดยขึ้นมากับโคลนเจาะ ขนาดของตะแกรงต้องสามารถให้โคลนเจาะไหลผ่านได้ทั้งหมด นักธรณีวิทยาหลุมเจาะจะนำตัวอย่างที่ได้ไปศึกษา ตรวจสอบ และวิเคราะห์ (ดูรูปที่ swivel หมายเลข ๒๒) *4/47,5/47 ๑๙
shallower-pool test การตรวจสอบแหล่งระดับตื้น : การเจาะเพื่อตรวจสอบในบริเวณที่รู้ขอบเขตของแหล่งปิโตรเลียมแล้วเพื่อค้นหาชั้นกักเก็บที่จะผลิตได้ใหม่ในระดับที่ตื้นขึ้น ดู deeper-pool test ประกอบ *5-6/48
shaly; shaley -เหมือนหินดินดาน : คำที่ใช้กับโครงสร้างที่เหมือนหินดินดานคือประกอบด้วยชั้น บาง ๆ มีรอยแตกถี่ อาจหมายถึงหินทรายหรือหินทรายแป้งที่มีชั้นบาง ๆ มีรอยแตกถี่ หรือใช้กับการวางตัวเป็นชั้นบาง ๆ ที่มีความหนาระหว่าง ๒-๑๐ มิลลิเมตร 23/50
sharpstone หินคม : ชิ้นหินที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดทราย เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า ๒ มิลมิเมตร มีขอบและมุมเป็นเหลี่ยมคม 23/50
shear stress : (มอบ ดร.ปัญญา จารุศิริ เขียนคำอธิบาย) *4/44
shear zone เขตรอยเฉือน : ๑. แนวรูปแบนหนาในหินที่เกิดจากการแตกหักโดยกลุ่มรอยแตกขนานจำนวนมาก บริเวณดังกล่าวมักมีสินแร่ที่เกิดจากสารละลาย ดู sheeted- zone deposit ประกอบ ๒. กลุ่มแนวขนานด้านข้างในหินที่มีแนวเลื่อนเฉือนเฉพาะแห่งซึ่งอาจเห็นเป็นรูปสายแร่บิดโค้ง พบว่าเกิดแนวแตกเรียบ หรือริ้วขนาน เฉพาะแห่ง เม็ดแร่ทั้งหมดถูกลดขนาดลงหรือเกิดการบดละเอียดหรือลักษณะข้างต้นผสมกัน (รอพิจารณาพร้อมภาพประกอบ) 23/50
sheepback rock; roche moutonnée หินรูปหลังแกะ : ดู roche moutonne; sheepback rock *29/44
sheet แผ่น : ๑. โดยทั่วไปหมายถึงแผ่นหินอัคนีแทรกซอนที่ลักษณะเป็นรูปแบนหนา ตัวอย่างเช่น พนัง พนังแทรกชั้น ๒. แหล่งสะสมของตะกอนที่มีลักษณะแผ่กว้างเป็นชั้นบาง ๆ ตัวอย่างเช่น ชั้นทรายผืนแผ่น ๓. ชั้นแคลไซต์บาง ๆ ที่พบในถ้ำ ซึ่งแสดงร่องรอยการไหลของสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต
๔. น้ำที่ไหลบ่าไปบนผิวดินในลักษณะเป็นชั้นบาง ๆ แบบน้ำหลากแผ่ซ่าน 23/50
sheeted vein สายแร่แบบแผ่น : กลุ่มแนวแตกขนานกันที่อยู่ชิดกัน ซึ่งมีแร่บรรจุอยู่เต็มในช่องว่างของรอยแตก แทรกสลับด้วยแผ่นหินเดิม 22/50 ๒๐
sheeted-zone deposit แหล่งสายแร่แบบแผ่น : แหล่งแร่ที่ประกอบด้วยสายแร่หรือทางแร่ในเขตรอยเลื่อนเฉือนหรือเขตรอยเฉือน 22/50
sheet erosion; sheet flood erosion การชะล้างแบบแผ่ซ่าน : การกร่อนผุพังของผิวโลกที่เกิดในฤดูฝนเพราะน้ำฝน หรือน้ำที่ละลายจากหิมะไหลหลากลงสู่ร่องห้วยธารต่าง ๆ ไม่ทัน จึงไหลแผ่ซ่านไปบนพื้นที่ที่มีความลาดชันต่ำและสม่ำเสมอ ทำให้ผิวแตกลอกออกเป็นชั้นบาง ๆ ในกรณีที่มีการตัดทางผ่านภูเขาก็อาจมีการกร่อนแบบนี้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของหินและดิน ถ้าการกร่อนเกิดจากน้ำบนผิวดินไหลลงตามความลาด เรียกการชะล้างตามลาด (slope wash) ทำให้เกิดการเลื่อนตัวของดินและหินตามความลาดชัน แต่ถ้ากัดเซาะบริเวณผิวดินจนเป็นร่องเล็ก ๆ เกือบขนานกัน ลึก ๕-๘ เซนติเมตร เรียกว่า การกร่อนแบบร่องน้ำริน (rill erosion) มักพบตามร่องที่ปลูกพืชตามแนวลาดชันเล็กน้อย และพื้นที่มีความลาดชันไม่สม่ำเสมอ การกร่อนแบบนี้อาจไถกลบได้โดยใช้เครื่องมือไถพรวนธรรมดาถ้าการกร่อนแบบร่องน้ำรินถูกกัดเซาะขยายใหญ่ขึ้น เรียกว่า การกร่อนแบบร่องธาร (gully erosion) โดยทั่วไปมีความลึก ๐.๕-๓๐ เมตร มักเกิดในพื้นที่ที่ดินหรือตะกอนยังจับตัวไม่แน่น มีความหมายเหมือนกับ sheet wash ๓ *19/47,20/47
sheet flood erosion; sheet erosion การชะล้างแบบแผ่ซ่าน : ดู sheet erosion; sheet flood erosion *19/47,20/47
sheeting การแตกแบบแผ่น : การที่หินแตกออกเป็นแผ่นหรือแยกเป็นกาบมนเนื่องจากการปลดปล่อยแรงกดหรือแรงดันออกไป การแตกเป็นแผ่นอาจทำให้แผ่นหินแยกออกจากมวลหินเดิม เช่น การแตกเป็นแผ่นหนาหรือรูปเลนส์ในหินแกรนิต โดยทั่วไปจะขนานกับผิวหน้าของหิน แผ่นหินจะมีความหนาและราบเรียบมากขึ้นตามความลึก คุณลักษณะนี้จะเป็นประโยชน์ในการทำเหมืองหิน ดู pressure -release jointing; release joint ประกอบ 23/50
sheet mineral แร่แผ่น : ดู phyllosilicate 22/50
sheet sand; blanket sand ชั้นทรายผืนแผ่น : ดู blanket sand; sheet sand 22/50
sheet structure โครงสร้างแบบแผ่น : ๑. [ธรณีวิทยาโครงสร้าง] โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแผ่น ๆ เช่น กลุ่มรอยแตกแบบแผ่น ๒. [หินตะกอน] ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล รับไปเขียนคำอธิบาย 23/50 ๒๑
sheet wash ๑. น้ำหลากเขตชุ่มชื้น : น้ำหลากแผ่ซ่านที่เกิดขึ้นในบริเวณอากาศชุ่มชื้น ๒. ตะกอนน้ำหลากแผ่ซ่าน : วัสดุที่น้ำหลากแผ่ซ่านนำพามาและสะสมตัว ๓. การชะล้างแบบแผ่ซ่าน : ดู sheet erosion; sheet flood erosion *19/47,20/47
shell เปลือก :
๑. โครงแข็งที่ปกคลุมหรือหุ้มตัวของสัตว์ โดยทั่วไปจะเป็นสารเนื้อปูน แต่บางครั้งเป็นสารไคตินหรือสารซิลิกา เช่น เปลือกสัตว์จำพวกหอยซึ่งมักเป็นสารเนื้อปูน หรือเปลือกไทรโลไบต์หรือกุ้งที่มักเป็นสารไคทิน หรือฟองน้ำบางชนิดซึ่งเป็นสารเนื้อซิลิกา ๒. เปลือกโลกหรือชั้นวงกลมที่เป็นส่วนประกอบภายในโลก ๓. คำที่ใช้ในเรื่องการขุดเจาะ หมายถึงชั้นของหินที่บางและแข็งแกร่งซึ่งพบใน การเจาะ 27/49
shelly facies ชุดลักษณ์เปลือกหอย : ชุดหินตะกอนซึ่งมีซากเปลือกสารเนื้อปูนของหอยดึกดำบรรพ์อยู่เป็นจำนวนมาก เนื้อหินเป็นหินปูนหรือหินโดโลไมต์ มีหินออร์โทควอร์ตไซต์และหินดินดานอยู่บ้าง คำนี้มักใช้อ้างอิงถึงชั้นหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนล่างที่พบในหุบเขามิสซิสซิปปีตอนบนและในบริเวณเกรตเลคของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักในนามของชุดลักษณ์ไหล่ทวีปซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งสะสมตะกอนที่มีโครงสร้างเสถียร 27/49
shingle กรวดแบน : กรวยชายหาดซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากรวดทั่วไป โดยเฉพาะพวกกรวดกลาง หรือกรวดใหญ่ที่มีรูปร่างแบน พบตามชายหาดส่วนที่เป็นที่สูง คำนี้นิยมใช้ในสหราชอาณาจักรมากกว่าในสหรัฐอเมริกา *35, 36/48
shrinkage crack ระแหงจากการหดตัว : รอยแตกระแหงของตะกอนเนื้อละเอียดซึ่งเกิดจากการระเหยของน้ำ ตัวอย่างเช่น ระแหงโคลน 23/50
shoal เนินใต้น้ำ :
๑. พื้นที่ตื้นใต้น้ำ
๒. สัน ชายฝั่ง หรือสันดอนที่อยู่ใต้น้ำ อาจประกอบด้วยตะกอนทรายหรือวัสดุร่วนกองสูงขึ้นจากพื้นท้องน้ำจนเกือบถึงผิวน้ำ ก่อให้เกิดอันตรายต่อการเดินเรือ เนินใต้น้ำนี้อาจโผล่ให้เห็นเมื่อน้ำลง 17-18/49
shoal reef พืดหินโสโครก : พืดหินที่เกิดจากปะการังซึ่งเจริญเติบโตเป็นหย่อม ๆ รูปร่างไม่แน่นอน เกิดในน้ำตื้น อาจโผล่พ้นน้ำเมื่อน้ำลง มักมีเศษปะการังเนื้อปูนที่แตกหักมาจากพืดหินใต้ ๒๒
น้ำขนาดใหญ่ เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ ดู reef knoll, reef patch และ patch reef ประกอบ *27/47,28/47
shoestring sand แนวชั้นทราย : ชั้นทรายหรือชั้นหินทรายที่มีรูปร่างยาวและแคบซึ่งถูกทับถมโดยโคลนหรือหินดินดาน เช่น ร่องน้ำทับถม สันดอนทรายฝัง ดู channel sand ประกอบ 8/47
shore reef พืดหินชายฝั่ง : ดู fringing reef *27/47
shot copper ทองแดงลูกกระสุน : โลหะทองแดงธรรมชาติรูปทรงกลมขนาดเล็กเหมือนลูกกระสุน เกิดเนื่องจากทองแดงเข้าไปบรรจุอยู่ในช่องว่าหรือรูพรุนของหินบะซอลต์ (รอแก้ไขคำอธิบายศัพท์ cellular และ vescicular ในหนังสือด้วย) 23/50
shot depth ความลึกจุดระเบิด : ระยะในแนวดิ่งจากผิวดินถึงจุดระเบิดเพื่อเป็นต้นกำเนิดพลังงานในการสำรวจความไหวสะเทือน *3/47,4/47
shot elevation ระดับจุดระเบิด : ระยะในแนวดิ่งของจุดระเบิดในหลุมระเบิดซึ่งห่างจากระดับอ้างอิงที่ใช้ในการสำรวจความไหวสะเทือน *3/47
shot hole หลุมระเบิด : หลุมเจาะที่ใส่ระเบิดเพื่อเป็นต้นกำเนิดพลังงานในการสำรวจความไหวสะเทือน *3/47,4/47
shutterridge สันกั้น : แนวสันยาวที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนในแนวดิ่ง แนวราบ หรือแนวเฉียงที่ตัดผ่านลำน้ำหรือหุบผาชัน ซึ่งอาจปิดกั้นหุบผาชันหรือทางน้ำที่อยู่ใกล้ ๆ จนทำให้ทางน้ำเปลี่ยนทิศทาง 17-19/49
siderite ซิเดอไรต์ : สินแร่เหล็กชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี FeCO3 รูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนราบแบบรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นสมสัณฐานกับแมกนีไซต์และโรโดโครไซต์ โดยทั่วไปมักมีแมกนีเซียมและแมงกานีสเป็นส่วนประกอบ ปรกติมีสีน้ำตาลออกเหลืองน้ำตาลออกแดง หรือน้ำตาลไหม้ แต่บางทีมีสีขาวหรือเทา พบเป็นสารเจือปนในชั้นหิน เป็นก้อนกลมในดินหรือหินดินดาน และพบเป็นตะกอนที่มีบางส่วนเปลี่ยนสภาพเป็นเหล็กออกไซด์ จัดเป็นสินแร่เหล็กที่สำคัญชนิดหนึ่ง มีความหมายเหมือนกับ chalybite 13/50
side slope ลาดคันทาง : เชิงลาดข้างทางที่มีการก่อสร้างเสริมระดับคันทางเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของคันทาง อัตราส่วนความชันระหว่างแนวราบต่อแนวดิ่งอยู่ในช่วง ๑:๑ – ๒:๑ *33/46 ๒๓
sidewall core แท่งตัวอย่างผนังหลุม : แท่งตัวอย่างหินที่เก็บจากผนังหลุมเจาะ โดยการยิงเครื่องเก็บตัวอย่างเข้าไปในชั้นหินข้างผนังหลุมเจาะ *1/47
sieve analysis; screen analysis การวิเคราะห์ผ่านตะแกรง : ดู screen analysis; sieve analysis *30/47
sigillarian ๑. ซิกิลลาเรียน : กลุ่มคลับมอสส์ที่มีลักษณะสูงใหญ่เหมือนไม้ต้น อยู่ในสกุล Sigillaria พบในชั้นหินยุคคาร์บอนิเฟอรัส ๒. –ซิกิลลาเรียน : คำที่ใช้เกี่ยวข้องกับคลับมอสส์สกุล Sigillaria ดู lepidodendrid ความหมายที่ ๒ ประกอบ *31,32/48
silica sand ทรายซิลิกา : ทรายหรือหินทรายที่แตกสลายง่าย ประกอบด้วยซิลิกาเปอร์เซ็นต์สูง เป็นสารที่ให้ซิลิคอน หรือเป็นวัตถุดิบผลิตแก้วหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 23/50
silicate ซิลิเกต : กลุ่มแร่กลุ่มหนึ่งซึ่งประกอบด้วยซิลิคอนและออกซิเจนเป็นหลัก ธาตุทั้งสองนี้จับตัวกันเป็นหน่วยโครงสร้างรูปทรงสี่หน้า (SiO4 tetrahedra) โครงสร้างนี้อาจเกิดเป็นอิสระ เป็นกลุ่ม เป็นลูกโซ่ หรือเป็นแผ่น โดยทั่วไปมีธาตุโลหะอื่นร่วมอยู่ด้วย การจำแนกกลุ่มของซิลิเกตใช้โครงสร้างผลึกเป็นหลัก ในเปลือกโลกมีซิลิเกตมากกว่าร้อยละ ๙๐ *15/46
siliceous ooze เลนเนื้อซิลิกา : ตะกอนทับถมก้นสมุทรที่มีซากสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นสารเนื้อซิลิกาอย่างน้อยร้อยละ ๓๐ เช่น เลนไดอะตอม เลนเรดิโอลาเรีย ดู calcareous ooze ประกอบ *8,9,10/48
siliceous residue กากเนื้อซิลิกา : กากที่ไม่ละลายในกรดเกลือหรือกรดน้ำส้ม ส่วนใหญ่ประกอบด้วยสาร ซิลิกา เช่น ควอตซ์ เชิร์ต 23/50
siliceous sinter ซินเตอร์เนื้อซิลิกา : ซิลิกา(หินตะกอน)ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเหมือนโอปอเนื้อพรุน น้ำหนักเบา มีสีขาวหรือเกือบขาว เกิดจากการตกตะกอนจากน้ำพุร้อนทับถมพอกเป็นชั้น ๆ มีความหมายเหมือนกับ geyserite และ sinter ความหมายที่ ๑ (ยังไม่ยุติ) 23/50
sillimanite ซิลลิมาไนต์ : แร่ชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี Al2SiO5 ผลึกคล้ายเข็ม อยู่ในระบบสามแกนต่าง สีน้ำตาลเทา หรือเขียวอ่อน เป็นไตรสัณฐานร่วมกับไคยาไนต์และแอนดาลูไซต์ พบในหินแปรสภาพบริเวณไพศาล เช่น หินชีสต์ หินไนส์ มีความหมายเหมือนกับ fibrolite 13/50
simple multiple คลื่นสะท้อนซ้ำธรรมดา : ดูคำอธิบายใน multiple; multiple reflection *13/46 ๒๔
sinistral –วนซ้าย : เกี่ยวกับการเอียงหรือการหมุนวนไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ในทางบรรพชีวินวิทยาใช้เรียกลักษณะการบิดของเปลือกหอยกาบเดี่ยวที่มีลักษณะบิดหมุนไปทางซ้าย การดูทิศทางการบิดต้องหันช่องเปลือกเข้าหาผู้สังเกตโดยหมุนจากยอดไปยังช่องเปลือก ดูรูปใน dextral ประกอบ 38,39/47
sinter ซินเตอร์ : ๑. ดู siliceous sinter ๒. แหล่งสะสมจากน้ำพุเนื้อปูน เช่น ทูฟา ทราเวอร์ทีน 23/50
