ความรู้และประวัติโครงการก่อสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
บันทึกโดย ดร.เดชา หลวงพิทักษ์ชุมพล ผู้อำนวยการโครงการฯ
มือปืน (เลเซอร์)
“เราจะตั้งตรงไหนดีล่ะ?” ท่านอาจารย์พิเชษฐ์ฯ (รศ.ดร.พิเชษฐ์ ลิ้มสุวรรณ-ปัจจุบันท่านเป็นศาตราจารย์) เปรยด้วยสีหน้ากังวลกับจุดที่จะตั้งสถานีเลเซอร์ เมื่อเห็นสภาพบริเวณหน้าผาส่วนใหญ่ที่ยังเต็มไปด้วยกองหินท่วมหัว แซมด้วยต้นไม้ใบหญ้ารกรุงรังตามสภาพเหมืองหินร้าง หลังจากทีมงานจากห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเลเซอร์ บางมด (KMITT-สมัยนั้นหรือ KMUTT ในสมัยนี้) และ “เน็คเทค” ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) พากันเดินสำรวจบริเวณรอบๆ แล้ว
“ระยะห่างจากหน้าผาน่าจะอยู่ในช่วง 100-120 เมตรกำลังดี” เสียง comment จากดร.พงศ์พันธ์ จินดาอุดม มือปืน-ผู้ควบคุมการยิงแสงเลเซอร์ด้วย Laser Scanner จาก NECTEC“งั้นเอาตรงโน้นแล้วกัน ไม่โดนบังดี เอาตู้ container ที่จะทำเป็นสถานีเลเซอร์ตั้งบนกองหินนั้นแหละแต่คุณคุณเดชาต้องทำนั่งร้านและทางขึ้นให้ผมด้วยนะ” พวกเราเดินทางกลับกรุงเทพด้วยความรู้สึกที่อ่านจากสีหน้าคล้ายๆ กันประมาณว่าจุดตั้งสถานีเลเซอร์น่าจะดีกว่านี้แต่ไม่กี่วันให้หลัง ผมได้กลับที่หน้าผาอีกครั้งหนึ่งเพื่อเตรียมการตามที่ท่านอาจารย์พิเชษฐ์ฯ และดร.พงศ์พันธ์ฯ สั่งการไว้ แต่ก็ให้ประหลาดแกมดีใจสุดคณาเมื่อพบว่าบริเวณหน้าผาที่วันก่อนเห็นเป็นกองหินไม้ใหญ่เล็กรกไปด้วยหญ้า แต่มาวันนี้ตรงหน้ากลับราบเรียบเอี่ยมละออเพียงแต่อบอวลด้วยกลุ่มควันไฟจากการเผาไม้กอหญ้าเป็นหย่อมๆ ผสมกับกลุ่มนาวิกโยธินจากฐานทัพเรือสัตหีบที่เป็นต้นเหตุทำให้ผมเกิดความอัศจรรย์ใจอีกครั้งหนึ่ง “โอ้ งานข้าพเจ้าง่ายขึ้นเยอะเล้ย!”
ฝ่ายก่อสร้างใหญ่สุด!
