เนื้อหาน่าสนใจ

อุปกรณ์การสำรวจธรณีวิทยา

อุปกรณ์การสำรวจธรณีวิทยา

ในการทำงานของนักธรณีวิทยาทั้งหลายทั่วโลก โดยเฉพาะการออกสำรวจภาคสนาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้การทำงานนั้นมีความถูกต้องแม่นยำและให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้สำรวจ หากขาดอุปกรณ์เหล่านี้แล้วการทำงานในภาคสนามก็จะมีความยากลำบากมากขึ้น ดังนั้นบทความนี้เรามาดูกันว่าเครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญๆ ที่นิยมใช้ในการทำงานทางธรณีวิทยาภาคสนามนั้นมีอะไรบ้าง

Read more ›
สังกะสีมาจากไหน?

สังกะสีมาจากไหน?

   กะลาเคลือบสังกะสี มีใครบ้างไหม ที่ไม่รู้จัก “สังกะสี” เชื่อแน่ว่าน้อยคนนักที่ไม่รู้จัก เพราะอย่างน้อย หลังคาสังกะสี ก็เป็นสิ่งที่คุ้นตาและสามารถหาได้โดยทั่วไป แต่เคยนึกสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า เจ้าหลังคาสังกะสีที่เงาวาวตอนซื้อมาใหม่ๆ ทำไมมันถึงได้แปรเปลี่ยนเป็นสีแดงสนิม เมื่อเวลามันล่วงผ่านไป แล้วสังกะสีมันคืออะไร ทำไมมันถึงเปลี่ยนสีได้ และที่สำคัญต้นกำเนิดของมันอยู่ที่ไหน พี่ต่อและน้องแป๋ว พิธีกรกบน้องใหม่ จึงอาสาออกติดตามหาคำตอบถึงที่มาของเหตุผลดังกล่าว โดยเริ่มจากร้านค้าวัสดุก่อสร้างทั่วไปซึ่งมักจะมีสังกะสีขาย ทั้งแผ่นเรียบและเป็นลอนลูกฟูกสำหรับมุงหลังคา ซึ่งผู้คนยังนิยมใช้สังกะสีมุงหลังคาบ้านนั้นก็เพราะว่า สังกะสีมีน้ำหนักเบาทำให้ลดต้นทุนด้านโครงสร้างลงนั่นเอง จากนั้นทั้งสองก็ออกติดตาม ต้นทางของแหล่งผลิตหลังคาสังกะสี เมื่อเฝ้าดูกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ปรากฏว่ามีความรู้ใหม่ที่เข้ามาลบล้างความเชื่อเดิมๆออกไปจนหมดสิ้น เพราะสังกะสีที่เราเห็นเป็นแผ่นๆนั้น แท้จริงแล้วมันคือเหล็กแผ่นที่เคลือบด้วยสังกะสีนั่นเอง เนื่องจากคุณสมบัติของแร่สังกะสีที่เป็นสนิมช้ากว่าแร่เหล็กและแร่เหล็กก็มีความแข็งแรงกว่า ถูกกว่า จึงนำสองอย่างมาใช้งานร่วมกันนั่นเอง ส่วนสังกะสีจริงๆที่นำมาเคลือบนั้น มีรูปร่างเป็นก้อนๆขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ก้อนใหญ่สุดมีน้ำหนักถึง 1 ตัน และก็ได้รับคำตอบว่า สั่งซื้อมาจาก บ. ผาแดงอินดัสทรี ซึ่งมีทั้งเหมืองและโรงถลุงอยู่ที่ จ.ตาก เหมืองสังกะสี ตั้งอยู่ที่ ต.ผาแดง อ.แม่สอด ติดชายแดนพม่าเลยทีเดียว ลักษณะการทำเหมืองเป็นแบบขั้นบันไดขุดตามสายแร่ลงไปทีละชั้น ซึ่งมีความปลอดภัยกว่าการทำเหมืองแบบขุดอุโมงค์ พี่เขาาเล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยสงครามโลก ทหารญี่ปุ่นได้สำรวจเส้นทางเข้าพม่า และได้มาพบต้นไม้ชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายต้นสับปะรด เจ้าต้นไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นบนแร่สังกะสี จึงเป็นเหมือนตัวนำทางที่สามารถบอกได้ว่าอาจมีแร่สังกะสีในบริเวณนี้ (ก็เลยตั้งชื่อว่าต้นสังกะสี) สมัยต่อมา บ.ญี่ปุ่นได้เข้ามาสำรวจจริงจังก็พบแร่สังกะสีมากมายบริเวณผาแดงแห่งนี้ และในราวปี […]

Read more ›
ผืนแผ่นดินใหญ่พันเจีย (Pangaea Supercontinent)

ผืนแผ่นดินใหญ่พันเจีย (Pangaea Supercontinent)