sinus รอยบุ๋ม : รอยกดหรือร่องบนเปลือกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่นรอยที่พบบนบริเวณช่องปากของเปลือกหอยกาบเดี่ยวสกุลที่มีรูปร่างม้วนแบบกรวยหรือแบบวงแบนราบ รอยบากจะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของของเสียจากทวารและน้ำที่กรองผ่านเหงือกแล้ว ดูรูป และดู sulcus ประกอบ 27/49
siphon ไซฟอน : อวัยวะรูปร่างคล้ายท่อ พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ดูดน้ำเข้าหรือพ่นน้ำออก ดู siphuncle ประกอบ 44-45/48
siphuncle ไซฟังเคิล : อวัยวะในเปลือกของสัตว์พวกหอยเซฟาโลพอด ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีผนังกั้นแบ่งภายในเปลือกออกเป็นห้องๆ อวัยวะดังกล่าว มีลักษณะเป็นรูเปิดรูปกลมอยู่บนตำแหน่งเดียวกันบนผนังกั้นห้องทุกห้อง ตั้งแต่ห้องแรกซึ่งมีขนาดเล็กที่สุดไปจนถึงห้องสุดท้ายซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นที่อยู่ของตัวหอย อวัยวะนี้มีไว้สำหรับให้เนื้อเยื่อส่วนที่เรียกว่าไซฟอน (siphon) ลอดผ่าน ไซฟอนมีหน้าที่ดูดน้ำเข้า-ออกเพื่อทำให้สัตว์เคลื่อนที่ ลอยตัวหรือจมตัวได้ 44-45/48
skin damage ความเสื่อมสภาพผนังหลุม : ดู formation damage *19/47
slim hole หลุมเล็ก : ๑. หลุมเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน ๕ นิ้ว ๒. หลุมเจาะที่มีขนาดเล็กกว่าปรกติที่เจาะโดยเครื่องเจาะ เป็นการสำรวจแหล่งแร่ขั้นต้นเพื่อศึกษาลำดับชั้นหินหรือโครงสร้าง *3/47,4/47
slope cutting; profile; cross section : (มอบนายสมหวัง ช่างสุวรรณ์ เขียนคำอธิบาย) *17/47
slope failure การพังทลายตามลาด : การเคลื่อนตัวไปตามความลาดชันของชั้นดินหรือหินด้านล่างภายใต้แรงดึงดูดของโลก การเคลื่อนตัวดังกล่าวเป็นได้ทั้งอย่างช้า ๆ หรืออย่างรวดเร็ว ๒๕
ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การขุดขนย้ายวัสดุออกจากบริเวณเชิงเขา *19/47,20/47
slope stability เสถียรภาพตามลาด : แรงต้านตามความลาดชันซึ่งเกิดตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการพังทลายซึ่งอาจทำให้เกิดแผ่นดินถล่มได้ *19/47
slope wash การชะล้างตามลาด : การเคลื่อนตัวลงของดินและหินตามความลาดชันของภูมิประเทศโดยเกิดจากการไหลแผ่ซ่านของน้ำ ดู sheet erosion; sheet flood erosion ประกอบ *19/47,20/47
slurry ของเหลวข้น : ของเหลวที่มีลักษณะข้นซึ่งได้จากการผสมของผงวัสดุกับน้ำที่เกิดตามธรรมชาติหรือจากมนุษย์ทำขึ้น เช่น โคลนก้นทะเลสาบ โคลนจากหลุมเจาะ โคลนท้ายรางจากการแต่งแร่ ผงถ่านหินกับน้ำ เพื่อใช้ขนส่งทางท่อ หรือซีเมนต์กับน้ำ ยางมะตอยผสมกับน้ำและหินฝุ่น เพื่อใช้ในการอุดรอยรั่วหรือรอยแตก *5/47,6/47,7/47,8/47,9/47,10/47
slush pump; mud pump เครื่องสูบโคลนเจาะ : ดู mud pump; slush pump *9/48
smectite สเมกไทต์ : ชื่อกลุ่มแร่ดินซึ่งมีโครงสร้างแบบ ๓ แผ่น กลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วยแผ่นซิลิกาทรงสี่หน้า ๒ แผ่น ประกบแผ่นอะลูมินา (Al2O3) ทรงแปดหน้า ๑ แผ่น ไว้ตรงกลาง และระหว่างชั้นหน่วยมีแผ่นน้ำและแคตไอออนแลกเปลี่ยน โดยมีแคตไอออนเป็นพันธะระหว่างชั้นหน่วย ถ้าแคตไอออนเป็น Na+ แผ่นน้ำจะหนา ๑ โมเลกุล แต่ถ้าแคตไอออนเป็น Ca+ แผ่นน้ำจะหนา ๒ โมเลกุล ตัวอย่างแร่ในกลุ่มนี้ เช่น มอนต์มอริลโลไนต์โซเดียมเบส มอนต์มอริลโลไนต์แคลเซียมเบส ไบเดลไลต์ *21/46,22/46,23/46,24/46, 25/46,26/46
smoky quartz ควอตซ์สีควันไฟ : ควอตซ์ชนิดผลึก สีเทาควันไฟอมเหลือง สีน้ำตาลอมสีเทา สีเทาดำ อาจเรียกหินคาร์นเกิร์ม (Cairngorm Stone) มาจากชื่อภูเขาในสกอตแลนด์ สีเทาดำของ ควอตซ์ชนิดนี้เกิดจากกัมมันตรังสีของแร่เรเดียมที่อยู่ในหิน 13-14/49
snake’s head fold; ramp anticline ชั้นหินโค้งรูปหัวงู : ดู snake’s head fold; ramp anticline *9/46 ๒๖
snowflake obsidian หินออบซิเดียนเกล็ดหิมะ : หินออบซิเดียนที่เนื้อพื้นมีสารฝังในประกอบด้วยกลุ่มผลึกเล็ก ๆ รวมตัวคล้ายดอกไม้หรือเป็นมวลรัศมี ขนาดตั้งแต่ ๑ มิลลิเมตรถึง ๑ เมตร มีสีเทาถึงขาว เมื่อนำไปขัดมันจะมองดูคล้ายเกล็ดหิมะในเนื้อพื้นสีดำของแก้วภูเขาไฟ เป็นผลจากการที่ลาวาเย็นตัวอย่างรวดเร็ว พบในประเทศจีน เกาหลี ดู spherulite ประกอบ *22/46
sodium-feldspar โซเดียมเฟลด์สปาร์ : ๑. กลุ่มแร่เฟลด์สปาร์ที่ประกอบด้วยโซเดียมสูง เช่น แอลไบต์ เพริสเตไรต์ ในประเทศไทยพบที่จังหวัดตาก นครศรีธรรมราช ระนอง ราชบุรี ๒. ชื่อเชิงพาณิชย์ของเฟลด์สปาร์ที่มี Na2O อย่างน้อยร้อยละ ๗ บางครั้งเรียกโซดาเฟลด์สปาร์ (soda feldspar) ในประเทศไทยเฟลด์สปาร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระจกแผ่นใสต้องมี Na2O อย่างน้อยร้อยละ ๑๐ (ยังไม่ยุติ : รอเพิ่มภาพประกอบ) *21/46,22/46,23/46
soft coal ถ่านหินเนื้ออ่อน : คำที่ในสหรัฐอเมริกาใช้เรียกถ่านหินบิทูมินัสหรือถ่านหินซับบิทูมินัส ดู bituminous coal และ subbituminous coal ประกอบ *5/47,6/47
soil profile หน้าตัดข้างของดิน : ชั้นดินที่มีลักษณะปรากฏให้เห็นเรียงตามลำดับเป็นช่วงชั้นจากชั้นบนสุดจนถึงชั้นล่างสุด ว่าแต่ละช่วงมีลักษณะอย่างไร หากขุดเป็นหลุมใหญ่ลึกลงไปในดินที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติจะสามารถแลเห็นหน้าตัดของดินได้จากปากหลุมลงไปจนถึงก้นหลุม (ดูรูปที่ soil horizon)) *21/47,22/47
soil water น้ำในดิน : ๑. น้ำที่อยู่ในเขตไม่อิ่มน้ำและบางส่วนพืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ จะพบอยู่ในแถบของความชื้นในดิน (belt of soil moisture) ซึ่งแถบนี้จะขยายลงไปจากผิวดินจนถึงบริเวณที่รากไม้หยั่งถึง ในพื้นที่เกษตรกรรมแถบนี้ส่วนใหญ่ขยายลงไปใต้ผิวดินเพียง ๑ หรือ ๒ เมตร แต่อาจขยายลึกลงไปมากกว่าในพื้นที่ที่ต้นไม้บางชนิดมีรากยาวและขยายลงไปใต้ดินหลายเมตรก็ได้ ๒. [ปฐพีวิทยา] น้ำที่อยู่ในช่องว่างของอนุภาคดิน มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาด้วยแรงขับที่เกิดจากความโน้มถ่วงหรือแรงดึงตามรูเล็ก น้ำที่อยู่ในดินที่ถูกยึดไว้ด้วยแรงมากกว่า ๑,๕๐๐ กิโลพาสคัล เป็นน้ำที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ๒๗
(unavailable water) ส่วนน้ำที่ถูกยึดไว้ด้วยแรงระหว่าง ๓๓-๑,๕๐๐ กิโลพาสคัล เป็นน้ำที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (available water) และน้ำที่ถูกยึดไว้ด้วยแรงน้อยกว่า ๓๓ กิโลพาสคัล ส่วนใหญ่จะไหลลงสู่ชั้นน้ำบาดาล *11/44
sole mark รอยใต้ชั้นหิน : โครงสร้างซึ่งแสดงให้เห็นทิศทางหรือความไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นบนผิวใต้ท้องของชั้นหินทรายหรือหินทรายแป้ง ซึ่งวางตัวทับอยู่บนชั้นหินที่มีเนื้อละเอียดกว่า เช่น หินดินดาน รอยดังกล่าว ได้แก่ รูปพิมพ์กดทับ รูปพิมพ์รูปร่อง *39,41/47
solidus; solidus line แนวสภาพแข็ง : แนวเส้นในแผนภาพแสดงองค์ประกอบของของแข็งและของเหลวซึ่งแสดงจุดที่ของแข็งเริ่มเปลี่ยนเป็นของเหลวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ดู liquidus; liquidus line ประกอบ *19/46,23/46
solum; true soil ชั้นดินแท้ : ส่วนที่เป็นชั้นดินซึ่งอยู่ตอนบนของหน้าตัดดิน เกิดในวัฏจักรเดียวกันกับกระบวนการสร้างดิน ประกอบด้วยชั้น A และ B ดู soil horizon ประกอบ 1-2/2549
solution gas แก๊สละลาย : แก๊สธรรมชาติที่ละลายอยู่ในน้ำมันดิบตามสภาพหรือสภาวะของแหล่งกักเก็บนั้น ๆ *32/47
solution transfer การถ่ายโอนสารละลาย : กระบวนการละลายเนื่องจากแรงดันบริเวณผิวสัมผัสของเม็ดตะกอนเนื้อผสม ตามด้วยการสะสมตัวทางเคมีใหม่ของสารละลายขั้นต้น ณ บริเวณผิวตะกอนที่มีความเครียดน้อยกว่า เช่น บริเวณช่องว่างหรือรอยแตก ดู Riecke’s principle ประกอบ 16/49
sorosilicate ซอโรซิลิเกต : กลุ่มแร่ซิลิเกตที่ประกอบด้วย SiO4 ทรงสี่หน้า ๒ ชุด จับคู่กันโดยใช้ออกซิเจนร่วมกันอยู่ ๑ ตัว อัตราส่วน Si : O = ๒ : ๗ ตัวอย่างเช่น เฮมิมอร์ไฟต์ เอพิโดต ไอโดเครส ลอว์ซอไนต์ แอลลาไนต์ *15/46
sound intensity; acoustic intensity ความเข้มคลื่นเสียง : ดู seismic intensity *18/48
source-generated noise เสียงรบกวนจากต้นกำเนิดคลื่น : คลื่นเสียงที่เกิดขึ้นจากพลังงานที่ส่งออกไปจากต้นกำเนิดคลื่นซึ่งใช้ในการสำรวจที่ไม่ใช่คลื่นสะท้อนปฐมภูมิ ประกอบด้วยคลื่นตรง คลื่นพื้นผิว คลื่นเสียงทางอากาศ คลื่นหักเหระดับตื้น คลื่นหักเห ๒๘
สะท้อนกลับ คลื่นสะท้อนซ้ำ คลื่นเลี้ยวเบน เป็นต้น *12/46,13/46,14/46
space group; space lattice กลุ่มปริภูมิ : ชุดโครงร่างสามมิติของผลึกที่เกิดจากการเรียงตัวของอะตอม ไอออน หรือกลุ่มไอออน ตามรูปแบบอย่างมีระเบียบซ้ำ ๆ กัน ซึ่งมีสมมาตรทั้งหมด ๒๓๐ วิธี *22/46
speciation การเกิดชนิดใหม่ : ๑. กระบวนการเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ประชากรบางส่วนถูกแบ่งแยกออกจากกันจนกระทั่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ๒. การคัดเลือกตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์หรือตัวอย่างสิ่งมีชีวิตมาจัดให้เป็นหมวดหมู่ โดยแต่ละหมวดหมู่หรือแต่ละกลุ่มเป็นตัวแทนของหนึ่งชนิด 28/49
specific name ชื่อจำเพาะ : ๑. ชื่อของสัตว์หรือพืชที่เขียนเป็นลำดับที่สองในการเขียนแบบทวินาม เช่น Phuwiangosaurus sirindhornae ๒. มีความหมายเหมือนกับ binomen 27/49
specularite สเปกคูลาไรต์ : ฮีมาไทต์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่น วาวแบบโลหะ ดู haematite; hematite ประกอบ 13-14/49
sphenoid _______ : สองหน้าที่ไม่ขนานกันแต่สัมพันธ์กับทวิแกนสมมาตรและจตุรแกนสมมาตร มักเกิดในผลึกหนึ่งแกนเอียง (รอพิจารณา) 22,23/46
spherulite มวลรัศมี : ๑. มวลทรงกลม ประกอบด้วยผลึกรูปเข็มของแอลคาไลเฟลด์สปาร์และควอตซ์ที่เรียงตัวแผ่เป็นรัศมีจากศูนย์กลาง อาจมีขนาดตั้งแต่เล็กมากต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จนถึงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหลายเซนติเมตร โดยมากเกิดในหินภูเขาไฟชนิดกรด เช่น หินไรโอไลต์ แต่อาจเกิดในหินอัคนีแทรกซอนระดับตื้นที่ตกผลึกบางส่วนหรือตกผลึกอย่างรวดเร็ว ดู lithophysae และ variolitic ประกอบ ๒. มวลสารหรือผลึกมวลรวมที่มีรูปร่างค่อนข้างกลมถึงกลม มีโครงสร้างภายในแบบรัศมีที่แผ่จากศูนย์กลางอยู่ในหินชั้น เช่น ก้อนทรงมนคาร์บอเนต (carbonate nodule) มักเกิดในหินดินดาน ดู orbicule ประกอบ *32/45,33/45,34/45,35/45 ๒๙
spicule โครงหนาม : สารแคลเซียมคาร์บอเนตหรือซิลิกาที่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะพวกฟองน้ำสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จับยึดเนื้อเยื่อและค้ำพยุงให้เป็นรูปร่างของสิ่งมีชีวิตนั้น โครงหนามมีรูปร่างหลายแบบ ได้แก่ แบบแกนเดี่ยว สามแกนตั้งฉากกัน สี่แกนไม่อยู่ในระนาบเดียวกัน แบบรัศมี และไม่มีแบบที่แน่นอน โครงหนามพบปะปนอยู่ในตะกอนท้องทะเล และในหินเชิร์ตของมหายุคพาลีโอโซอิก และยุคครีเทเชียส โครงหนามที่ฟองน้ำสร้างขึ้นจากสารอินทรีย์มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า ใยโครงร่างฟองน้ำ (spongin) *18/45
spill plane ระนาบไหลล้น : ระดับในแนวราบที่ลากต่อออกมาจากจุดไหลล้นในโครงสร้างของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม *7/47
spill point จุดไหลล้น : บริเวณหรือจุดใด ๆ ในโครงสร้างของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมต่ำสุดที่สามารถกักเก็บปิโตรเลียมไม่ให้ไหลออกไปได้ *7/47
spine ๑. หนาม : ส่วนที่ยื่นออกมาจากผิวเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น หนามของเม่นทะเลซึ่งใช้เดิน ดู sea urchin ประกอบ
๒. หนามภูเขาไฟ : ดู volcanic spine 28/49
splitting การแยกกลุ่ม : การจัดทำทฤษฏีหรือหัวข้อปฏิบัติสำหรับการจัดจำแนกหมวดหมู่ของพืชหรือสัตว์ตามระบบอนุกรมวิธาน ที่ได้นำเอาลักษณะที่มีความสัมพันธ์กันในหน่วยใดหน่วยหนึ่งมาพิจารณาความแตกต่าง แล้วจัดแยกย่อยออกมา นักอนุกรมวิธานที่ได้จัดทำเกณฑ์ข้อปฏิบัติดังกล่าว เรียกว่า นักอนุกรมวิธานแยกกลุ่ม (splitter) ผลงานของนักอนุกรมวิธานแยกกลุ่มทำให้หน่วยที่เคยมีมาก่อนเกิดเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่าขึ้น เช่น จากวงค์ย่อยได้เป็นวงศ์ หรือจากชนิดย่อย เป็นชนิด ดู lumping ประกอบ *37-38/48