ณ ตอนนี้ บริเวณด้านหน้าของหน้าผาฯ ราบเรียบสะอาดหมดจดจนสามารถตั
“อืม….คงไม่ง่ายนัก จะลองเขียนโปรแกรมแก้ค่าทางคณิตศาสตร์ดู” ดร.พงศ์พันธ์ (จินดาอุดม) เริ่มเครียดเวลาผมทำอะไรชอบนำทฤษฎีการบินมาใช้เสมอคือต้องใส่ SF (Safety Factor) เต็มที่กันพลาดประมาณว่าถ้ากัปตันแฮ้งค์ นักบินผู้ช่วยก็สามารถเอาเครื่องแลนดิ้งลงได้ หรือถ้าเครื่องหนึ่งเกิดนมหนูตัน (ไม่รู้ว่ามีรึเปล่า?) อีกเครื่องที่เหลือก็สามารถประคองไม่ให้เครื่องบินชนเขาได้ประมาณนั้นว่าแล้วก็ (กลั้นใจ) ยกหูหาปรมาจารย์ที่ AIT (Asian Institute of Technology)
“คุณเปิดมุมฉากออกไปทั้งสองด้าน (ด้านบนกับล่างที่หันหน้าไปคนละทาง) จากนั้นให้แบ่งครึ่งระหว่างสองฉากนี้ สถานีเลเซอร์ต้องตั้งอยู่บนแนวนี้เท่านั้น!” เสียงเล็คเชอร์ราวสัมโมทนียกถาของท่านศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา นุตาลัย ทำให้ผมรู้สึกมั่นใจไม่น้อยแต่ลึกๆ ก็ยังหวั่นๆ ใจอยู่ปัญหาที่ตามมาในภายหลังกลับไม่ใช่ที่หวั่นใจไว้ กลับกลายเป็นว่าเมื่อตรวจสอบแนวตำแหน่งของสถานีเลเซอร์ตามคำแนะนำของท่านศาสตราจารย์ ดร.ปริญญาฯแล้วพบว่าไปขวางหน้าตำแหน่งที่จะทำการก่อสร้างปะรำพระราชพิธีที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (องค์ประธานคณะกรรมการอำนวยการ) พอดิบพอดีเป๊ะ!ปัญหานี้เกินผู้น้อยอย่างผมแน่นอน ต้องท่านดร.สุวิชญ์ รัศมิภูติ (ในฐานะประธานดณะอนุกรรมการฝ่ายดำเนินการและควบคุมการจัดสร้าง) ที่จะต้องเคลียร์กับท่านพล.ร.ต.ประสงค์ สงเคราะห์คณะอนุกรรมการฝ่ายพิธีการซึ่งมีท่านหม่อมหลวงพีระพงษ์ เกษมศรี (รองราชเลขาธิการ) เป็นประธานถึงบรรทัดนี้นอกจากท่านศาสตราจารย์ ดร.ปริญญาฯแล้วยังมีนักธรณีฯ ที่ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการฝ่ายดำเนินการและควบคุมการจัดสร้างที่ต้องขออนุญาตบันทึกไว้เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านเหล่านี้ดังนี้
- นายพิสิทธฺ์ ธีรดิลก
- ดร.นิยม ดีสวัสดิ์มงคล
- นางศุภวรรณ คล้ายพงษ์พันธุ์
- นายพิศิษฎ์ สุขวัฒนานันท์
เย็นจดค่ำบริเวณหน้าผาวันนั้น ผมยืนรักษาระยะจากความชุลมุนชุลเกระหว่างคณะอนุกรรมการฯสองคณะข้างบนที่ดูเหมือนจะตกลงกันไม่ได้ง่ายๆ
แต่แล้วเสียงตัดสินสรุปดังฟังชัดกลับไม่ใช่จากเสียงของสองท่านประธานฯ หากเป็นเสียงที่ผมคุ้นหูด้วยโดนดุอยู่เป็นนิจว่ากิจกรรมนี้ “ฝ่ายก่อสร้างใหญ่สุด!”
ตอนนี้มีปัญหามากมาย!
ปกติวันขึ้นปีใหม่ผมจะต้องไป ”กอด” และ ”หอมแก้ม” สวัสดีปีใหม่คุณพ่อคุณแม่ (สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่) เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองทุกปีมิได้ขาด ยกเว้นปีนั้น ปี ๒๕๓๘ ต่อ ๒๕๓๙ ที่ผมจะต้องทำกิจกรรมที่ว่านี้ล่วงหน้าหนึ่งวันแล้วรีบหันหัวรถออกจากราชบุรีตรงดิ่งไปยังสัตหีบชลบุรีทันที เปล่า..มิได้มีนัดหมายไป “countdown” ที่ไหนแต่อย่างใด หากแต่มีภาระกิจสำคัญที่หน้าผาเขาชีจรรย์รออยู่
