เนื้อหาน่าสนใจ

โครงสร้างภายในโลก (เปลือกโลก-แมนเทิล-แกนโลก)

โครงสร้างภายในโลก (เปลือกโลก-แมนเทิล-แกนโลก)

โครงสร้างภายในโลก (เปลือกโลก-แมนเทิล-แกนโลก) Earth’s Internal Structure (Crust – Mantle – Core)            โครงสร้างภายในโลก:การศึกษาธรณีแปรสัณฐาน (Tectonics) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างภายในโลก ตัวอย่างที่ใช้ได้ดีเกี่ยวกับโครงสร้างของโลกคือการเปรียบโลกของเราเหมือนกับผลไม้ที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ เช่น ลูกท้อ หรือ ผลพลัม ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะรู้จักผลไม้เหล่านี้และรู้ดีว่าลักษณะตอนมันถูกผ่าครึ่งเป็นอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้นมาตราส่วนขนาดของแต่ละส่วนก็คล้ายกับโครงสร้างโลกด้วย ถ้าเราผ่าครึ่งผลไม้เราจะเห็นส่วนประกอบภายใน 3 ส่วน คือ 1. เปลือกผิวบางๆ 2. เมล็ดที่อยู่แกนกลาง และ 3. เนื้อผลไม้ เช่นกันเมื่อเราผ่าโลกออกครึ่งหนึ่ง เราก็จะเห็น 1.เปลือกโลกชั้นบางด้านนอกสุด 2.แกนโลกขนาดใหญ่ที่อยู่ตรงแกนกลาง และ 3. ชั้นแมนเทิลที่ประกอบเป็นเนื้อโลก เปลือกโลก (Earth’s Crust): เปลือกโลกแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรชั้นบางที่วางตัวอยู่ใต้มหาสมุทรและเปลือกโลกภาคพื้นทวีปชั้นหนาที่วางตัวเป็นแผ่นทวีป เปลือกโลกทั้งสองมีส่วนประกอบที่ต่างกัน โดยเปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทรมีส่วนประกอบหลักเป็นหินบะซอลต์ (basalt) ส่วนเปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีส่วนประกอบหลักเป็นหินแกรนิต (granite) การที่เปลือกโลกภาคพื้นทวีปมีความหนาแน่นต่ำทำให้เปลือกโลกภาคพื้นทวีปลอยอยู่เหนือชั้นแมนเทิลที่มีความหนาแน่นสูงกว่าที่วางตัวอยู่ข้างใต้ ชั้นแมนเทิล (Earth’s Mantle): ชั้นแมนเทิลมีส่วนประกอบหลักเป็นหินที่มีปริมาณแร่โอลิวีนสูง ( olivine-rich rock ) อุณหภูมิของชั้นแมนเทิลมีความแตกต่างกันตามความลึก […]

Read more ›
แนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว

แนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว

แนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว คือบริเวณที่ซึ่งแผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนออกจากกัน ซึ่งเกิดขึ้นบนบริเวณที่มีการลอยขึ้นของการหมุนเวียนความร้อน (rising convection currents ) กระแสความร้อนที่ลอยขึ้นได้ผลักดันส่วนล่างของ ธรณีภาค (lithosphere) จนยกขึ้นและไหลไปทางด้านข้างภายใต้ธรณีภาค การไหลไปทางด้านข้างนี้ได้ลากแผ่นเปลือกโลกด้านบนให้ไหลตามไปด้วย แผ่นเปลือกโลกที่ยกตัวขึ้นจะบางลงจนแตกและแยกออกจากกันในที่สุด

Read more ›
รอยผิดวิสัยโมโหโรวิสิกคืออะไร

รอยผิดวิสัยโมโหโรวิสิกคืออะไร

รอยผิดวิสัยโมโหโรวิสิกคืออะไร รอยผิดวิสัยโมโหโรวิสิก (Mohorovičić Discontinuity) หรือ รอยผิดวิสัยโมโห คือรอยต่อระหว่างเปลือกโลก (crust) กับชั้นแมนเทิล (mantle) ในทางธรณีวิทยาคำว่า “รอยผิดวิสัย (discontinuity)” คือบริเวณพื้นผิวที่คลื่นไหวสะเทือนมีการเปลี่ยนแปลงความเร็ว ซึ่งหนึ่งในนั้นพบปรากฏอยู่ที่ความลึกเฉลี่ย 8 กิโลเมตรใต้เปลือกโลกภาคพื้นมหาสมุทร และที่ความลึกเฉลี่ยประมาณ 32 กิโลเมตรใต้เปลือกโลกภาคพื้นทวีป บริเวณดังกล่าวคลื่นไหวสะเทือนจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น และเป็นที่รู้จักกันดี เรียกว่า “รอยผิดวิสัยโมโหโรวิสิก (Mohorovičić Discontinuity)” หรือมักจะเรียกง่ายๆ ว่า “โมโห (Moho)”   รอยผิดวิสัยโมโหถูกค้นพบได้อย่างไร? รอยผิดวิสัยโมโหถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ.1909 โดยนักคลื่นไหวสะเทือน (seismologist) ชื่อว่า Andrija Mohorovičić ซึ่งนาย Mohorovičić รู้ดีว่าความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของวัตถุที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน เขาได้ทำการแปลความหมายถึงการเพิ่มขึ้นของความเร็วคลื่นไหวสะเทือนที่ส่งผ่านใต้ผิวโลกว่ามีการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบใต้โลก ซึ่งการเพิ่มความเร็วนั้นเนื่องมาจากวัสดุมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นตามความลึกที่เพิ่มขึ้น วัสดุความหนาแน่นต่ำใต้ผิวโลกมักอ้างถึงชั้นเปลือกโลก (Earth’s crust) ส่วนชั้นที่มีความหนาแน่นมากกว่าที่อยู่ข้างใต้ก็คือชั้นแมนเทิล (Earth’s mantle) จากการวิเคราะห์ค่าความหนาแน่นอย่างละเอียดพบว่ามีวัสดุที่มีค่าความหนาแน่นคล้ายหินที่มีแร่ประกอบโอลิวีนมาก เช่น เพอริโดไทต์ (peridotite) วางตัวอยู่ใต้แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรบะซอลต์ (basaltic oceanic crust) และแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปแกรนิต (granitic continental […]

Read more ›
บุคคลสำคัญทางธรณีวิทยา

บุคคลสำคัญทางธรณีวิทยา

นักธรณีวิทยา (geologist) คือผู้ที่ศึกษาวิชาธรณีวิทยาหรือมีความรู้ทางธรณีวิทยา ตั้งแต่ในอดีตในช่วงสมัยเดียวกับที่เกิดพระพุทธศาสนาใหม่ๆ จนถึงปัจจุบัน ได้มีวิวัฒนาการการค้นพบทางธรณีวิทยาจากบุคคลต่างๆ มากมาย ซึ่งจากการค้นพบดังกล่าวได้กลายเป็นรากฐานของการศึกษาด้านธรณีวิทยาเป็นต้นมา และปัจจุบันก็ยังคงยึดหลักแนวคิดของบุคคลเหล่านั้นอยู่ นักธรณีวิทยาที่มีชื่อเสียงและมีผลงานโดดเด่นในสาขาต่างๆ คือบุคคลที่ควรได้รับการยกย่อง เพื่อให้นักธรณีรุ่นหลังได้ยึดถือแนวทาง กระบวนการคิด และพัฒนาองค์ความรู้ทางธรณีวิทยาต่อไป

Read more ›