SP log (self potential log) ผลบันทึกเอสพี (ผลบันทึกศักย์ไฟฟ้าในตัว) : ผลบันทึกการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในหลุมเจาะที่ไม่ได้ใส่ท่อกรุ ความต่างศักย์ไฟฟ้าต่อเนื่องที่มีจำนวนเล็กน้อยจากสภาพทางเคมีไฟฟ้าที่วัดได้นี้ เกิดจากการแทรกดันของน้ำโคลนหรือสารละลายโลหะที่แทรกอยู่ในชั้นหิน ผลบันทึกเอสพีสามารถนำไปใช้หาสภาพซึมได้ สภาพต้านทานไฟฟ้าของน้ำ ปริมาณหินดินดานที่ปนอยู่ในชั้นหิน และหารอยสัมผัสของชั้นหินเพื่อการทำสหสัมพันธ์ *1,2,3/45
sponge ฟองน้ำ : สัตว์หลายเซลล์ อาศัยอยู่ในน้ำ จัดเป็นพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) มีลักษณะเฉพาะคือ โครงสร้างภายในประกอบด้วยโครงหนาม (spicule) ซึ่งสร้างด้วยสารซิลิกา แคลเซียมคาร์บอเนต หรือสารอินทรีย์ ๓๐
ที่มีชื่อเรียกว่า ใยโครงร่างฟองน้ำ (spongin) มีช่วงอายุตั้งแต่ก่อนยุคแคมเบรียนถึงปัจจุบัน มีความหมายเหมือนกับ poriferan ดู spicule ประกอบ *18/45,19/45
spongin ใยโครงร่างฟองน้ำ : ดูคำอธิบายใน spicule และ sponge *18/45
spore สปอร์ : เซลล์สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เป็นเซลล์เดี่ยวของพืชหรือสัตว์ชั้นต่ำ สามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและสามารถพัฒนาโดยลำพังตัวเองให้เป็นสิ่งที่มีชีวิตขึ้นมาใหม่ได้ สปอร์พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ตั้งแต่ยุคไซลูเรียนจนถึงปัจจุบัน 29/49
spring tide น้ำเกิด : ช่วงกระแสน้ำขึ้น-น้ำลงซึ่งเกิดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ เป็นช่วงเวลาที่แรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์เสริมกับแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ ทำให้ความต่างของระดับกระแสน้ำขึ้น-น้ำลงเพิ่มมากขึ้น ดู neap tide ประกอบ 45-46/48
stack ๑. เกาะหินโด่ง : เกาะใกล้ฝั่งทะเลที่หินยอดเกาะมีลักษณะโด่งหรือชะลูด เกิดจากแหลมหินที่ยื่นออกไปในทะเล แต่เดิมถูกคลื่นเซาะทั้ง ๒ ข้างจนส่วนปลายถูกกัดตัดออกเป็นเกาะลักษณะเหมือนปล่องเรือเรียงรายอยู่ ๒. ผลรวม : ผลของการรวมข้อมูลหรือผลของการบันทึกความไหวสะเทือนหลาย ๆ ครั้ง เพื่อปรับแก้การเบี่ยงเบน และความไม่คงที่ของชั้นสะท้อน *5/47
stained gemstone; dyed gemstone อัญมณีย้อม : อัญมณีที่ผ่านการย้อมสีเพื่อเพิ่มคุณภาพ ซึ่งมักเป็นพวกเนื้อจุลผลึกหรือพหุผลึก (polycrystalline) เพราะจะมีรูที่บริเวณผิว บางชนิดนำไปเคลือบด้วยสารพอลิเมอร์หรือพลาสติกก่อนนำไปย้อม โดยการนำไปแช่ในสารให้สีหรือสารเคมี อาจจะให้ความร้อนหรือไม่แล้วแต่ชนิดของอัญมณี เพื่อทำให้สีมีความคงทนและได้สีที่เด่นชัดหรือสีตามความต้องการ หรือเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม เช่น หยกย้อมจากสีขาวหรือสีไม่สวยให้เป็นสีเขียว ส่วนควอตซ์เนื้อจุลผลึกย้อมได้ทุกสี อะเกตย้อมเพื่อให้แถบสีมีความเด่นชัดมากขึ้น มุกย้อมให้เป็นสีดำ (ด้วยซิลเวอร์ไนเตรต) แจสเพอร์สีแดงที่ย้อมเป็นสีน้ำเงินเรียก สวิสลาพิสหรือเยอรมันลาพิส อัญมณีย้อมบางชนิดสีที่ได้มักไม่ค่อยคงทน เมื่อนำไปล้างด้วยน้ำหรือสารละลายบางชนิด เช่น แอซีโทน สีจะหลุดออก *7/46,8/46
standard section หน้าตัดมาตรฐาน : หน้าตัดอ้างอิงของชั้นหินที่แสดงถึงการเรียงลำดับของชั้นหินอย่างครบถ้วนหรือเกือบครบถ้วนในพื้นที่บางแห่ง ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับเทียบสัมพันธ์ ใช้ ๓๑
เสริมหรือทดแทนชั้นหินแบบฉบับที่สูญไป โดยเฉพาะชั้นหินแบบฉบับที่อยู่ในหน่วยลำดับอายุตามเวลา 18/49
stand pipe ท่อยืน : ท่อเหล็กที่ติดตั้งกับโครงหอเจาะ ปลายล่างต่อกับท่อที่มาจากปั๊ม ส่วนปลายบนต่อกับสายโคลนเจาะ เพื่อให้โคลนเจาะไหลเข้าสู่ก้านเจาะได้ (ดูรูปที่ swivel หมายเลข ๒๓) *4/47
stannite สแตนไนต์ : แร่ดีบุกชนิดหนึ่งที่หายาก มีสูตรเคมี Cu2FeSnS4 ผลึกอยู่ในระบบสองแกนเท่า โครงสร้างผลึกเกิดจากที่ธาตุเหล็กและดีบุกแทนที่ธาตุทองแดงในคาลโคไพไรต์และสฟาเลอไรต์ มีความแข็ง ๔ ความถ่วงจำเพาะ ๔.๓-๔.๕ วาวแบบโลหะ และติดแม่เหล็ก มักพบในสายแร่น้ำร้อนและเพกมาไทต์ ในประเทศไทยไม่จัดเป็นแร่เศรษฐกิจ พบที่เหมืองปินเยาะ จังหวัดยะลา และเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความหมายเหมือนกับ tin pyrite และ tin chalcopyrite* 35/45,36/45
steam flooding การไล่ด้วยไอน้ำ : การอัดไอน้ำเข้าไปในชั้นกักเก็บ เพื่อไล่น้ำมันดิบที่เหลืออยู่เข้าสู่หลุมผลิต เป็นการผลิตน้ำมันดิบขั้นทุติยภูมิ หรือ ตติยภูมิ ดู hot-water flooding *1/47,2,19/47
S-tectonite หินเทกโทไนต์เอส : หินเทกโทไนต์ที่เนื้อหินแสดงระนาบ (planar) เนื่องจากการเปลี่ยนลักษณะ เช่น หินชนวน ดู L-tectonite ประกอบ 38-39/48
STEM (scanning transmission electron microscope) เอสทีอีเอ็ม (กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนส่องกราดผ่าน) : ดู scanning transmission electron microscope (STEM) *10/47,11/47, 12/47
stepback ระยะเหลื่อมหลัง : ดู offset ความหมายที่ ๒ *26/47,27/47
stishovite สติโชไวต์ : พหุสัณฐานของควอตซ์ ผลึกอยู่ในระบบสองแกนเท่า มีความหนาแน่นมาก เกิดที่ความดัน ๑๐๐ กิโลบาร์ หรือ ๑๐,๐๐๐ เมกะพาสคัล (MPa) พบร่วมกับโคไซต์ เกิดจากหินที่มีควอตซ์ซึ่งแปรสภาพเนื่องจากอุกกาบาตตกกระแทก (ยังไม่ยุติ : รอตรวจสอบตัวเลขความหนาแน่น) *16/46,17/46,18/46,19/46 ๓๒
stomach stone; gastrolith; gizzard stone กรวดในกระเพาะ : ดู gastrolith; gizzard stone; stomach stone *40/47
Stone Age ยุคหิน : เวลาทางโบราณคดี กำหนดจากเครื่องใช้ของมนุษย์ที่ทำจากวัสดุนอกเหนือจากโลหะ เช่น หิน ไม้ กระดูก แบ่งย่อยออกเป็น ๓ ยุค คือ ยุคหินเก่า (Paleolithic) ยุคหินกลาง (Mesolithic) และยุคหินใหม่ (Neolithic) ทางโบราณคดีเรียกยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ ว่า สมัยหินเก่า สมัยหินกลาง และสมัยหินใหม่ ตามลำดับ 29/49
stone intrusion หินแทรกดัน : พนังหินทรายที่มีรูปร่างบิดเบี้ยวไป มีรูปทรงไม่สม่ำเสมอหรือเป็นกระเปาะที่แทรกอยู่ในชั้นถ่านหิน โดยทั่วไปมักจะแทรกเข้าไปจากบนลงล่าง และมักเชื่อมต่อและมีความคล้ายคลึงกับหินทรายที่อยู่ด้านบน มีความหมายเหมือนกับ sandstone dike ความหมายที่ ๒ 21/50
stoss -ด้านปะทะ : คำที่ใช้เกี่ยวกับด้านข้างของเขา หรือเนินเขา ซึ่งหันหน้ารับการปะทะการเคลื่อนตัวของธารน้ำแข็งหรือพืดน้ำแข็ง เนื่องจากด้านนี้หันหน้าตรงไปทางต้นธารน้ำแข็ง จึงเป็นผลให้ถูกครูดถูมากที่สุด มีความหมายตรงข้ามกับ lee ๒ *31-34/48
stoss-and-lee topography ภูมิลักษณ์ปะทะ-กำบัง : ลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบด้วยเขาเล็ก ๆ หรือ หินโผล่ที่มีลาดด้านปะทะเอียงเทน้อยกว่าลาดด้านกำบัง โดยเฉพาะเมื่อมีการแตกตัวแบบบล็อก ลักษณะเช่นนี้จะพบในภูมิประเทศที่มีธารน้ำแข็งหรือพืดน้ำแข็งปกคลุม มีลักษณะตรงข้ามกับโขดหินชันมีลาด ดู crag and tail ประกอบ *31-35/48
strain ellipse วงรีความเครียด : รูปวงรีเชิงเปรียบเทียบของวัตถุในสภาพที่เปลี่ยนลักษณะไปจากรูปเดิมซึ่งเป็นรูปวงกลม *5/44
strain ellipsoid ทรงรีความเครียด : รูปทรงรีเชิงเปรียบเทียบของวัตถุในสภาพที่เปลี่ยนลักษณะไปจากรูปเดิมซึ่งเป็นรูปทรงกลม ทรงกลมนี้มักพิจารณาในหน่วยความยาวตามความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลาง ส่วนทรงรีมักกำหนดให้มีความยาวตามแนวแกนที่ยาวที่สุดซึ่งเป็นแกนที่มีความเครียดมากที่สุด มีความหมายเหมือนกับ deformation ellipsoid *5/44
strain ความเครียด : การเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง ปริมาตร พื้นที่ ความยาว หรือมุม ของวัตถุอันเป็นผลจากความเค้นโดยเทียบกับสภาพเดิม *5/44
strata-bound : (รอเขียนคำอธิบาย) หมายเหตุ : ดร.ปัญญา จารุศิริ เสนอบัญญัติศัพท์ เป็นคำทับศัพท์รวมทั้ง stratiform ด้วย *5/44 ๓๓
stratiform : (รอเขียนคำอธิบาย) *5/44
stratigraphic column; geologic column ภาพแท่งลำดับชั้นหิน : ดู geologic column; stratigraphic column *4/48
stratigarphic paleontology บรรพชีวินชั้นหิน : การศึกษาซากดึกดำบรรพ์และการแพร่กระจายของซากดึกดำบรรพ์ในหมวดหินต่างๆ โดยเน้นการเทียบสัมพันธ์ความเกี่ยวเนื่องของเวลาและลำดับชั้นของหินตะกอนกับซากดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่ในชั้นหินนั้น ดู biostratigraphy ประกอบ 27/49
stratigarphic range ช่วงชั้นมีซากดึกดำบรรพ์ : การแพร่กระจายตัวตลอดช่วงธรณีกาลของซากดึกดำบรรพ์สกุล ชนิดหรือกลุ่มใดๆในอนุกรมวิธานที่ได้กำหนดขึ้น ดังจะเห็นได้จากการพบซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหินที่รู้อายุแล้ว หรือการพบซากดึกดำบรรพ์คงอยู่ตลอดลำดับชั้นหิน มีความหมายเหมือนกับ range และ geologic range 27/49
stratigraphic section ภาคตัดลำดับชั้นหิน : ดู geologic section *3/48
stratigraphic separation การขาดช่วงลำดับชั้นหิน : ระยะห่างของชั้นหินที่แยกห่างกันโดยรอยเลื่อนซึ่งวัดตั้งฉากจากชั้นหิน ในกรณีของหลุมที่เจาะผ่านแนวรอยเลื่อน จะทำให้ลำดับชั้นหินขาดช่วงไปเป็นระยะหรือความหนาเท่ากับชั้นหินที่ถูกเลื่อนออกไปในแนวตั้งฉาก เมื่อเปรียบเทียบกับหลุมเจาะที่ไม่ผ่านแนวรอยเลื่อน มีความหมายเหมือนกับ stratigraphic throw 32/49
stratigraphic throw ระยะเลื่อนแนวยืนลำดับชั้นหิน : stratigraphic separation 31/49
stratigraphic trap ลักษณะกักเก็บแบบลำดับชั้นหิน : ลักษณะกักเก็บปิโตรเลียมที่เกิดจากการเปลี่ยนชนิดของหินหรือลำดับชั้นหิน หรือรอยชั้นไม่ต่อเนื่อง *2/47
stratotype; type section ชั้นหินแบบฉบับ : ลำดับชั้นหินใด ๆ ที่กำหนดให้เป็นมาตรฐานเพื่อใช้อ้างอิงในการนิยามลำดับชั้นหิน โดยมีสมบัติพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์และบอกขอบเขตบนและล่างของลำดับชั้นหินนั้นได้ด้วย ชื่อของชั้นหินแบบฉบับหนึ่ง ๆ จะตั้งขึ้นตามชื่อท้องถิ่นของชั้นหินแบบฉบับนั้น ๆ 38-39/49
streamline flow การไหลแบบสายธาร : ดู laminar flow….*26-29/48
stream order ให้แก้คำอธิบายภาพในหน้า ๑๓๐ เป็น “ลำดับทางน้ำ” และย้ายไปไว้ที่ศัพท์ stream orderในหน้า ๒๘๐ *33/48 ๓๔
stream tin ดีบุกธารน้ำ : สินแร่ดีบุก (แคสซิเทอไรต์) ที่ปนอยู่ในกรวดทรายในลำน้ำหรือในแหล่งลานแร่หรืออยู่บนหินดานตามลำน้ำ อันเนื่องมาจากการผุพังของสายแร่ในหินซึ่งสัมพันธ์กับหินอัคนีสีอ่อน ดู lode tin ประกอบ 9/50
stress ความเค้น : แรงต่อ ๑ หน่วยพื้นที่ที่กระทำต่อด้านใดด้านหนึ่งของวัตถุ เช่น กรัมต่อตารางเซนติเมตร ปอนด์ต่อตารางนิ้ว *4/44
stromatoporoid สโตรมาโตพอรอยด์ : ชอสามัญของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยก่อตัวติดอยู่ตามพื้นท้องทะเล ปัจจุบันยังไม่อาจจำแนกพวกได้ อาจเป็นสัตว์ในไฟลัมพอริเฟอราหรือซีเลนเทอราตาหรืออาจเป็นจุลชีพพวกสาหร่ายไซยาโนไฟตา สัตว์เหล่านี้จะหลั่งสารเนื้อปูนเพื่อสร้างโครงร่าง ซึ่งมีรูปร่างหลายแบบ เช่น เป็นแผ่นหนา เป็นเปลือกห่อหุ้ม เป็นรูปโดมหรือรูปหัว มีความหนา ๒๐–๓๐ เซนติเมตร พบมากในพืดหินใต้น้ำยุคออร์โดวิเชียนถึง ยุคดีโวเนียน โดยช่วงอายุอาจเริ่มตั้งแต่ยุคแคมเบรียนและสูญพันธุ์ไปในยุคครีเทเชียส *36/48
structural trap ลักษณะกักเก็บแบบโครงสร้าง : ลักษณะกักเก็บปิโตรเลียมที่มีสาเหตุมาจากชั้นหินเกิดการคดโค้งหรือเกิดรอยเลื่อน หรือทั้งสองอย่าง *2/47
structure โครงสร้าง : สภาพการวางตัวของชั้นหินและลักษณะรูปร่างของหิน โดยอาจมีการแปรสัญฐานของเปลือกโลกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น รอยเลื่อน รอยคดโค้ง รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง *37,38,39/47
subage ช่วงอายุย่อย : หน่วยเวลาทางธรณีวิทยาซึ่งเป็นหน่วยย่อยของช่วงอายุ (age) มีช่วงเดียวกันกับหินช่วงอายุย่อย (substage) ซึ่งเป็นหน่วยลำดับชั้นหินตามอายุกาล (time-rock unit) ดู substage ประกอบ 28/49