ด้วยเพราะหมายกำหนดการตรวจงานสนามติดตามความก้าวหน้าของโครงการฯ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (องค์ประธานคณะกรรมการอำนวยการ) จะมีขึ้นในวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๓๙ ซึ่งวันนั้นอย่างน้อยภาพวาดโครงร่างโดยเฉพาะเส้นรอบนอกขององค์พระบนหน้าผาต้องเสร็จ! และรายละเอียดต่างๆ ต้องสมบูรณ์ก่อนหมายกำหนดการระเบิดแกะสลักพระพุทธรูปฯ “ปฐมฤกษ์” ซึ่งจะมีขึ้นในวันพุทธที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๓๙ ตามมาอีกไม่กี่วันเท่านั้น!“เมื่อคืนเราลองเดินเครื่องดูแต่ไม่สำเร็จ มีปัญหาที่แก้ไม่ตกอยู่ ๕ ข้อครับคุณเดชา” เสียงของสองท่านผู้เชี่ยวชาญเลเซอร์ ศ.ดร.พิเชษฐ์ ลิ้มสุวรรณ (จาก KMUTT) และดร.พงศ์พันธ์ จินดาอุดม (NECTEC) ผลัดกันแสดงสีหน้าวิตกกังวลกันคนละสองสามข้อ แต่ที่หนักสุดคือ ไม่สามารถยิงเลเซอร์ได้ต่อเนื่อง จะติดๆดับๆ แต่ถ้าโชคดีเครื่องยิงไม่ดับ ไฟจะดับทั้งหมู่บ้านแทน! โอ้..พระเจ้า…
อัศจรรย์วันสิ้นปี
“ได้ตรวจสอบทุกจุดแล้ว ทุกอย่างก็ปกติดี” ท่านอาจารย์พิเชษฐ์ฯเติมดีกรีความงงงวย
แม้ไม่น่าจะเกี่ยวเพราะทีมงานผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจทุกจุดแล้ว แต่ก็ไม่มีท่านใดเห็นแย้ง คงไม่ทราบจะทำอะไรดีไปกว่านี้ โดยเฉพาะกับปัญหาของกระแสไฟฟ้าในห้วงเวลาของการสังสรรค์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ในทุกหน่วยงาน…..เอ..หรือเราประหยัดเกินไปรึเปล่า….ที่ดันซื้อเลเซอร์์มือสองมา (จากUSA) มาใช้ แต่ราคาก็ตั้งล้านกว่าและท่านผู้เชี่ยวชาญก็ confirm แล้วว่าใช้ได้นี่
เย็นย่ำคำคืนที่หลายท่านหลายสถานที่เตรียมตัวที่จะ countdown ก้าวถอยหลังเริ่มต้นศักราชใหม่
ไม่เว้นแม้แต่ทีม ”เขาชีจรรย์” แต่ต่างกันตรงที่ทีมนี้ไม่มีอุปกาณ์เสริมใดๆนอกจากเลเซอร์ ชิลเล่อร์ สแกนเน่อร์ รูปพระและก็หน้าผา ยังไม่รู้ผลสอบว่าจะสามารถผ่านฉลุยเป็นนายร้อยหรือแป็กแค่จ่า
ยังไงๆก็ต้องลองอีกที ยิง (เลเซอร์) ไปแก้ไปเป็นทางเดียวที่จะทำได้ ณ ตอนนี้ที่ไม่มีเวลาให้งงงวยมากมายเท่าใดนัก
ตึง..ตึง…ตึง เสียงการเปิดเครื่อง operate เลเซอร์ไม่ดังมากขนาดนี้ หากเป็นเสียงการเต้นของหัวใจของผม และมั่นใจว่าของท่านอื่นๆ ที่ล้อมรอบอุปกรณ์ก็คงจะไม่ต่างกัน
แต่ภาพลำแสงอาก้อนเลเซ่อร์สีเขียวที่ปรากฎอบู่บนหน้าผาเป็นรูป “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” องค์มหึมางามสง่าอยู่เบื้องหน้าโดยไม่มีปัญหาอะไรให้ต้องแก้ไข
ย้ำ ปัญหา ๔-๕ ข้อที่เคยเกิดเมื่อวันก่อนกลับมลายหายสิ้น (ทั้งที่แทบไม่ได้ทำอะไรเลย) และรูปองค์พระก็สวยสมส่วนหาผิดเพี้ยนไม่ ยังให้พวกเราทั้งดีใจแกมประหลาดใจไม่น้อย
“จารย์แก้ค่า distortion ได้เยี่ยมจริงๆครับ” ดร.พงศ์พันธ์ฯ น่าจะได้ยินเสียงชมจากผมเป็นคนแรก ได้ตอบแบบใบหน้าเปื้อนยิ้มว่า
“ผมยังไม่ได้ทำอะไรเลย เขียนโปรแกรมเตรียมไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ใช้!”