“ผืนแผ่นดินใหญ่ (supercontinent)” คือคำที่ใช้เรียกผืนแผ่นดินกว้างใหญ่ที่ประกอบไปด้วยแผ่นทวีปต่างๆ ส่วนใหญ่รู้จักผืนแผ่นดินใหญ่กันในนาม “พันเจีย (Pangaea หรือ Pangea)” ที่ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 225 ล้านปีก่อน ในขณะนั้นแผ่นทวีปขนาดใหญ่ได้รวมกันเป็นผืนแผ่นดินใหญ่พันเจีย * เพิ่มเติม: คำว่าพันเจีย (Pangea) เป็นสมมุติฐานที่อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Alfred Wegener) ริเริ่มขึ้น โดยสมมุติฐานนี้กล่าวว่า เดิมโลกนี้เป็นผืนแผ่นดินกว้างใหญ่เพียงผืนเดียว เรียกว่า พันเจีย มหาสมุทรที่อยู่รอบๆ เรียกว่า พันทาลัสซา (Panthalassa) และต่อมาผืนแผ่นดินใหญ่นี้ได้แยกออกจากกันกลายเป็นทวีปต่างๆ ในปัจจุบัน ผืนแผ่นดินใหญ่ของพันเจียต่อมาได้แตกแยกออกเป็นแผ่นทวีปต่างๆ ในปัจจุบัน ภาพด้านล่างแสดงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของพันเจียและลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นทวีปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การเคลื่อนที่ของแผ่นทวีปทั้งหลายเหล่าอธิบายโดยทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลก (The theory of plate tectonics) ที่กล่าวว่าเปลือกโลก (Earth’s outer shell) ถูกแบ่งออกเป็นแผ่นย่อยๆ แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้ประกอบด้วยเปลือกโลกและส่วนหนึ่งของชั้นแมนเทิลที่อยู่ข้างใต้ โดยแผ่นเปลือกโลกนั้นเคลื่อนตัวอยู่เหนือบริเวณชั้นแมนเทิลที่อ่อนไหวในอัตราไม่กี่เซนติเมตรต่อปี กระแสความร้อนไหลวน (convection currents) ในชั้นแมนเทิลที่เกิดจากการระบายความร้อนจากภายในโลกนั้นเป็นตัวการให้การเกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเหล่านั้น ถ้าเราศึกษาแผนที่ข้างใต้นี้ เราจะพบว่าต่อไปมหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) จะมีความกว้างเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) กำลังจะปิดตัว […]

Read more ›
ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ไหน?

Read more ›
ทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุด

ทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุด

ทะเลทรายคือพื้นที่หรือภูมิภาคที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยมากๆ น้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี (ประมาณ 10 นิ้ว) ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลกคือทะเลทราย

Read more ›
ภาพโดย Rich Childs http://goo.gl/Mqjzf

น้ำตกที่สูงที่สุดในโลก

น้ำตกแองเจิล (Angel Falls)ในประเทศเวเนซูเอลา คือน้ำตกที่มีความสูงมากที่สุดในโลก ซึ่งมีความสูง 3,230 ฟุต และระยะทางน้ำที่ตกลงมาอย่างไม่ขาดสายคิดเป็น 2,647 ฟุต น้ำตกแองเจิลตั้งอยู่บนทางน้ำสาขาของแม่น้ำริโอ คาโรนิ (Rio Caroni) ซึ่งเกิดขึ้นจากทางน้ำสาขานี้ตกลงมาจากส่วนยอดของภูเขาโอยันแตพุย (Auyantepui) คำว่า tepui หมายถึงลักษณะภูมิประเทศที่สูงมียอดตัดราบ และล้อมรอบด้วยหน้าผา เหมือนกับภูมิประเทศแบบมีซ่า (mesa)

Read more ›
ตำแหน่งที่ลึกที่สุดในมหาสมุทร

ตำแหน่งที่ลึกที่สุดในมหาสมุทร

ตำแหน่งที่ลึกที่สุดในมหาสมุทรคือ ตำแหน่งลึกชาเลนเจอร์ (Challenger Deep) ในร่องลึกมาเรียนา โดยตำแหน่งนี้อยู่ลึกต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 10,924 เมตร ถ้าเอาเทือกเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลกไปวางไว้ในบริเวณนั้นก็จะถูกน้ำท่วมยอดเขาถึง 2 กิโลเมตรเลยทีเดียว

Read more ›
ทะลาบสาบที่ลึกที่สุดในโลก

ทะลาบสาบที่ลึกที่สุดในโลก

ทะเลสาบไบคัล (Lake Baikal) ทางตอนใต้ของประเทศรัสเซียคือทะเลสาบที่ลึกที่สุด คือลึกถึง 5,314 ฟุต (1,637 เมตร) และพื้นทะเลสาบนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 4,215 ฟุต (1285 เมตร) ทะเลสาบนี้ตั้งอยู่ในเขตเขาทรุดบนแผ่นทวีปที่ยังคงมีพลังอยู่ (active continental rift zone) ที่ซึ่งคาดการณ์ทะเลสาบนี้มีการขยายตัวกว้างขึ้นในอัตราประมาณ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) ต่อปี

Read more ›
แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน

แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน

แนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน คือบริเวณที่แผ่นธรณีภาค (lithospheric plates) มีการเคลื่อนที่เข้าหาอีกแผ่นหนึ่ง การเคลื่อนที่เข้าชนกันของแผ่นเปลือกโลกนี้สามารถก่อให้เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟ และการเปลี่ยนลักษณะของเปลือกโลก (crustal deformation)

Read more ›
แนวแผ่นเปลือกโลกตามรอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่

แนวแผ่นเปลือกโลกตามรอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่

แนวแผ่นเปลือกโลกตามรอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่ คือบริเวณที่แผ่นเลือกโลกสองแผ่นเคลื่อนที่เฉือนผ่านกัน บริเวณที่มีการแตก (fracture zone) ที่ทำให้เกิดแนวแผ่นเปลือกโลกเลื่อนผ่านกันนี้เรียกว่า “รอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่ (transform fault)” ส่วนมากมักพบรอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่ในแอ่งมหาสมุทรและเชื่อมต่อระหว่างเทือกเขากลางสมุทร (Mid-ocean ridge) ที่เหลือมกัน และส่วนน้อยพบบริเวณเชื่อมต่อระหว่างเทือกเขากลางสมุทรกับเขตการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zones) 

Read more ›