subgenus สกุลย่อย : ขั้นย่อยหรือลำดับย่อยของการจัดจำแนกชนิดของพืชและสัตว์ เป็นหัวข้อย่อยของลำดับชั้นสกุล ชื่อของสกุลย่อยเขียนอยู่ในวงเล็บขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกับชื่อสกุล เขียนอยู่ระหว่างชื่อสกุลและชนิด ตัวอย่างเช่น Palaeoneilo (Koenenia) emarginata *40,41/47
submarine ridge; mid-oceanic ridge; oceanic ridge เทือกสันเขาใต้สมุทร : ดู oceanic ridge; mid-oceanic ridge; submarine ridge *4/46,5/46 ๓๕
submetallic luster ควาววาวแบบกึ่งโลหะ : ความวาวที่อยู่ระหว่างแบบโลหะกับแบบอโลหะ เช่น โครไมต์ 10/50
subspecies ชนิดย่อย : การจัดจำแนกลำดับชั้นของพืชและสัตว์ โดยแยกย่อยจากชนิดของสิ่งมีชีวิตกลุ่มเดียวกันจากความแตกต่างที่เกิดขึ้นมาภายหลัง เพราะกลุ่มเหล่านั้นถูกแยกขาดออกจากกันและต่างก็ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ นานเข้าจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงจนเห็นความแตกต่างได้ ชนิดย่อยมักแยกกันตามสภาพภูมิศาสตร์หรือตามธรณีกาล ชื่อชนิดย่อยเขียนในแบบสามชื่อ โดยชื่อชนิดย่อยจะเป็นชื่อที่สาม เช่น Bolia americana zyocronis ดู variety ประกอบ 28/49
substage หินช่วงอายุย่อย : ๑. หน่วยย่อยของหินช่วงอายุ หรือหินซึ่งสะสมตัวระหว่างช่วงอายุย่อย ๒. หน่วยย่อยของหินช่วงอายุธารน้ำแข็ง ซึ่งแบ่งได้ตามการผันผวนที่เกิดขึ้นจากการรุกคืบและการถดถอยของธารน้ำแข็งในช่วงระหว่างการเป็นยุคน้ำแข็ง 28/49
substrate ซับสเตรต : สสารหรือสารอาหารซึ่งสิ่งมีชีวิตได้ใช้อยู่อาศัยเพื่อการเจริญเติบโตหรือพื้นผิวซึ่งสิ่งมีชีวิตชนิดเกาะติดได้ใช้ยึดเกาะ เช่น ดิน หิน หรือเยื่อใบไม้ ดู substratum ประกอบ 28/49
substructure ขาแท่นเจาะ : โครงสร้างที่ใช้รองรับหอเจาะและอุปกรณ์ทั้งหมด รวมทั้งเป็นที่สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมหลุมเจาะด้วย (ดูรูปที่ swivel หมายเลข ๒๕) *4/47
subsystem หินยุคย่อย : การแบ่งหินยุค (system) ออกเป็นหน่วยย่อย ๆ เช่น ยุคมิสซิสซิปเปียนหรือยุคเพนซิลวาเนียนของสหรัฐอเมริกาอาจพิจารณาได้ว่าเป็นหินยุคย่อยของหินยุคคาร์บอนิเฟอรัสของยุโรป 28/49
subterranean cutoff ธารน้ำใต้ดินลัดโผล่ : ธารน้ำใต้ดินที่เกิดจากน้ำบางส่วนหรือทั้งหมดของธารน้ำผิวดินไหลหายไปใต้ดิน โดยตัดตอนตรงโค้งเกือกม้าของทางน้ำโค้งตวัด ลัดไปโผล่ขึ้นใหม่บนผิวดินตอนท้ายน้ำ จนกลายเป็นธารน้ำผิวดินเช่นเดิม ธารน้ำนี้มีองค์ประกอบ ๓ ส่วน คือ ๑. ช่องน้ำหาย (swallow hole) ซึ่งเป็นส่วนที่น้ำตรงต้นน้ำของโค้งเกือกม้าของทางน้ำโค้งตวัดไหลหายลงไป ๒. อุโมงค์น้ำ (natural tunnel) คือ ส่วนของช่องทางใต้ดินที่น้ำไหลผ่าน ๓. จุดธารผุด (resurgence หรือ rise) คือ จุดที่น้ำไหลผุดหรือโผล่ขึ้นมาตรงบริเวณท้ายน้ำของโค้งเกือกม้าของทางน้ำโค้งตวัดนั้น *11/48 ๓๖
succession ลำดับต่อเนื่อง : ๑. การวางตัวของหน่วยหินหรือชั้นหินที่ซ้อนทับกันอย่างต่อเนื่องตามลำดับเวลา เช่น ภาพตั้งลำดับชั้นหินหรือภาคตัดที่แสดงชั้นหินโผล่ ๒. ลำดับเวลาทางธรณีวิทยาของหน่วยหิน ๓. การเปลี่ยนแปลงของชุมชีวินใด ๆ ตามลำดับ เนื่องจากการที่ประชากรของ ชุมชีวินได้สนองตอบต่อสภาวะแวดล้อมของชุมชีวินนั้น ๆ ดู sere และ faunal succession ประกอบ 29/49
sulcus ร่องบุ๋ม : แนวหรือร่องยาวบนเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่นร่องยาวปลายบานบนเปลือกฝาใหญ่ของแบรคิโอพอด ดูรูปประกอบ 27/49
sulfur bacteria แบคทีเรียกำมะถัน : แบคทีเรียไม่ใช้ออกซิเจนที่มีวิธีการรับออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อกระบวนการสร้างและสลาย (เมแทบอลิซึม) โดยการรีดิวซ์อนุมูลซัลเฟตเป็นอนุมูลซัลไฟด์ซึ่งจะรวมตัวกับไฮโดรเจนเป็นไฮโดรเจนซัลไฟด์ (แก๊สไข่เน่า) หรือธาตุกำมะถัน การสะสมตัวของกำมะถันซึ่งเกิดโดยกระบวนการนี้ เรียกว่า แหล่งสินแร่ที่เกิดจากแบคทีเรีย *28/44
sunstone สุริยกานต์ : (มอบให้นางสาวสุพัตรา วุฒิชาติวาณิช เขียนคำอธิบาย) *27/45, 28/45
supergene enrichment zone เขตสะสมยวดยิ่ง : ส่วนของแหล่งแร่มีค่าทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการเกิดออกซิเดชันใกล้ผิวดิน ทำให้ได้สารละลายในสภาพกรดซึ่งจะชะละลายโลหะมีค่า เช่น ทองแดง เงิน ในแร่ซัลไฟด์ซึมลงสู่ข้างล่าง โลหะมีค่าเหล่านี้จะเข้าแทนที่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะธาตุเหล็กซึ่งแช่อยู่ในน้ำใต้ดินจนเกิดเป็นแร่ซัลไฟด์ชนิดใหม่ เมื่อเวลาผ่านไปแร่ซัลไฟด์มีค่าก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนกลายเป็นแหล่งแร่มีค่าทางเศรษฐกิจ ดูรูปที่ gossan; gozzan และ oxidized zone (คำถาม : โลหะมีค่า หมายถึง precious metal หรือไม่ เพราะ precious metal บัญญัติว่า โลหะสูงค่า *7/44
superstructure โครงสร้างระดับตื้น : โครงสร้างที่เกิดขึ้นในเปลือกโลกระดับตื้น เป็นชั้นโครงสร้างตอนบนของแนวเทือกเขา ซึ่งเกิดจากการแปรสัณฐานระดับตื้นหรือใกล้พื้นผิวโลก ตรงข้ามกับ infrastructure *22/45,23/45 ๓๗
surge mark รอยน้ำหลาก : ดู dendritic surge mark *41/47,1/48
survey ๑. การสำรวจวัด : ๑.๑ การวัดหารูปทรง ตำแหน่ง ความต่อเนื่อง และลักษณะของพื้นผิวของพื้นที่หรือบริเวณใด ๆ ตลอดจนการแยกแยะส่วนประกอบของโลกโดยการใช้เครื่องมือวัดทางภูมิประเทศ ธรณีวิทยา หรือธรณีฟิสิกส์ ๑.๒ ผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจวัด เช่น แผนที่ หรือคำอธิบายลักษณะพื้นที่ที่ได้จากการสำรวจ ๒. การรังวัด : การปฏิบัติงานภาคสนาม หรือวิชาที่ว่าด้วยการหาตำแหน่งและระดับความสูง เพื่อคำนวณหาพื้นที่ ระยะทาง ใช้ในการทำแผนที่ต่าง ๆ เช่น แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่เส้นทาง *22/44
surveying ๑. การปฏิบัติงานสำรวจ : การปฏิบัติงานโดยเฉพาะการดำเนินงานวัดสิ่งที่จำเป็นต่อการพิจารณากำหนดพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของโลก ความยาว และทิศทางของเส้นแบ่งเขตและเส้นชั้นความสูงของพื้นผิว แล้วนำผลไปประมวลในรูปของแผนที่ แผนผัง หรือแบบที่เขียนขึ้นมาตามแต่วัตถุประสงค์ ๒. วิชาสำรวจ : สาขาหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ที่เกี่ยวกับการสำรวจ ดู survey ประกอบ *22/44
suspension การแขวนลอย : การที่อนุภาคขนาดเล็กละเอียดสามารถลอยกระจัดกระจายอยู่ในของเหลวหรือแก๊สได้ เช่น สารแขวนลอยในแม่น้ำลำธารที่กระแสน้ำพาไปในสภาพที่มีกระแสน้ำไหลค่อนข้างแรง จะเกิดกระแสน้ำหมุนทำให้สามารถพยุงอนุภาคขนาดเล็กละเอียดไม่ให้จมลง หรือเช่นเดียวกับฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศ *21/47
suture รอยตะเข็บ : รอยต่อหรือเส้นแบ่งเขต ตัวอย่างเช่น รอยต่อระหว่างผนังกั้นกับผนังเปลือกด้านในของหอยเซฟาโลพอด ซึ่งมีลักษณะเป็นรอยหยักขึ้น ๆ ลง ๆ แบบลอนคลื่น เส้นรอยต่อระหว่างห้องของฟอแรมินิเฟอรา หรือเส้นรอยต่อระหว่างวงเกลียว (whorl) ของหอยกาบเดี่ยว *25,26,27,28/48
swell ๑. คลื่นหัวเรียบ : คลื่นในมหาสมุทรซึ่งเคลื่อนตัวจากแหล่งกำเนิด ลักษณะของคลื่นมีช่วงยาวสม่ำเสมอและยอดเรียบ คำนี้บางทีใช้เรียกอาการของน้ำในแม่น้ำที่ขึ้นสูงกว่าระดับปรกติ ๒. เนินรูปโดมเตี้ย : [ธรณีวิทยาโครงสร้าง] เนินเขาเตี้ย ๆ รูปกระทะคว่ำ ลักษณะเนินแผ่ลาดออกไปเป็นบริเวณกว้างไกลมากจนไม่อาจกำหนดขอบเขตได้ ๓๘
๓. การบวมน้ำ : การเพิ่มปริมาตรของดินและหินบางชนิดด้วยการดูดซึมน้ำ ๔. เนินเขาท้องสมุทร : ดู rise ๒ ๕. โดม, ซุ้มหินชายฝั่ง : โดยทั่วไปอาจหมายถึงโดมหรือซุ้มหินชายฝั่ง *11,12,13/48
swivel หัวหมุน : อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ต่ออยู่ด้านบนของก้านเจาะนำเพื่อให้โคลนเจาะไหลผ่านเข้าสู่ก้านเจาะและหัวเจาะขณะหมุนได้ ช่างเจาะเรียกอุปกรณ์นี้ว่า หัวน้ำ มีภาพประกอบ *1/47,2/47
symbiosis ภาวะอยู่ร่วมกัน : ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิดที่อาศัยรวมอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด โดยพึ่งพาอาศัยและประสานประโยชน์ซึ่งกันและกัน ในลักษณะที่ช่วยเหลือกันและไม่มีอันตรายต่อกัน เช่น ปะการังกับสาหร่าย โดยสาหร่ายให้คาร์บอนไดออกไซด์แก่ปะการัง และปะการังให้ออกซิเจนแก่สาหร่าย หรือรากับสาหร่ายที่อาศัยอยู่ด้วยกัน โดยสาหร่ายให้อาหารแก่รา ส่วนราให้ความชื้นแก่สาหร่าย ดู commensalism, mutualism และ parasitism ประกอบ 43/48
synonym ชื่อพ้อง : ชื่อสองชื่อหรือมากกว่าที่ใช้กับขั้นอนุกรมวิธานเดียวกัน ดู taxon และ synonymy ประกอบ 29/49
synonymy ชุดชื่อพ้อง :
๑. ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อที่แตกต่างกันสองชื่อหรือมากกว่าที่ได้นำมาประยุกต์ กับขั้นอนุกรมวิธานเดียวกัน ดู taxon ประกอบ
๒. ชื่อพ้องของสิ่งมีชีวิตที่ได้นำมาประยุกต์กับขั้นอนุกรมวิธานใด ๆ 29/49
syntillation meter : (มอบนางสาวสุพัตรา วุฒิชาติวาณิช เขียนคำอธิบาย) *16/44
syntype ต้นแบบพ้อง : ตัวอย่างแต่ละตัวของสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์ที่อยู่ในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งได้นำมาใช้เป็นหลักฐานประกอบการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ในขั้นชนิด หรือชนิดย่อย โดยที่ยังไม่มีการกำหนดตัวอย่างต้นแบบในการตีพิมพ์ครั้งนั้น 38-39/49
system ๑. หินยุค : หน่วยลำดับชั้นหินตามอายุกาลที่มีความสำคัญในระดับโลก จัดเป็นหน่วยหลักในการจำแนกชั้นหินตามอายุทางธรณีวิทยา พบแผ่ขยายออกไปจากภูมิภาคที่ตั้งของพื้นที่แบบฉบับและเทียบสัมพันธ์กันได้โดยซากดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่ในหน่วยหินนั้นเป็นตัวกำหนด หรือหมายถึงหินที่เกิดในยุคที่ตรงกันกับเวลาของหน่วยหินนั้น หินยุคมีลำดับต่ำกว่าหินมหายุค และอยู่สูงกว่าหินสมัย
๒. ระบบ : ๓๙
๒.๑ ระบบผลึก
๒.๒ กลุ่มของรูปร่างทางธรรมชาติหรือโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เช่น ระบบทางน้ำหรือเทือกเขา
๒.๓ แนวความคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีซึ่งกำหนดได้โดยชุดของส่วนประกอบทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบ สามารถเขียนแสดงออกมาได้ เช่น CaO-MgO-SiO2 29/49
ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์
tail drag รอยลากหาง : รอยที่เกิดจากรอยลากหางของสัตว์ มักพบอยู่ระหว่างซากดึกดำบรรพ์ของรอยตีนสัตว์ *41,42/47,1/48
tailing หางแร่, ขี้แร่ : ส่วนของแร่ที่เหลือจากการแต่งแร่ เมื่อได้แยกเอาหัวแร่ออกไปแล้ว หางแร่สุดท้ายของการแต่งแร่อาจมีแร่มีค่าปนอยู่บ้าง แต่ไม่สามารถแต่งต่อไปได้ เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือเทคโนโลยี จึงมักทิ้งไปหรือนำไปใช้ประโยชน์ในรูปอื่น *35/45,36/45
taphonomy; para-ecology วิชาซากดึกดำบรรพ์ : วิชาบรรพกาลนิเวศวิทยาสาขาหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการกำเนิดของซากสิ่งมีชีวิตนับตั้งแต่สิ่งมีชีวิตนั้นตายลงจนถึงการค้นพบซากสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ วิชานี้รวมถึงวิชาประวัติซากชีวภาพ และประวัติซากดึกดำบรรพ์ ดู Fossildiagenese และ biostratonomy ประกอบ *14,15,16/48
tar pit บ่อน้ำมันดิน : บริเวณที่มีการสะสมของบิทูเมนธรรมชาติ ซึ่งโผล่ขึ้นมาบนผิวดินกลายเป็นบ่อหรือแอ่งดักสัตว์ที่ตกลงไป และน้ำมันดินจะรักษาซากนั้นไว้ เช่น บ่อน้ำมันดินที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ *5/47
tar sand ทรายน้ำมันดิน : ทรายน้ำมันที่ส่วนเบาของน้ำมันดิบระเหยออกไป เกิดเป็นชั้นทรายที่มีน้ำมันดิบปริมาณมากพอที่จะผลิตยางมะตอยในเชิงพาณิชย์ *5/47,6/47
tautonym ชื่อเหมือนสกุล : ชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิตซึ่งผู้ตั้งได้ใช้เป็นชื่อเดียวกันกับชื่อสกุล เช่น Troglodytes troglodytes 29/49
taxon ขั้นอนุกรมวิธาน : ชื่อกลุ่มของสิ่งมีชีวิตในลำดับขั้นใดๆ เช่น ชนิด วงศ์ ชั้น ชื่อขั้นอนุกรมวิธานนี้นำไปใช้เป็นชื่อของหน่วยลำดับชั้นหินได้ และอาจใช้เป็นชื่อทางการภาษาละติน หรือเขียนเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ก็ได้ เช่น Globigerina brevis Range–zone หรือ A Range–zone ดู parataxon ประกอบ *37-38/48 ๔๐
