เนื้อหาน่าสนใจ

[แผนที่] ภาพถ่ายดาวเทียมจาก GeoEye

[แผนที่] ภาพถ่ายดาวเทียมจาก GeoEye

  GeoEye  เป็นดาวเทียมที่ถูกส่งขึ้นไปเมือเดือนกันยายนที่ผ่านมา เพื่อทำหน้าที่ในการเก็บภาพถ่ายของโลก ด้วยความละเอียดภาพระดับสูง หลายๆ ภาพที่ถ่ายได้จาก GeoEye  ได้ถูกใช้ใน  Google Earth, Google Maps  และโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมาย  ซึ่งล่าสุดได้ถ่ายภาพเรือบรรทุกน้ำมันที่ถูกปล้นสะดม นอกชายฝั่งซามาลี คุณสามารถเข้าชมแกลลอรี่อื่นๆ ที่น่าสนใจได้จากเว็บไซต์  www.geoeye.com  

Read more ›
[แผนที่] รวมข้อมูลทั่วโลก

[แผนที่] รวมข้อมูลทั่วโลก

Worldmapper.org เป็นเว็บไซต์่ที่รวบรวมแผนที่ข้อมูลต่างๆ ครอบคลุมทั้งโลก กว่า 600 แผนที่ อาทิเช่น แผนที่ข้อมูลประชากร แผนที่ทองคำ แผนที่นำ้มัน เป็นต้น ซึ่งสามารถเลือกชมได้ตามหัวข้อที่สนใจ และยังสามารถดาวน์โหลดเป็นโปสเตอร์ (PDF) ได้ฟรีอีกด้วย ด้วยคอนเซ็ป “โลกในแบบที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน”

Read more ›
การสอนธรณีวิทยาด้วย Google Earth

การสอนธรณีวิทยาด้วย Google Earth

เว็บไซต์ On the Cutting Edge ซึ่งเป็นเว็บไซต์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการสอนธรณีวิทยา ได้นำเสนอรูปแบบการสอนการแปลความหมายแผนที่ธรณีวิทยาโดยใช้โปรแกรม Google Earth ซึ่งช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจในการทำแผนที่และการแปลความหมายจากภาพมุมมองหลายมิติ และง่ายต่อการจดจำ โปรแกรมแผนที่ดิจิตอล Google Earth เป็นสือการสอนที่ดีอย่างมากในการสอน เพราะเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ฟรี ให้ข้อมูลครอบคลุมทั่วโลก และสามารถดูแบบสามมิติได้อย่างง่ายดาย

Read more ›

The Geoblogosphere – รวม Geoblog สำหรับชาวธรณี

The following list of 102 geoblogs is certainly not complete. If you find a new blog or possible mistakes in the list, please post a comment. General About Geology by Andrew Alden – diverse geoscientific news and information Earth Learning Idea – every week a new geodidactic idea The Accretionary Wedge – Blog collecting the results of geoblog carnivals EffJot by Florian Jenn (partly in German) […]

Read more ›

[วิดีโอคลิป] The Early Earth and Plate Tectonics

The Earth is formed by accretion of spatial particulates and large masses and eventually formes an outer crust. Video follows with speculation of early plates and land masses and their movement through time.

Read more ›
สุดยอดงานตีพิมพ์ทางธรณีวิทยา

สุดยอดงานตีพิมพ์ทางธรณีวิทยา

เว็บไซต์ mantleplume.org ได้ทำการรวบรวมงานตีพิมพ์ในตำนานที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ทางธรณีวิทยา (Foundations of Earth Science: The top 100 plubications) ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจในพื้นฐานทฤษฎีวิชาธรณีต่างๆ รวมถึงที่มาที่ไปของทฤษฎี และแนวคิดของนักธรณีวิทยาในอดีต ตอนนี้มี 69 ผลงาน และกำลังจะเพิ่มเติมจนครบ 100 ผลงานในเร็วๆ นี้ 

Read more ›
แท่นอาทิตย์ เจาะชีวิต ติดก๊าซ

แท่นอาทิตย์ เจาะชีวิต ติดก๊าซ

ในภาวะน้ำมันแพง ผู้คนในสังคมหันมาสนใจพลังงานที่ทดแทนน้ำมัน “ ก๊าซ ” เป็นทางเลือก อันดับแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึง ก๊าซธรรมชาตินั้น เป็นเรื่องใกล้ตัวและใกล้ครัวคนไทยมาเนิ่นนานและกำลังเป็นเรื่องร้อนๆ เพราะตอนนี้ใครๆ ก็สนใจเรื่องก๊าซ ก๊าซธรรมชาติ เป็นทรัพยากรที่ถูกค้นพบบนผืนแผ่นดินไทยเป็นเวลากว่า 10 ปี ติดตามเรื่องราวของแท่นอาทิตย์ เจาะชีวิต ติดก๊าซ ได้ในรายการกบนอกกะลาย้อนหลัง ที่นี่