TD (total depth) ทีดี (ความลึกสุดท้าย) : ดู measured depth (MD) *6,8/47,10/47
T-dolostone ที-โดโลสโตน : โดโลสโตนที่ถูกควบคุมด้วยกระบวนการแปรสัณฐาน เกิดเป็นมวลหินรูปร่างไม่แน่นอน สัมพันธ์กับระบบการแตก ดู S-dolostone และ W-dolostone ประกอบ 18/50
tectosilicate เทกโทซิลิเกต : กลุ่มแร่ซิลิเกตที่ประกอบด้วย SiO4ทรงสี่หน้าเกาะตัวกันเป็นโครงร่างสามมิติ โดยใช้ออกซิเจนทั้ง ๔ ตัวของ SiO4 ทรงสี่หน้าข้างเคียงร่วมกัน โครงร่างนี้แข็งแรงและเสถียรมาก อัตราส่วน Si : O = ๑ : ๒ [SiO2] ตัวอย่างเช่น ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ ลูไซต์ โซดาไลต์ เนฟิลีน *15/46
telethermal -ร้อนไกลถิ่น : คำที่ใช้กับแหล่งแร่แบบน้ำร้อนที่กำเนิด ณ อุณหภูมิต่ำและที่ระดับตื้น ซึ่งอยู่ห่างไกลจากแหล่งกำเนิด คำนี้ยังใช้ในความหมายด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ดู epithermal, hypothermal และ mesothermal ประกอบ 11/50
telethermal deposit แหล่งแร่น้ำร้อนไกลถิ่น : แหล่งแร่ที่มีกำเนิดจากน้ำร้อนที่เคลื่อนห่างไกลไปจากแหล่งกำเนิดจนสูญเสียความร้อนและศักยภาพที่จะทำปฏิกิริยากับหินที่ล้อมรอบ ไม่อาจกำหนดได้ว่าเกิดร่วมกับหรือเกิดในระยะเวลาเดียวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหินอัคนี แหล่งแร่แบบนี้เกิดในสภาพแวดล้อมที่ระดับตื้น ซึ่งมีอุณหภูมิและความกดดันต่ำ ตัวอย่างแหล่งแร่ เช่น แหล่งแร่ตะกั่ว-สังกะสีมิสซิสซิปปี แหล่งแร่ยูเรเนียมที่ราบสูงโคโลราโด ดู epithermal deposit, hypothermal deposit และ mesothermal deposit ประกอบ 13/50
telethermal fluid ของไหลร้อนไกลถิ่น : ส่วนไกลสุดในระบบการเคลื่อนตัวของน้ำร้อนที่เคลื่อนห่างไปจากแหล่งกำเนิด 12/50
telemagmatic -ไกลแมกมา : คำที่ใช้กับแหล่งแร่แบบน้ำร้อนที่อยู่ห่างไกลจากแหล่ง แมกมา 11/50
TEM (transmission electron microscope) ทีอีเอ็ม (กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนส่องผ่าน) : ดู transmission electron microscope (TEM) *10/47,11/47,12/47
tenor___________เนื้อแร่ : ความสมบูรณ์ของเนื้อแร่ในมวลสินแร่ 35/49 ๔๑
tepee butte เนินรูปกระโจม : เนินหรือเขาที่เกิดจากหินเนื้อแข็งวางทับหินเนื้ออ่อนที่อยู่ข้างล่าง ซึ่งเหลือค้างจากการกร่อนจึงมีรูปร่างคล้ายกระโจมรูปกรวยคว่ำ คำว่า tepee เป็นคำที่เรียกกระโจมของชาวอเมริกันอินเดียนหรืออินเดียนแดง ดู klint ประกอบ *26,27,28/48
tertiary recovery การผลิตขั้นตติยภูมิ : การผลิตน้ำมันดิบหลังจากผ่านการผลิตขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิแล้ว ดู steam flood และ water flood; water injection ประกอบ *1/47,2/47
ternary system ระบบไตรภาค : ระบบที่มี ๓ องค์ประกอบ เช่น CaO-Al2O3-SiO2 11/49
tertiary structure โครงสร้างตติยภูมิ : วัสดุเนื้อหยาบมากที่ประกอบเป็นเปลือกลอริกาในสัตว์เซลล์เดียวกลุ่มทินทินนิด (tintinnid) ดู primary structure, secondary structure และ tintinnid ประกอบ 19/50
test เปลือกสัตว์ : โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น เม่นทะเล ฟอแรมินิเฟอรา ดู exoskeleton ประกอบ 30/49
tetracoral ปะการังสี่ช่อง : กลุ่มของปะการังที่มีลักษณะการเรียงตัวของผนังแบ่งช่องว่างในโครงร่างออกเป็น ๔ ช่อง ภายในช่องว่างทั้งสี่ช่องนี้จะมีผนังกั้นย่อยเกิดขึ้นใหม่ ทำให้โครงร่างถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนที่สมมาตรกัน ปะการังสี่ช่องเป็นชื่อเรียกทั่วไปของกลุ่มปะการังอันดับรูโกซา (order Rugosa) ซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อสิ้นยุคเพอร์เมียน ปะการังในยุคต่อ ๆ มา เป็นปะการังหกช่อง ดู hexacoral ประกอบ 25/49
tetragonal system ระบบสองแกนเท่า : ระบบผลึกระบบหนึ่งซึ่งมีแกนผลึกทั้ง ๓ ตั้งฉากซึ่งกันและกัน และสองแกนราบยาวเท่ากัน ส่วนแกนดิ่งอาจยาวกว่าหรือสั้นกว่าแกนราบก็ได้ ผลึกในระบบนี้จะมีแกนจตุรสมมาตร ๑ แกน ดู crystal system ประกอบ *14,15,22/46
tetrapod สัตว์สี่ขา : คำไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกกลุ่มสัตว์สี่ขาซึ่งได้แก่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เพื่อแยกออกจากสัตว์พวกเดียวกันที่อาศัยอยู่ในน้ำ เนื่องจากสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำได้พัฒนาจนส่วนขาหายไปหรือกลายเป็นครีบแทนแล้ว 31/49
tetartohedral เททาร์โทฮีดรัล : ชั้นผลึกในระบบผลึกหนึ่ง ซึ่งแบบรูปทั่วไปคือ มีหน้าผลึกเพียงหนึ่งในสี่ของจำนวนหน้าผลึกที่เหมือนกันของแบบรูปผลึกที่มีลักษณะเดียวกับโฮโลฮีดรัลในระบบผลึกเดียวกัน ดู merohedral ประกอบ 43-44/48 ๔๒
theca เปลือกอาศัย : เปลือกหุ้มตัวหรือเปลือกซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของตัวสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น เคลิกซ์ซึ่งเป็นที่อยู่ของตัวปะการังหรือตัวไครนอยด์ ผนังหรือเปลือกรูปท่อซึ่งเป็นที่อยู่ของตัวแกรปโทไลต์ ดู calyx ประกอบ 29/49
thermal conductivity สภาพนำความร้อน : ๑. ความสามารถของสารในการนำความร้อน โดยทั่วไปค่าสภาพนำความร้อนของหินมีพิสัยระหว่าง ๓–๑๕ มิลลิแคลอรีต่อเซนติเมตร·วินาที·องศาเซลเซียส ๒. อัตราการถ่ายโอนความร้อนต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ในหนึ่งหน่วยเวลาของพื้นผิวที่มีความหนาหนึ่งหน่วยเมื่อมีอุณหภูมิระหว่างพื้นผิวแตกต่างกันหนึ่งหน่วย *15/48
thermal maturity ภาวะสมบูรณ์โดยความร้อน : การที่สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในตะกอนต้นกำเนิดเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากความร้อนภายในโลก จนมีส่วนประกอบเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเชิงซ้อน เช่น หินต้นกำเนิดที่ให้ปิโตรเลียมได้ พีตเปลี่ยนแปลงเป็นถ่านหินจนเป็นแอนทราไซต์ *1/47,2/47,3/47
thermocline ลาดความร้อน : ๑. ระนาบในชั้นน้ำส่วนกลาง (metalimnion) ในทะเสสาบ อยู่ที่ความลึกซึ่งอุณหภูมิของน้ำลดลงอย่างฉับพลัน ดู epilimnion ประกอบ ๒. ระดับการเปลี่ยนแปลงค่าความร้อนของชั้นน้ำในมหาสมุทร ซึ่งอยู่ใต้ชั้นน้ำส่วนบนหรือชั้นน้ำผสม (mixed layer) ทำให้ชั้นน้ำใต้ชั้นน้ำผสมมีอุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว ดู pycnocline ประกอบ *30,31,34/48
thermodynamics เทอร์โมไดนามิกส์ : สาขาของวิทยาศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของการแปลงรูประหว่างพลังงานกับความร้อนและงาน การแปลงรูปดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและสมบัติของสสาร ข้อมูลทางเทอร์โมไดนามิกส์สามารถบอกทิศทางปฏิกิริยาเคมีภายใต้สภาวะหนึ่ง ๆ ได้ หลักสำคัญทางเทอร์โมไดนามิกส์ มีอยู่ ๒ หลัก คือ ๑. พลังงานไม่สูญหายและไม่เกิดขึ้นเองแต่เปลี่ยนรูปได้ ๒. ระบบพยายามเข้าสู่สมดุลเสมอ ศัพท์ thermodynamics มาจากภาษากรีก มีความหมายว่า กำลังของความร้อน (power of heat) ซึ่งไม่ครอบคลุมสาระทั้งหมดตามที่กล่าวมาแล้ว *17/46,18/46 ๔๓
thermoluminescense dating การหาอายุด้วยการเปล่งแสงโดยความร้อน : (มอบ รศ. ดร.ปัญญา จารุศิริ เขียนคำอธิบาย) *30/46
thermoluminescense การเปล่งแสงโดยความร้อน : สมบัติของแร่หรือสารใด ๆ ที่เปล่งแสงหรือเรืองแสงเมื่อได้รับความร้อน อันเป็นผลมาจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมไว้จากการที่อิเล็กตรอนถูกเลื่อนตำแหน่งไป เนื่องจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีผ่านแร่หรือวัตถุนั้น สมบัตินี้สามารถนำมาใช้หาอายุของวัตถุโบราณ เช่น เครื่องดินเผา แก้ว กระดูก เปลือกหอย และหินฟลินต์ที่นำไปเผา และตัวอย่างแร่และหินที่มีอายุอ่อน เช่น ควอตซ์ แคลไซต์ *28/46,29/46,30/46
thin section แผ่นตัดบาง : แผ่นบางของแร่โปร่งใสหรือโปร่งแสง หิน ดินหรือหินผุ หรือวัสดุอื่นสำหรับดินหรือหินผุต้องผ่านกระบวนการทำให้แข็งตัวคล้ายกับหินหรือแร่โดยน้ำยาประสาน แล้วนำไปตัดเป็นแผ่นบาง ติดบนแผ่นกระจก จากนั้นนำไปฝนจนได้ความหนาประมาณ ๐.๐๓ มิลลิเมตร ซึ่งเป็นความหนามาตรฐาน อาจปิดด้วยแผ่นกระจกหรือไม่ก็ได้ เพื่อเตรียมการศึกษาทางศิลาวรรณนาและจุลสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์ *9/45,10/45,11/45,12/45
thorax ส่วนลำตัว : ส่วนกลางของสัตว์ขาปล้อง เช่น ไทรโลไบต์ ซึ่งประกอบด้วยปล้อง หลาย ๆ ปล้องที่เคลื่อนไหวได้ ดู trilobite ประกอบ 30/49
three component seismic data; 3 C seismic data ข้อมูลความไหวสะเทือนสามแนว : ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจวัดความไหวสะเทือนแบบใดแบบหนึ่งบนพื้นดิน ในน้ำ หรือในหลุมเจาะ โดยการจัดวางตัวรับสัญญาณให้ทำมุม ๓ แนว การสำรวจวิธีนี้จะทำให้รู้ชนิดและทิศทางการเดินทางของคลื่นเสียง *33,34,35/47
three dimension seismic data; 3 D seismic data ข้อมูลความไหวสะเทือนสามมิติ : ชุดของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจวัดความไหวสะเทือนหลายแนวที่ใกล้ ๆ กัน เพื่อให้ได้รายละเอียดของชั้นสะท้อนใต้ดิน โดยทั่ว ๆ ไปแนวสำรวจจะห่างกันจาก ๓๐๐ เมตร ถึงมากกว่า ๖๐๐ เมตร และระยะห่างระหว่างจุดกำเนิดคลื่นกับตัวรับสัญญาณตัวแรก จาก ๒๕ เมตร ถึง ๖๕ เมตร ชุดของข้อมูลการสำรวจสามารถตัดออกมาได้ในทุกทิศทางทั้งแนวดิ่งและแนวราบ ซึ่งจะให้รายละเอียดของข้อมูลเพื่อการทำแผนที่ธรณีวิทยาโครงสร้างใต้ดิน ได้ละเอียดมากกว่าข้อมูลความไหวสะเทือนสองมิติ *33,34,35,36/47 ๔๔
three dimensional survey; 3 D survey การสำรวจแบบสามมิติ : การสำรวจวัดความไหวสะเทือนโดยการบันทึกข้อมูลที่ตัวรับสัญญาณซึ่งอยู่ใกล้จุดกำเนิดคลื่น เป็นการสำรวจวัดความไหวสะเทือนบันทึกข้อมูลคลื่นสะท้อนอย่างละเอียด กำหนดพื้นที่ที่ต้องการออกเป็นพื้นที่ย่อย ๆ ขนาดเล็ก ผลการสำรวจออกมาเป็นโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้พื้นผิวสามมิติ ได้รายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งปิโตรเลียมที่ต้องการพัฒนาหรือผลิต เช่น ข้อมูลขนาดของแหล่ง ตลอดจนการเรียงลำดับชั้นหิน สภาพแวดล้อม และชุดลักษณ์ของชั้นหินกักเก็บ *34,35/47
tidal scour การกัดเซาะพื้นท้องทะเล : การกร่อนที่พื้นทะเลโดยพลังแรงของกระแสน้ำขึ้นลง ก่อให้เกิดหลุมและร่องลึก มีความหมายเหมือนกับ scour ความหมายที่ ๒ *30/47
tiger’s eye แก้วตาเสือ : ควอตซ์ชนิดผลึก มีลักษณะโปร่งแสงถึงโปร่งใส มีสีตั้งแต่สีเหลืองแกมน้ำตาลแดงและสีน้ำเงิน และอาจเป็นสีแดงเข้มก็ได้ ใช้เป็นรัตนชาติ ควอตซ์ชนิดนี้มีลักษณะเหลือบแพรวพราวเป็นแถบคล้ายไหม เนื่องจากควอตซ์เข้าไปแทนที่ในเนื้อของโครซิโดไลต์ซึ่งมีลักษณะเป็นเสี้ยน การแทนที่นี้เป็นแบบที่เรียกว่าสัณฐานเทียม ซึ่งรูปร่างลักษณะของแร่เดิมที่ถูกแทนที่จะไม่เปลี่ยนแปลง 13-14/49
Tiglian ช่วงคั่นทิกเลียน : ช่วงเวลาที่ธารน้ำแข็งของสมัยไพลสโตซีนในทวีป ยุโรปละลาย อยู่ระหว่างช่วงพรีติเจียนกับช่วงเอบูโรเนียนในยุโรปตะวันตก หรือช่วง ไบเบอร์กับช่วงโดเนาในยุโรปกลาง มีความหมายเหมือนกับ B/D Interglacial ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 14/49
tintinnid ทินทินนิด : สัตว์เซลล์เดียวในไฟลัมโพรโทซัวพวกมีขนเซลล์ (cilia) กลุ่มเดียวที่พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ในยุคจูแรสซิกตอนปลายถึงกลางยุคครีเทเชียส ทินทินนิดส่วนใหญ่เป็นสัตว์น้ำเค็มที่ล่องลอยอยู่ในน้ำ เซลล์มีรูปร่างแบบกรวยหรือรูปแตรทรัมเปต มีขนาดอยู่ระหว่าง ๖๐–๒๘๐ ไมโครเมตรหรือไมครอน ห่อหุ้มด้วยสารพวกเจลลาตินหรือไคทินเทียม เรียกว่า ลอริกา (lorica) ซึ่งอาจหนามากกว่าเซลล์ประมาณ ๑๐ เท่า ลอริกาอาจรวมเอาเม็ดแร่เข้ามาเชื่อมไว้ในเนื้อทำให้เกิดเป็นเปลือกเชื่อมประสานซึ่งเหลือพบเป็นซากดึกดำบรรพ์ ดู primary structure, secondary structure และ tertiary structure ประกอบ 20/50 ๔๕
time-lapse seismic data ข้อมูลความไหวสะเทือนต่างเวลา : ดู four-dimension seismic data; 4 D seismic data *34/47
time rock unit; chronolith; chronolithologic unit; chronostratigraphic unit หน่วยลำดับชั้นหินตามอายุกาล : ดู chronostratigraphic unit; chronolith; chronolithologic unit; time rock unit 20/49
time stratigraphic -ลำดับชั้นหินตามเวลา : คำที่กล่าวถึงหน่วยหินที่มีขอบเขตกำหนดได้ตามเวลาทางธรณีวิทยาเดียวกัน 21/49
time–stratigraphic unit หน่วยลำดับชั้นหินตามเวลา : ดู chronostratigraphic unit; chronolith; chronolithologic unit; time rock unit 19-20/49
time unit; geochronologic unit; geologic-time unit หน่วยธรณีกาล : ดู geologic-time unit; geochronologic unit; time unit *2,3/48
tin chalcopyrite ดีบุกคาลโคไพไรต์ : ดู stannite *35/45
tin pyrite ดีบุกไพไรต์ : ดู stannite *35/45
tool mark รอยวัตถุ : ดู current mark *42/47
topographic maturity ภูมิลักษณ์ขั้นสมบูรณ์ : ดู maturity ความหมายที่ ๑ *26/47
topotype ตัวอย่างจากแหล่งต้นแบบ : ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์ที่มาจากแหล่งเดียวกันกับตัวอย่างต้นแบบของการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ในขั้นชนิด 38-39/49
tor เขาหินซ้อน : กองหินซึ่งพบในหินที่มีแนวแตกมาก เช่น หินแกรนิต เป็นกองหินที่เหลืออยู่เนื่องจากหินรอบข้างผุพังไป จนดูเหมือนกับนำหินมาวางซ้อนกันเป็นยอดเขาแหลมเล็ก ๆ บนที่สูง เช่น พบที่คอร์นวอลล์ และเดวอน ในประเทศอังกฤษ สำหรับตัวอย่างในประเทศไทย เช่น ที่เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา *2มีรูป [แก้ศัพท์บัญญัติ “กองหินซ้อน” เป็น “เขาหินซ้อน” ในคำอธิบายศัพท์ perched boulder ด้วย] 9/44,1/45, 2/45,3/45
total depth (TD) ความลึกสุดท้าย (ทีดี) : ดู measured depth (MD) *6/47,7/47,8/47,10/47 ๔๖
total magnetic field สนามแม่เหล็กรวม : สนามแม่เหล็กที่เกิดจากผลรวมของแนวแรงแม่เหล็กหลาย ๆ แนวรวมกัน องค์ประกอบส่วนใหญ่มาจากสนามแม่เหล็กโลกซึ่งประกอบอยู่ในปริมาณถึงร้อยละ ๙๕ ของสนามแม่เหล็กรวม ส่วนอื่น ๆ เป็นสนามแม่เหล็กที่เกิดจากการเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นโดยสนามแม่เหล็กโลกหรือเกิดจากสภาพแม่เหล็กตกค้างในหินอัคนี หินภูเขาไฟ หรือหินตะกอนที่มีแร่แม่เหล็กปนอยู่ รูป รูป ๑ แสดงการรวมกันตามทิศทางของแนวแรงสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กรวมที่ตำแหน่งต่าง ๆ บนผิวโลก F = สนามแม่เหล็กรวม E = สนามแม่เหล็กโลก R = สนามแม่เหล็กจากสภาพแม่เหล็กตกค้างในสินแร่ M = สนามแม่เหล็กของสินแร่ที่เกิดจากการเหนี่ยวนำโดยสนามแม่เหล็กโลก รูป ๒ แสดงองค์ประกอบต่าง ๆ ของแนวแรงสนามแม่เหล็ก F = สนามแม่เหล็กรวม Z = สนามแม่เหล็กแนวตั้ง H = สนามแม่เหล็กแนวราบ X = องค์ประกอบสนามแม่เหล็กแนวราบในแนวทิศเหนือภูมิศาสตร์ Y = องค์ประกอบสนามแม่เหล็กแนวราบในแนวทิศตะวันออกภูมิศาสตร์ D = มุมบ่ายเบน I = มุมก้มหรือมุมเงยของสนามแม่เหล็กรวม
total porosity; porosity ความพรุนรวม : ดู porosity; total porosity *8/48
total reflection การสะท้อนกลับหมด : การที่คลื่น เช่น คลื่นเสียง คลื่นแสง เดินทางผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก หรือจากตัวกลางที่มีความเร็วคลื่นน้อยไปสู่ตัวกลางที่มีความเร็วคลื่นมาก โดยทำมุมตกกระทบมากกว่ามุมวิกฤต จะทำให้เกิดการสะท้อนกลับหมด 34/49
trace equalization สมภาพรอยคลื่น : การปรับแก้ที่แต่ละช่อง (channel) ของจีโอโฟน เพื่อให้รอยคลื่นของภาพตัดขวางของคลื่นสะท้อนมีค่าเฉลี่ยแอมพลิจูดเป็นค่าเดียวกัน สมภาพรอยคลื่นเป็นขั้นตอนหนึ่งของการประมวลผลข้อมูลที่ช่วยให้เกิดความต่อเนื่องในการเรียงตัวของสัญญาณคลื่นสะท้อนดีขึ้น*1/45 ๔๗
trace fossil; ichnofossil; trace รอยซากดึกดำบรรพ์ : ร่องรอยที่ปรากฏในหินตะกอนประกอบด้วยรอยทางเดิน รอยเคลื่อนตัว รูชอนไช หรือรูขุด ซึ่งเป็นผลมาจากการดำรงชีวิตของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่คืบคลาน หาอาหาร ซ่อนตัว หรือพักอาศัยในถิ่นที่อยู่ซึ่งเป็นตะกอนชุ่มน้ำหรือเลน ทำให้เกิดร่องรอยเหล่านี้ รอยซากดึกดำบรรพ์เห็นได้จากรอยนูนหรือรอยบุ๋มในหินตะกอน *25,26,27/48
trace; ichnofossil; trace fossil รอยซากดึกดำบรรพ์ : ดู trace fossil; ichnofossil; trace *25,26/48
track รอยทางเดิน : รอยของซากดึกดำบรรพ์ที่ปรากฏบนผิวหน้าชั้นหินส่วนใหญ่เป็นรูปรอยตีนตามรอยทางเดินของสัตว์ ดู trail ความหมายที่ ๑ ประกอบ *25,26/48
trail รอยเคลื่อนตัว : ๑. รอยการเคลื่อนตัวของสัตว์ เช่น รอยคืบคลานของหนอน ดู track ประกอบ ๒. แนวหรือแถบของกองเศษหินที่ธารน้ำแข็งได้นำพามาจากหินตามเส้นทางที่ผ่าน เมื่อน้ำแข็งละลายเศษหินจะหลุดออกกองเป็นแนวอยู่กับพื้นตามทางผ่าน ดู boulder train ประกอบ ๓. วัสดุที่ถูกบดอัดบนผิวระนาบรอยเลื่อนของหินหรือสายแร่หนึ่ง ๆ ซึ่งบ่งชี้ทิศทางการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน ใช้เป็นดรรชนีสำหรับค้นหาสายแร่หลัก *25,26,27/48
transgressive reef พืดหินรุกล้ำ : พืดหินหรือเนินชีวภาพใต้น้ำที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง ซึ่งเกิดทับอยู่บนชั้นหินที่ตกตะกอนด้านหลังพืดหิน ในขณะที่พื้นดินทรุดตัวหรือน้ำทะเลเพิ่มระดับขึ้น พืดหินนี้มักขนานกับแนวชายฝั่ง ดู regression reef ประกอบ *9/48
transmission electron microscope (TEM) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนส่องผ่าน (ทีอีเอ็ม) : กล้องจุลทรรศน์ชนิดที่ใช้ลำอิเล็กตรอนที่ปรับระยะให้ชัดเจนด้วยระบบเลนส์ไฟฟ้าหรือแม่เหล็ก ส่องผ่านไปยังแผ่นตัดบางมาก ซึ่งขนาดความบางอยู่ระหว่าง ๕๐-๑๕๐๐ อังสตรอม ภาพเกิดจากอิเล็กตรอนวิ่งผ่านตัวอย่างซึ่งเป็นอิเล็กตรอนปฐมภูมิ ภาพที่เห็นเป็น ๒ มิติ จะได้ภาพที่ชัดเจน กล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้มีกำลังขยายมากกว่ากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนส่องกราด ดู electron microscope ประกอบ *10/47,11/47,12/47
transmutation ๑. การแปรธาตุ : การเปลี่ยนแปลงจากธาตุหนึ่งไปเป็นอีกธาตุหนึ่ง ดังเช่นการสลายตัวของแร่กัมมันตรังสี ดู radioactive decay ๔๘
๒. การแปรพันธุ์ : วิวัฒนาการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่ง 31/49
transpiration การคายน้ำ : กระบวนการซึ่งพืชดูดน้ำเข้าไปทางรากและคายน้ำออกสู่บรรยากาศทางปากใบ 31/49
transverse section : (รอเขียนคำอธิบาย) *7/45
trap ลักษณะกักเก็บ : ลักษณะทางธรณีวิทยาที่กักเก็บปิโตรเลียมไว้หลังจากเคลื่อนย้ายออกจากหินต้นกำเนิดผ่านชั้นหินเนื้อฟ่ามเป็นระยะทางหนึ่ง ลักษณะกักเก็บเกิดได้หลายรูปแบบ คือ ๑. ลักษณะกักเก็บแบบโครงสร้าง (structural trap) ๒. ลักษณะกักเก็บแบบลำดับชั้นหิน (stratigraphic trap) ๓. ลักษณะกักเก็บแบบอุทกพลศาสตร์ (hydrodynamic trap) ๔. ลักษณะกักเก็บแบบผสมผสาน (combination trap) *1/47, 2/47
traveling block ชุดรอกเคลื่อนที่ : ระบบรอกและขอเกี่ยวที่เคลื่อนที่ขึ้นลงได้ระหว่างหอเจาะและพื้นแท่นเจาะ เพื่อใช้แขวนระบบก้านเจาะและท่อโคลนเจาะ (ดูรูปที่ swivel หมายเลข ๓) *4/47
tree ring วงต้นไม้ : ดู growth ring *36,37,38/47
tree-ring chronology; dendrochronology รุกขกาลวิทยา : ดู dendrochronology; tree-ring chronology *36/47
tremor; earthquake tremor; earth tremor แผ่นดินไหวขนาดเล็ก : ดู earth tremor; earthquake tremor; tremor *16/48
triclinic system ระบบสามแกนเอียง : ระบบผลึกระบบหนึ่งซึ่งแกนผลึกทั้ง ๓ แกนยาวไม่เท่ากันและไม่ตั้งฉากซึ่งกันและกัน ดู crystal system ประกอบ *15,16,17,22/46
tridymite ทริดิไมต์ : พหุสัณฐานของควอตซ์ และคริสโทบาไลต์ พบเป็นผลึกหรือแผ่นเล็ก ๆ มีสีขาวหรือไม่มีสี พบในช่องว่างหินอัคนีภูเขาไฟชนิดกรด เป็นแร่อุณหภูมิสูง จะเสถียรที่อุณหภูมิระหว่าง ๘๗๐–๑๔๗๐ องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิสูงผลึกอยู่ในระบบสามแกน ๔๙
ราบ และที่อุณหภูมิต่ำจะอยู่ในระบบสามแกนต่าง *7,9,10,11,12/45
trilobite ไทรโลไบต์ : สัตว์น้ำเค็มไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกสัตว์ขาปล้อง จัดอยู่ในชั้นไทรโลไบตา (class Trilobita) มีลักษณะเฉพาะคือ โครงร่างรูปไข่ที่เป็นลอน ๓ ลอนตามแนวยาวจากหัวถึงหาง ลอนเหล่านี้แบ่งรูปร่างออกเป็นส่วนนูนกลางขนาบด้วยส่วนนูนข้างทั้งสองด้าน นอกจากนี้ยังมีการแบ่งลำตัวตามขวางออกได้เป็นสามส่วน คือส่วนหัว (cephalon) ส่วนลำตัว (thorax) และส่วนหาง (pygidium) ไทรโลไบต์มีอายุอยู่ในช่วงยุคแคมเบรียนตอนล่างถึงยุคเพอร์เมียน ในประเทศไทยพบในหินทรายยุคแคมเบรียนที่เกาะตะรุเตา ดูรูปประกอบ 36/49
triple junction ทางสามแพร่ง : จุดบรรจบของแผ่นธรณีภาค ๓ แผ่น เกิดจากความร้อนพุ่งขึ้นจากชั้นเนื้อโลก ทำให้แผ่นธรณีภาคพื้นทวีปเดิมแตกหักแล้วแยกออกเป็นแผ่นธรณีภาคใหม่ ๓ แผ่น มักทำมุมกันประมาณ ๑๒๐ องศา โดยทั่วไปมี ๓ แบบ ค แบบสัน แบบร่องลึก และแบบรอยเลื่อนแนวระนาบ ดูรูปประกอบ 36/49
tropical grassland ทุ่งหญ้าสะวันนา, ทุ่งหญ้าเขตร้อน : ดู savanna ความหมายที่ ๑ 21/49
true density ความหนาแน่นจริง : ความหนาแน่นที่เป็นค่าเฉลี่ย ได้จากการวัดตัวอย่างซ้ำหลาย ๆ ครั้ง *29/44,1/45
true soil; solum ชั้นดินแท้ : ดู solum; true soil 1-2/49
trunk shield เกราะลำตัว : ดูคำอธิบายใน placoderm 6/49
tsunami คลื่นสึนามิ : คลื่นในทะเลที่มีช่วงคลื่นยาว ๘๐ ถงหลายร้อยกิโลเมตร มีคาบระหว่าง ๕ นาทีถึง ๒-๓ ชั่วโมง โดยทั่วไป ๑๐-๖๐ นาที เกิดจากความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวหรือแผ่นดินถล่ม หรือการตกกระทบของอุกกาบาตขนาดใหญ่ในทะเล หรือภูเขาไฟระเบิดที่พื้นท้องมหาสมุทร คลื่นนี้อาจเคลื่อนที่จากแหล่งที่เกิดไปตามมหาสมุทรได้ไกลนับเป็นพัน ๆ กิโลเมตร โดยไม่มีลักษณะผิดสังเกต เพราะมียอดคลื่นสูงเพียง ๓๐-๙๐ เซนติเมตร แต่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๖๐๐-๑,๐๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าคลื่นเคลื่อนที่เข้าสู่ชายหาดจะเพิ่มยอดคลื่นสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอาจสูงถึง ๓๐ เมตรหรือมากกว่านั้น ก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์และสิ่งก่อสร้างในบริเวณนั้น ๆ โดยทั่วไปมักมีปรากฏการณ์น้ำทะเลถดถอยอย่างรวดเร็วก่อนเกิดคลื่นนี้ ตัวอย่างผลกระทบที่เกิดจากคลื่นสึนามิเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เกิดจากแผ่นดินไหว ขนาด ๙ ริกเตอร์ ที่มีศูนย์กลางอยู่ใต้ทะเลทางตอนเหนือสุดของเกาะสุมาตรา ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๕๐
มากกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศที่อยู่รอบมหาสมุทรอินเดีย คือ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย พม่า ศรีลังกา มัลดีฟส์ บังกลาเทศ โซมาเลีย เคนยา แทนซาเนีย เซเชลส์ โดยใน ๖ จังหวัดภาคใต้ของไทย ได้แก่ พังงา ภูเก็ต ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๕,๐๐๐ คน และสูญหายมากกว่า ๓,๕๐๐ คน คำว่า tsunami มาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่ง tsu หมายถึง ท่าเรือ nami หมายถึง คลื่น รวมกันแปลว่า คลื่นท่าเรือ มีความหมายเหมือนกับ earthquake sea wave; seismic sea wave; seismic surge และ tunami *12,13,14/48
tsunami runup คลื่นซัดสึนามิ : ระดับสูงสุดของน้ำซึ่งเกิดจากคลื่นสึนามิเมื่อคลื่นวิ่งเข้ากระแทกชายหาดหรือชายฝั่ง ซึ่งวัดจากระยะในแนวดิ่งระหว่างระดับน้ำปรกติกับระดับที่คลื่นซัดถึง ระดับคลื่นสึนามิขึ้นอยู่กับความสูง และคาบเวลาของคลื่น รวมทั้งความลาดเอียงและส่วนประกอบของชายหาดหรือชายฝั่ง (คำอธิบายรอสอบถาม รศ. ดร.ปัญญา จารุศิริ) 4-5/49
turbulence การปั่นป่วน : การไหลของของเหลวหรือแก๊สที่ไม่ราบเรียบและมีการหมุนวน โดยเฉพาะในทางอุตุนิยมวิทยา ใช้อธิบายลักษณะการไหลคลุกเคล้าของกระแสอากาศอันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การพาความร้อนของกลุ่มอากาศในบางบริเวณ จะทำให้ลมเกิดการปั่นป่วนในแนวยืน ชวยให้อากาศในบริเวณนั้นเกิดการคลุกเคล้าเร็วขึ้น และจะทำให้อากาศยานที่บินผ่านบริเวณนั้นเผินขึ้นลงอย่างรวดเร็วหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ตกหลุมอากาศ ในกระแสน้ำถ้ามีการปั่นป่วนเกิดขึ้น จะช่วยทำให้วัสดุต่าง ๆ เข้าปะปนไหลไปกับกระแสน้ำมากขึ้น การปั่นป่วนมักจะเกิดขึ้นในกระแสน้ำมหาสุมทรในรูปของกระแสน้ำย่อย ๆ ที่พัดเฉไปในทิศทางและความเร็วต่าง ๆ กัน *30/46,31/46