Read more ›
การเปลี่ยนลักษณะ

การเปลี่ยนลักษณะ

สื่อการสอนนี้จำเป็นต้องใช้โปรแกรม Adobe® Flash PlayerTM ในการเข้าชม ถ้าหากคุณไม่มีโปรแกรมนี้หรือเวอร์ชั่นที่คุณใช้เป็นเวอร์ชั่นเก่า อาจไม่สามารถเข้าชมเนื้อหาและภาพเคลื่อนไหวได้   คุณสามารถดาวน์โหลดและลงโปรแกรม Flash Player เวอร์ชั่นล่าสุดได้ที่นี่ทันทีhttp://www.adobe.com/products/flashplayer/ ธรณีวิทยาคืออะไร? | โลกของเรา | แผ่นเปลือกโลก | หินและแร่ | การเปลี่ยนลักษณะ | เชื้อเพลิงธรรมชาติ | บทสรุป    

Read more ›
หินตะกอน : ชนิดและการจำแนก

หินตะกอน : ชนิดและการจำแนก

หินตะกอนหรือหินชั้น เป็นหินที่ค่อนข้างที่จะจำแนกได้ง่าย ซึ่งมักสามารถที่จะจำแนกขั้นต้นได้ด้วยตาเปล่า เนื้อหินตะกอนสามารถบอกเรื่องราวของการกำเนิดหรือสภาพแวดล้อมในอดีตกาลได้ เสมือนกับการบันทึกประวัติศาสตร์ ดังนั้นความรู้ความเข้าใจในหินตะกอนนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การได้ฝึกฝนการจำแนกหินตะกอนอย่างต่อเนื่อง ย่อมทำให้เกิดความแม่นยำ และเสริมความเชี่ยวชาญให้กับนักธรณีในภาคสนาม บทความนี้จะช่วยอธิบายการจำแนกหินตะกอนขั้นต้น ก่อนลุยสนามจริง! หินตะกอน (Sedimentary rock) คือ หินซึ่งเกิดจากการสะสมของตะกอน (sedimentation) เช่น กรวด ทราย เศษหิน หรือซากพืชและสัตว์ หรือเกิดจากการตกตะกอนทางเคมีในน้ำ แล้วเกิดการแข็งตัว (lithification) กลายเป็นหิน การแบ่งชนิดของหินตะกอนนั้นเราใช้คุณสมบัติ 3 ประการ คือ การเกิด (origin) เนื้อหิน (texture) และส่วนประกอบ (composition) การเกิด (Origin) ของหินตะกอนมี 3 แบบ คือ 1. Detrital origin เกิดจากการผุพังและการกัดเซาะ (weathering and erosion) ของหินเดิม ซึ่งจะเป็นหินชนิดอะไรก็ได้ กลายเป็นเม็ดกรวด ทราย หรือดิน แล้วโดนพัดพามาทับถมกัน เมื่อแข็งตัวจะได้หิน อาทิ หินทราย (sandstone) เป็นต้น […]

Read more ›
หินอัคนี : ชนิดและการจำแนก

หินอัคนี : ชนิดและการจำแนก

คงไม่มีใครไม่รู้จักหินอัคนี แม้ว่าหินอัคนีจะมีความโดดเด่นและมีลักษณะเฉพาะตัว แต่บางครั้งก็สามารถทำให้นักธรณีอย่างเราๆ คิดว่าเป็นหินตะกอน หรือหินแปรได้ง่ายดาย  หรือเมื่อถามถึงว่าเป็นหินอัคนีชนิดไหน เราก็ยังคงเรียกกันผิดๆ ถูกๆ การจำแนกชนิดหินด้วยตาเปล่านั้นค่อนข้างยาก และต้องอาศัยความชำนาญ บวกกับประสบการณ์การได้เห็นหินที่หลากหลาย สำหรับหลักการในการจำแนกหินอัคนีง่ายๆ เพื่อช่วยตัดสินใจในภาคสนามก่อนการวิเคราะห์อย่างละเอียดนั้นมีอะไรบ้าง บทความนี้อาจช่วยคุณได้ หินอัคนี (Igneous rock) คือ หินที่เกิดจากการเย็นตัวและการตกผลึกของแมกมา (magma) ซึ่งเป็นสารซิลิเกตหลอมเหลว (molten silicate material) และอยู่ใต้เปลือกโลก ถ้าแมกมาขึ้นมาถึงผิวโลก เราเรียกว่า ลาวา (lava) การแบ่งชนิดของหินอัคนีนั้น เราใช้คุณสมบัติ 2 ประการใหญ่ๆ คือ เนื้อหิน (texture) และส่วนประกอบ (mineral composition) นอกจากนั้นยังใช้สีของหินประกอบการพิจารณาได้ เนื้อหิน (Texture) หมายถึง ขนาดและการเรียงตัวของเม็ดแร่ในหิน ตลอดจนลักษณะการยึดเกี่ยวกันของแร่ต่างๆ และจะเป็นตัวบอกประวัติการเย็นตัวของแมกมา เนื้อหินชนิดต่างๆ ของหินอัคนี มีดังนี้ 1. เนื้อหยาบ (Phaneritic texture) เม็ดแร่มีขนาดไล่เลี่ยกัน และใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนื้อชนิดนี้เป็นลักษณะของหินอัคนีแทรกซอน ซึ่งแข็งตัวที่ระดับลึก (Intrusive igneous rock […]

Read more ›