turtle stone หินลายกระดองเต่า : ดู septarium ความหมายที่ ๑ 21/50
two dimension seismic data; 2 D seismic data ข้อมูลความไหวสะเทือนสองมิติ : ข้อมูลการวัดความไหวสะเทือนซึ่งแสดงด้วยรูปตัดขวางในแนวดิ่งที่ประกอบด้วยเส้นบันทึกข้อมูลรอยคลื่นจำนวนมากเรียงต่อ ๆ กันไป *33,34,35/47
two dimensional survey; 2 D survey การสำรวจแบบสองมิติ : การสำรวจวัดความไหวสะเทือนที่บันทึกข้อมูลในแนวดิ่งตามแนวเส้นซึ่งพยายามให้เป็นแนวตรงมากที่สุดแล้วได้ผลออกมาเป็นภาคตัดขวางโครงสร้างทางธรณีวิทยาสองมิติ หรือกลุ่มของแนวสำรวจ ๕๑
วัดคลื่นไหวสะเทือนที่บันทึกข้อมูลแต่ละแนวแยกจากกัน โดยทั่วไปแนวสำรวจแต่ละแนวจะห่างกัน ๑ กิโลเมตร หรือมากกว่า การสำรวจแบบสองมิตินี้มีจำนวนแนวสำรวจที่ทำมุมกับโครงสร้างทางธรณีวิทยา เช่น รอยเลื่อน ชั้นหินคดโค้ง มากกว่าแนวสำรวจที่ขนานกับแนวของโครงสร้าง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้มีความต่อเนื่องของข้อมูลคลุมทั้งบริเวณสำรวจ และช่วยในการแปลความหมายและการทำแผนที่ธรณีวิทยาโครงสร้าง*33,34,35,36/47
two way travel time; 2-way travel time เวลาเดินทางสองเที่ยว : ระยะเวลาทั้งหมดที่คลื่นไหวสะเทือนเดินทางจากต้นกำเนิดไปยังชั้นสะท้อนแล้วกลับขึ้นมาที่ตัวรับสัญญาณบนพื้นผิว ระยะเวลาการเดินทาง ๒ เที่ยวที่น้อยที่สุดคือ เวลาที่คลื่นไหวสะเทือนตกกระทบตั้งฉากและไม่มีการเหลื่อม *33, 34,35/47
type ๑. ต้นแบบ : ในทางอนุกรมวิธาน หมายถึงตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตหรือตัวอย่างของซากดึกดำบรรพ์ที่ใช้เป็นหลักฐานในการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ โดยชื่อชนิดจะใช้ตัวอย่างใดตัวอย่างหนึ่งเป็นต้นแบบ ส่วนชื่อสกุลจะใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นต้นแบบ ดู holotype ประกอบ ๒. แบบฉบับ : คำที่ใช้ทางธรณีวิทยาในการลำดับชั้นหิน เช่น หินทรายที่มีซากไทรโลไบต์ยุคแคมเบรียนเป็นหินแบบฉบับพบที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล 38-39/49
type fossil ซากดึกดำบรรพ์แบบฉบับ : คำที่ใช้ในบางโอกาสสำหรับซากดึกดำบรรพ์ดัชนี ดู index fossil ประกอบ 38-39/49
type genus สกุลต้นแบบ : ชื่อสกุลของสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกเลือกมาใช้เป็นหลักฐานในการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ในขั้นวงศ์ (family) วงศ์ใหญ่ (superfamily) และวงศ์ย่อย (subfamily) ถือเป็นต้นแบบของวงศ์ วงศ์ใหญ่ และวงศ์ย่อยนั้น ๆ 38-39/49
type locality ที่ตั้งแบบฉบับ : ๑. ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ชั้นหินแบบฉบับปรากฏอยู่หรือตั้งชื่อขึ้นเป็นครั้งแรก ดู reference locality ประกอบ ๒. พื้นที่ซึ่งมีลักษณะสำคัญทางธรณีวิทยา เช่น สถานที่เกิดของแหล่งแร่หรือหินอัคนีบางชนิด หรือตัวอย่างต้นแบบของชนิดหรือชนิดย่อยของซากดึกดำบรรพ์ ที่ได้รับการตั้งชื่อหรือบรรยายถึงเป็นครั้งแรก 38-39/49
type material; hypodigm วัสดุต้นแบบ : ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์ทั้งหมดที่ใช้เป็นหลักฐานในการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ 38-39/49 ๕๒
type species ชนิดต้นแบบ : ชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกเลือกมาใช้เป็นหลักฐานในการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ในขั้นสกุลหรือสกุลย่อยเป็นครั้งแรก ถือเป็นต้นแบบของสกุลหรือสกุลย่อยนั้น ๆ มีความหมายเหมือนกับ genotype ความหมายที่ ๑ 38-39/49
type specimen ตัวอย่างต้นแบบ : ตัวอย่างใดตัวอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งใช้เป็นหลักฐานในการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ในขั้นชนิดหรือชนิดย่อย ตัวอย่างต้นแบบอาจเป็นต้นแบบแรก (holotype) ต้นแบบเพิ่ม (lectotype) หรือต้นแบบใหม่ (neotype) ก็ได้ 38-39/49
ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์
Ulslerian อัลสเตอเรียน : คำเรียกชื่อหน่วยหินในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นหน่วยหินที่มีอายุอยู่ในช่วงยุคดีโวเนียนตอนต้น 21/49
ultimate recovery ผลผลิตสูงสุด : ปริมาณปิโตรเลียมสูงสุดที่จะผลิตได้ตั้งแต่เริ่มแรกถึงก่อนเลิกผลิตและปิดหลุม ดู recovery reserve ประกอบ *6/47,7/47,8/47,9/47
umbo ขั้วเปลือก : ส่วนของเปลือกหอยกาบคู่และแบรคิโอพอดด้านที่อยู่ใกล้กับแนวหับเผย มีลักษณะเป็นโหนกนูนหนามากกว่าส่วนอื่น ๆ ในเปลือกเดียวกัน ส่วนที่นูนหนานี้หากเกิดขึ้นที่ขอบและมีลักษณะเป็นมุมงองุ้มจะเรียกว่า จะงอยเปลือก ดูรูปประกอบที่ brachial valve *32-34/48
unconcentrated wash; rain wash; surface wash การชะล้างแบบแผ่ซ่าน : ดู sheet erosion; sheet flood erosion *19/47,20/47
under loaded stream ธารน้ำตะกอนขาด : ดู คำอธิบายใน loaded streamรอพิจารณา *35,36/48
underclay เคลย์ใต้ถ่านหิน : ชั้นเคลย์ที่วางตัวอยู่ใต้ชั้นถ่านหินซึ่งเป็นชั้นดินเดิมที่มีต้นไม้เจริญเติบโตอยู่ก่อนเป็นถ่านหินจึงมีรากต้นไม้อยู่ในชั้นหินนี้ เคลย์ใต้ถ่านหินถ้ามีคุณภาพดี มักนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเซรามิกหรือดินทนไฟ มีชื่อเรียกอย่างอื่น เช่น coal clay, root clay, seat clay, seat earth, thill, underearth, warrant ดู fire clay; fireclay; refractory clay, ganister และ seat earth; hard seat; seat rock; seat stone ประกอบ *25/47
underground coal gasification (UCG) การแปรสภาพถ่านหินใต้ดินเป็นแก๊ส (ยูซีจี) : กรรมวิธีในการเปลี่ยนสภาพถ่านหินใต้ดินให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง ส่วนใหญ่เป็นมีเทน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์บนผิวดินโดยหลุมผลิต *5-6,7/48 ๕๓
underloaded stream ธารน้ำตะกอนขาด : ดูคำอธิบายใน loaded stream *37/45
undiscovered resources ทรัพยากรยังไม่พบ : ปริมาณทรัพยากรที่ประมาณได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งว่ามีอยู่ในแหล่งที่อาจสำรวจพบในอนาคต *16/45,17/45
unicellular –เซลล์เดียว : คำที่ใช้กับสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว 31/49
uniformitarianism [หมายเหตุ : และให้แก้ไขชื่อ เจมส์ ฮัตตัน (James Hutton) ในคำอธิบายศัพท์ ในหนังสือ พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา หน้า ๒๙๘ ด้วย] *27/48
unilocular -ห้องเดียว : คำที่ใช้กับสิ่งมีชีวิตที่สร้างเปลือกหุ้มร่างกายเพียงห้องเดียว เช่น ฟอแรมินิเฟอราชนิดห้องเดียว (single-chamber foraminifera) 32/49
uniserial -แถวเดียว : คำที่ใช้กับสิ่งมีชีวิตที่สร้างเปลือกต่อกันเป็นแถวเดียวหรือชุดเดียว เช่น ฟอแรมินิเฟอราสกุล Nodosaria ดูรูปประกอบ 32/49
unit–stratotype หน่วยชั้นหินแบบฉบับ : ชั้นหินแบบฉบับที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับกำหนดหน่วยชั้นหิน โดยถือเส้นเขตชั้นหินแบบฉบับเป็นเครื่องกำหนดแนวบนสุดและล่างสุดของหน่วยชั้นหินแบบฉบับหนึ่ง ๆ 38-39/49
univalve ๑. -ฝาเดี่ยว : คำที่ใช้หมายถึงมีฝาเดียว ๒. สัตว์ฝาเดี่ยว : สัตว์ซึ่งมีโครงร่างเป็นเปลือกฝาเดียวห่อหุ้มร่างกายอ่อนนุ่มที่อยู่ภายใน โดยเฉพาะสัตว์จำพวกหอยกาบเดี่ยว (class Gastopoda) และหอยเซฟาโลพอด (class Cephalopoda) ดู bivalve ประกอบ *25,26,27,28/48
unpaired terrace ตะพักเดี่ยว : ตะพักลำน้ำซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องหรือเกิดคนละช่วงเวลากับตะพักลำน้ำที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกันของหุบเขา ปรกติเกิดจากลำน้ำโค้งตวัดแกว่งตัวไปมาข้ามหุบเขา ดู paired terrace ประกอบ มีรูป (ก) (ข) ความแตกต่างระหว่าง ก ตะพักคู่ (paired terrace) กับ ข ตะพักเดี่ยว (unpaired terrace) *29/44,1/45,2/45
unrecoverable volumes ปริมาณผลิตไม่ได้ : (ปิโตรเลียม) ปริมาณน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติที่ประมาณได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งว่าหลงเหลืออยู่ในแหล่งกักเก็บหลังจากที่หยุดผลิตไปแล้ว เนื่องจากไม่สามารถผลิตได้โดยเทคโนโลยีและสภาพเศรษฐกิจที่คาดการณ์ได้ ณ เวลานั้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ ปริมาณที่สามารถผลิตได้โดยเทคโนโลยีที่มีอยู่แต่ ๕๔
ยังไม่คุ้มกับการลงทุนภายใต้ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้น และปริมาณที่ไม่สามารถผลิตได้โดยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในขณะนั้น *16/45,17/45
unsaturated zone; aeration zone; vadose zone เขตไม่อิ่มน้ำ : ดู aeration zone; unsaturated zone; vadose zone *6/44
Upper Carboniferous คาร์บอนิเฟอรัสตอนบน : หน่วยอายุหินทางธรณีกาลของกลุ่มนักวิชาการยุโรป มีช่วงเวลาเท่ากับยุคเพนซิลเวเนียนของทวีปอเมริกา ดู Lower Carboniferous และ Pennsylvanian ประกอบ *36-40/48
uranotantalite ยูราโนแทนทาไลต์ : ดู samarskite *7,10/46
ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์
vacuole แวคิวโอล : ช่องว่างในไซโทพลาซึมที่อยู่ภายในเซลล์ของพืชและสัตว์เซลล์เดียว ส่วนใหญ่จะมีน้ำและล้อมรอบด้วยเมมเบรน มีหน้าที่หลายอย่าง เช่น ย่อยอาหาร (food vacuole) หรือยืดหดตัว (contractile vacuole) 19/50
vadose zone; aeration zone; unsaturated zone เขตไม่อิ่มน้ำ : ดู aeration zone; unsaturated zone; vadose zone *6/44
vagile -เคลื่อนที่ : คำที่กล่าวถึงพืชหรือสัตว์มีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ เคลื่อนที่ไปได้ด้วยตัวเอง เช่น หมึก ปลา ดู sessile ประกอบ 29/49
vagrant benthos ชีวินพื้นทะเลเคลื่อนที่ : สงมีชีวิตที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล และสามารถเคลื่อนที่ไปได้ด้วยตัวเอง 31/49
valid name ชื่อตามกฎ : ชื่อซึ่งเป็นที่ยอมรับให้เป็นชื่อในขั้นอนุกรมวิธานระดับใดหรือตำแหน่งใดพร้อมกับคำบรรยายประกอบการตั้งชื่อนั้น ๆ และตั้งขึ้นภายใต้กฎของการตั้งชื่อสัตว์ ดู taxon ประกอบ 32/49
valley หุบเขา : แอ่งหรือร่องยาวที่ขนาบด้วยพื้นที่ที่สูงกว่า ลาดเอียงลงสู่ทะเลหรือลาดลงสู่บริเวณลุ่มน้ำบนแผ่นดิน ส่วนใหญ่จะมีแม่น้ำลำธารอยู่ด้วย *10,11/48
valley train ตะกอนธารน้ำแข็งแนวหุบเขา : ตะกอนที่เกิดจากการละลายของธารน้ำแข็ง และน้ำพาตะกอนไปทับถมอยู่บริเวณท้องหุบเขา มีลักษณะแคบยาวอยู่ใต้ธารน้ำแข็ง *10,11/48 ๕๕
variety ๑. ชนิด : ในวิชารัตนชาติ หมายถึงชนิดของแร่ที่มีสีที่เด่นหรือลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากแร่ทั่วๆ ไป เช่น มรกต อะความารีน ซึ่งมีสีที่เด่นไม่เหมือนกัน ต่างก็เป็นชนิดย่อยของแร่เบริล
๒. พันธุ์ : ลำดับชั้นทางชีววิทยาที่มีระดับต่ำกว่าชนิดย่อย (subspecies) 29/49
variole มวลเม็ด : มวลทรงกลมคล้ายถั่ว มักประกอบด้วยผลึกของแร่แพลจิโอเคลสและไพรอกซีนที่เรียงตัวแผ่เป็นรัศมีจากศูนย์กลาง *35/45
variolitic เนื้อมวลเม็ด : เนื้อหรือโครงสร้างที่เกิดอยู่ในหินบะซอลต์ เทียบได้กับเนื้อมวลรัศมีในหินไรโอไลต์ พบทั่วไปบริเวณขอบของลาวารูปหมอน อาจพบมวลเม็ดเป็นก้อนเล็ก ๆ บางครั้งอาจหมายถึงเนื้อหินที่เปลี่ยนจากสภาพแก้วเป็นผลึก *34/45,35/45
vaseline วาสลิน : สารผสมระหว่างพาราฟินกับน้ำมันที่มีจุดเดือดต่ำ *10/47
verd antique; verde antique เวิร์ดแอนทิก : มวลแร่เซอร์เพนทีนสีเขียวเข้ม มักมีสายแร่เล็ก ๆ ของแคลเซียมคาร์บอเนตและแมกนีเซียมคาร์บอเนตเชื่อมไขว้ประสานกันตามรอยแตกในทางการค้าจัดเป็นหินอ่อน ใช้เป็นหินประดับ มีความหมายเหมือนกับ serpentine marble; green marble 22/50
vertical accretion การงอกแนวตั้ง : การสะสมของตะกอนที่พอกพูนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากด้านล่างสู่ด้านบน เช่น การตกตะกอนของสารแขวนลอยที่น้ำหลากพามาสะสม ดู lateral accretion ประกอบ *29,30,31/48
vertical magnetic field สนามแม่เหล็กแนวตั้ง : องค์ประกอบของแนวแรงของสนามแม่เหล็กรวมในแนวตั้ง ดู total magnetic field ประกอบ (ดูรูป ๒ ที่ total magnetic field) *15/44
vertical migration การย้ายที่แนวตั้ง : การเคลื่อนที่ของน้ำมันหรือแก๊สผ่านตัวกลางที่มีความซึมได้หรือรอยแตก โดยไหลตัดกับชั้นหินขึ้นข้างบนหรือลงด้านล่าง *5-6,7,8/48
vestigial structure โครงสร้างเหลือค้าง : อวัยวะหรือส่วนของร่างกายขนาดเล็กของสิ่งมีชีวิตซึ่งหยุดการใช้งานหรือพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ และยังคงเหลือค้างอยู่ในช่วงชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้น อวัยวะดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นมาแล้วในขั้นตอนแรกของการพัฒนาแบบสมบูรณ์ในสิ่งมีชีวิตรุ่นที่ผ่านมา แต่ในรุ่นปัจจุบันอวัยวะดังกล่าวไม่ได้ใช้งานและอาจหดหายไปหมดในรุ่นต่อ ๆ ไป เช่น ไส้ติ่ง 33/49 ๕๖
Vickers hardness number ค่าความแข็งวิกเกอรส์ : ค่าความแข็งจุลภาคของวัสดุที่ได้จากการวัดภายใต้กล้องจุลทรรศน์ที่เกิดจากรอยกด โดยใช้ผลึกเพชรกดลงไปบริเวณผิวของวัสดุด้วยแรงกดจำนวนหนึ่งในระยะเวลาหนึ่ง ขนาดของพื้นที่ผิวของรอยกดจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กมาก เมื่อนำความยาวของเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมไปคำนวณหาค่าความแข็งตามสูตรของวิกเกอรส์จะได้ ค่าความแข็งวิกเกอรส์ = ๑๘๕๔.๔ × แรงกด (กรัม) ค่าเฉลี่ยของเส้นทแยงมุม (ไมครอน) ตัวอย่างค่าความแข็งวิกเกอรส์ของแร่ เช่น แกรไฟต์มีค่า ๑๒ ทอง ๕๐-๕๒ ทองแดง ๑๒๐-๑๔๓ ดีบุก ๑๐๒๗-๑๐๗๕ โครไมต์ ๑๑๙๕-๑๒๑๐ รูปการหาค่าความแข็งวิกเกอรส์ *22/45,23/45
Virgilian เวอร์กิเลียน : คำเรียกชื่อหน่วยหินในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นหน่วยหินที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายสุดของยุคดีโวเนียน 21/49
volcanic ash เถ้าธุลีภูเขาไฟ : ชิ้นส่วนของวัตถุที่พ่นออกจากช่องปะทุภูเขาไฟ และมีขนาดไม่เกิน ๔ มิลลิเมตร ถ้ามีขนาดระหว่าง ๑/๔ – ๔ มิลลิเมตร จัดเป็นเถ้าธุลีหยาบ ถ้าขนาดต่ำกว่า ๑/๔ มิลลิเมตร จัดเป็นเถ้าธุลีละเอียด ซึ่งบางทีเรียกว่า ฝุ่นภูเขาไฟ (volcanic dust) มีความหมายเหมือนกับ ash ๒ *39/47
volcanic spine หนามภูเขาไฟ : หินภูเขาไฟรูปร่างเรียวแหลม ซึ่งเกิดจากการไหลทะลักขึ้นมาของลาวาชนิดที่มีความหนืดสูงสู่พื้นผิวของลาวาหลากหรือโดมภูเขาไฟ โดยผ่านทางช่องเปิดของเปลือกโลก หนามภูเขาไฟมีความสูงตั้งแต่ ๒-๓ นิ้ว ถึงหลายร้อยฟุต ตัวอย่างของหนามภูเขาไฟที่สวยงามมีขนาดใหญ่พบที่ภูเขาเปเล่ (Pelée) ในดินแดนมาร์ตินีก ของประเทศฝรั่งเศส มีความหมายเหมือนกับ spine ๒ 29/49
ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์
Waalian ช่วงคั่นวาเลียน : ช่วงเวลาที่ธารน้ำแข็งของสมัยไพลสโตซีนในทวีปยุโรปละลาย อยู่ระหว่างช่วงเอบูโรเนียนกับช่วงมีนาเปียนในยุโรปตะวันตก หรือ ช่วงโดเนากับช่วงกึนซ์ในยุโรปกลาง มีความหมายเหมือนกับ D/G Interglacial ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 14/49
walled lake ทะเลสาบกำแพง : ทะเลสาบที่ชายฝั่งมีสันตะกอนล้อมรอบ มีลักษณะคล้ายกำแพง ดู lake rampart; ice-push ridge ประกอบ *9/46,10/46 ๕๗
waning slope ลาดเว้า : บริเวณเชิงเขาที่มีความลาดชันน้อย และมีลักษณะโค้งเว้า เกิดจากกองเศษหินที่ถูกชะล้างจากลาดเขาส่วนบนลงมาสะสมตัวกันเป็นจำนวนมากและแผ่กว้างไปตามพื้นของหุบเขา คำนี้ดับเบิลยู เพงก์ (W. Penck) และเอ. วูด (A. Wood) เป็นผู้นำมาใช้ *10,11/48
washout การเซาะออก : การที่น้ำโคลนเจาะละลายหรือเซาะชั้นหินที่ไม่คงทนออกมา ทำให้หลุมเจาะขยายใหญ่ขึ้น *1/47
water drive แรงขับน้ำ : แรงผลักดันในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่เกิดขึ้นจากแรงดันของน้ำในแหล่งกักเก็บและข้างเคียง *1/47
water flood; water injection การไล่ด้วยน้ำ : การอัดน้ำเข้าไปในชั้นกักเก็บ เพื่อเพิ่มความดันในชั้นกักเก็บ เป็นการผลิตน้ำมันดิบขั้นทุติยภูมิและตติยภูมิ *1/47
water horizon; aquifer ชั้นหินอุ้มน้ำ, ชั้นน้ำ : ดู aquifer; water horizon *3/47,4/47,5/47,6/47
water lime : ดู hydraulic limestone *26/44
water regime ร่องน้ำสมดุล :
๑. ทางน้ำที่คงสภาพอยู่ได้เพราะมีความสมดุลระหว่างการกร่อนกับการสะสมตะกอนในช่วงเวลาหลายปี
๒. สถานะหนึ่งของทางน้ำที่เกี่ยวข้องกับอัตราการไหลเฉลี่ย โดยวัดปริมาตรน้ำที่ไหลผ่านร่องน้ำ ณ ที่ต่าง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง 25/49
Waucoban ⎯⎯⎯ : คำเรียกชื่อหน่วยหินในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นหน่วยหินที่มีอายุอยู่ในยุคแคมเบรียนตอนต้น 21/49
wave runup; runup ระดับคลื่นซัด : ดู runup; wave runup 4/49
wave setup ระดับคลื่นยกตัว : ระดับท้องคลื่นที่เพิ่มสูงขึ้นจากระดับน้ำปานกลางเมื่อเข้าใกล้ชายฝั่ง เนื่องจากการกระทำของคลื่น ซึ่งมีความสำคัญมากขณะเกิดพายุ เพราะจะทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นจากระดับน้ำขึ้นน้ำลงปรกติ ดู runup; wave runup ประกอบ 4-5/49
waxing slope ลาดนูน : ส่วนบนของไหล่เขาที่มีลักษณะโค้งนูน เกิดจากการผุพังและการกร่อนของหินไหล่เขาซึ่งเดิมเป็นลาดเขา และมีการเปลี่ยนค่ามุมแบบทันทีทันใด (break of slope) คำนี้ดับเบิลยู เพงก์ (W. Penck) และเอ. วูด (A. Wood) เป็นผู้นำมาใช้ *10,11/48 ๕๘
W-dolostone ดับเบิลยู-โดโลสโตน : โดโลสโตนที่เกิดจากการผุพังอยู่กับที่ ดู S-dolostone และ T-dolostone ประกอบ 18/50
Weichselian ช่วงไวช์เซเลียน : ดู WÜrm 6/49,14/49
welding การเชื่อมติด :
๑. การแข็งตัวของตะกอน (โดยเฉพาะดิน) โดยแรงกดดันซึ่งเป็นผลจากน้ำหนักกดทับของวัสดุชั้นบนหรือจากการเคลื่อนตัวของชั้นดิน ทำให้น้ำถูกขับออกไปถึงจุดที่มีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลจนกระทั่งอนุภาคเชื่อมติดกัน
๒. กระบวนการก่อตัวใหม่ที่ทำให้ผลึกหรือเม็ดเดี่ยว ๆ เข้าอยู่ชิดติดกันในระหว่างการอัดตัวแน่น ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับแรงดันสารละลายและการถ่ายโอนสารละลาย 12/49
well site geologist นักธรณีวิทยาหลุมเจาะ : นักธรณีวิทยาที่มีหน้าที่ศึกษา ตรวจสอบ และวิเคราะห์ชิ้นตัวอย่างและแท่งตัวอย่างในระหว่างการเจาะ ว่าได้เจาะผ่านชั้นหรือหน่วยหินวิเคราะห์ใดบ้าง และหาร่องรอยของไฮโดรคาร์บอน *3/47,4/47,5/47
wellhead ๑. อุปกรณ์ปากหลุม : อุปกรณ์ควบคุมหลุมบนดิน ซึ่งประกอบด้วยปากท่อกรุ (casing head) ปากท่อผลิต (tubing head) และอุปกรณ์ควบคุมการไหลของน้ำมัน ดู chrismas tree ประกอบ ๒. –ปากหลุม : คาที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อแสดงว่าเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ปากหลุม เช่น ความดันปากหลุม ราคาปากหลุม *6/47,7/47
Wenner array แถวลำดับแบบเวนเนอร์ : รูปแบบการจัดวางขั้วไฟฟ้าในการสำรวจความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ โดยการวางขั้วไฟฟ้าในแนวเส้นตรงเรียงตามกัน ให้ขั้วกระแสไฟฟ้าคร่อมอยู่ด้านนอก ขั้วศักย์ไฟฟ้าอยู่ด้านใน โดยมีระยะห่างระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้า (AB) กับระยะห่างระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้า (MN) และระยะห่างระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้ากับขั้วศักย์ไฟฟ้าที่อยู่ใกล้กัน (AM และ NB) มีค่าเท่ากัน มีรูป A, B คือ ขั้วกระแสไฟฟ้า M, N คือ ขั้วศักย์ไฟฟ้า I คือ กระแสไฟฟ้าที่วัดด้วยแอมมิเตอร์ ๕๙
V คือ ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่วัดด้วยโวลต์มิเตอร์ X คือ ระยะระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้ากับขั้วศักย์ไฟฟ้า 38/45,1/46,2/46,3/46
wet gas แก๊สเปียก : แก๊สธรรมชาติที่มีปิโตรเลียมเหลวผสมอยู่ *1/47
whaleback ๑. เขารูปหลังปลาวาฬ : เขาหรือภูเขาที่มีลักษณะมนรีคล้ายหลังปลาวาฬ มักเป็นภูเขาหินแกรนิต โดยเฉพาะที่เกิดจากการเคลื่อนผ่านของธารน้ำแข็ง ๒. เนินทรายรูปหลังปลาวาฬ : เนินทรายที่มีรูปมนรี พบในทะเลทรายเขตร้อน *10,11,12/48
whorl วงเกลียว : เปลือกที่มีลักษณะม้วนรอบแกนเป็นวงครบหนึ่งรอบหรือครบ ๓๖๐ องศา พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น หอยกาบเดี่ยว หอยเซฟาโลพอด และฟอแรมินิเฟอรา ดู suture ประกอบ ดูรูปประกอบ ….*29/48
wildcat well หลุมแรกสำรวจ : หลุมสำรวจปิโตรเลียมหลุมแรกที่สุ่มเจาะในบริเวณหรือพื้นที่ที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งยังไม่มีข้อมูลที่พิสูจน์ได้ว่ามีการผลิตมาก่อน *6/47,7/47
window มอบ รศ. ดร.ปัญญา จารุศิริ เขียนคำอธิบาย 38/47
Wisconsinian ช่วงวิสคอนซิเนียน : ช่วงอายุของธารน้ำแข็งลำดับที่สี่ของสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกา ซึ่งเทียบได้กับช่วงวืร์มและช่วงไวช์เซเลียนในทวีปยุโรป ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ
Wolfcampian วูฟแคมเปียน : คำเรียกชื่อหน่วยหินในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นหน่วยหินที่มีอายุยุคเพอร์เมียนเริ่มแรก
work over การทำหลุมผลิตใหม่ : การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างต่อหลุมผลิตปิโตรเลียมเพื่อเพิ่มผลผลิต เช่น การเจาะให้ลึกมากกว่าเดิม การดึงและติดตั้งท่อผลิตใหม่ การอัดซีเมนต์ การอัดกรดในบริเวณที่เป็นหินปูน ปรกติมักใช้กรดแอซิติก
WÜrm ช่วงวืร์ม : ช่วงอายุของธารน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ระหว่างเวลา ๐.๐๗๓-๐.๐๑๑๕ ล้านปี ถือเป็นช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งที่สี่ของสมัยไพลสโตซีน เทียบได้กับช่วงวิสคอนซิ- เนียนในทวีปอเมริกาเหนือ มีความหมายเหมือนกับ Weichselian ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ
ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์
X-array แถวลำดับรูปตัวเอกซ์ : การจัดวางกลุ่มจีโอโฟนหรือกลุ่มต้นกำเนิดคลื่น ให้อยู่ในแนว ขวางทำมุม ๔๕ องศากับแนวเส้นสำรวจ ตัดกันเป็นรูปตัวเอกซ์
xerophyte พืชทนแล้ง : พืชที่ต้องการน้ำจำนวนน้อยมาก หรือพืชที่ขึ้นอยู่ในทะเลทราย เช่น ต้นกระบองเพชร
ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์
Yarmouth ช่วงคั่นยาร์มัทเทียน : ช่วงเวลาที่ธารน้ำแข็งของสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือละลาย อยู่ระหว่างช่วงแคนซันกับช่วงอิลลินอเอียน ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ
ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์
zoarium; zoaria เปลือกไบรโอซัว : เปลือกห่อหุ้มตัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกไบรโอซัว ซึ่งก่อตัวติดกันเป็นกลุ่มก้อน
zonal guide fossil ซากดึกดำบรรพ์บ่งชั้น : ซากดึกดำบรรพ์ซึ่งสามารถนำไปใช้กำหนดอายุส่วนชั้นลำดับชั้นหินตามชีวภาพใด ๆ รวมทั้งใช้ชื่อซากดึกดำบรรพ์นี้เป็นชื่อส่วนชั้นลำดับชั้นหิน นั้น ๆ ได้ ซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องพบตลอดชั้นหิน 34/49
zone of lost circulation เขตสูญหาย : ชุดหินหรือชั้นหินที่มีรอยแตกหรือโพรงมากพอที่จะให้ซีเมนต์ไหลเข้าไปได้ แทนที่จะไหลขึ้นมาตามขอบผนังหลุมกับท่อกรุ *15/47
zonation การจัดชั้น : ๖๑
๑. การกำหนดเงื่อนไขในการจัดทำส่วนชั้นลำดับชั้นหินตามชีวภาพ เช่น การใช้ชั้นหินที่มีซากดึกดำบรรพ์ลักษณะโดดเด่นและอยู่ในตำแหน่งที่สามารถหาความสัมพันธ์กันได้เป็นตัวกำหนด ๒. สภาวะของการจัดเรียงตัว หรือการเกิดเป็นชั้นเป็นโซนของแร่ 34/49
zooecology นิเวศวิทยาสัตว์ : นิเวศวิทยาสาขาหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์กับ สิ่งแวดล้อมที่สัตว์เกี่ยวข้อง *18/45
zooplankton แพลงก์ตอนสัตว์ : สัตว์ที่มีชีวิตล่องลอยตามน้ำ เช่น แมงกะพรุน แพลงก์ตอนสัตว์จะกินแพลงก์ตอนพืชเป็นอาหาร ดู phytoplankton ประกอบ 41/48
ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์